แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ชีวประวัติของพระสันตะปาปายอห์นที่ 23
นครรัฐวาติกัน, 26 เมษายน 2014 ( VIS ) - .


พระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ทรงถือกำเนิดเมื่อวันที่ 25พฤศจิกายน 1881
อันเยโล ยูเซปเป รอนคาลลี (Angelo Giuseppe Roncalli) ถือกำเนิดที่หมู่บ้านซอตโต อิล มอนเต ประเทศอิตาลี (Angelo Giuseppe Roncall) ในสังฆมณฑลเบอร์กาโม (Diocese of Bergam). พระองค์ทรงเป็นบุตรชายคนแรก ลำดับที่ 4 ในพี่น้องทั้งหมด 14 คน. บิดาชื่อ โจวันนี แบตติสตา รอนคาลลี มารดาชื่อมาเรีย แอนนา รอนคาลลี เป็นเกษตรกรที่เช่าที่นาจากขุนนาง เป็นครอบครัวที่ฝ่ายชายเป็นใหญ่ หมายถึง คุณลุงซาเวริโอพี่ชายของบิดาอยู่ในบ้านเดียวกันกับครอบครัวของพระองค์ คุณลุงเป็นโสดและใช้ความฉลาดบริหารงานและเรื่องอื่นๆของครอบครัว. ซาเวริโอเป็นพ่ออุปถัมภ์ของอันเยโล และให้การศึกษาด้านศาสนาแก่อันเยโลเป็นคนแรก  ครอบครัวมีบรรยากาศด้านศาสนาและมีความกระตือรือร้นในชุมชนวัด คุณพ่อฟรานเชสโก  รีบูสซินี  ชี้แนะฝึกอบรมชีวิตคริสตชนแก่อันเยโล
       พระองค์สมัครเข้าบ้านเณรเบอร์กาโม ในปี 1892 ที่นี่พระองค์เริ่มบันทึกชีวิตจิตซึ่งพระองค์ยังคงอยู่ในรูปแบบเดียวหรือรูปแบบอื่นจนสวรรคต,และมีการรวบรวมใน "วารสารของวิญญาณ". ที่นี่ พระองค์ก็เริ่มปฏิบัติอย่างมุ่งมั่นในการแนะแนวชีวิตฝ่ายจิต. ในปี 1896 คุณพ่อ ลุยจี อิซาคี ผู้อำนวยการคณะฟรานซิสกันให้พระองค์สำหรับฆราวาสยอมรับพระองค์เข้าสามเณราลัยเบอร์กาโม, พระองค์ปฏิญาณจะถือวินัยของคณะเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 1897
      ระหว่างปี 1901-1905 พระองค์ทรงเป็นนักศึกษาที่สามเณราลัยสันตะสำนักโรมัน. เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 1904 พระองค์ทรงรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ที่วัดซานตา มาเรียในเปียซา เดล โปโปโล  กรุงโรม.
     ในปี 1905 พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการของพระสังฆราชมอนซิญอร์เคาน์ จาโคฮม ราดินี เตเดสกีที่เพิ่งได้รับตำแหน่งเลขาธิการรัฐวาติกัน. พระองค์พร้อมกับพระสังฆราชไปเยี่ยมสัตบุรุษและร่วมงานกับท่านในงานริเริ่มหลายประการ เช่น สมัชชาพระสังฆราช ที่จัดทำสารสังฆมณฑล,การจาริกแสวงบุญ งานสังคม. พระองค์ทรงสอนวิชาปกป้องความเชื่อในศาสนาคริสต์. พระองค์ทรงเป็นนักเทศน์ยอดนิยมที่มีประสิทธิภาพ สง่างามที่ลึกซึ้ง.
          หลายปี พระองค์ประทับใจนักบุญที่เป็นผู้อภิบาลที่มีชีวิตจิตลึกซึ้ง 2 ท่าน ได้แก่ นักบุญชาร์ลส์ บอร์โรมีโอและนักบุญฟรานซิส เดอ ซาลส์. หลายปีที่ผ่านมา  พระองค์ทรงมีส่วนร่วมในงานอภิบาลกับการฝึกงานอย่างมาก,ขณะที่ทำงานใกล้ชิดกับพระสังฆราชราดินี เดเดสคี “ของพระองค์”ทุกวัน. เมื่อพระสังฆราชสิ้นใจใน ปี 1914, คุณพ่อแอนเยโลยังคงสอนนักศึกษาในสามเณราลัยและทำศาสนบริกรในงานอภิบาลด้านต่างๆ
     
        เมื่อประเทศอิตาลีเข้าร่วมสงครามใน ค.ศ 1915 คุณพ่อรอนคาลลีได้เป็นอนุศาสนจารย์กองทหาร . เมื่อสงครามสงบ พระองค์ทรงเปิด “บ้านนักศึกษา" สำหรับความต้องการฝ่ายจิตวิญญาณของคนหนุ่มสาว.
         ใน ปี 1919  พระองค์ทรงเป็น ผู้อำนวยการฝ่ายวิญญาณรักษ์ของสามเณราลัย
         ใน ปี 1921 พระองค์ถูกเรียกตัวไปทำงานให้สันตะสำนัก. พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 15 ทรงนำคุณพ่อรอนคาลลีไปโรมเพื่อรับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการองค์กรเผยแผ่ความเชื่อในประเทศอิตาลี
        ในปี 1925 พระสันตะปาปาปีโอที่ 11 ทรงแต่งตั้งให้คุณพ่อรอนคาลลีเป็นผู้แทนพระองค์ในการเยือนประเทศบัลกาเรีย     เพื่อแต่งตั้งพระองค์ให้รับสมณศักดิ์พระสังฆราชเพื่อปกครองสังฆมณฑลอารีโอโพลีส. คติประจำใจของพระอัครสังฆราชผู้นี้คือ “ความนบนอบและสันติภาพ” ซึ่งเป็นคติชี้นำตลอดชีวิตของพระองค์.
         เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 1925 พระองค์ได้รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราชและเดินทางไปบัลกาเรีย. พระองค์ปฎิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนพระสันตะปาปาและยังคงอยู่ที่บัลกาเรียจนกระทั่งปี 1935, เสด็จเยี่ยมชุมชนคาทอลิกและสร้างสัมพันธภาพแห่งการเคารพและให้เกียรติกับชุมชนคริสตชนนิกายอื่นๆด้วย
          ด้วยเหตุนี้ในปี 1928 มีแผ่นดินไหวต่อต้านการเก็บตัวของพระองค์ในทุกแห่ง. พระองค์ทรงเพียรทนในความเงียบกับความเข้าใจผิดและความยากลำบากอื่นๆของศาสนบริการกับคนริมขอบของสังคม, และดังนั้น เพิ่มความสำนึกของความวางใจและปล่อยตัวเองต่อพระเยซูเจ้าถูกตรึงกางเขน
        ในปี 1935 พระองค์ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนพระสันตะปาปาในประเทศตุรกีและประเทศกรีซ. ทรงเสนอพระศาสนจักรคาทอลิกต่อเยาวชนตุรกีหลายวิธีด้วยกัน.พระองค์ทำศาสนบริการกับคาทอลิกอย่างจริงจัง, การเข้าถึงโลกของนิกายออร์โธดอกส์และอิสลามด้วยความเคารพและการทำเสวนา ที่กลายเป็นลักษณะเด่นของพระองค์.
       สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นขณะที่พระองค์ประทับอยู่ในประเทศกรีซ. พระองค์พยายามที่จะได้ส่งข่าวจากเชลยศึกถึงครอบครัวของพวกเขาและช่วยเหลือชาวยิวหลายคนให้หลบหนี โดยการออก " “วีซ่าผ่านแดน”จากผู้แทนพระสันตะปาปา. ในเดือนธันวาคม 1944 พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ทรงแต่งตั้งพระองค์เป็นเอกอัครสมณทูตรัฐวาติกันประจำประเทศฝรั่งเศส
          ในระหว่างเดือนสุดท้ายของสงครามและ จุดเริ่มต้นของสันติสุข   พระองค์ได้ทรงช่วยเหลือเชลยศึก และช่วยให้องค์กรของพระศาสนจักรในประเทศฝรั่งเศสเข้าสู่สภาวะปกติ. พระองค์เสด็จเยี่ยมสักการสถานหลายแห่งในประเทศฝรั่งเศส  และทรงมีส่วนร่วมในวันฉลองระดับชาติและในการฉลองทางศาสนาที่สำคัญ. พระองค์ทรงเป็นนักสังเกตการณ์ที่ใส่พระทัย, รอบคอบและในเชิงบวกของการริเริ่มงานอภิบาลใหม่ๆของพระสังฆราชและพระสงฆ์ของประเทศฝรั่งเศส. วิธีการของพระองค์มีลักษณะเด่นชัดด้วยการยืนหยัดความเรียบง่ายของพระวรสาร,แม้อยู่ในท่ามกลางปัญหาทางการทูตที่ซับซ้อน. ความเชื่อที่จริงใจของชีวิตภายในของพระองค์พบได้จากการแสดงออก ในแต่ละวัน พระองค์ทรงใช้เวลานานในการสวดภาวนาและการรำพึง.
          ในปี 1953  พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัลและส่งตัวไปเป็นพระอัยกาที่เวนิส. พระองค์ทรงเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขเพราะจบด้วยการใส่ใจวิญญาณโดยตรง เพราะพระองค์ทรงปรารถนาจะเป็นพระสงฆ์. พระองค์ทรงเป็นผู้อภิบาลที่ชาญฉลาดและกล้าได้กล้าเสีย,ตามด้วยนักอภิบาลต้นแบบที่น่าเคารพและทรงดำเนินตามรอยนักบุญลอเรนซ์ ยูสตีนีอานี ซึ่งเป็นพระอัยกาแห่งเวนิสองค์แรก. ขณะที่พระองค์ทรงก้าวหน้าในการวางใจในองค์พระผู้เป็นเจ้ามาหลายปี  ทรงจำเริญในท่ามกลางบรรดานักอภิบาลที่มีพลัง ร่าเริง กล้าได้กล้าเสีย
        เมื่อพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 สวรรคต พระอัยกาทรงได้รับคัดเลือกเป็นพระสันตะปาปาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 1958 ทรงใช้พระนามยอห์นที่ 23. พระสมณสมัยซึ่งยาวนานน้อยกว่า 5 ปี ทำให้โลกเห็นภาพของพระชุมพาแสนดี. ความน่ารักและสุภาพ กล้าได้กล้าเสียและกล้าหาญ, เรียบง่ายและกระตือรือร้น, พระองค์ทรงกระทำพันธกิจคริสตชนของงานเมตตาฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณ นั่นคือ การเยี่ยมนักโทษและผู้ป่วย,ต้อนรับชนทุกชาติ ทุกศาสนา,เอาใจใส่พวกเขาเยี่ยงบิดาที่น่าปลาบปลื้ม. อำนาจการสอนของพระศาสนจักรเรื่องสังคมของพระองค์ในสมณสาส์นสากล “สันติภาพ ณ แผ่นดิน” (Encyclicals Pacem in Terris) และ “มารดาและอาจารย์” (คริสตศาสนาและความก้าวหน้าทางสังคม-Mater et Magistra) ที่ซาบซึ้ง.
        พระองค์ทรงเรียกประชุมสมัชชาพระสังฆราชโรมัน ที่ก่อตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อทบทวนกฎระเบียบของกฎหมายพระศาสนจักรและเรียกประชุมสภาสังคายนาสากลวาติกันที่ 2. พระองค์ทรงร่วมประชุมในฐานะพระสังฆราชในสังฆมณฑลแห่งโรม. ทรงปฏิบัติหน้าที่นี้ด้วยการเสด็จเยี่ยมชุมชนวัดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อาศัยในชานเมือง
สัตบุรุษเห็นการไตร่ตรองเกี่ยวกับความดีของพระเจ้าในพระองค์ และถวายสมญานามพระองค์ว่า “พระสันตะปาปาแสนดี”. พระองค์ทรงดำรงอยู่ด้วยจิตตารมณ์ที่ลึกซึ้งแห่งการภาวนา. พระองค์ทรงลงมือฟื้นฟูพระศาสนจักรอย่างกว้างขวาง,ขณะที่แผ่สันติของบุคคลที่วางใจในองค์พระผู้เป็นเจ้าเสมอ.
        พระสันตะปาปายอห์นที่ 23 สวรรคตวันที่ 3 มิถุนายน 1963 ด้วยจิตตารมณ์ที่วางใจอย่างลึกซึ้งในพระเยซูเจ้าและรอคอยที่จะไปอยู่ในอ้อมพระกรของพระองค์
      พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นบุญราศีเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2000 . วันฉลองตรงกับวันที่ 11 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันเปิดการประชุมสภาสังคายนาสากลวาติกันที่สอง

        ในบทเทศน์ พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงประกาศถ้อยคำต่อไปนี้เกี่ยวกับผู้ที่พระองค์ทรงสืบตำแหน่งว่า
            “วันนี้ ให้เราพิศเพ่งพระสิริรุ่งโรจน์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าในพระสันตะปาปายอห์นที่ 23, พระองค์ทรงสร้างความประทับใจให้โลกด้วยท่าทีที่เป็นมิตรของพระองค์ ที่แผ่ความดีที่โดดเด่นของวิญญาณของพระองค์. อาศัยแผนการของพระเจ้าในการสถาปนาบุญราศีที่เชื่อมโยงพระสันตะปาปา 2 องค์ที่ทรงพระชนมชีพในบริบททางประวัติศาสตร์, นอกเหนือจากภาพปรากฏ, ร่วมแบ่งปันความคล้ายคลึงด้านมนุษย์และด้านจิตวิญญาณ.แสดงความเคารพอย่างลึกซึ้ง ที่พระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ทรงมีต่อพระสันตะปาปาปีโอที่ 9, การแต่งตั้งบุญราศีเชิญชวนให้เรามองไปเบื้องหน้ายังบุคคลที่มีชื่อเสียง ระหว่างการฟื้นฟูจิตใจในปี 1959, พระองค์ทรงลิขิตในสมุดบันทึกประจำวันว่า “ข้าพเจ้ามักคิดถึงพระสันตะปาปาปีโอที่ 9  ด้วยความทรงจำที่รุ่งโรจน์และศักดิ์สิทธิ์ พร้อมด้วยการเลียนแบบพระองค์ในเรื่องความเสียสละของพระองค์,ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะฉลองการสถาปนาเป็นนักบุญของพระองค์” (Journal of a Soul, Ed. San Paolo, 2000, p. 560)”.
        
"ทุกคนคงจำใบหน้าที่แย้มพระสรวลของพระสันตะปาปายอห์นและแขนทั้งสองที่โอบกอดคนทั้งโลก. มีกี่คนที่ชนะด้วยดวงใจที่เรียบง่าย,ที่ถูกผูกรวมด้วยประสบการณ์เกี่ยวกับผู้คนและสิ่งต่างๆ.  ลมหายใจของความใหม่ที่พระองค์ทรงนำมาไม่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีอย่างแน่นอน, แต่เป็นวิธีที่จะอธิบายเรื่องนี้ นั่นคือ วิธีการตรัสและการแสดงออกเป็นเรื่องใหม่. เป็นจิตตารมณ์นี้ที่ทำให้พระองค์เรียกประชุมสภาสังคายนาสากลวาติกัน ด้วยเหตุนี้ เป็นการเปลี่ยนหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์พระศาสนจักร :
คริสตชนได้ยินตัวเอง ว่าได้รับเรียกให้ประกาศพระวรสารด้วยความกล้าหาญที่ได้รับการฟื้นฟู และความใส่ใจที่ดีต่อ “สัญญาณต่างๆ” ของกาลเวลา”.
            “สภาสังคายนาคือความหยั่งรู้เยี่ยงประกาศกแท้ของพระสันตะปาปาชราท่านนี้ ซึ่งเผชิญกับความยากลำบากหลากหลาย,ที่เปิดฤดูกาลแห่งความหวังสำหรับคริสตชนและเพื่อมนุษยชาติ”.
 “ในช่วงท้ายปลายชีวิตของพระองค์บนโลกนี้ พระองค์ทรงมอบมรดกแก่พระศาสนจักร ซึ่งเป็น “สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตคือพระเยซู
คริสตเจ้า พระศาสนจักรอันศักดิ์สิทธิ์ พระวรสารของพระองค์ ความจริงและความดี”
        เราด้วยที่ประสงค์ที่จะรับมรดกนี้ ขณะที่เราถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระองค์ ที่พระองค์ประทานพระสันตะปาปาองค์นี้ที่เป็นนายชุมพาแก่เรา”

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ ประกอบด้วย คำอธิบายพระบัญญัติ 10 ประการ (แบบรูปภาพ) วีดีทัศน์ พระบัญญัติ 10 ประการ หนังสือ ชวนกันอ่าน พระบัญญัติ...
สื่อคำสอน เรื่องศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อคำสอน เรื่องศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมกิจกรรมที่ 1 ใบความรู้ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม (แตะที่รูปหนังสือ ท่านก็จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ)กิจกรรมที่ 2 เกมจับคู่ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมกิจกรรมที่ 3 เกมค้นหาคำ ศาสนภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ E-book ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 2 แบบทดสอบออนไลน์ ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 3...

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันอังคาร สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:27-31ก) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “เรามอบสันติสุขไว้ให้ท่านทั้งหลาย เราให้สันติสุขของเราแก่ท่านเราให้สันติสุข แก่ท่าน ไม่เหมือนที่โลกให้ ใจของท่านอย่าหวั่นไหว หรือมีความกลัวเลย ท่านได้ยินที่เราบอกกับท่านแล้วว่า เรากำลังจะไป และเราจะกลับมาหาท่านทั้งหลาย ถ้าท่านรักเรา...
วันจันทร์ สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 14:21-26) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า ”ผู้ที่มีบทบัญญัติของเราและปฏิบัติตาม ผู้นั้นรักเรา และผู้ที่รักเรา พระบิดาของเราก็จะทรงรักเขา และเราเองก็จะรักเขา และจะแสดงตนแก่เขา” ยูดาส มิใช่ยูดาส อิสคาริโอท ทูลพระองค์ว่า...

ประชาสัมพันธ์

ประมวลภาพกิจกรรม

เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1/2025
เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1/2025
🎉 เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1 🎉 วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2025 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมกับโรงเรียนแม่พระฟาติมา ดินแดง จัดโครงการ เพิ่มพูนความรู้ครูคำสอน ครั้งที่ 1 หัวข้อ “สอนคำสอนอย่างไรให้สนุก จะไม่ทุกข์ถ้ามีสื่อ” ณ...
พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 2025
พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 2025
🎊✨️ พิธีรับศีลล้างบาปผู้ใหญ่ 🎊✨️ ค่ำคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ 19 เมษายน 2025 เป็นวันที่สำคัญและเป็นช่วงเวลาพิเศษ ของบรรดาผู้เตรียมเป็นคริสตชน ตลอดระยะเวลา 8-10 เดือน ที่ได้มาเรียนคำสอน ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ และผ่านพิธีต่างๆ ของกระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน ไม่ว่าจะเป็นพิธีต้อนรับ พิธีเลือกสรร พิธีพิจารณาความตั้งใจ พิธีเอฟฟาธา...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

325. พื้นฐานสำหรับอำนาจในสังคมคืออะไร ทุกๆสังคม พึ่งพาอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อให้แน่ใจว่ามีความเป็นระเบียบ เป็นที่ยึดติดและทำงานได้อย่างราบเรียบและเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคม ในการรักษาไว้ซึ่งธรรมชาติของมนุษย์ที่พระเจ้าทรงสร้างขึ้น คือมนุษย์ยอมให้ตนเองได้รับการปกครองด้วยอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย (1897-1902, 1918-1919, 1922)...
324. สังคมสร้างหลักการอะไร ทุกสังคมสร้างลำดับชั้นของคุณค่าต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติ ผ่านทางความยุติธรรมและความรัก (1886-1889,1895-1896) ไม่มีสังคมใดเป็นที่สุด นอกจากว่ายึดถือทิศทางที่ชัดเจนต่อคุณค่าที่สะท้อนให้เห็นเพียงแค่การควบคุมความสัมพันธ์และวิธีการที่แข่งขันของความยุติธรรม ดังนั้น มนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างให้เป็นเครื่องมือที่นำไปสู่จุดสิ้นสุดของการกระทำทางสังคม...

กิจกรรมพระคัมภีร์

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

พันธกิจต่อเนื่องกันของพระบุตรและพระจิตเจ้า
CCC for Kids (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกสำหรับเด็ก) # วันที่ 84 # I. พันธกิจต่อเนื่องกันของพระบุตรและพระจิตเจ้า (689-690) พระเจ้านั้นประกอบด้วยสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร...
ข้าพเจ้าเชื่อในพระจิตเจ้า
CCC for Kids (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกสำหรับเด็ก) # วันที่ 83 # ตอนที่ 8 “ข้าพเจ้าเชื่อในพระจิตเจ้า” (687-688) พระจิตเจ้าเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพที่คอยช่วยให้เราสามารถเข้าใจเรื่องของพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ รวมทั้งความจริงต่างๆ ที่พระองค์ทรงเปิดเผยได้ดีขึ้น...

ประวัตินักบุญ

13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา
13 พฤษภาคม พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา (Our Lady of Fatima) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ.1917 ซึ่งอยู่ในช่วงปีที่ 3 ของสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งสงครามโลกครั้งนี้คร่าชีวิตผู้คนไปถึงแปดล้านคน)...
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร
1 พฤษภาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟ กรรมกร (St Joseph the Worker, memorial) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สมาคมของบรรดากรรมกรคาทอลิกอิตาเลียน...

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Don't be afraid

Facebook CCBKK

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

คู่มือแนะแนวในการสอนคำสอน

ปก คู่มือแนะแนว

คู่มือเตรียมรับศีลมหาสนิท แบบที่ 1-2

ปก แบบที่ 2 01

ครอบครัว บ่อเกิดแห่งความเชื่อ

F cover fmaily

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
8882
31828
75220
484322
944464
42936636
Your IP: 3.138.125.4
2025-05-20 07:22

สถานะการเยี่ยมชม

มี 302 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์