แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako
ทำไมพระศาสนจักรจึงมีการประกาศการสมรสเป็นโมฆะ


brittney_and_bobbys_wedding_317พระศาสนจักรจะไม่ประกาศการสมรสเป็นโมฆะ ถ้ามีการสมรสที่ถูกต้อง พระศาสนจักรยึดมั่นในพระวาจาของพระคริสตเจ้าที่ว่า “แต่เมื่อแรกสร้างโลกนั้น พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นชายและหญิง ดังนั้นชายจะละบิดามารดา และชายหญิงจะเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้นเขาจึงไม่เป็นสองอีกต่อไป แต่เป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้นสิ่งที่พระเจ้าทรงรวมกันไว้ มนุษย์อย่าแยกเลย” (มก 10:6-9) พระศาสนจักรจะไม่ประกาศการสมรสที่ไม่ถูกต้องเป็นความถูกต้อง จากการแต่งงานที่ไม่สมบูรณ์ และได้รับศีลสมรสที่ไม่ถูกต้อง ทั้งไม่ยอมรับความไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจากอำนาจใดๆ ของมนุษย์

  • แต่ “การยกเลิก” เป็นคำประกาศการสมรสที่ไม่ถูกต้องอย่างเป็นทางการโดยพระศาสนจักร คำประกาศว่าเป็นการสมรสที่ไม่ถูกต้องนั้นเป็นการประกาศของพระศาสนจักร หลังจากผ่านกระบวนการสืบสวนสอบสวนของคณะที่ปรึกษาทางกฎหมาย เมื่อเห็นว่าการแต่งงานไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก คือ ขาดคุณสมบัติที่จำเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้การสมรสนั้นถูกต้อง แม้จะดูขัดแย้งกันก็ตาม อย่างเช่น มีการจัดการแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมประเพณี
ในศตวรรษแรกๆ ของคริสตศักราช จนถึงประมาณศตวรรษที่ 10 ปัญหาการแต่งงานนั้นพระสงฆ์ พระสังฆราชและพระสันตะปาปาได้พิจารณาจัดการอย่างไม่เป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ตอนปลายศตวรรษที่ 10 โครงสร้างกระบวนการจัดการเรื่องการสมรส เริ่มยึดหลักกฎหมายเป็นที่ตั้ง มีการพัฒนาในศตวรรษต่อๆ มาทั้งในระดับสังฆมณฑลและในระดับศูนย์กลางการปกครองของพระศาสนจักรในกรุงโรม ศาลสูงโรมัน (สูงสุด) (Roman Rota) จึงกลายเป็นศาลสูงสุดของพระศาสนจักร เพื่อพิจารณาประกาศการสมรสเป็นโมฆะ ศตวรรษที่ 18 ได้มีมาตรฐานแนวปฎิบัติเกี่ยวกับกระบวนการศาลยุติธรรม กฎหมายควบคุมเรื่องนี้ได้ถูกนำมาร่วมไว้ในประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ฉบับแรก ปี ค.ศ. 1917 ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรฉบับใหม่ ปี ค.ศ. 1983 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางด้านการแต่งงานให้มีมุมมองที่เน้นไปทางด้านการอภิบาลให้มากขึ้น
  • การยอมรับคำร้องขอให้ศาลทำการสืบสวนได้นั้นต่อเมื่อมีหลักฐานชัดเจนว่าได้มีการแต่งงานจริง และมีข้อสงสัยว่าการสมรสนั้นถูกต้องหรือไม่ ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรกล่าวถึงข้อขัดขวางต่างๆ ที่ทำให้การแต่งงานนั้นเป็นโมฆะ เช่น ข้อขัดขวางเรื่องอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เคยแต่งงานมาแล้ว ได้รับศีลบวชมาแล้ว มีพันธะการปฏิญาณถือศีลพรหมจรรย์ตลอดชีพ การมีสายเลือดเดียวกัน หรือมีสัมพันธภาพฝ่ายจิตใจ ต้องให้ผู้มีอำนาจของพระศาสนจักรออกประกาศยกเลิกให้ การประกาศยกเว้นนั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อบุคคลฝ่ายหนึ่งมีข้อขัดขวาง ที่จะทำให้การแต่งงานนั้นถูกประกาศเป็นโมฆะ (เทียบ ม.1083-1094) สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ ความสมัครใจของคู่สมรส โดยมีความเข้าใจหลักพื้นฐานของการแต่งงาน ถ้าขาดการยินยอมสมัครใจแล้ว การแต่งงานนั้นก็ถือเป็นโมฆะ
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การประกาศเป็นโมฆะนั้นแตกต่างกับการหย่าร้างที่ผู้มีอำนาจทางบ้านเมืองประกาศให้แยกกันได้ ถึงแม้กฎหมายบ้านเมืองจะอนุญาตให้หย่าร้างกันได้ก็ตาม พระศาสนจักรเห็นว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ถ้ามีการแต่งงานกันอย่างถูกต้องชอบธรรมแล้ว ไม่ว่าจะประสบปัญหาใดก็ตาม จะไม่มีการหย่าร้างกันได้เลย
  • พระศาสนจักรได้ใช้ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จากวิวัฒนาการทางสังคมวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านจิตวิทยา เพื่อพิจารณาคดีความให้ประกาศเป็นโมฆะ การรับข้อเท็จจริงทางจิตวิทยานั้นเป็นเรื่องใหม่ในกระบวนการพิจารณาคดีการแต่งงาน
ผู้ที่หย่าร้างหรือแต่งงานใหม่ จะไม่ถูกตัดขาดจากพระศาสนจักร กระนั้นก็ดี คนที่หย่าร้างและแต่งงานใหม่ ไม่สามารถรับศีลได้ เนื่องจากว่าการมีสัมพันธ์ใหม่นั้นเทียบได้กับการมีชู้