แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การสถาปนานักบุญ


สัตบุรุษอาจจะแสดงความเคารพและภาวนาเพื่อวอนขอต่อสมาชิกทั้งหลายในพระศาสนจักรผู้มีส่วนในรหัสกายพระคริสตเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลที่เคยมีชีวิตอยู่ และสิ้นชีวิตแล้ว  อีกทั้งชีวิตของท่านทั้งหลายนี้เป็นประจักษ์ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์และคุณธรรมมากมายที่ท่านได้ปฏิบัติ  และที่สำคัญคือทุกท่านเป็น
 1) บุคคลที่พระศาสนจักรได้ประกาศให้เป็นนักบุญอย่างเป็นทางการแล้วโดยกระบวนการประกาศเป็นบุญราศี (beatification) และการประกาศเป็นนักบุญ (canonization)  สำหรับสัตบุรุษแล้ว

2. นักบุญ คือ ตัวอย่างในเรื่องการดำเนินชีวิตที่มีคุณธรรม  – เป็นประการแรก- และคือ สมาชิกซึ่งได้รับชัยชนะแล้วของพระศาสนจักรผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของสมาชิกแห่งรหัสกายที่ยังมีชีวิต และวิญญาณทั้งหลายที่ยังทุกข์ยาก  สำหรับการแต่งตั้งเป็นนักบุญนั้น  พระศาสนจักรได้จัดแบ่งนักบุญไว้หลายประเภท ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับการงานอาชีพในชีวิตของท่าน  แต่อยู่ที่คุณภาพแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญท่านนั้น เช่นมรณสักขี(martyr), พรหมจารี(Virgin), วีรสักขี (Confessor), ปราชญ์(Doctor), และพระสังฆราช (Bishop) (ดู c.1187)
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 กล่าวถึงนักบุญในฐานะเป็นผู้ที่ “เห็น อย่างชัดเจนว่า พระเจ้ามี 3 พระบุคคล และรวมเป็นหนึ่งเดียวดังที่พระองค์ทรงเป็น' ” (LG 49)  และยังเป็นผู้ซึ่ง “ในที่สุดแล้ว…ได้ถูกรับไว้ให้อยู่ในสันติสุข(peace) และแผ่ความสุขในแผ่นดินพระบิดาที่ส่งแสงสว่างด้วยความรุ่งโรจน์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าให้กับมวลมนุษย์ด้วย”
นั่นคือเป็นผู้ซึ่งได้รับการรวมเข้าไว้กับองค์พระผู้เป็นเจ้าในการร่วมส่วนอย่างไม่มีสิ้นสุดในชีวิตหนึ่งที่มาจากพระเจ้า ซึ่งอยู่เหนือความชั่วทั้งปวง” และ “ได้พบชีวิตแท้จริงกับพระเจ้า” (GS 18) หรือเป็นผู้ที่ “ติดต่อกับพระเจ้าเองด้วยชีวิตและคุณความดี” (AG …)