วันที่ 17 มีนาคม
ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช
(St. Patrick, Bishop, memorial)
นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยทหารม้าของโรมันประจำ Brittany (Britain) ส่วนแม่ของท่านเป็นญาติใกล้ชิดกับนักบุญมาร์ติน แห่งเมืองตูร์ เมื่ออายุได้ 16 ปีท่านถูกกลุ่มคนร้ายชาวไอริชจับไปขังตัวไว้ ซึ่งทำให้อีก 6 ปีต่อมาจากนั้นท่านได้เป็นเหมือนนายชุมพาในการบริการรับใช้หัวหน้าเผ่า Milch ใน Dalaradia (Antrim) ก่อนที่จะสามารถหลบหนีออกมาและกลับไปที่ Brittany และไปที่อารามของเมืองตูร์ ณ ที่นั้นความเข้าใจในด้านฝ่ายจิตและชีวิตภาวนาได้พัฒนาขึ้นอย่างมากมาย ท่านมีความปรารถนาจะสอนพวกต่างศาสนาชาวไอริชให้มานับถือความเชื่อ แต่ก็ต้องรั้งรอเวลาให้ผ่านไปเกือบ 20 ปีกว่าที่ท่านจะได้รับมอบหมายอย่างเป็นทางการให้กลับไปแพร่ธรรมกับพวกนั้นในฐานะเป็นมิชชันนารีคนหนึ่ง
แต่แรกนั้นพระสันตะปาปาเซเลสตินที่ 1 ได้ทรงส่งพระสังฆราชของบริเตนที่ชื่อ Palladius ให้ไปที่ไอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 430 เพื่อแพร่ธรรมให้แก่ "พวกชาวสก็อตที่มีความเชื่อในพระคริสต์" แต่ท่านเผชิญกับการต่อต้านจากศัตรูที่เป็นคนต่างศาสนา และถูกขับไล่กลับไปอังกฤษ และไม่นานจากนั้นก็สิ้นชีพ ในขณะนั้น นักบุญปาตริกซึ่งมีอายุประมาณ 40 ปี ได้รับอภิเษกเป็นพระสังฆราช และได้รับคำสั่งให้ไปเผยแผ่พระวรสารในดินแดนที่ครั้งหนึ่งท่านเคยถูกจับเป็นเชลย ทีแรกท่านตั้งใจลงเรือกลับไปขึ้นที่ท่าของพวก Druids ( = พวกพระของชาว Celt พระพวกนี้อาศัยอยู่ในเกาะอังกฤษสมัยโบราณ ทำหน้าที่เป็นหมอผี แพทย์ ผู้พิพากษา ผู้จดบันทึกเหตุการณ์ และอื่นๆ พร้อมไปในตัว) แต่เรือของท่านกลับเลยไปขึ้นฝั่งทางเหนือไกลออกไปจากที่ท่านได้ตั้งใจไว้ แต่ที่นั่นท่านได้ทำให้หัวหน้าเผ่าที่ชื่อ Dichu กลับใจโดยการทำอัศจรรย์ แล้วจึงได้สร้างสักการสถานของคริสตชนหลังแรกขึ้นมาในสถานที่เรียกว่า Sabhall (Saul)
อีกไม่กี่ปีต่อมาหัวหน้าเผ่าต่างๆ มาชุมนุมกันที่เนินเขา Slane ที่อยู่ใกล้ๆกับ Tara, นักบุญปาตริกถือโอกาสนี้ประกาศความเชื่ออย่างกล้าหาญ โดยใช้ใบของต้นเชมร็อค (shamrock) เพื่ออธิบายข้อคำสอนเรื่องพระตรีเอกภาพศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีลักษณะเป็นใบเดียวกัน แต่มีสามแฉก เท่ากับหนึ่งธรรมชาติ แต่เป็นสามพระบุคคล ซึ่งกลายเป็นแก่นแท้(หรือหัวใจ) ของคำเทศน์สอนของท่าน พวกหมอผีชาวไอริชโบราณ (Druid priests) ต่างโกรธมากได้แสดงอำนาจเวทมนต์ด้วยการทำให้ตัวลอยขึ้น แต่เมื่อนักบุญปาตริกภาวนาก็สามารถลบล้างเวทมนต์ของพวกนั้นได้หมดสิ้น กษัตริย์ Leoghaire จึงทรงอนุญาตให้ท่านสอนศาสนาคริสต์ทั่วทั้งเกาะได้ เป็นช่วงเวลานี้เองที่นักบุญปาตริกได้ประพันธ์บทสดุดีที่งดงามไว้ที่เราเรียกกันว่า "St. Patrick's Breastplate" (breastplate = แผ่นเกราะหน้าอก[ชุดอัศวินโบราณ]; แผ่นทองเหลืองจารึกชื่อ)
นักบุญปาตริกใช้เวลา 7 ปีในการเผยแผ่พระวรสารอย่างกระตือรือร้นที่ Connaught แล้วต่อไปยัง Ulster, Meach, Leinster และ Limerick โดยได้ทำอัศจรรย์มากมาย ท่านเองและผู้ร่วมงานได้เคยถูกจับขังในคุกหลายครั้ง เคยถูกขู่ฆ่า แต่ในท้ายที่สุดความสำเร็จของท่านช่างน่าประหลาดใจยิ่งนัก ทั้งบรรดาหัวหน้าเผ่าและคนธรรมดาจำนวนมากมารวมเป็นประดุจฝูงแกะเดียวกัน
พระสันตะปาปาได้ทรงส่งพระสังฆราชผู้ช่วยอีก 3 องค์ไปช่วยท่านในปี ค.ศ.461 อีก 2 ปีต่อมานักบุญปาตริกได้ไปที่กรุงโรมเพื่อถวายรายงานเกี่ยวกับงานของท่านแด่พระสันตะปาปา จากนั้นก็กลับไปที่ไอร์แลนด์อีก แล้วท่านได้เดินทางไปทั่วเกาะเพื่อจัดระบบให้วัดต่างๆ และสังฆมณฑล โดยร่วมมือกับนักบวชที่เป็นคนพื้นเมือง จากนั้นไม่นานนักก็มีคอนแวนต์และอารามฤาษีเกิดขึ้นมากมาย - บรรดาโรงเรียนที่ฝึกอบรมเหล่านี้ต่อมาภายหลังได้มีส่วนเป็นอย่างมากในการรักษาความเชื่อไว้ในยุโรป
ด้วยความสุภาพ แต่มีความกล้าหาญ ทำให้ความมุ่งมั่นของนักบุญปาตริกที่ยอมรับได้ทั้งความทุกข์ยากลำบากและความสำเร็จ นำพาให้ท่านเอาชนะใจคนไอริชเกือบทั้งหมดให้มาหาพระคริสตเจ้า อันที่จริงแล้วในขณะที่ท่านเสียชีวิตที่ Sabhall ในปี ค.ศ. 461 ท่านได้ก่อตั้งพระศาสนจักรในไอร์แลนด์ไว้บนรากฐานที่มั่นคงแล้ว มีการกลับใจอย่างรวดเร็วและเกือบทั่วทั้งประเทศ จนว่าภายในเวลา 10 ปีที่ท่านได้ขึ้นฝั่งกลับไปแพร่ธรรมที่นั่น ท่านได้ถูกเชิญให้ช่วยปฏิรูปกฎหมายใหม่ให้อยู่บนพื้นฐานของคริสตชน
ตลอดชีวิตของท่านจนถึงบั้นปลาย บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ไม่เคยหยุดการภาวนา การใช้โทษบาป และการทำพลีกรรม จากข้อเขียนของท่านแท้ๆที่ตกมาถึงเรามี 2 เล่มที่สมควรจะเป็นที่รับรู้และชื่นชอบในวงกว้างคือ "Confessio" และ "Epistola Coroticum" เพราะทั้งสองเล่มนี้ได้เปิดเผยถึงความน่าพิศวงและด้วยพระญาณวิถีของพระเป็นเจ้าที่ทรงทำงานภายในและผ่านทางจิตวิญญาณของท่านผู้นี้
(ถอดความโดย คุณพ่อ วิชา หิรัญญการ จากหนังสือ Saint Companions For Each Day ; เขียนโดย A.J.M. Mausolfe และ J.K. Mausolfe)