แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

สายประคำ (The Rosary)

ในการสวดบท “วันทามารีย์”เราเข้าไปสู่ธรรมล้ำลึกของพระเยซูโดยอาศัยความอ่อนโยนเยี่ยงมารดาของพระนางพรหมจารีมารีย์


stlouisdemontfort    ความศรัทธาต่อพระนางพรหมจารีมารีย์ พระมารดาของพระเจ้า เป็นลักษณะพิเศษของพระศาสนจักรคาทอลิกและพระศาสนจักรออธอร์ดอกซ์ ชาวโปรเตสแตนท์ถือว่าการถวายเกียรติแด่พระมารดา คือ การลดเกียรติของพระบุตร และการหันมาหาพระนางมารีย์ เป็นการรุกรานอำนาจสากลในฐานะบุคคลกลางแจกจ่ายพระหรรษทานของพระคริสตเจ้า ถึงแม้ว่าพระนางมารีย์ต้องขึ้นกับพระเจ้าโดยสิ้นเชิง

    รูปแบบหนึ่ง ของความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ คือ การสวดสายประคำ ชาวคาทอลิกมักจะถือสายประคำในมือแม้กระทั่งในเวลาตายก็มีธรรมเนียมเอาสายประคำไว้ที่มือผู้ล่วงลับ คำว่า Rosary มาจากคำละติน rosarium เป็นมงกุฎ ที่ตั้งใจจะถวายเกียรติแด่พระนางพรหมจารีมารีย์ สายประคำประกอบด้วยเม็ดประคำ 5 ชุด ๆ ละ 10 เม็ด แยกกันด้วยเม็ดประคำเดี่ยว เม็ดประคำ 10 เม็ด คือ การสวดบท “วันทามารีย์” และสวด “บทข้าแต่พระบิดา” 5 ครั้ง และบท “พระสิริรุ่งโรจน์” 5 ครั้ง ตอนท้ายของสายประคำมีกางเขนที่เม็ดประคำ 3 เม็ด และเม็ดที่แยกออกไปอีก 2 เม็ด เราเริ่มทำสำคัญมหากางเขนและสวดบท “ข้าพเจ้าเชื่อ” และสวดเม็ดที่แยกเม็ดแรกด้วยบท “ข้าแต่พระบิดา” และบท “วันทามารีย์” 3 บท และจบด้วย บท “พระสิริรุ่งโรจน์” ดังนั้น การสวดสายประคำเป็นการถวายเกียรติแด่พระตรีเอกภาพ กางเขนและพระนางพรหมจารีมารีย์ในขณะเดียวกันจึงเป็นสัจธรรมคาทอลิกชนิดพื้นฐานเลยทีเดียว

    สายประคำน้อย คือ ส่วนหนึ่งของสายประคำทั้งหมด การสวดสายประคำคือ การถวายพวงมาลัยกุหลาบแด่พระนางมารีย์ ซึ่งทำด้วยสายประคำน้อย 3 เส้น เราฉลองแม่พระแห่งลูกประคำในวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่คริสตชนได้รับชัยชนะทางทะเลเหนือกองทัพเรือตุรกี ที่เมืองเลปันโต ประเทศกรีก วันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1571

    บท “วันทามารีย์” หรือบท อาเวมารีอา เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “คารวกิจของทูตสวรรค์” เพราะทำให้ระลึกถึงเหตุการณ์ที่ทูตสวรรค์กาเบรียลถวายคารวกิจแด่พระนางมารีย์เมื่อแจ้งสาร และเพิ่มเติมด้วยคารวกิจของนักบุญเอลิซาเบธ เมื่อแม่พระเสด็จไปเยี่ยมนาง ภาคที่สองของการภาวนาไม่ใช่นำมาจากพระวรสารโดยตรง “สันตะมารีย์ มารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อเราคนบาป บัดนี้และเมื่อจะตาย อาแมน” เมื่อเราภาวนาส่วนตัวหรือส่วนรวม ควรกระทำอย่างมีชีวิตชีวา โดยการเพิ่มการวอนขอ ซึ่งเป็นธรรมล้ำลึกที่รำพึงในภาคแรก

    ในการเข้าสู่ธรรมล้ำลึกแห่งความรอดโดยอาศัยการอยู่ใกล้ชิดกับดวงหทัยของพระนางมารีย์ มงกุฎทั้ง 3 ของสายประคำได้รับการทำให้ศักดิ์สิทธิ์เป็นธรรมล้ำลึกที่น่าชื่นชมยินดี ธรรมล้ำลึกแห่งพระมหาทรมาน และธรรมล้ำลึกแห่งสิริมงคล เช่นเดียวกับบทเพลงสดุดีที่มี 150 บท บทวันทามารีอา 150 บท เป็น บทเรียนในการรำพึง โดยอาศัยดวงหทัยของพระมารดา ที่ยอมทรงครรภ์อาศัยพระจิตแห่งความรัก ทำให้เราเข้าร่วมในโครงการซึ่งพระบิดาทรงมีพระประสงค์เพื่อเรา โดยอาศัยพระบุตรของพระนาง