แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

c6d878da41eaf05ff721f4e5f3f2c934

ชื่อเรื่อง   บัญญัติ   10  ประการสำหรับผู้นำทางจิตวิญญาณ

 

คำนำ

บัญญัติ   10  ประการ นี้จะช่วยให้คุณเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่มีประสิทธิภาพ    ดังนั้นคุณควรศึกษาด้วยความเอาใจใส่   ไตร่ตรองและนำไปปฏิบัติแล้วคุณจะพบว่า  การศึกษาของคุณจะให้ผลดี  และความเพลิดเพลินแก่เยาวชนและตัวคุณเอง

 

เนื้อหา

บัญญัติประการที่  1   คุณควรจะเตรียมการศึกษาด้วยความเอาใจใส่

  • ตรวจดูเอกสารทั้งหมดล่วงหน้า
  • ทำความเข้าใจจุดประสงค์ที่ให้ไว้
  • ศึกษาคำสั่งและคำแนะนำ
  • ลองวาดภาพกระบวนการต่างๆ  ทีละขั้น
  • พิจารณาดูว่าคุณควรแนะนำอะไรบ้าง
  • เตรียมเอกสารที่จำเป็นให้ทันเวลา

บัญญัติประการที่  2   คุณควรที่จะรู้ถึงความฝัน   ความทะเยอทะยาน   ความจำเป็นและความต้องการ   ปัญหาและการต่อสู้ของเยาวชน

  • สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญถ้าคุณต้องการพูดคุยกับเขาด้วยความเข้าอกเข้าใจ

บัญญัติประการที่  3   คุณควรจะฟัง

  • ฟังโดยไม่ตัดสิน   ไม่วิเคราะห์   ไม่ไต่ถาม   ไม่ว่ากล่าว   ไม่แก้ปัญหา   และไม่ให้คำแนะนำ
  • ฟังด้วยความเข้าถึงจิตใจผู้อื่น   ความเข้าใจ   และความรัก
  • ฟังด้วยความรู้สึกถึงสิ่งที่ซ่อนไว้เบื้องหลังคำพูด
  • ฟังด้วยหู  ตา   และด้วยหัวใจของคุณ

บัญญัติประการที่  4   คุณควรจะมีใจเปิดกว้างต่อรูปแบบต่างๆ

  • จงมีใจเปิดกว้างและซื่อสัตย์เมื่อคุณแบ่งปันประสบการณ์   ความคิดและความรู้สึกของคุณ
  • จงเป็นแบบอย่างและสนับสนุนการแบ่งปันประสบการณ์   และไม่เป็นเพียงการสนทนาด้วยสติปัญญาเท่านั้น
  • จงยอมรับความรู้สึกและความคิดของเขาแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
  • จงพร้อมที่จะคัดค้านเขาด้วยความเคารพเมื่อไม่ลงรอยกัน    เข้าใจผิดกัน  และเกิดความไม่ชัดเจน
  • จงมีส่วนร่วมในการแบ่งปันตราบเท่าที่คุณยังมีความสบายใจอยู่

บัญญัติประการที่  5   คุณควรจะยอมรับและกล้ายืนยัน

  • จงให้ความเข้าใจ   ยอมรับ   สนับสนุนและชมเชยความคิด   ความรู้สึกและความพยายามของเขา
  • จงมองดูตัวคุณเป็นเหมือนสิ่งที่มีค่าควรแก่การให้   และเยาชนของคุณเป็นเหมือนสิ่งที่มีค่าควรได้รับการต้อนรับด้วยความชื่นชม

บัญญัติประการที่  6   คุณควรจะเข้าใจภาษาของเขา

  • เยาวชนมีภาษา   การแสดงออกและสำนวนของเขา   คุณจะต้องเข้าในสิ่งเหล่านั้น
  • จงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเยาวชน   พยายามทำตัวคุณให้เป็นเสมือนพวกเขา   มองดูโลกของเขาอย่างที่เขาเห็น

บัญญัติประการที่  7   คุณควรจะหนักแน่น

  • ควรรักษาความเป็นระเบียบ   และควบคุมบรรยากาศแม้ในเวลาสนุกสนาน
  • ไม่ปล่อยให้บุคคลใดทำให้กระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มต้องหยุดชะงัก
  • ต้องไม่ยอมให้ผู้มีส่วนร่วมกลุ่มคนใดแสดงความไม่เคารพต่อคุณหรือบุคคลอื่น
  • รักษาบรรยากาศที่อบอุ่น   เป็นกันเองและอิสระ  แต่มีระเบียบวินัยไว้ด้วย

บัญญัติประการที่  8    คุณควรจะยืดหยุ่น

  • จงมีความยินดีที่จะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแผนต่างๆ  เมื่อได้รับคำตักเตือนแม้เล็กน้อย
  • จงพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงการศึกษาที่ได้เตรียมไว้ เพื่อให้เข้ากับความต้องการและอารมณ์ของผู้มีส่วนร่วม
  • จงพร้อมที่จะตัดทอนหรือขยายการศึกษา  หรือถ้ามีความจำเป็นก็ให้แบ่งเป็นส่วนๆ  และกำหนดจุดประสงค์ใหม่

บัญญัติประการที่  9   คุณควรจะสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น   มีความสนุกและความเป็นกันเอง

  • สร้างบรรยากาศที่ทำให้พวกเขารู้สึกอิสระในการแบ่งปัน  ในการแสดงความเห็นด้วยหรือความไม่เห็นด้วยในการถามคำถามหรือกระตุ้นให้บุคคลแสดงความคิดเห็น
  • สร้างภาวะในกลุ่มให้พวกเขารู้สึกอิสระในการแบ่งปันความกังวลและความกลัว   กล้าที่จะแสดงความสงสัยและคำถามโดยปราศจากความกลัวการถูกตัดสินและการตำหนิ

บัญญัติประการที่  10   คุณควรจะมีความมั่นใจ

  • จงเชื่อว่าพระเป็นเจ้าจะทรงช่วยให้ชีวิตของเยาวชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • จงเชื่อในความดี   ความมีคุณค่าและความตั้งใจดีของเยาวชน
  • จงเชื่อว่าความพยายามทั้งหมดของคุณจะเกิดผลในวันหนึ่ง