แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako
ปังและเหล้าองุ่น (Bread and Wine)

eucharistปังและเหล้าองุ่น เปลี่ยนเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซู บันดาลให้พระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพประทับท่ามกลางเรา

  • ปังและเหล้าองุ่นเป็นสัญลักษณ์สากลของสิ่งที่นำชีวิตให้แก่เรา คือ อาหารและเครื่องดื่ม ผู้ประพันธ์บทสดุดีขอบพระคุณพระเจ้าที่สนองความต้องการของมนุษยชาติ : “พระองค์ทรงให้หญ้างอกมาเพื่อสัตว์เลี้ยงและผักให้มนุษย์ได้ดูแล เพื่อเขาจะทำให้เกิดอาหารจากแผ่นดิน และเหล้าองุ่น ซึ่งให้ใจมนุษย์ยินดี” (สดด.104.14-15)


ดังนั้นพระคริสตเจ้าได้ทรงเลือกส่วนประกอบพื้นๆ ที่สุด ให้เป็นสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระหรรษทานของพระองค์ คริสตชนเลี้ยงดูตัวเขาเองด้วยปังและเหล้าองุ่นซึ่งกลายเป็นพระกายและพระโลหิตขององค์พระเยซู ขณะที่พระศาสนจักรคาทอลิกและคริสตจักรออธอร์ดอกซ์สนใจการแปลงสารที่เกิดขึ้นจริงขณะเสกศีล คริสตจักรแองกลิกันและคริสตจักรลูเธอร์แรนรับความเชื่อนี้ด้วย (ความหมายที่กว้างที่สุด) ของพระคริสตเจ้า และพระเยซูไม่ได้ประทับอยู่ในแผ่นปังนั้นจริง

  • เราเห็นได้ชัดเจนว่าการแยกระหว่างพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า เป็นสัญลักษณ์ถึงการสิ้นพระชนม์บนกางเขน การประทับอยู่จริง เป็นพยานถึงการรื้อฟื้นการถวายบูชาของศีลมหาสนิทที่พระเยซูเจ้าทรงตั้งขึ้นในระหว่างอาหารค่ำมื้อสุดท้าย พระองค์ประทานพระกายและพระโลหิตเป็นอาหารเลี้ยงดูสัตบุรุษตามพระดำรัสของพระคริสตเจ้าที่ว่า “ผู้ที่กินเนื้อของเราและดื่มโลหิตของเราก็มีชีวิตนิรันดร เราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย เพราะว่าเนื้อของเราเป็นอาหารแท้ และโลหิตของเราเป็นเครื่องดื่มแท้ ผู้ที่กินเนื้อของเรา และดื่มโลหิตของเราก็ดำรงอยู่ในเรา และเราก็ดำรงอยู่ในเขา พระบิดาผู้ทรงชีวิตทรงส่งเรามา และเรามีชีวิตเพราะพระบิดาฉันใด ผู้ที่กินเนื้อของเรา จะมีชีวิตเพราะเราฉันนั้น” (ยน 6:54-57)

ใครที่รับศีลมหาสนิทก็จะได้รับชีวิตของพระเยซูโดยอาศัยพระบิดาและดังนั้นโดยอาศัยธรรมล้ำลึกแห่งพระตรีเอกภาพที่รวมความรักพระบิดา พระบุตรและพระจิตเป็นหนึ่งเดียวกัน เราได้รับเชิญให้ร่วม “โต๊ะศักดิ์สิทธิ์” และได้รับการต้อนรับในฐานะการรับเชิญให้ร่วมชีวิตของพระเยซูที่ทรงเป็น พระบุตรซึ่งทรงเป็นพระบุคคลที่สำคัญในพระตรีเอกภาพ

  • holy_eucharist1แผ่นปังทำศีลมหาสนิทประกอบด้วยขนมปังแผ่นบางไร้เชื้อ (ยีสต์) เรียกว่า แผ่นศีล คำนี้เชื่อมโยงระหว่างศีลมหาสนิทกับเครื่องบูชา เพราะคำในภาษาลาติน คือ hostia หมายถึง เหยื่อบูชายัญ และนี่เป็นเครื่องหมายที่นักบุญเปาโลใช้ เพื่อกล่าวถึงพระคริสตเจ้า (1)     ขนมปังไร้เชื้อเป็นขนมปังชนิดเดียวที่จารีตของชาวยิวอนุญาตให้ใช้ในงานเลี้ยงปัสกา (2) เพราะฉะนั้นพระเยซูเจ้าทรงเสกในมื้ออาหารค่ำสุดท้าย ด้วยเหตุนี้พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกไม่อนุญาตให้เสกขนมปังธรรมดา ผิดกับพระศาสนจักรออธอร์ดอกซ์ที่เฉลิมฉลองศีลมหาสนิทด้วยขนมปังใส่เชื้อ มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับธรรมเนียมที่แตกต่างออกไป โชคดีที่พ้นความขมขื่นในช่วง 2 ศตวรรษที่ผ่านมาได้

ในพระศาสนจักรตะวันตก มีความแตกต่างเรื่องขนาดของแผ่นศีล คือ แผ่นเล็กสำหรับแจกสัตบุรุษสะดวกในการแจกและรับ และแผ่นใหญ่สำหรับพระสงฆ์ เพื่อจะเห็นแผ่นศีลง่ายเมื่อชูขึ้นหลังจากการเสก ปัจจุบันนี้มีการผลิตแผ่นศีลให้หนาขึ้นและใส่สีให้เห็นเป็นสีทองมากกว่าสีขาวเวลาอบแผ่นปัง

ตอนต้นของมิสซา พระสงฆ์วางแผ่นศีลที่ได้รับการเสกบนจานรองแผ่นศีล  (มาจากภาษาละติน patena “จานก้นตื้น”) มีลักษณะเป็นจานกลม โค้งออกข้างนอก และทำด้วยโลหะที่มีค่าเช่นทองหรือเงิน ส่วนใหญ่เป็นผลงานชิ้นเอกของช่างทองเลยทีเดียว เช่นเดียวกับ ผอบศีล (Ciborium) (จากคำกรีก kiborion “ผลของดอกบัว” เพราะผอบศีลมีลักษณะคล้ายผลไม้ประเภทนี้) สำหรับวางแผ่นศีลเพื่อแจกประชาสัตบุรุษ ผอบศีลมีลักษณะเป็นถ้วยครึ่งทรงกลม มีฝาปิดซึ่งส่วนใหญ่มีกางเขนประดับบนฝา เมื่อมิสซาจบ จะนำผอบศีลไปเก็บไว้ในตู้ศีล เพื่อเก็บ “ศีลศักดิ์สิทธิ์ที่สำรองไว้” คือ แผ่นศีลที่เสกแล้วเหลือจากการแจกสัตบุรุษ จะมีผ้าคลุมผอบศีล “ Canopy” ซึ่งเป็นผ้าที่มีลักษณะกลม

ระหว่างการนมัสการศีลมหาสนิท แผ่นศีลที่เสกแล้วจะตั้งแสดงให้สัตบุรุษแสดงคารวกิจในรัศมี (monstrance มาจากคำละติน monstrare แปลว่า “แสดงให้เห็น”) ประกอบด้วยแผ่นเงินหรือแผ่นทองประดับลวดลายที่เป็นจุดสำคัญของศิลปะตรงกลางเป็นฐานวงกลม (ดวงจันทร์ขนาดเล็ก) ประดับด้วยแผ่นกระจก 2 แผ่น สำหรับวางแผ่นศีล รัศมีจะมีลวดลายเหมือนดวงอาทิตย์เรืองแสงรอบศีลศักดิ์สิทธิ์

ถ้าไม่ตั้งแสดงศีลศักดิ์สิทธิ์ให้สัตบุรุษนมัสการ ก็จะเก็บแผ่นศีลไว้ในตู้ศีลในกล่องโลหะที่เรียกว่า กล่องเก็บศีล (มาจากคำละตินว่า Custodire แปลว่า “เก็บ” หรือ pyx (มาจากคำว่า pyxis แปลว่า “กล่อง”) กล่องนี้เป็นชื่อของกล่องกลมที่ใช้เก็บศีลมหาสนิทสำหรับไปส่งศีลให้คนป่วย

a9845rกฎหมายของพระศาสนจักร ได้อธิบายเกี่ยวกับเหล้าองุ่นที่ใช้ในบูชามิสซา “เหล้าองุ่นต้องมีลักษณะธรรมชาติ ทำจากผลองุ่นของต้นองุ่น และไม่เน่าเปื่อย” (กฎหมายพระศาสนจักรข้อ 924) ดังนั้น ต้องเป็นการหมักน้ำองุ่นบริสุทธิ์ ระหว่างมื้ออาหารค่ำสุดท้าย พระเยซูทรงแปลงสาร “ผลของต้นองุ่น” เป็นพระโลหิตในตอนท้ายของการรับประทานอาหาร มื้ออาหารปัสกาตามธรรมเนียมแล้วประกอบด้วยถ้วยใส่เหล้าองุ่น 4 ใบ และเป็นถ้วยที่ 4 เรียกว่า ฮัลเลล Hallel (คำสรรเสริญสดุดีในบทสดุดีที่ 114-117) ซึ่งพระคริสตเจ้าทรงใช้ในขณะกล่าวบทเสกศีล (3)

เมื่อย้อนเวลาไปถึงช่วงพันธสัญญาเดิม เหล้าองุ่นเป็นสัญลักษณ์พื้นฐานหนึ่งของงานเลี้ยงฉลองพระเมสสิยาห์ (พระผู้ไถ่) ตามคำกล่าวของประกาศกอิสยาห์ที่ว่า “เหล้าองุ่นกรองอย่างดี”(อสย.25.6) การถวายบูชาขอบพระคุณและ ศีลมหาสนิททำให้มื้ออาหารค่ำสุดท้ายและการพลีบูชาที่เนินเขากัลวารีโอเป็นจริง สำหรับเรา โดยทำให้สัตบุรุษได้ชิมลางล่วงหน้าถึงงานฉลองพระอาณาจักรที่จะมาถึง

เพราะโดยทั่วไปการเสกศีลระหว่างมิสซา พระศาสนจักรโรมันใช้เหล้าองุ่นขาวเพื่อที่จะไม่เปื้อนอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ เพราะเหล้าที่หกจะติดเนื้อผ้า ประธานในพิธีจะรินเหล้าองุ่นลงในจอกกาลิกส์ (มาจาก คำกรีกว่า kylix, ภาษาละติน คือ calix แปลว่า “ถ้วยสำหรับดื่ม”) ที่ทำด้วยทองเนื้อดี ลวดลายของจอกกาลิกส์เปลี่ยนไปตามยุคสมัยต่างๆ ปกติประดับด้วยเครื่องหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์หรือข้อความจากพระคัมภีร์

เวลาผลิต จะใช้รูปปังและเหล้าองุ่นเป็นเครื่องหมายของความเป็นหนึ่งเดียวของประชาสัตบุรุษที่รับศีลศักดิ์สิทธิ์ มีการอธิบายข้อเท็จจริงดังกล่าวในตำราของคริสต์ศาสนาเริ่มแรก ชื่อ ดีดาเค Didache หรือ “คำสอนขององค์พระผู้เป็นเจ้าสำหรับคนต่างศาสนา” ซึ่งนับย้อนไปตอนปลายคริสต์ศตวรรษแรก “ขณะปังที่ถูกบินี้ ซึ่งครั้งหนึ่งเมล็ดของมันได้รับการหว่านไปทั่วเนินเขา ถูกนำมารวมกันถวายเป็นปังก้อนเดียว ขอให้พระศาสนจักรของพระองค์ได้รับการรวมเข้าด้วยกัน จากปลายแผ่นดินโลกสู่อาณาจักรของพระองค์ เช่นเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่า องุ่นจำนวนมหาศาลถูกคั้นด้วยกัน กลายเป็นเหล้าองุ่นเดียว ดังนั้น สัตบุรุษจึงได้บิปังและดื่มถ้วยแห่งความรอด ในอีกแง่หนึ่ง การรับประทานปังของพระคริสต์และดื่มโลหิตของพระองค์ ก็จะเติบโตเป็นสมาชิกที่มีวุฒิภาวะของพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า (4) ซึ่งเป็นพระศาสนจักรของพระองค์

eucharistelevationเมื่อเรากล่าวถึงศีลมหาสนิท เราควรกล่าวอ้างถึงธรรมเนียมที่กลับมีชีวิตชีวาอีก บทภาวนาอวยพรตอนเริ่มรับประทานอาหาร และวอนขอพระหรรษทานในตอนท้ายของการรับประทานอาหาร นี่เป็นจารีตของชาวยิวด้วย มาจากคำอวยพรหรือ berakoth ที่หมายถึง ช่วงเวลาต่างๆของวัน พิธีของครอบครัวที่เป็นบทอวยพรในมื้ออาหารที่เรียกว่า Birkat-her-Mazon มีความสำคัญมาก “ขอถวายพระพร องค์พระผู้เป็นเจ้า พระราชาแห่งจักรวาล พระองค์ทรงเลี้ยงโลกจากพระเมตตากรุณา ความอ่อนโยน พระหรรษทานและทุกสิ่งล้วนเป็นสิ่งดี” ระหว่างภาคถวายในมิสซาของคาทอลิก มีบทสวดภาวนา 2 บท เกี่ยวกับปังและเหล้าองุ่น เป็นพระพร ถึงแม้พระพรของมื้ออาหารเป็นพื้นฐาน ของศีลมหาสนิทของคริสตชนที่มีความลึกซึ้งกว่าก็ตาม

คริสตชนต้องรักษาประโยชน์ที่พระเจ้าประทานความรักที่ถาวรลงภายในจิตใจของตน และขอบพระคุณพระองค์เสมอ ถึงแม้ว่าหนทางที่พระองค์โปรดให้เราเดินตามนั้นจะเต็มไปด้วยความยากลำบากก็ตาม (ซึ่งความจริง เป็นความหมายดั้งเดิมของคำว่า “ศีลมหาสนิท”) ผ่านทางพระเยซูคริสตเจ้า ตามที่นักบุญเปาโลได้กล่าวว่า พระหรรษทานมาถึงเราโดยอาศัยพระเยซู “ขอถวายพระพรแด่พระเจ้า พระบิดาของพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา พระองค์ทรงอวยพระพรแก่เราโดยประทานพระพรนานาประการ ของพระจิตเจ้าจากสวรรค์เดชะพระคริสตเจ้า” (อฟ 1:3)

คริสตชนจะเคารพต่อปังและต่อสิ่งที่มีความหมายในพระศาสนจักร ศีลมหาสนิทสามารถเปลี่ยนแปลงมนุษย์ได้ เป็นธรรมเนียมของคริสตชนที่ไม่ทิ้งเศษของแผ่นปัง และก่อนจะตัดขนมปัง ต้องทำเครื่องหมายกางเขนที่ขนมปังก่อน