การไถ่กู้ (Redemption, the)
การไถ่บาปเป็นดั่งการช่วยชีวิตมนุษย์โดยอาศัยความตายและการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า (รม. 4:25) ช่วยให้มนุษย์พ้นจากสภาพที่ห่างเหินพระเจ้า (ทต. 2:14)
คำภาษาอังกฤษ Redemption มาจากคำว่า redemptio ในภาษาลาติน (เกิดจากคำกิริยาคือ redemere หมายถึง ซื้อกลับคืน (buy back)) และมีความหมายตามตัวอักษรว่า เป็นกระบวนการซื้อกลับคืน, การปล่อยให้เป็นอิสระโดยการชำระหนี้ หรือการจ่ายเงินตามราคาหรือค่าไถ่ กระบวนการไถ่ถอน (redeeming) หรือการจ่ายค่าไถ่ (ransoming) เป็นการกระทำของมนุษย์ในอันดับแรก และต่อจากนั้นก็ถูกนำมาใช้กับการปฏิบัติของพระเจ้าต่อมนุษย์
คำว่า “การไถ่บาป” อันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ในพันธสัญญาเดิมมีอยู่หลายกรณีดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การไถ่สิ่งมีชีวิตให้รอดพ้นจากความตาย เช่น โยบ 6:23 , ลนต. 19:20 และ อพย. 21:8 และที่สำคัญมากคือการไถ่บุตรหัวปีของชาวอิสราเอล เช่น อพย. 13:12,13 ; กดว. 18:15-16)
2. การไถ่ให้เป็นไท เช่น ลนต. 25:47-49 และ การไถ่ทรัพย์สมบัติ เช่น ลนต. 25:24-25 ; ยรม. 32:6-9
3. การชดใช้บาป, ชดเชยความผิด, ไถ่ถอนความผิด เช่น อพย. 21: 30 และ อพย. 30:11-16, 2 ซมอ. 24:1-17, กดว. 35:31-32
สำหรับการไถ่บาปของพระเจ้าในพันธสัญญาเดิมนั้นเป็นการไถ่ที่ไม่ต้องใช้ค่าไถ่ พระองค์ทรงใช้พระอำนาจเพื่อช่วยประชากรอิสราเอลของพระองค์ให้พ้นจากความเป็นทาสในอียิปต์ (ฉธบ. 15:15 และ อพย. 6:6) และนี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ความคิดเกี่ยวกับการจ่ายค่าไถ่ได้หมดไปดังที่มีกล่าวใน อสย. 52:3 ว่า เพราะพระเจ้าตรัสดังนี้ว่า “เจ้าถูกขายเปล่าๆ และเจ้าจะถูกไถ่โดยไม่ใช้เงิน” ซึ่งมีความหมายว่าประชากรอิสราเอลที่ถูกจับเป็นเชลยเพราะบาปของพวกเขา จะได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระโดยพระอำนาจของพระเจ้าเมื่อความผิดของพวกเขาได้รับการชดเชย
ส่วนเรื่องการไถ่ให้พ้นจากบาปนั้น ในพันธสัญญาเดิมมีกล่าวถึงเพียงหนึ่งตอนคือ ในเพลงสดุดี130.8 ที่กล่าวไว้ว่า…พระองค์จะทรงไถ่อิสราเอล ให้พ้นจากความผิดทั้งปวง”
ในพันธสัญญาใหม่ ไม่มีคำบรรยายง่ายๆเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องการไถ่อันใดที่จะพอเป็นไปได้ เพราะการไถ่นั้นเป็นสิ่งที่มีค่าและซับซ้อนอย่างมากทีเดียว ข่าวสารที่มีในพันธสัญญาใหม่ถูกสรุปไว้เป็นที่รู้โดยทั่วไป ด้วยการอ้างว่า การไถ่ที่ชาวอิสราเอลรอคอยเป็นเวลานานได้มาถึงแล้ว คือความหวังในยุคพระเมสสิยาห์ได้สำเร็จลุล่วงในบุคคลและภารกิจของบุคคลหนึ่งคือ พระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงกลายเป็นคนกลางซึ่งช่วยประนีประนอมเพื่อความรอดพ้นสำหรับมวลมนุษย์ เพราะการไถ่ได้สำเร็จลงโดยอาศัยพระองค์ อย่างไรก็ตาม เราสามารถบอกอย่างสั้นๆได้ว่า การไถ่เป็นดั่งการช่วยชีวิตมนุษย์โดยอาศัยความตายและการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า (รม. 4:25) ให้พ้นจากสภาพที่ห่างเหินพระเจ้า (ทต. 2:14) อันมีอยู่ทั่วไปตั้งแต่วันแรกๆที่มีมนุษย์บนโลกนี้ (ปฐก. 3:1-11:9) เพราะมนุษย์แต่ละคนได้ยอมให้เป็นเช่นนี้โดยบาปของตนเอง(รม. 3:23) การไถ่นี้ยังครอบคลุมถึงสิ่งสร้างทั้งมวลด้วยเหตุที่สรรพสิ่งนั้น “ได้รับผลกระทบจากความหยิ่งยโส” เพราะบาปของมนุษย์ (รม. 8:20) และในตอนท้ายสุดนี้ ต้องสำนึกว่า เฉพาะเวลาที่มีการเสด็จกลับมาของพระคริสตเจ้าและการกลับคืนชีพของมนุษย์โดยทั่วไปเท่านั้น จะนำให้ความเลวร้าย (all the ills)ที่ทำให้มนุษยชาติต้องเจ็บปวดสิ้นสุดลง แต่ในปัจจุบัน ผลประโยชน์มากมายแห่งยุคพระเมสสิยาห์ก็เป็นสิ่งที่ผู้ได้รับการไถ่(the redeemed)ได้ชื่นชมยินดีแล้ว
ใน The Catholic Encyclopedia ของ Robert C. Broderick มีคำอธิบายความหมายของคำว่า การเสด็จกลับมาของพระคริสตเจ้า (the Parousia), การกลับคืนชีพของร่างกาย (Resurrection of the body) และการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า (Resurrection of Christ) ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจสภาพของสรรพสิ่งที่ได้รับการไถ่ได้มากขึ้น และในตอนหนึ่งของคำอธิบายเรื่องการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าได้บอกไว้ว่า “มนุษย์ได้รับความชื่นชมยินดีอันเกิดจากการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า”
เมื่อคำนึงถึงความหมายของคำว่า “การไถ่ (redemption)” ในหลายประเด็น (Resurrection of Christ) ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจสภาพของสรรพสิ่งที่ได้รับการไถ่ได้มากขึ้น และในตอนหนึ่งของคำอธิบายเรื่องการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าได้บอกไว้ว่า “มนุษย์ได้รับความชื่นชมยินดีอันเกิดจากการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าใน 2 รูปแบบคือ 1) การคืนชีพจากบาปโดยอาศัยศีลล้างบาป (รม. 6:1-11)
2) การคืนชีพจากความตายซึ่งเราจะได้รับและได้ความมั่นใจเช่นนั้นผ่านทางพระคริสตเจ้า (ยน. 7:37-39) ; 10:14-17 ; 12:20-24) คำนี้สามารถถูกแทนด้วยคำว่า “การช่วยให้รอดพ้น (salvation)” ได้ เช่น ใน ลก. 1:68 และ 1:71 กล่าวว่า “ขอถวายพระพรแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าแห่งอิสราเอล เพราะพระองค์เสด็จเยี่ยม และทรงกอบกู้ประชากรของพระองค์…ว่าจะให้เรารอดพ้นจากศัตรูจากเงื้อมมือของผู้ที่เกลียดชังเรา”