แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ชีวิตนิรันดร
ยอห์น 5:17-30
032    พระเยซูตรัสว่า  “ผู้ที่ฟังวาจาของเรา  และมีความเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา  ก็ย่อมมีชีวิตนิรันดร”  ยอห์นใช้คำว่าความเชื่อและชีวิตนิรันดรหลายครั้ง  นอกจากนี้  ยอห์นยังเน้นว่าความเชื่อนั่นเองคือชีวิตนิรันดร  หมายความว่า ชีวิตนิรันดรและความเชื่อเป็นสิ่งที่มาด้วยกัน  ทันทีที่เราเชื่อเราก็ได้รับชีวิตนิรันดร  ความรอดไม่มีเงื่อนไข  เพราะว่าเมื่อไรที่มนุษย์เชื่อในพระเจ้าและชีวิตนิรันดร  เมื่อนั้นเราก็ได้รับความรอด

ความรอดเกิดขึ้นทันทีที่เราเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า  ดังนั้นถ้าใครสักคนบอกเราว่า  จงเชื่อในพระเจ้าเมื่อยังมีชีวิตอยู่  เพื่อวันหนึ่งท่านจะได้รับความรอดในสวรรค์  คำพูดอย่างนั้นไม่ถูกต้อง  ชีวิตนิรันดรเริ่มทันทีที่เราเชื่อในพระเจ้า  ไม่ใช่หลังจากตายไปแล้ว  ทันทีที่เราเชื่อในพระเจ้าเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตนิรันดรจะงอกงามและเติบโตขึ้นในจิตใจเรา  และพระเจ้าเองจะทรงเป็นผู้หล่อเลี้ยงไม่ให้เมล็ดพันธุ์นั้นเหี่ยวแห้งไป เมื่อวาระสุดท้ายของชีวิตบนพื้นโลกมาถึง เมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อก็จะผลิดอกออกผล  ให้เราเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าตลอดนิรันดรกาล
3937d2d21878f9a2197cfaec600a6991    เพราะฉะนั้นความเชื่อเองนั่นแหละที่เป็นพระคุณและความรอด ทันทีที่เชื่อเราก็รอด  ทันทีที่เชื่อเราก็ได้รับชีวิตนิรันดร  เรื่องของโจรที่ถูกตรึงกางเขนพร้อมกับพระเยซูเจ้าในพระวรสารลูกาทำให้เราเข้าใจได้ว่าความเชื่อนั่นเองที่เป็นความรอด  เมื่อโจรทูลพระเยซูว่า  “ข้าแต่พระเยซู  โปรดระลึกถึงข้าพเจ้าด้วย  เมื่อพระองค์จะเสด็จสู่พระอาณาจักรของพระองค์”  พระองค์ตรัสตอบเขาว่า  “เราบอกความจริงกับท่านว่า  วันนี้ท่านจะอยู่กับเราในสวรรค์”
    ความเชื่อคือความรอด  ปัญหาก็คือบางคนยังไม่เข้าใจว่าความเชื่อคืออะไร  ความเชื่อคือ  การมอบตนเองทั้งหมดไว้ในการทรงนำของพระจิตโดยเฉพาะเมื่อชีวิตดำเนินอยู่ในความมืด  มองไม่เห็นหนทาง  และไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นข้างหน้า  ความเชื่อเป็นเรื่องยากในแง่ที่เราอยากจะเชื่อในพระเจ้าและชีวิตนิรันดร  แต่ทั้งพระเจ้าและชีวิตนิรันดรเป็นสิ่งที่ตามองไม่เห็น  มือสัมผัสไม่ได้  ยากที่จะมีใครเชื่อได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์  แต่เราไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องนี้  ทำไมหรือ  เพราะเมื่อไรก็ตามที่เราอยากเชื่อ  หมายความว่าเมื่อนั้นเราเชื่อแล้ว  ความรักและการอภัยก็เช่นเดียวกัน  ถ้าเราอยากรักอยากอภัยก็เท่ากับว่าเรารักและอภัยแล้ว
    ความเชื่อ  ความรัก  และการอภัย ตลอดจนการติดตามพระเยซูอย่างใกล้ชิดเป็นเครื่องหมายของการเป็นศิษย์ของพระเยซู  จะต้องระวัง  เพราะความมั่นใจนั้นอาจทำให้หลงอวดดี  คิดว่าติดตามพระเยซูด้วยตนเอง  ลืมไปว่าแท้ที่จริงพระเยซูทรงนำเขา
    คนที่รู้ตัวอยู่เสมอว่าตนเองมีจุดอ่อนอยู่มากมาย  และอยากจะติดตามพระเยซูต่างจากที่เป็นศิษย์ของพระเยซูอย่างแท้จริง  และไม่ว่าจุดอ่อนนั้นจะมีอยู่มากมายแค่ไหน  เขาก็สามารถเป็นศิษย์ของพระองค์ได้  และความเชื่อ  ความรัก  การอภัยเกิดขึ้นในตัวเขาได้ทันทีที่เขารู้สึกอยากเชื่อ  อยากรัก  และอยากอภัย