แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

หัวใจของศาสนสถานศาสนาต่างๆ


ศาสนาคริสต์

Millthorpe 8
โบสถ์  องค์ประกอบสำคัญในโบสถ์คริสต์มี 3  ส่วน
1.    พระแท่นบูชา (Altar) คือ ที่ที่การบูชาของพระคริสตเจ้า  ได้รับการรื้อฟื้นขึ้นใหม่  ภายใต้เครื่องหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์ พระแท่นยังเป็นโต๊ะอาหารขององค์พระเจ้า  พระแท่นจึงเป็นศูนย์กลางของการฉลองพิธีขอบพระคุณ (บูชามิสซา) เป็นสัญลักษณ์ถึงองค์พระคริสตเจ้า  ประธานในพิธีซึ่งจะยืนอยู่หน้าพระแท่นนี้  ในฐานะเป็นตัวแทนขององค์พระคริสตเจ้าเองจะทำการถวายบูชา
2.    บรรณฐานหรือธรรมาสน์ (Ambo or Lectern) คือ ที่อ่านและประกาศพระวาจาของพระเจ้า  เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่พระวาจาของพระเจ้าอย่างเหมาะสม
3.    ที่นั่งของประธานในพิธี (Chair) คือ เป็นที่นั่งของประธานสำหรับประกอบพิธีต่อหน้าสัตบุรุษ  หมายถึงการเป็นผู้แทนของพระเยซูเจ้าซึ่งควรตั้งตรงกลางศาสนสถาน  หันหน้าไปทางสัตบุรุษมองเห็นได้เด่นชัด

ศาสนาพุทธ

temple1
    อุโบสถ(โบสถ์) เป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมเพื่อทำสังฆกรรมและสวดพระปาฎิโมกข์ตามพระวินัย  องค์ประกอบสำคัญที่ต้องมี คือ
1.    ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  แต่ทั้งนี้ในกรณีที่พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในป่าลึก  ห่างจากชุมชนเกิน 500 เมตร หรือในแม่น้ำ  ทะเล สระน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  ไม่ต้องขอพระราชทานวิสุงคามสีมา  ก็สามารถทำสังฆกรรมได้
2.    ผ่านการทำสังฆกรรม  การผูกพันทสีมา
3.    พระพุทธรูป  องค์แทนพระพุทธเจ้า (ไม่มีในพระวินัย  แต่เป็นความนิยมทางสังคม)

ศาสนาอิสลาม

Sabah-State-Mosque-in-Kota-Kinabalu-Malaysia
    มัสยิด ในศาสนาอิสลาม  ไม่ได้กำหนดองค์ประกอบสำคัญที่ต้องมีในมัสยิด  แต่เรามักจะพบสิ่งที่อยู่คู่กับมัสยิด คือ
1.    เมี๊ยะห์รอบ    :     มุขด้านหน้าในตัวมัสยิด  ที่ยืนนำละหมาดของอิหม่าม
2.    มิมบัร    :    สถานที่เทศนา (คุตบะห์) วันศุกร์  นิยมทำแบบมีบันได 3 ขั้น หรือมากกว่า
3.    หออะซาน (เสาบัง)    :    ในอดีตใช้ขันไปประกาศเชิญชวนสู่การละหมาด
4.    โดม        :    ส่วนโค้งกลมด้านหน้าบนอาคารมัสยิด
5.    สถานที่อาบน้ำละหมาด  :    มีไว้สำหรับทำน้ำละหมาด  สู่การละหมาด
หมายเหตุ    ทุกมัสยิดในโลกนี้  มุขด้านหน้าจะตั้งไปทางทิศกะอุบะห์ในนครมักกะห์  ส่วนในประเทศไทยทิศกิบลัต  คือทิศตะวันตกของประเทศไทย

ที่มา : หนังสือคู่มือศาสนสัมพันธ์