ทำไมคริสต์ศาสนาจึงมีลักษณะเฉพาะของตน
เป็นโชคร้ายที่เป็นความจริงในประวัติศาสตร์มนุษยชาตินั้นมีสงครามสู้รบกันและมีการหลั่งเลือดในนามและเพื่อศาสนา มีความเป็นศัตรูและทำสงครามศาสนากัน
ทุกๆ คนควรมีสิทธิพื้นฐาน มีเสรีภาพในถือปฎิบัติตามหลักศาสนาของตนด้วยความสมัครใจ ดังนั้นจึงมีเสรีภาพในการเปลี่ยนจากศาสนาหนึ่งไปถืออีกศาสนาหนึ่ง ด้วยเหตุนี้แต่ละคนจึงมีหน้าที่เคารพผู้อื่นตามมุมมองและการถือปฎิบัติหลักศาสนาของพวกเขา อย่างไรก็ตามอาจมีคนเชื่อมั่นว่าศาสนาของตนเป็นศาสนาเที่ยงแท้ เหมือนอย่างผู้สนับสนุนพรรคการเมืองหนึ่งจำต้องเคารพวิสัยทัศน์และนโยบายของพรรคอื่นๆ หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ให้คุณค่ากับทฤษฎีของตน ก็จำต้องเคารพแม้กระทั่งทฤษฎีตรงกันข้ามของนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ
ยิ่งกว่านั้น ความเป็นจริงมีอยู่ว่า คำสั่งสอนบางประการของศาสนาต่างๆ ก็ดูคล้ายกัน จึงมีความต่างทางด้านคำสั่งสอน บ้างก็มีความขัดแย้งกัน ดังนั้น จึงไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่บอกว่าทุกศาสนาถือสัจธรรมอันเดียวกัน หรือทุกศาสนามีความจริงเท่าๆ กัน
แต่คริสต์ศาสนานั้นเป็นศาสนาที่พระเจ้าทรงเผยแสดงโดยตรง โดยทางพระเยชูคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นพระเจ้า นี่คือความเชื่อของคริสตชน ความเชื่ออันนี้เป็นพื้นฐานของงานแพร่ธรรมทั้งหลาย ในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร ถึงแม้จะเป็นความเชื่อของคริสตชนว่า คนที่มีความเชื่ออื่น หรือไม่มีความเชื่อเลยนั้นอาจได้รับความรอด ถ้าเขาดำเนินชีวิตถูกต้องตามเสียงมโนธรรมของตน พระศาสนจักรไม่เคยละความพยายามจนถึงบัดนี้ในอันที่จะนำความรู้เรื่องความเชื่อคริสตังไปให้กับคนต่างศาสนา งานแพร่ธรรมนี้ต้องเสี่ยงชีวิต ต้องพบกับปัญหายุ่งยากนานาประการ และธรรมทูตหลายๆ ท่านก็ยอมถวายชีวิตของตน สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้รื้อฟื้นกระแสเรียกการประการพระวรสารขึ้นมาใหม่ในยุคสมัยของเรา (โดยออกพระสมณทฤษฎีกาว่าด้วยงานธรรมทูตของพระศาสนจักร) และพระสมณสาสน์ปัจจุบันเรื่องพระพันธกิจขององค์พระผู้ไถ่ ข้อ 9 บอกว่า “พระศาสนจักรเชื่อว่าพระเจ้าได้ตั้งพระคริสตเจ้าให้เป็นองค์สื่อกลางพระองค์เดียว และพระศาสนจักรนั้นก็ได้รับการสถาปนาให้เป็นเครื่องหมายแห่งความรอดของโลก” (พันธกิจขององค์พระผู้ไถ่ 9)
ถึงแม้ว่าคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาที่พระเจ้าทรงเผยแสดงและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว การประทับอยู่ของพระเจ้าในศาสนาอื่นๆ นั้นก็ยังเป็นที่พึงสังเกตไว้ ท่าทีคาทอลิกต่อความเชื่ออื่นๆ ในอดีตเป็นไปในทางลบ ปัจจุบันเป็นท่าทีในทางบวก อันเป็นท่าทีที่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง ท่าทีในทางบวกนี้มาจากที่ประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ซึ่งกระตุ้นให้ทำการศึกษาและชื่นชมในคุณค่าทางบวกของศาสนา และส่งเสริมให้มีการเสวนาระหว่างศาสนาต่างๆ ศาสนาเหล่านี้ถูกมองเหมือนเป็นการเตรียมประกาศข่าวดี และมีบทบาทสำคัญในการสื่อความหมายแห่งความรอดของโลก ดังที่พระสมณกฤษฎีกาว่าด้วยงานธรรมทูตของพระศาสนจักร บอกไว้ว่า “พระเจ้าทรงมีพระทัยดีแจกจ่ายพระคุณอันเลอเลิศแก่ชนต่างต่างๆของโลก” แต่พระศาสนจักรก็ “พยายามใช้ความสว่างจากข่าวดีช่วยสอดส่องดูพระคุณเหล่านี้” (Decree on the Church Missionary Activity 11) ทั้งนี้ก็คงรักษาไว้ซึ่งคำสั่งของพระคริสตเจ้าที่ให้ไว้กับบรรดาสานุศิษย์ “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง” (มก 16:15)