บทที่ 3
ความเมตตาสงสารสำหรับคนแปลกหน้า
อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจใจดี (ลก.10.25-37)

    อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดีเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าเร้าใจมากที่สุดของพระองค์ พระองค์เพิ่งเริ่มออกเดินทางไปกรุงเยรูซาเล็มกับบรรดาสาวกของพระองค์ พระองค์ทรงพบกับนักกฎหมาย ผู้ซึ่งพระองค์ทรงสนทนาด้วยถึงวิธีที่จะรับมรดกชีวิตนิรันดร นักกฎหมายพยายามที่จะทดลองพระองค์ด้วยคำถามยอดนิยมที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดในสมัยนั้นคือบัญญัติข้อใดที่สำคัญที่สุดในหนังสือธรรมบัญญัติที่จะนำไปสู่ชีวิตนิรันดร สถานการณ์ที่สร้างแรงบันดาลใจถึงเรื่องอุปมาชาวสะมาเรียใจดี ซึ่งพัวพันกับความสัมพันธ์ที่ยากแก่ความเข้าใจระหว่างหนังสือธรรมบัญญัติกับแก่นคำสอนว่า

    “ ชายคนหนึ่งกำลังเดินทางจากกรุงเยรูซาเล็มไปยังเมืองเยรีโค เขาถูกโจรปล้น พวกโจรปล้นทุกสิ่ง ทุบตีเขา แล้วก็จากไป ทิ้งเขาไว้อาการสาหัสเกือบสิ้นชีวิต สมณะผู้หนึ่งเดินผ่านมาทางนั้นโดยบังเอิญ เห็นเขาและเดินผ่านเลยไปอีกฟากหนึ่ง ชาวเลวีคนหนึ่งผ่านมาทางนั้น เห็นเขาและเดินผ่านเลยไปอีกฟากหนึ่งเช่นเดียวกัน แต่ชาวสะมาเรียผู้หนึ่ง เดินทางผ่านมาใกล้ๆ เห็นเขาก็รู้สึกสงสาร จึงเดินเข้าไปหา เทน้ำมันและเหล้าองุ่นลงบนบาดแผลแล้วพันผ้าให้ นำเขาขึ้นหลังสัตว์ของตนพาไปถึงโรงแรมแห่งหนึ่งและช่วยดูแลเขา วันรุ่งขึ้นชาวสะมาเรียผู้นั้นนำเงินสองเงินเหรียญออกมามอบให้เจ้าของโรงแรมไว้ กล่าวว่า ‘ช่วยดูแลเขาด้วย เงินที่ท่านจะจ่ายเกินไปนั้น ฉันจะคืนให้เมื่อกลับมา’ ท่านคิดว่าในสามคนนี้ใครเป็นเพื่อนมนุษย์ของคนที่ถูกโจรปล้น” เขาทูลตอบว่า “คนที่แสดงความเมตตาต่อเขา” พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า “ท่านจงไปและทำเช่นเดียวกันเถิด ” (ลก.10.25-37)

1. ธรรมบัญญัติที่สำคัญที่สุด
    ประเทศปาเลสไตน์ในสมัยของพระเยซูเจ้า ดูเหมือนมีการถกเถียงกันท่ามกลางกลุ่มศาสนาต่างๆเกี่ยวกับปัญหาสำคัญ 2 ประการในธรรมบัญญัติของโมเสสว่า ธรรมบัญญัติใดสำคัญที่สุด และใครคือเพื่อนบ้านที่พระเจ้าให้เรารัก  มีการเพิ่มข้อกฎหมายในการสังเคราะห์ธรรมบัญญัติของโมเสสเท่าที่จำเป็น เพื่อเข้าถึงแก่นคำสอน อีกด้านหนึ่งของการจัดลำดับ พร้อมกับความตึงเครียดท่ามกลางกลุ่มต่างๆ รวมทั้งกลุ่มชาวสะมาเรียด้วย เพื่อเป็นบทสังเคราะห์ที่จำเป็นของกฎหมายเพื่อค้นหาแก่นของธรรมบัญญัติ ผู้คนกำลังถามว่า ใครเป็นเพื่อนบ้านของพวกเขา  พวกเขาคิดว่า เพื่อนบ้านคือคนที่เป็นสมาชิกของกลุ่มศาสนาของพวกเขาเองเท่านั้นหรือ หรือเป็นคนที่มีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวกัน ซึ่งเป็นความเชื่อเดียวกัน รวมถึงชาวสะมาเรียด้วยใช่ไหม  นักกฏหมายทูลถามพระเยซูเจ้าในคำถามที่สอง เป็นเพราะเขาพยายามทำให้พระเยซูเจ้าติดกับดัก  การนี้สะท้อนว่า มีการโต้เถียงมากแค่ไหนในประเด็นนี้ในกลุ่มต่างๆในปาเลสไตน์
    ส่วนแรกของบทสนทนาเกี่ยวกับคำถามแรก ในเรื่องการเพิ่มข้อกฎหมายนั้น  ทั้งนักกฎหมายและพระเยซูเจ้าเห็นพ้องต้องกันว่า ความรักต่อพระเจ้าและความรักต่อผู้อื่นเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการรับชีวิตนิรันดร นักกฎหมายตอบพระองค์ ด้วยช่องทางจากหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 6.5 และหนังสือเลวีนิติ 19.18 เพื่อเชื่อมโยงความรักต่อพระเจ้ากับความรักต่อผู้อื่น
    ในประเด็นนี้ นักกฎหมายวางกับดักลับๆมากขึ้น นั่นคือ ใครคือเพื่อนบ้านที่เราควรรัก คำตอบคือพี่น้อง คนคุ้นเคย เพื่อน  คนแปลกหน้า  หรือแม้กระทั่งศัตรูใช่ไหม  บางคนพิจารณาว่า คนที่เพิกเฉยต่อความรักต่อพระเจ้าเป็นเพื่อนบ้านของพวกเขาไหม เมื่อพระเยซูเจ้าทรงใช้เรื่องอุปมานี้เป็นกลยุทธ์ในการสอน  พระองค์ทรงรวมธรรมบัญญัติหลัก 2 ประการไว้ด้วยกัน โดยตรัสว่า ความรักต่อผู้อื่นเป็นนัยถึงความรักต่อพระเจ้า โดยพูดถึงเรื่องนี้โดยตรง

2. พระสงฆ์   เลวี และชาวสะมาเรีย
    ตามปกติ ไม่มีการระบุชื่อคนในเรื่องอุปมา  แต่พระเยซูเจ้าทรงย้ำอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และทางศาสนา พระองค์ทรงเริ่มเรื่องในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ยังเสด็จไม่ถึงเมืองเยรีโคระหว่างเดินทางสู่กรุงเยรูซาเล็ม และตรัสเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่ “ลงไป” จากเมืองศักดิ์สิทธิ์ไปเมืองเยรีโค เส้นทางที่เชื่อมเมืองทั้งสองยาวมากกว่า 16 ไมล์และเป็นอันตรายเพราะต้องข้ามหุบเขาวาดี  เคลท์ (Wadi   Qelt - ซึ่งเป็นหุบเขาทางตะวันตกที่ข้ามทะเลทรายยูดา ใกล้กรุงเยรูซาเล็มและสิ้นสุดใกล้เมืองเยรีโค) ขณะที่กรุงเยรูซาเล็มสูงเหนือระดับน้ำทะเล 2,461 ฟุต ขณะที่เมืองเยรีโคต่ำกว่าระดับน้ำทะเล  1,312 ฟุต จึงจำเป็นที่จะต้อง “ลงไป” จากกรุงเยรูซาเล็มเพื่อไปถึงเมืองเยรีโคตามที่ระบุไว้ในเรื่องอุปมา พระเยซูเจ้าตรัสว่า ชาวอิสราเอลคนหนึ่งถูกโจรปล้นทุกสิ่งไป ทุบตีเขา แล้วก็จากไป ทิ้งเขาไว้อาการสาหัสเกือบสิ้นชีวิต สภาพของคนเกือบสิ้นชีวิตเป็นเรื่องที่เร้าความรู้สึกได้ง่ายในเรื่องอุปมา ชาวอิสราเอลสัมผัสคนเกือบสิ้นชีวิตโดยไม่เสี่ยงต่อการมีมลทินทางศาสนาได้ไหม
    ไม่ใช่เหตุบังเอิญที่ชาย 3 คนที่เลือกมากล่าวในเรื่องอุปมา เพราะทั้งสามคนเป็นผู้ที่นมัสการพระเจ้าองค์เดียวกันด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ พระสงฆ์ที่กำลังลงมาจากกรุงเยรูซาเล็มหลังจากประกอบพิธีในพระวิหาร เลวีอยู่ในชนชั้นสงฆ์แต่ไม่ทำพิธีในพระวิหาร และชาวสะมาเรีย และณ ที่นี้ สิ่งต่างๆเริ่มไม่เข้ากันเพราะปกติกลุ่มบุคคล 3 ประเภท  ควรรวมพระสงฆ์ เลวีและชาวอิสราเอล (ดู เฉลยธรรมบัญญัติ 18.1 และ 27.9)  ชาวสะมาเรียเป็นคนแปลกแยกในจำนวน 3 ประเภทเพราะตามความคิดของชาวยิวแล้ว ชาวสะมาเรียเป็นคนมีมลทินทางศาสนาและถือว่าเป็นชนต่างชาติ  เหตุผลสำคัญสำหรับความขัดแย้งกันระหว่าง 2 ชนชาติปรากฏในบทสนทนาระหว่างพระเยซูเจ้ากับหญิงชาวสะมาเรีย พวกเขามีความเห็นต่างกันว่า ประชาชนควรนมัสการพระเจ้าบนภูเขาลูกไหน ชาวอิสราเอลนมัสการพระเจ้าบนภูเขาในกรุงเยรูซาเล็ม หรือบนภูเขาเกรีซิม ซึ่งเป็นสถานที่ที่ชาวสะมาเรียนมัสการพระเจ้า (ดู ยอห์น 4.20)
    ตามธรรมบัญญัติของโมเสส  “ผู้สัมผัสศพจะมีมลทินเจ็ดวัน  เขาจะต้องใช้น้ำชำระมลทินชำระร่างกายในวันที่สามและวันที่เจ็ด เขาจึงจะพ้นมลทิน แต่ถ้าเขาไม่ทำ เขาก็จะมีมลทิน  เมื่อไปร่วมพิธีในพระวิหาร  ก็เป็นการลบหลู่ที่ประทับขององค์พระผู้เป็นเจ้า  เขาจะต้องถูกขับไล่ออกจากอิสราเอล” (ดู กันดารวิถี 19.11-13). แม้กฎปรับประยุกต์สำหรับพระสงฆ์มากขึ้นและแม้กระทั่งกรณีของญาติของคนที่เสียชีวิต (เลวีนิติ 21.1-4).ดังนั้น สถานการณ์นี้เกี่ยวข้องกับดินแดนที่มีมาก่อนแล้ว  พระสงฆ์และพวกเลวีเผชิญกับทางเลือกที่ว่า จะปฏิบัติตามธรรมบัญญัติเรื่องพิธีชำระมลทินหรือจะช่วยคนใกล้สิ้นใจ  อย่างไรก็ตาม เป็นการดีที่จะชี้ประเด็นว่า เป็นบรรทัดฐานด้านวัฒนธรรม ไม่ใช่เป็นข้อแก้ตัวให้กับพระสงฆ์หรือพวกเลวี  เพราะในสถานการณ์ในเรื่องอุปมานี้ พวกเขาต้องช่วยคนใกล้สิ้นใจ   แต่ทั้งสองคนเห็นชาวอิสราเอลที่ถูกปล้น แล้วเดินผ่านไป
    ในที่สุด ชาวสะมาเรียเห็นคนใกล้สิ้นใจ  ชาวสะมาเรียรู้สึกเห็นใจชาวอิสราเอลและเอาใจใส่เขา ดังนั้น เรื่องอุปมาสร้างความขัดแย้งที่เลี่ยงไม่ได้ คือ ชาวสะมาเรียซึ่งเป็นศัตรูทำในสิ่งที่พระสงฆ์และเลวีเลี่ยงที่จะทำ   ทั้งๆที่ชาวสะมาเรียเป็นศัตรู (ชาวอิสราเอลถือว่าชาวสะมาเรียเป็นศัตรู) เนื้อหาของเรื่องอุปมาเริ่มที่จะยั่วโทสะ เนื่องจากความรักต่อพระเจ้า ไม่รับประกันอย่างอัตโนมัติว่าจะรักเพื่อนบ้านด้วย  นอกจากนี้ สิ่งที่หวังจากพระสงฆ์และเลวี ที่มีความรู้มากเกี่ยวกับความรักของพระเจ้า แต่ชาวสะมาเรียปฏิบัติความรักต่อเพื่อนมนุษย์จนสำเร็จ  ซึ่งชาวสะมาเรียมีมลทินเพียงเพราะแตกต่างด้านชาติพันธุ์จากชาวอิสราเอลเท่านั้น  คนต่างชาติกลับช่วยชายอิสราเอลที่กำลังสิ้นใจให้รอดตาย

3. จากความรู้สึกเห็นใจถึงการลงมือช่วยเหลือผู้อื่น   
เรื่องอุปมาเข้าถึงจุดเปลี่ยนเมื่อเรื่องอุปมาบอกว่า ชาวสะมาเรีย “รู้สึกกรุณา” (ข้อ 33) ต่อคนที่เกือบสิ้นชีวิต ดังนั้น ตอนจบ นักกฎหมายยอมรับว่า เพื่อนบ้านคือ “คนที่แสดงเมตตากรุณาเขา” (ข้อ 37)  เราสมควรที่จะจดจำไว้ ณ ที่นี้ว่า คำกริยาที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ, spanchnizomai (“รู้สึกกรุณา”) มาจากคำนาม splanchna ซึ่งภาษากรีกหมายถึง “ลำไส้” รวมทั้งหัวใจด้วย เนื่องจากวิธีคิดธรรมดาในสมัยของพระเยซูเจ้า ความรู้สึกของบุคคล (ความรัก ความเห็นอกเห็นใจ  ความเมตตา) แสดงออกอย่างจริงใจ  ชาวสะมาเรียไม่ได้หยุดแค่การเห็นคนใกล้สิ้นชีวิตเท่านั้น แต่เขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับตัวตนที่ลึกที่สุดของชาวสะมาเรีย และนี่เป็นความเห็นอกเห็นใจที่จริงใจ  ที่ผลักดันชาวสะมาเรียให้ช่วยเหลือคนใกล้สิ้นชีวิตให้รอดตาย
    ความเห็นอกเห็นใจที่แท้จริงไม่ใช่ความรู้สึก แต่เป็นการกระทำที่มีผลในการเอาใจใส่คนอื่น พระเยซูเจ้าทรงเล่าถึงการที่ชาวสะมาเรียช่วยคนใกล้สิ้นชีวิต ด้วยความเอาใจใส่ต่อรายละเอียดเฉพาะ เช่น ชาวสะมาเรียเข้าใกล้ชาวอิสราเอล,ทำความสะอาดร่างกายเขาจนหมดจด พันแผล นำชาวอิสราเอลขึ้นหลังสัตว์ นำไปที่โรงแรม  และเขาใส่ใจชาวอิสราเอลที่นั่น  หลังจากชาวสะมาเรียคนนั้นพักคืนแรก เมื่อมีความเสี่ยงมากที่สุดที่คนใกล้สิ้นใจจะตายได้  ชาวสะมาเรียให้เจ้าของโรงแรม 2 เดนารีซึ่งเท่ากับค่าแรง 2 วัน  เพื่อชาวซามาเรียลาจากชาวอิสราเอลเพื่อเดินทาง
ต่อไป  ชาวสะมาเรียรับปากกับเจ้าของโรงแรมว่า เขาจะจ่ายเงินส่วนเกินจากที่ให้ไว้แก่เจ้าของโรงแรมเมื่อเขากลับมา
    ตั้งแต่เริ่มเรื่องจนจบ ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับชาวอิสราเอลที่ใกล้สิ้นใจ ไม่ได้คำบรรยายเรื่องของตระกูลหรือสถานะทางสังคม  ผู้เล่าเรื่องสนใจที่ชาวสะมาเรียที่แสดงความเมตตา ใส่ใจคนใกล้สิ้นใจและจ่ายเงินค่ารักษาให้เขาความเห็นอกเห็นใจที่แท้จริงนำบุคคลหนึ่งไปเกี่ยวข้องกับการทำดีให้สำเร็จ ถึงแม้ว่า ต้องลงทุนเรื่องเวลาและเงิน เพื่อเห็นแก่คนที่เขาให้ความช่วยเหลือ นักบุญอัมโบรสแห่งมิลาน กล่าวไว้ดีมากว่า “ความเมตตาไม่ใช่เรื่องของเครือญาติ แต่เป็นการทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนบ้าน”  (Exposition of the Gospel of Luke, 7.84)

4. คำพูดย้อนกลับ
    พระเยซูเจ้าทรงตอบคำถามของนักกฎหมายในเรื่องอุปมาของชาวสะมาเรีย เรื่องอุปมาฉายแสงบนชีวิตด้วยการล้มล้างด้วยวิธีคิดที่ปกติแสนธรรมดา สมัยของพระเยซูเจ้า นิยมการโต้คารมกัน สิ่งที่ควรจดจำว่า  คนที่มีวาทกรรมเผ็ดร้อนที่สุดกำลังสนใจอัตลักษณ์ของเพื่อนบ้าน. ทุกกลุ่มมีวิธีเข้าใจต่างกันว่าใครคือเพื่อนบ้าน  พระเยซูเจ้าทรงเสนอคำตอบดั้งเดิมที่สุด เนื่องมาจากสิ่งที่ทรงเล่าในเรื่องอุปมา,พระองค์ทรงกลับทำให้การโต้คารมคว่ำลงอย่างไม่เป็นท่า
    ถ้าตั้งแต่เริ่มเรื่องว่า เพื่อนบ้านคือคนใกล้สิ้นชีวิตในตอนจบ เขาเป็นชาวสะมาเรีย คนใกล้สิ้นชีวิตคือคำตอบสำหรับคำถามของนักกฎหมาย (“ใครคือเพื่อนบ้านของข้าพเจ้า”) แต่ชาวสะมาเรียคือคำตอบสำหรับคำถามของพระเยซูเจ้า “ในสามคนนี้ ใครเป็นเพื่อนมนุษย์ของคนที่ถูกโจรปล้น”  นักกฎหมายยังไม่ตระหนักว่า,เขาเกือบจะนับว่าอยู่ในกลุ่มดังกล่าว  เขายอมรับกับข้อเท็จจริงที่เจ็บแสบว่า เพื่อนบ้านไม่ใช่คนใกล้สิ้นชีวิต แต่เป็นชาวสะมาเรียที่มีเมตตากรุณาต่างหาก ดังนั้น นักกฎหมายถูกบังคับให้ตอบในสิ่งที่ไม่ต้องการตอบว่า  เพื่อนบ้านคือชาวสะมาเรีย – ซึ่งนักกฎหมายเพียงกล่าวอ้างถึง “คนที่แสดงความเมตตาต่อผู้อื่น...” มากกว่าอ้างถึงอัตลักษณ์ด้านชาติพันธุ์
    พระเยซูเจ้าทรงเผยแสดงต่อนักกฎหมายว่า เรื่องอุปมาเชื่อมโยงกับชีวิตอย่างไร เพราะพระองค์ทรงกระตุ้นเขาให้เข้าสู่ตรรกะของเรื่องอุปมา – เหมือนผู้อ่านที่เข้าถึงเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง-และเพื่อกระทำเหมือนชาวสะมาเรียด้วยการทำตัวเองเป็นเพื่อนบ้านของผู้อื่น จากพื้นฐานของคำถามแรกในบทสนทนาเกี่ยวกับพระบัญญัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด  คำถามว่า “ใครคือเพื่อนบ้าน” นำไปสู่การโต้คารม ที่ไม่มีข้อสรุป  จนกว่าผู้คนจะสามารถชี้ที่ตัวพวกเขาเองได้ นั่นคือ เรื่องอุปมาแปรสภาพรูปแบบธรรมดาของการคิดเกี่ยวกับ “ใครเป็นเพื่อนบ้าน” ด้วยความต้องการให้ผู้ฟังเริ่มที่ตัวเขาเองก่อน  “ท่านจงไปและทำเช่นเดียวกันเถิด” (ลก.10.37) เพื่อนบ้านคนหนึ่งต้องไม่ถูกกำหนดว่าเป็นมลทินจากกำเนิดทางสังคม ทางวัฒนธรรมและทางศาสนา แต่ด้วยความเมตตาที่แสดงต่อผู้อื่น

5. พระเยซูเจ้าทรงเป็นชาวสะมาเรียผู้ใจดีใช่ไหม
    นับแต่สมัยปิตาจารย์ของพระศาสนจักร, เรื่องอุปมานี้ได้ถูกอ่านเพื่อแสดงมนุษยภาพของพระเยซูเจ้า  ซึ่งปิตาจารย์แห่งพระศาสนจักร เคลเมนต์แห่งอเล็กซานเดรียวิจารณ์ว่า “ใครเล่าจะเมตตาต่อเราได้มากกว่าพระเยซูเจ้า” ใครเล่า ที่จ้าวแห่งความมืดทั้งหลายส่งไปสู่ความตายพร้อมกับบาดแผล ความกลัว กิเลสตัณหา ความลุ่มหลงมัวเมา ความเจ็บปวด การหลอกลวง ความหลงระเริงต่างๆมากมาย จากบาดแผลเหล่านี้แหละ  แพทย์คนเดียวที่จะรักษาได้ คือ พระเยซูเจ้าที่ทรงตัดความลุ่มหลงมัวเมาอย่างสิ้นเชิงที่รากเหง้าเลยทีเดียว” (ใครคือเศรษฐีที่จะรอดพ้น,29-“Who Is the Rich Man That Shall   Be   Saved”?,29)
    รายละเอียดต่างๆ ของเรื่องอุปมานี้ ทำให้เราคิดเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงหยุดทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อสนทนากับหญิงชาวสะมาเรีย (ดู ยอห์น 4.7)  แบบฉบับตายตัวของพระเยซูเจ้า คือการเปลี่ยนแปลงความเห็นใจลึกซึ้งเช่นนี้เข้าสู่การใส่ใจผู้ป่วย แม้รายละเอียดชั้นรอง  เช่นรายละเอียดของชาวสะมาเรียใจดี ที่เดินทางจากโรงแรม และกลับมาภายหลัง,สามารถทำให้เราคิดเกี่ยวกับความจริงคู่ขนานที่เหมือนพระเยซูเจ้าทรงจากไป (สิ้นพระชนม์) หลังการทรงกลับคืนพระชนมชีพ และจะเสด็จกลับมาครั้งที่สอง
    อย่างไรก็ตาม การตีความเรื่องอุปมาโดยอ้างถึงพระเยซูเจ้าเท่านั้น อาจจะทำให้เรื่องราวเสื่อมลง สิ่งที่กล่าวถึงชาวสะมาเรีย หมายถึงพระเยซูเจ้าและประชาคมคริสตชน ที่ซึ่งการอุทิศตนเพื่อเพื่อนบ้าน ถูกแปรสภาพไปเป็นการดูแลด้วยความใส่ใจต่อใครก็ได้ที่เราเห็นว่า เป็น “คนอื่น” ดังนั้น เรื่องอุปมานี้จึงแสดงถึงชีวิตประจำวันของทุกคน  และแปรสภาพชีวิตประจำวันนั้นจากภายในจิตวิญญาณ คือ เรื่องอุปมาช่วยทำให้นักกฎหมายเข้าใจอย่างชัดเจนว่า ความรักที่มีต่อพระเจ้าไม่สามารถแยกจากความรักที่มีต่อเพื่อนบ้าน

6. การปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ
    ชุมชนคริสตชนระยะเริ่มแรกติดตามโคจรวิถีเส้นทางของพระเยซูเจ้า และดิ่งลึกลงถึงความสำคัญของเรื่องอุปมาของชาวสะมาเรียใจดี  นักบุญเปาโลอ้างถึงโอกาส 2 ครั้งเพื่อโต้แย้งเกี่ยวกับพระบัญญัติที่สำคัญที่สุดในธรรมบัญญัติ ท่านพูดกับชาวกาลิลีที่เสี่ยงต่อการทำลายกันเองว่า “เพราะธรรมบัญญัติทั้งหมดสรุปได้เป็นข้อเดียวว่า ‘จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง’ ” (กท.5.14)  อิสรภาพคริสตชนเป็นเรื่องสูงสุด เพราะเป็นของขวัญจากพระคริสตเจ้าว่า “พระคริสตเจ้าทรงปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระแล้ว” (กท.5.1) นี่คือเหตุผลที่อิสรภาพเช่นนั้นไม่ควรนำไปสู่อนาธิปไตย   แต่ควรชุบชีวิตตนเองในการรับใช้และรักเพื่อนบ้านของตน เมื่อนักบุญเปาโลกล่าวสุนทรพจน์กับคริสตชนในโรมท่านกลับไปหาพระบัญญัติแห่งความรักและพิจารณาว่า  “อย่าเป็นหนี้ผู้ใด นอกจากเป็นหนึ้ความรักซึ่งกันและกัน การรักกันและกันเป็นเอกลักษณ์ของคนมีความเชื่อ,เนื่องจากคนที่ทำความเสียหายแก่เพื่อนบ้านมักขาดความรัก” (ดูจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม 13.8) ในทั้งสองโอกาสนั้น นักบุญเปาโลไม่ได้กล่าวถึงความรักต่อพระเจ้า แต่เน้นความใส่ใจในการปฏิบัติความรักต่อเพื่อนบ้านของแต่ละคน  เหตุใดมีการขาดสมดุลและความเงียบงันที่ชัดเจนเกี่ยวกับความรักต่อพระเจ้าในที่นี้
เหตุผลได้มีปรากฏในจดหมายฉบับแรกของนักบุญยอห์นว่า “ผู้ที่ไม่รักพี่น้องที่เขาแลเห็นได้ย่อมไม่รักพระเจ้าที่เขาแลเห็นไม่ได้” (1 ยน. 4.20) ความเสี่ยงใหญ่หลวงที่นักบุญเปาโลและนักบุญยอห์นได้เห็นล่วงหน้าคือ โดยการอ้างถึงความรักต่อพระเจ้า  การละเมิดและการละเลยอย่างร้ายแรงอาจเกิดขึ้นได้ในพระศาสนจักร  ความเข้าใจของคนเกี่ยวกับความรักของพวกเขาต่อพระเจ้า ง่ายต่อการปรับให้เข้ากับมาตรการและความต้องการของพวกเขาเอง แต่เป็นเรื่องที่ต่างออกไปเมื่อมารักใคร่ผู้อื่นที่มีเลือดเนื้อจริงๆ ความรักพระเจ้าไม่ผลิตความรักผู้อื่นอย่างอัตโนมัติในทุกกรณี,แต่เป็นจริงที่ว่า ความรักสำหรับผู้อื่นของคนๆหนึ่ง เป็นกระจกสะท้อนความรักที่มีต่อพระเจ้า
    อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เป็นการหลอกตัวเราเอง  การกลับไปหาแหล่งต้นกำเนิดจะช่วยได้  ซึ่งก็
คือ ความรักที่พระเจ้าทรงมีต่อเรา นักบุญยอห์นเน้นย้ำเป็นพิเศษว่า “จงมีความรักเถิด เพราะพระองค์ทรงรักเราก่อน” (1 ยอห์น 4.19)  เพื่อขยายความว่า เราอยู่ในฐานะที่รักผู้อื่น  ความรักแท้ต่อผู้อื่นไม่ได้มาจากโครงการด้านสังคม หรือแนวคิดที่ดำรงชีวิตเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น (Altruism) แบบเรียบง่าย ยิ่งกว่านั้น ความรักแท้นี้มาจากความรักที่พระเจ้าและพระเยซูคริสตเจ้ามีต่อมนุษย์, และในทางการกลับกัน ความรักปรากฏเป็นความรู้สึกท่วมท้นที่นำ “ผู้ที่มีชีวิตจะได้ไม่มีชีวิตเพื่อตนเองอีกต่อไป แต่มีชีวิตเพื่อพระองค์ผู้ได้สิ้นพระชนม์ และทรงกลับคืนพระชนมชีพเพื่อเขา”
(2 คร. 5.15)
    เรื่องอุปมาชาวสะมาเรียใจดีให้ความหมายแก่ชีวิตมนุษย์ เรากลายเป็นเพื่อนบ้านต่อผู้อื่นอย่างมากที่สุดเพราะพระเจ้าทรงเคลื่อนพระองค์เข้าใกล้เรา และยังดำเนินต่อไปทางพระคริสตเจ้า,ที่ทรงห่วงใยเกี่ยวกับบาดแผลของมนุษย์อย่างเราๆ การกลับด้านความคิดนั้น จึงสามารถชักจูงนักกฎหมายและบังคับเขาให้เปลี่ยนแปลงจิตใจของเขา. ไม่ใช่ปัญหาของการเลือกระหว่างความรักต่อพระเจ้าและความรักต่อผู้อื่น,แต่เกี่ยวกับการยอมรับว่า คนที่รักพี่น้องชายหญิงที่พวกเขามองเห็น   ก็จะรักพระเจ้าซึ่งพวกเขามองไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม เป็นสภาพความเป็นจริงที่ขมขื่นของชีวิตมนุษย์ ที่การกลับด้านมักไม่เป็นกรณีเช่นนี้เสมอไป นั่นคือ การรักพระเจ้าไม่เป็นนัยว่า เขาจะรักผู้อื่นอย่างอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม ความรักต่อพระเจ้ามักเกิดผลให้มนุษย์รักผู้อื่นเสมอ