7 ตุลาคม ระลึกถึงแม่พระแห่งลูกประคำ (Our Lady of the Rosary)
วันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1571 มีการรบทางเรือครั้งใหญ่ที่เมือง เลปานโต (Lepanto) เป็นการต่อสู้กับผู้รุกรานชาวเติร์ก ชัยชนะของพวกยุโรปในการรบที่มีชื่อเสียงครั้งนี้ได้ช่วยรักษาอารยธรรมแบบคริสตชนไว้ได้ เพื่อระลึกอย่างรู้คุณต่อบทบาทของพระแม่มารีย์ในชัยชนะนี้ พระสันตะปาปาปีโอที่ 5 จึงได้ตั้งวันนี้เป็นวันฉลองแม่พระแห่งชัยชนะ (The Feast of Our Lady of Victory) แต่บรรดาพระสันตะปาปาองค์ต่อๆมา ต่างก็ทรงตระหนักถึงความจริงของชัยชนะนี้ว่าเป็นผลมาจากลูกประคำ จึงให้คำศัพท์ใหม่ว่า วันฉลองแม่พระแห่งลูกประคำ
- กำเนิดของลูกประคำเองต้องย้อนไปถึงวันที่นักบุญโดมินิกได้รับการเผยแสดงจากแม่พระในภาพนิมิต ในสมัยศตวรรษที่ 13 นักบุญโดมินิกเป็นผู้ตั้งคณะผู้เทศน์ (ดอมินิกัน) ความศรัทธาต่อลูกประคำค่อยๆแพร่หลายโดยบรรดานักเทศน์ดอมินิกันก่อน ต่อมาแพร่ไปตอนเหนือของฝรั่งเศสและแถบทุ่งริมฝั่งทะเลส่วนเหนือของฝรั่งเศสกับส่วนใต้ของเบลเยี่ยม (Flanders) จากนั้นจึงเผยแพร่ไปสู่ยุโรปที่เหลือ
- พระสันตะปาปาเลโอที่ 10 ทรงเห็นชอบให้เรื่องลูกประคำได้รับรองอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1520 และทรงประกาศให้เดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งแม่พระลูกประคำ
- วันฉลองได้ถูกกำหนดไว้เป็นการถาวรในปฏิทินพิธีกรรมของพระศาสนจักรสากลในปี ค.ศ.1716 - เมื่อเจ้าชายยูยีน (Prince Eugene) ได้รับชัยชนะครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งเหนือศัตรูพวกเดิมในฮังการี
- คำศัพท์ที่ว่า "ลูกประคำ" เป็นคำที่มาจากภาษาลาตินว่า "rosarium" ซึ่งมีนัยหมายถึง "สวนกุหลาบ", (a rose garden) "แปลงกุหลาบ" (a bed of rose), "มาลัยดอกไม้" (a garland of flowers)
(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day ; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ J.K. Mausolfe)