แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako
วาติกันที่ 2 และสากลสัมพันธภาพ

หลังสังคายนาวาติกันที่ 2 มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในพระศาสนจักร จนคาทอลิกจำนวนมากอาจเข้าใจว่า กิจการงานและการภาวนาเพื่อเอกภาพคริสตชนนั้น เริ่มมาจากสภา สังคายนาฯ เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์นที่ 23 ทรงประกาศเกี่ยวกับประชุมสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ.1959 นั้น พระองค์ทรงร่วมอยู่ในพิธีภาวนาปิดของสัปดาห์การภาวนาเพื่อเอกภาพคริสตชน
ขบวนการภาวนาเพื่อเอกภาพคริสตชนนี้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 18 ที่ประเทศสก๊อตแลนด์ และแพร่หลายออกไปนอกกลุ่มคาทอลิกในเวลาต่อมา ในปี ค.ศ.1894 สมเด็จพระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13 ทรงสนับสนุนให้ปฏิบัติการภาวนา 8 วัน (18 25 มกราคม) เพื่อเอกภาพในระหว่างคริสตชน ในสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ที่ 23 คาทอลิกจึงมีส่วนร่วม และทำงานเพื่อ "เอกภาพ ความเป็นหนึ่งเดียวตามพระประสงค์ของ พระคริสตเจ้า" อย่างจริงจัง
ทุกวันนี้คาทอลิกจำนวนหนึ่งพันล้านคนทั่วโลก ถูกท้าทาย (challenges) ด้วยเรื่องราวที่แตกต่างกันสองอย่าง กับพี่น้อง ออร์โธดอกซ์ จำนวน 220 ล้านคน ซึ่งมีเหตุไม่ลงรอยกันมีอายุนับพันปี จากเรื่องของการปกครองศาสนจักร และอำนาจของพระสันตะปาปา และกับคริสตชน (โปรเตสแตนต์) อีกเกือบ 750 ล้านคน ที่มีความแตกต่างกับเรา ในเรื่องของระเบียบวินัย คำสั่งสอน และหลักศีลธรรม   บางประเด็นแต่เราก็มีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะผู้ที่มีความเชื่อในพระคริสตเจ้า และในภาระหน้าที่โดยทางศีลล้างบาป เรายังต้องทำการเสวนา และทำการศึกษาต่อไป เพราะนี่เป็นเรื่องสำคัญ แม้ว่าการเป็นหนึ่งเดียวกันนั้นจะยากลำบาก
มีคำถามว่าเรากำลังทำงาน และภาวนาเพื่อเอกภาพแบบไหน เราต้องชัดเจนก่อนว่า เรามิได้หมายถึงขนบประเพณี จารีตพิธีลาตินแบบโรมันคาทอลิกเท่านั้น (Latin rite Roman Catholics) ซึ่งศาสนจักรในปัจจุบันมีจารีตพิธีที่แตกต่างกันเท่าที่รวบรวมได้เกือบ 20 แบบ เช่น คอบติค (Coptic) มาโรไนท์ (Maronite) เมลไค้ท (Melkite) ยูเครเนี่ยน (Ukrainian) ฯลฯ ศาสนจักรเหล่านี้ต่างก็มีชีวิตฝ่ายจิต เทววิทยาและการประกอบพิธีกรรมอันเป็นธรรมประเพณีที่เป็นมรดกสืบทอดกันมา ชาวคาทอลิกเหล่านี้ปฏิเสธพิธีกรรมแบบ "ลาติน" สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์นปอล ที่ 2 ทรงสนับสนุนรูปแบบ (จารีต) เฉพาะของเขาเหล่านั้นเป็นพิเศษ ศาสนจักรคาทอลิกตะวันออกนั้นยังผูกพันใกล้ชิดกับ ออร์โธดอกซ์ ซึ่งแม้จะแยกออกไป "แต่เพราะสืบต่อมาจากอัครสาวก...จึงมีศีลศักดิ์สิทธิ์แท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีลบวช และศีลมหาสนิท ซึ่งทำให้คริสตจักรเหล่านี้สนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเราอย่างใกล้ชิด"  ดังวาติกันที่สองได้กล่าว
พระสังคายนายังชักชวนมวลคาทอลิก "ให้มีความกระตือรือร้น และมีไหวพริบในการมีส่วนร่วมในงานสากลสัมพันธภาพ" หน้าที่ประการแรกสำหรับการทำงานนี้ เน้น "ให้ทำการประเมินเพื่อทำการปรับปรุง และฟื้นฟูทุกสิ่งที่จำเป็น กับบุคลากรภายใน พระศาสนจักรด้วยความรอบคอบ และตรงไปตรงมา"  ในเรื่องนี้ สมเด็จพระสันตะ ปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงกระทำในปี ค.ศ.1995ได้ทรง เชื้อเชิญให้คริสตจักรอื่นๆ ร่วมกับพระองค์ในการแสวงหารูปแบบ ที่ผู้ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาอาจ "ใช้อำนาจหน้าที่" ให้บริการแห่งความรัก (ในงานสากลสัมพันธภาพ) ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนยอมรับจนสำเร็จบริบูรณ์) ซึ่งข้อเสนอแนะเหล่านั้นเป็นเรื่องที่กำลังทำการศึกษา
นอกจากการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกลับใจภายใน (หัวใจ) สภาพระสังคายนาฯ ขอให้เราภาวนา วอนขอพระหรรษทานเพื่อการสละทิ้งน้ำใจตนเอง มีความถ่อมตน อ่อนโยนและมีน้ำใจกว้างขวางในการรับใช้ผู้อื่น "ผู้มีความเชื่อทุกคน พึงระลึกเสมอว่า ประสิทธิภาพในการส่งเสริมเอกภาพและความ เป็นหนึ่งเดียวของคริสตชนจะดียิ่งขึ้น ก็ต่อเมื่อเขามีความพยายามที่จะเจริญชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ตามพระวรสาร"
ผู้ที่ทำงานเพื่อเอกภาพ ความเพิ่มเติม "ทำความรู้จัก เข้าใจสภาพของพี่น้องที่แตกแยกออกไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา (เตรียม) เพื่องานนี้"
พระคริสตเจ้าทรงภาวนาเพื่อทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นบันทึกในพระวรสารของนักบุญยอห์น ซึ่งในศตวรรษแรกนั้นคริสตชนอยู่กันเป็นหมู่คณะ ที่แสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันในความเชื่อ แต่มีความแตกต่างกันในสิ่งที่เขาให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ส่วนปัญหาเรื่องเอกภาพของเราทุกวันนี้ เป็นข้อลึกลับที่ว่า พระจิตเจ้าทรงทำงานโดยผ่านทางมนุษยชาติอย่างไร เราถูกเรียกให้ตอบสนองการกระตุ้นของพระคริสตเจ้า โดยเราไม่สามารถรู้ทั้งหมดว่าพระเป็นเจ้าทรงมีพระประสงค์อะไรจากเรา แต่เราสามารถเริ่มด้วยการฟื้นฟูศาสนจักร การกลับใจภายในการศึกษา และการภาวนา
(วารุณี แสงลิ้มสุวรรณ แปลจากบทความของ เบอร์นาร์ด และเมอ แดลี่ โตรอนโต้ จาก Living with Christ มกราคม 2003 หน้า 15

(อุดมสารรายสัปดาห์ ฉบับที่ 5, 26ม.ค.-1ก.พ.2003)