“ท่านจะต้องรักพระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาและสุดกำลังของท่าน บทบัญญัติประการที่สองก็คือ ท่านจะต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนนักตนเอง” (มก.12.30)
พระเยซูเจ้าทรงอ้างคำสอนในพันธสัญญาเดิมของชาวยิวที่รักษาลัทธิเอกเทวนิยม เป็นข้อความที่พระองค์ยกมาจาก “Shema” ซึ่งเป็นการแสดงความเชื่อของชาวยิว (ฉธบ 6.4-5) ที่ว่า “อิสราเอ๋ย จงฟังเถิด องค์พระผู้เป็นเจ้า (Kyrios – คำกรีก – Adonai – คำฮีบรู เป็นคำที่ชาวยิวใช้ขานพระนามพระเจ้าดดยเลี่ยงไม่ใช้พระนาม “พระยาเวห์” โดยตรง)
เปาโลจะเตือนคนต่างศาสนาให้กลับใจมาหาพระเจ้าผู้ทรงชีวิตแต่พระองค์เดียว (กจ 14.15 / ธส 1.9 ) ตามทัศนะของเปาโล กิจการทั้งหมดของพระเยซูเจ้ามาจากพระเจ้า และนำไปหาพระเจ้า เพราะพระเจ้าทรงทำให้กิจการเหล่านั้นส่งเสริมพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า (รม. 8.28-30 ; 16.27 / 1 คร. 1.30 ;15.28 / ฟป. 2.11/ 1 ทธ 2.3-5 / ฮบ 1.11-13) ส่วนพระวรสารของยอห์นก็สอนเรื่องเอกเทวนิยม แต่ใช้วิธีต่างกัน คือพูดว่า พระเยซูเจ้าทรงมาจากพระบิดา (ยน. 3.17,31 / ยน. 6.46) และจะทรงกลับไปหาพระบิดา (ยน. 7.33/ ยน 13.3 / 14.6) พระเยซูเจ้าทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดา (ยน. 10.30 / 12.45 / 14.9 / 17.22)
พระเยซูเจ้าทรงนำถ้อยคำที่ประกาศกโฮเชยาว่า "เราประสงค์ความรักมั่นคง ไม่ประสงค์เครื่องสัตวบูชา เราประสงค์ความรู้ในพระเจ้ายิ่งกว่าเครื่องเผาบูชา" (ฮชย. 6.6) นี่คือแก่นแท้ของพระคัมภีร์ คือ พระองค์ตรัสเรียกมัทธิว คนเก็บภาษีที่ชาวยิวถือว่าเป็นคนบาป
ฟาริสีไม่พอใจที่พระเยซูเจ้าทรงร่วมโต๊ะอาหารกับเขา พระองค์จึงตรัสตอบว่า "คนสบายดี ไม่ต้องการหมอ คนป่วยต่างหากที่ต้องการ จงไปกเรียนรู้พระวาจาของพระเจ้าที่ว่า เราพอใจความเมตตากรุณา มิใช่เครื่องบูชา"
พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงอธิบายว่า "พระวจนาตถ์ผู้ทรงมารับเอากายเป็นมนุษย์ (พระเยซูเจ้า) ต้องการสอนเราว่า พระเจ้าต้องการให้เราทำทุกอย่างด้วยความรักสุดจิตใจด้วยการมอบพระองค์องค์เอง นี่คือบทสรุปของคำสั่งสอนแห่งศาสนาคริสต์ นั่นคือ ความรักในพระเจ้าและรักเพื่อนมนุษย์อย่างสุดหัวใจ สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มพูนคุณค่าให้กับการสรรเสริญและปฏิบัติกิจศรัทธาอย่างแน่นอน