-
รายละเอียด
-
หมวดหลัก: คำสอนคาทอลิก
-
หมวด: คำถามเกี่ยวกับศาสนาคริสต์คาทอลิก
-
-
-
ฮิต: 5182
ทำไมเราจึงต้องเรียนคำสอน (Catechesis)
คำสอน มาจากคำภาษากรีกว่า katechein ดั้งเดิมหมายถึง การสอนปากเปล่า ต่อมามีการรวบรวมคู่มือสอนศาสนาที่ใช้ชื่อว่า หนังสือคำสอน เป็นชื่อที่มีลักษณะเฉพาะที่ใช้เรียกคู่มือคำสอน ได้รับการจัดให้เป็นระบบในรูปแบบ ถาม-ตอบ
-
ลักษณะสำคัญของคู่มือประเภทนี้ที่เรียกว่าหนังสือคำสอนนั้น มีหลักความเชื่อคริสตชนขั้นพื้นฐานที่เรียบเรียงแบบให้เข้าใจง่าย และจำได้ง่ายด้วย อันที่จริงนั้นจุดประสงค์ก็คือ การจัดเป็น ถาม-ตอบ ในแง่หนึ่ง หนังสือคำสอนนั้นมีไว้ให้คนเรียนรู้ข้อความเชื่อ ส่วนในอีกแง่หนึ่งก็ใช้เป็นคู่มือสอนคนอื่น นั่นก็คือ คู่มือการสอนคำสอน (catechesis)
หนังสือคำสอนดั้งเดิมนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ดีดาเค (Didache) ที่เรียบเรียงขึ้นประมาณปลายศตวรรษแรก ถึงแม้จะรู้จักกันมานานแล้ว แต่ก็ค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1873 ชื่อหนังสือ คือ “คำสั่งสอนขององค์พระผู้เป็นเจ้าต่อคนต่างศาสนา โดยอัครสาวก 12 คน” แบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคแรก เป็นเรื่องหลักศีลธรรม ส่วนภาคที่สองเป็นกฎระเบียบฉบับย่อ เกี่ยวกับวิถีทางดำเนินชีวิตของพระศาสนาจักร เช่น ศีลล้างบาป การจำศีลอดอาหาร พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ธรรมทูตรุ่นบุกเบิก และศาสนบริกรท้องถิ่น ไม่ใช่แบบ ถาม-ตอบ
- จนถึงศตวรรษที่ 15 มีการสอนหลักความเชื่อคริสตชน แบบคล้ายๆ กับดีดาเค แต่เพิ่มข้อมูลเพื่ออธิบายมากขึ้น นักบุญฟรังซิส เซเวียร์ ได้ใช้หนังสือคำสอนคล้ายๆ กันนี้ เมื่อไปถึงประเทศอินเดีย ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1542 ท่านได้เรียบเรียงขึ้นที่เมืองกัว อย่างไรก็ตาม ได้มีการประยุกต์มาจากหนังสือคำสอนของ ยวง เดบาร์รอส (ค.ศ. 1496-1570) นักประพันธ์ชื่อดังชาวโปรตุเกส ซึ่งเขียนหนังสือเรื่อง Decadas da Asia
ปัจจุบันบรรดาโปรเตสแตนท์นิยมใช้หนังสือคำสอนแบบ ถาม-ตอบ โดยมีการตีพิมพ์หนังสือคำสอนของลูเธอร์ ชื่อ nehiridion หรือ หนังสือคำสอนเล่มเล็ก (ค.ศ. 1529) รูปแบบหนังสือคำสอนจึงโดดเด่นในหมู่ชาวคาทอลิกด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากได้ตีพิมพ์หนังสือคำสอน โดยพระสงฆ์เยสุอิต 2 ท่านที่โดดเด่น คือ นักบุญปีเตอร์ คานีซีอุส ในประเทศเยอร์มันนี (ค.ศ. 1555) และนักบุญโรเบิร์ต แบลลาร์มิน ในประเทศอิตาลี (ค.ศ. 1597)
- หนังสือคำสอนเป็นผลมาจากประชุมสภาสังคายนาของพระศาสนจักรทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล ดังนั้นเราจึงมีหนังสือคำสอนที่เป็นผลมาจากการประชุมสภาสังคายนา ตอร์โตซา ในประเทศสเปน ปี ค.ศ. 1429 และจากการประชุมสังคายนาแห่งเตรนต์ (ค.ศ. 1566) ยังมีหนังสือคำสอนสำหรับสังฆมณฑล หรือประเทศต่างๆ เช่น “หนังสือคำสอนเพนนี” ของประเทศอังกฤษ และหนังสือคำสอนบัลติมอร์แห่งสหรัฐอเมริกา สำหรับพระศาสนจักรสากลนั้นมีหนังสือคำสอนโรมัน จากสภาสังคายนาแห่งเตรนต์
หนังสือคำสอนเล่มล่าสุดสำหรับพระศาสนาจักรทั่วโลก คือ “คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก” ที่เริ่มจากข้อเสนอในที่ประชุมวิสามัญสหพันธ์พระสังฆราชในปี ค.ศ. 1985 ปีต่อมาพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการที่มีทั้งพระคาร์ดินัลและพระสังฆราชเพื่อเรียบเรียงหนังสือหลักความเชื่อฉบับย่อ ในปี 1989 คณะกรรมาธิการ ได้ส่งเนื้อหาคำสอน ไปให้บรรดาพระสังฆราชทั่วโลก เพื่อแสดงความเห็น ในปี 1990 คณะกรรมาธิการได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขมากกว่า 24,000 สำนวน ตามคำเสนอแนะของบรรดาพระสังฆราช ในปี 1991 คณะกรรมาธิการได้ร่างเนื้อหาคำสอน ส่งให้พระสันตะปาปาพิจารณาเห็นชอบ วันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1992 พระสันตะปาปาได้ประกาศเห็นชอบหนังสือคำสอนที่ปรับปรุงใหม่แล้ว วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1992 พระสันตะปาปาทรงประกาศใช้หนังสือคำสอนอย่างเป็นทางการ โดยถือเป็นเหมือนธรรมนูญของการแพร่ธรรม
- เราจะเห็นว่าจุดประสงค์ของคำสอนนั้นคือ การสื่อให้สัตบุรุษได้รู้ถึงเนื้อหาสาระที่เป็นหลักสำคัญพื้นฐานของความเชื่อคาทอลิก และหลักศีลธรรมที่ชัดเจน สมบูรณ์ แต่กระชับ ในกรณีหนังสือคำสอนสำหรับพระศาสนจักรสากลนั้นใช้เป็นข้ออ้างอิงของหนังสือคำสอนระดับประเทศ และระดับสังฆมณฑล