แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

พระคัมภีร์ (Scripture)
พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เป็นสาระของเนื้อหาในพิธีกรรม
เป็นหัวใจของประชากรของพระเจ้า


    พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ประกอบด้วยพันธสัญญาเดิม (ใช้ร่วมกันทั้งชาวยิวและคริสตชน) และพันธสัญญาใหม่ ซึ่งรวมทั้งพระวรสารทั้ง 4 เล่ม หนังสือกิจการอัครสาวก จดหมายซึ่งเขียนโดยอัครสาวกและหนังสือวิวรณ์ที่เขียนโดยนักบุญยอห์น คริสตชนเคารพต่อพระคัมภีร์ เพชรที่ล้ำค่านี้ที่เล่าประวัติเกี่ยวกับประชากรของพระเจ้าอย่างวิเศษสุด ซึ่งบรรลุจุดสุดยอดที่ธรรมล้ำลึกของพระคริสต์ กระนั้นก็ดี ขณะที่โปรเตสแตนท์ถือว่าการอ่านพระคัมภีร์เป็นการเพียงพอสำหรับหล่อเลี้ยงความเชื่อในความรอดแล้ว แต่คาทอลิกเข้าใจพระคัมภีร์โดยธรรมประเพณีที่มีการสืบสานเป็นเวลาหลายสมัย ตามคำสั่งสอนที่มีชีวิตของพระคาสนจักรและโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพิธีกรรม

    มีการพิมพ์พระคัมภีร์มากมายเนื่องจากมีหลายนิกาย ฉบับของคาทอลิกจะรวบรวมเชิงอรรถที่ได้รับการดลใจจากธรรมประเพณีอันทรงชีวิตของพระศาสนจักร ช่วงสองทศวรรษหลัง มีการแปลพระคัมภีร์เพื่อสร้างคริสตศาสนสัมพันธ์อย่างน่าประหลาดใจ โดยมีเชิงอรรถที่จำเป็นต่อการตีความหลากหลายของคริสตจักรหนึ่งๆด้วย นี่เป็นก้าวสำคัญนำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างคริสตชน
    พิธีกรรมของนิกายโรมันคาทอลิกใช้ข้อความจากพระคัมภีร์มากกว่าพระศาสนจักรตะวันออก ซึ่งมีบทสวดยาวๆ แต่เป็นข้อความจากพระคัมภีร์ที่ได้รับการดลใจจากพระด้วยเช่นกัน เราเห็นบทเพลงสดุดีเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ที่อยู่เบื้องหลังการภาวนาบททำวัตร “Hours” วจนพิธีกรรมซึ่งเป็นส่วนแรกของพิธีบูชามิสซา และบททำวัตรประกอบด้วยบทอ่านจากพระคัมภีร์ และส่วนสำคัญคือ บทพระวรสาร
    บทอ่านเหล่านี้ซึ่งจำเป็นสำหรับเข้าใจพิธีกรรมอย่างแท้จริง เราต้องอ่านด้วยความเคารพและอย่างถูกต้อง ผู้อ่านต้องเป็นศาสนบริกรที่ได้รับการแต่งตั้ง การอ่านพระวรสารสงวนไว้สำหรับประธานในพิธีหรือสำหรับสังฆานุกรผู้ช่วย รวมทั้งจารีตอื่นด้วย
    หนังสือพระวรสารขนาดใหญ่ (Evangelistary) เป็นหนังสือที่มีค่า สวยงาม เข้าเล่มมีลวดลายอย่างดี เราวางบนพระแท่นตอนเริ่มมิสซา และถือในขบวนแห่ไปยังแท่นวางพระคัมภีร์ คำว่า ambo มาจากภาษากรีกว่า anabaino แปลว่า “ขึ้นไป” สถานที่วางพระวาจา (Cathedra) ในสมัยก่อนตั้งอยู่ใกล้ๆทางเดินจากประตูมาถึงพระแท่น
ปัจจุบันแท่นวางพระคัมภีร์อยู่ในสภาพที่ประกอบพิธีกรรม ไม่ไกลจากพระแท่นเท่าใดนัก ดังนั้นสองส่วนของมิสซาจะผสมผสานกันอย่างดีที่สุด สถานที่ประกอบพิธีจะยกพื้น มีที่อ่านบทอ่าน ซึ่งผู้อ่านและนักขับร้อง สังฆานุกรและประธานในพิธีกล่าวต้อนรับผู้มาร่วมพิธี วัดที่เก่าที่สุดในกรุงโรมที่เก็บรักษาแท่นวางพระคัมภีร์ (ambo) ที่สวยสง่าไว้ เช่น ที่วัดของนักบุญเคลเมนต์ที่มีอายุในช่วงศตวรรษที่ 12