มโนธรรม (Conscience)
เสียงภายในที่ช่วยให้เรารู้ว่ามีกฎของพระเจ้าวางอยู่ในหัวใจของเรา มโนธรรมช่วยเราให้ตัดสินการกระทำของเราตามคุณค่าทางศีลธรรม ช่วยนำเราให้กระทำดี หลีกหนีความชั่ว
พระจิตทรงช่วยก่อให้เกิดมโนธรรมที่ดีในตัวเรา เราหล่อหลอมมโนธรรมได้ด้วยการศึกษาคำสอนของพระศาสนจักร กระทำตามการชี้แนะของพ่อแม่และผู้อภิบาลทั้งหลาย
พระเจ้าประทานอิสระในการเลือกให้กับมนุษย์ทุกคน สิ่งนี้หมายความว่า เรามีสิทธิ์ที่จะกระทำตามใจชอบ เราควรร่วมมือกับพระจิต ผู้ประทานคุณธรรมแห่งความรอบคอบให้กับเรา คุณธรรมประการนี้ช่วยเราให้ทราบว่า อะไรดีในสถานการณ์ต่างๆ และเลือกสิ่งที่ถูกต้อง พระจิตเป็นผู้ประทานพระพรแห่งพระดำริและสติปัญญา เพื่อช่วยเราให้เลือกสิ่งที่ถูกต้องให้กับชีวิต
การพิจารณามโนธรรม เป็นการกระทำของการมองเข้าไปในหัวใจของเรา เพื่อถามว่าเราได้ทำลายสัมพันธภาพของเรากับพระเจ้าและกับเพื่อนมนุษย์โดยทางความคิด วาจา และกิจการอย่างไร เราไตร่ตรองด้วยพระบัญญัติสิบประการ พระบัญญัติใหม่ของพระเยซูเจ้า บาปต้น 7 ประการ คำสอนของพระศาสนจักร
มโนธรรมของมนุษย์เป็นแก่นที่ลี้ลับที่สุดและเป็นสักการสถานของเขา ณ ตรงนี้เขาจะพบกับพระเจ้าตามลำพังและเสียงของพระองค์ก็จะดังก้องกังวานในห้องลึกนั้นมโนธรรมเผยแสดงอย่างน่าพิศวงให้รู้ถึงกฏบัญญัติให้รักพระเจ้าและเพื่อนพี่น้องในการถือซื่อสัตย์ต่อเสียงมโนธรรมนั้น คริสตชนทั้งหลายร่วมกับมวลมนุษย์อื่นๆในการแสวงหาความจริง และหาทางแก้ปัญหามากมายที่เกิดขึ้นในชีวิตของตัวบุคคลต่างๆในวงสังคมสัมพันธ์ทั้งหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ยิ่งมโนธรรมอันถูกต้องชอบธรรมนั้นหันเหเบี่ยงเบนไปมากเท่าใด ตัวปัจเจกบุคคลและกลุ่มชนทั้งหลายก็ยิ่งเอนเอียงไปในทางเลือกที่มืดมน และมุ่งสู่ทางชี้นำชีวิตโดยอาศัยกฏระเบียบทางศีลธรรมที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นเท่านั้น
การประยุกต์กฏบัญญัติให้เข้ากับสภาพการณ์นั้นๆ การประยุกต์กฏบัญญัติดังกล่าวนี้จึงเป็นเสียงที่สั่งจากภายในปัจเจกชน เป็นการเรียกให้กระทำสิ่งที่ดีในสถานการณ์นั้นๆ
“ดวงตาคือประทีปของร่างกาย เหตุฉะนั้น ถ้าดวงตาของท่านปกติดีทั้งตัวก็พลอยสว่างไปด้วย แต่ถ้าดวงตาของท่านผิดปกติทั้งตัวของท่านก็พลอยมืดไปด้วย ฉะนั้น ถ้าความสว่างในท่านมืดไปแล้ว ความมืดจะยิ่งมืดมิดสักเพียงใด” (มัทธิว 6:22-23) พระวาจาของพระเยซูเจ้าที่เพิ่งอ้างถึงนั้นเรียกร้องให้เราศึกษาอบรมมโนธรรม
เราควรสนใจบทสอนจากนิทานเปรียบเทียบเรื่องฟารีสีกับคนเก็บภาษี (เทียบ ลก.18:9-14) คนเก็บภาษีน่าจะได้รับโทษตามความเหมาะสมกับบาปที่เขาทำ โดยทำให้ความรับผิดชอบของตนน้อยลง แต่คำภาวนาของเขามิได้พูดเกี่ยวกับความเหมาะสมดังกล่าว กลับพูดแต่ความไม่เหมาะสมกับบาปที่เขาทำ โดยทำให้ความรับผิดชอบของตนน้อยลง แต่คำภาวนาของเขามิได้พูดเกี่ยวกับความเหมาะสมดังกล่าว กลับพูดแต่ความไม่เหมาะสมของตนต่อความศักดิ์สิทธิ์อันไม่มีขอบเขตของพระเจ้า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดเมตตาต่อข้าพเจ้าผู้เป็นคนบาปด้วยเถิด” (ลก. 18:13) ตรงกันข้าม ฟารีสีอ้างตัวเป็นคนดี มีข้อแก้ตัวให้แก่ความบกพร่องต่างๆของตน เรากำลังเผชิญกับท่าทีสองอย่างที่แตกต่างกันเกี่ยวกับมโนธรรมด้านจริยธรรมของมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย คนเก็บภาษีเป็นตัวแทนของมโนธรรมที่ “กลับใจ” รู้ตัวเต็มที่ถึงธรรมชาติที่อ่อนแอและบกพร่องของตนเป็นตัวแทนของมโนธรรมที่ “พึงพอใจในตนเอง” ภายใต้ภาพลวงว่าตนสามารถถือกฏหมายได้โดยไม่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากพระหรรษทาน และมั่นใจว่าตนไม่ต้องการพระเมตตาของพระเจ้า
ทุกคนพึงระมัดระวังเป็นอย่างมากเพื่อจะได้ไม่ด่างพร้อยโดยท่าทีของฟารีสีซึ่งหาวิธีขจัดความสำนึกถึงความมีขอบเขตและบาปของตน ปัจจุบันจะเห็นท่าทีแบบนี้ได้จากความพยายามที่จะประยุกต์กฎเกณฑ์จริยธรรมให้เข้ากับความสามารถและผลประโยชน์ของตน จนถึงกับยอมละทิ้งความคิดเรื่องกฎเกณฑ์เอาเลย ในอีกแง่หนึ่ง การยอมรับ”ความไม่สมดุล” ระหว่างกฎหมายและความสามารถของมนุษย์ (นั่นก็คือสมรรถภาพของพลังจริยธรรมที่มนุษย์มี) จะปลุกเร้าความอยากรับพระหรรษทานและความพร้อมที่จะรับมัน นักบุญเปาโลถามว่า “ใครจะช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากร่างกายนี้ซึ่งเป็นแต่ความตายได้?” และท่านได้ตอบด้วยความรื่นรมย์และความสำนึกในพระคุณว่า “ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเจ้าโดยทางพระเยซูคริสตเจ้าพระเจ้าของเรา” (รม. 7:24-25)