แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 1
พระเยซูเจ้า    ความเมตตากรุณา   และเรื่องอุปมา

“จงเมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลก.6.36) เป็นหนึ่งในแถลงการณ์ที่จริงจังของพระเยซูเจ้า ชาวยิวรู้ข้อเท็จจริงที่ว่า พระบิดาเจ้าทรงพระเมตตากรุณา แต่การคิดว่า มนุษย์จะเป็นเหมือนพระบิดายังเป็นปัญหาอยู่ เราจะสามารถมีความเมตตาเหมือนพระบิดาไหม และเหตุใดเราควรเป็นเหมือนพระองค์ มีการตั้งชื่อพระวรสารโดยนักบุญลูกาว่าเป็น “พระวรสารแห่งพระเมตตากรุณาของพระเจ้า” เพราะบ่งบอกถึงพระชีวประวัติของพระเยซูเจ้าที่กอปรด้วยพระเมตตากรุณาซึ่งเป็นหัวข้อหลัก

    ก่อนที่จะกล่าวถึงความเมตตา พระเยซูเจ้าทรงบันดาลให้เราสัมผัสและเห็นพระเมตตากรุณา อัศจรรย์แรกๆของพระองค์ทรงกระทำแก่คนโรคเรื้อนคนหนึ่งคือ “ทรงสะเทือนพระทัยด้วยความสงสาร จึงทรงยื่นพระหัตถ์ออกไปและทรงสัมผัสเขา” (มก.1.41)  ทรงสะเทือนพระทัยด้วยความเมตตา พระองค์ไม่ทรงกลัวที่จะติดเชื้อโรค และคนตาบอดที่เมืองเยรีโคส่งเสียงตะโกนเรียกพระองค์ดังกว่าเสียงของผู้คนที่ห้ามเขา เขาตะโกนว่า “ข้าแต่พระเยซู โอรสของกษัตริย์ดาวิดเจ้าข้า โปรดเมตตาข้าพเจ้าเถิด’ (ลก.18.38)
การพบปะของพระองค์กับคนเจ็บป่วยและคนบาปเต็มเปี่ยมไปด้วยพระเมตตากรุณา พระองค์ทรงปลดปล่อยหญิงตกโลหิตให้เป็นอิสระจากการถูกหินทุ่มตายด้วยพระเมตตากรุณา (ดูยน.8.3-11)  ท่าทีที่พระองค์ทรงอนุญาตให้หญิงคนบาปสัมผัสพระองค์ ทำให้ซีโมน ชาวฟาริสีรู้สึกรังเกียจ (ลก.7.36-50) พระเยซูเจ้าไม่ตรัสเกี่ยวกับความเมตตาแบบนามธรรม แทนที่จะทรงอธิบายให้ชัดเจน พระองค์กลับตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่านเรื่องอุปมาต่างๆ  เรื่องอุปมาใดบ้าง  เหตุใดทรงใช้เรื่องอุปมา  พระองค์ประทานพระเมตตากรุณาแก่ใครในเรื่องอุปมาเหล่านี้ และพระองค์แสดงออกถึงพระเมตตากรุณาอย่างไรบ้าง

1.เรื่องอุปมาใดเกี่ยวกับความเมตตา
    สำหรับคนที่คุ้นเคยกับพระคัมภีร์, “เรื่องอุปมาเกี่ยวกับพระเมตตากรุณา” ชวนให้ระลึกถึงอุปมา 3 เรื่องใน ลก.15.1-32 เรื่องแกะที่พลัดหลงเรื่องเงินเหรียญที่หายไป และเรื่องลูกล้างผลาญ เรื่องเงินเหรียญที่หายไป และเรื่องอุปมาเศรษฐีและขอทานชื่อลาซารัส อย่างไรก็ตาม ความคิดเกี่ยวกับพระเมตตากรุณายังกระจายไปยังเรื่องอุปมาอื่นๆของพระเยซูเจ้าด้วย  เช่น อุปมาเรื่องลูกหนี้ 2 คนกับเจ้าหนี้ (ลก.7.41-43) อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียใจดี (ลก.10.25-37) อุปมาเรื่องเศรษฐีและขอทานชื่อลาซารัส (ลก.16.19-31)  อุปมาเรื่องผู้พิพากษาที่ไร้มโนธรรมและหญิงม่ายผู้รบเร้า (ลก.18.1-8)  อุปมาเรื่องชาวฟาริสีและคนเก็บภาษีในพระวิหาร (ลก.18.9-14)
    ในพระวรสารฉบับที่ 3 นั้น มีเรื่องอุปมา 8 เรื่องเกี่ยวกับพระเมตตากรุณาในหลายแง่มุม พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมา 7 เรื่องระหว่างการเดินทางไปสู่กรุงเยรูซาเล็ม (ลก.9.51-19.46) เรื่องอุปมาสั้นๆ เพียงเรื่องเดียวเท่านั้นเกี่ยวกับลูกหนี้ 2 คนและเจ้าหนี้ (ลก.7.41-43) ที่ทรงเล่าระหว่างการเทศน์สอนในแคว้นกาลิลี เนื่องจาก มีเรื่องอุปมามากมายในพระวรสารของนักบุญลูกา พระองค์ยังทรงเล่าเรื่องอุปมาเกี่ยวกับความเมตตาอื่นๆอีก  เหตุนี้เอง สมควรที่จะเราจะพิจารณาสิ่งที่พระองค์ตรัสเกี่ยวกับหลายมุมมองของเรื่องความเมตตา
    ความเมตตาไม่ใช่คุณธรรมตามธรรมชาติ (ที่ได้มาแต่กำเนิด) ที่ขึ้นกับบุคลิกภาพของบุคคล คนที่มีคุณธรรมมากที่สุดไม่จำเป็นที่จะมีความเมตตามากกว่าคนอื่น แต่ความเมตตาเป็นปัญหาหนึ่งของคุณลักษณะที่มีวุฒิภาวะทางจิตใจได้ เหมือนคนหนึ่งที่ใช้เวลาอยู่กับพระเยซูเจ้า นั่นเป็นวิธีที่เราเรียนรู้ถึงความเมตตา แน่นอน ไม่ใช่เรื่องอุปมาทั้งหมดของพระเยซูเจ้าจะเกี่ยวกับความเมตตา เรื่องอุปมาก็ไม่ได้สื่อเรื่องความเมตตาเท่านั้น      อย่างไรก็ตาม ควรมองเรื่องอุปมาแยกต่างหาก  “จงเมตตาเหมือนพระบิดาที่ทรงพระเมตตากรุณาเถิด” ซึ่งเป็นกุญแจในการเข้าถึงเรื่องเหล่านั้น

2. เหตุใดพระเยซูเจ้าทรงใช้เรื่องอุปมา
    เหตุใดพระเยซูเจ้าทรงใช้เรื่องอุปมามากกว่าใช้วิธีอื่นเพื่อกล่าวถึงพระเมตตากรุณา และเหตุใดจึงมีเรื่องอุปมาเกี่ยวกับพระเมตตากรุณามากมายจริงๆ  เหตุใดไม่ใช้ชื่อเรื่องอุปมาว่า “ลูกล้างผลาญ”-หรือเรื่องอุปมา ”บิดาผู้ใจดี” ตามที่คนในปัจจุบันอยากเรียกชื่อนี้ – ก็น่าจะเพียงพอมิใช่หรือ เมตตาธรรมและปรีชาญาณเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง  แต่เราควรเพิ่มเรื่องเมตตากรุณาเข้าไปในรายการนั้นด้วย  ถ้าเราคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจังแล้ว   ถ้าเราคิดที่จะเป็นคนมีความเมตตา พระบิดาทรงพระเมตตากรุณา เป็นไปไม่ได้ที่จะพูดเกี่ยวกับความเมตตาแยกต่างหากจากคนที่มีความเมตตาหรือคนที่ไม่มีความเมตตาจริงๆ   ถ้าพระเยซูเจ้าทรงพอพระทัยที่จะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเมตตามากกว่าให้คำนิยามด้วยคำนี้  พระองค์ทรงมีเหตุผลของพระองค์ ซึ่งเราจะพยายามเน้นเรื่องนี้

2.1 กระจกแห่งชีวิต
    เรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้า รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับความเมตตาเชื่อมโยงกับชีวิตจริงตามที่ได้อธิบายไว้แล้ว ผิดตรงที่คิดว่า หลังจากอ่านเรื่องอุปมาหนึ่งของพระเยซูเจ้า  เราจำต้องแปลความหมายเรื่องนั้น  ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม เพราะเรื่องอุปมาที่แสดงความเมตตากลับแปลความหมายชีวิตของผู้คนและท้าทายพวกเขา
    เรื่องลูกหนี้สองคนและเจ้าหนี้ (ลก.7.41-43) ได้แรงบันดาลใจจากสถานการณ์ที่น่าอับอายที่บ้านของซีโมนชาวฟาริสี  พระเยซูเจ้าทรงปล่อยให้ผู้หญิงคนบาปเช็ดพระบาทและจุมพิตพระบาทของพระองค์     เรื่องอุปมาที่พระองค์ทรงเล่าในตอนนั้น บ่งบอกว่า ในฉากนั้น ลูกหนี้ที่ได้รับการยกหนี้ก้อนใหญ่กว่า แสดงความรู้คุณต่อเจ้าหนี้มากกว่าลูกหนี้ที่ได้รับการยกหนี้ก้อนเล็กกว่า พระองค์ทรงยกโทษบาปให้ผู้หญิงที่เช็ดพระบาทของพระเยซูเจ้า ไม่ใช่กรณีที่เธอได้รับการยกบาปเพราะเธอได้เช็ดพระบาทของพระองค์
    อุปมา 3 เรื่องในพระวรสารของนักบุญลูกาบทที่ 15 ซึ่งเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าเป็น “เรื่องอุปมาที่แสดงลักษณะเมตตากรุณา” ตามมาด้วยพระดำรัสที่พระเยซูเจ้าตรัสขณะกำลังเสวยพระกระยาหารกับคนบาป  เรื่องอุปมาทำให้สถานการณ์กระจ่างชัดและบังคับคนที่วิจารณ์พระเยซูเจ้าให้คิดถึงการตัดสินของพวกเขา หลังจากพระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมา 3 เรื่องนั้น พระองค์ตรัสเกี่ยวกับคนที่ยกย่องตัวเองเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า (ดู ลก.16.15) นำไปสู่เรื่องอุปมาเรื่องเศรษฐีและขอทานลาซารัส  อุปมาเรื่องผู้พิพากษาที่ไร้มโนธรรมและหญิงม่ายผู้รบเร้า (ลก.18.1-8)   อธิบายถึงความสำคัญของการภาวนา และคนที่อดทนจะเปลี่ยนพระทัยของพระเจ้าได้  อุปมาเรื่องชาวฟาริสีและคนเก็บภาษีที่พระวิหาร (ลก.18.9-14) เกิดจากข้อสมมติฐานเกี่ยวกับคนที่ดูหมิ่นคนอื่นเพื่อยกย่องตัวเขาเอง
พระเยซูเจ้าทรงสะท้อนชีวิตจริงในเรื่องอุปมาของพระองค์ – แสดงความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า
และกับคนบาปอื่นๆ ด้วยเหตุนี้  ตัวละครในเรื่องอุปมาเป็นบุคคลนิรนามและไม่กำหนดชื่อของสถานที่ในเรื่องด้วย เพื่อให้ผู้ฟังทุกคนกลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องอุปมาของพระองค์ และจะได้สะท้อนชีวิตตนเองจากเรื่องด้วยความจริงที่สร้างการคืนดี ทำให้พวกเขาคิดทบทวนถึงความสัมพันธ์ที่พวกเขามีส่วนร่วมในแต่ละวันอีกครั้งหนึ่ง

2.2  พระเยซูเจ้า  ข้าพเจ้าและคนอื่น
ชีวิตจริงได้รับการถ่ายทอดผ่านเรื่องอุปมาต่างๆของพระเยซูเจ้า  เรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวกับความเมตตาที่บอกลักษณะของความสัมพันธ์ 3 ด้าน  เพื่อความเหมาะสม เราสามารถอ้างเป็นคำ “พระองค์  ข้าพเจ้า และคนอื่น” ฉากเกี่ยวกับเรื่องลูกหนี้ 2 คนและเจ้าหนี้  พระสงฆ์  เลวี และเรื่องชาวสะมาเรีย  คนเลี้ยงแกะกับแกะ 99 ตัวและแกะตัวหนึ่งที่พลัดหลง   แม่บ้าน เงิน 9 ดรักมา และเงินเหรียญหนึ่งที่หาย   เรื่องบิดาที่มีบุตรชาย 2 คน  คนหนึ่งตายแล้วกลับมีชีวิตใหม่  เรื่องขุนนางผู้มั่งมี  ลาซารัสและอับราฮัม  เรื่องผู้พิพาษาอธรรมมีพระเจ้าและหญิงม่าย เรื่องชาวฟาริสีกับคนเก็บภาษีและพระเจ้าในพระวิหาร
  เนื่องจากเรายังพบเรื่องอุปมาในพระวรสารที่ย้ำเน้นเนื้อหาองค์ประกอบหนึ่ง เช่นเดียวกับอุปมาเกี่ยวกับเมล็ดมัสตาร์ดที่เติบโตเอง (ดู ลก. 13.18-19) หรือเนื้อหา 2  เช่น เรื่องอุปมาเชื้อแป้งและแป้ง (ลก.13.20-21)  ความสัมพันธ์ 3 ด้านในเรื่องอุปมาแสดงพระเมตตากรุณาเป็นเรื่องที่มีจุดมุ่งหมาย โครงสร้างนี้บอกเป็นนัยที่เราไม่อาจมองข้าม  บ่อยครั้ง พระเมตตากรุณาของพระเจ้าเกี่ยวโยงกับความเมตตาที่มนุษย์แสดงออกและไม่ได้เกิดขึ้นในความว่างเปล่าหรือในความหมายของความสัมพันธ์ “ของข้าพเจ้า” กับพระเจ้า  “จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลก.6.36) เป็นลำแสงหลักสำคัญแห่งพระเมตตากรุณาที่มีโครงสร้างสวยงามในรูปแบบของเรื่องอุปมา

2.3 การพลิกกลับด้าน
เรื่องอุปมาเกี่ยวกับพระเมตตากรุณา มีลักษณะเหมือนกันคือการกลับด้านสถานการณ์  เรื่องอุปมาคุมเชิงผู้ฟังให้จนมุมเพราะสถานการณ์ได้รับการแก้ไขด้วยวิธีที่น่าประหลาดใจ  ที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่คาดหวังไว้
ในการตอบคำถามของพระเยซูเจ้าว่า ลูกหนี้ 2 คน “ใครจะรักเจ้าหนี้ของเขามากกว่ากัน” ซีโมนตอบ “ข้าพเจ้าคิดว่า เป็นคนที่ได้รับการยกหนี้ให้มากกว่า” (ลก.7.43) ความจริง   ซีโมนไม่อยากตัดสินหญิงคนบาปที่เช็ดพระบาทพระเยซูเจ้า ตอนท้ายของเรื่องอุปมาชาวสะมาเรียผู้ใจดี เมื่อมีคนถามพระเยซูเจ้าว่าใครเป็นเพื่อนบ้าน (ดู ลก.10.29) คำตอบบังคับให้นักกฎหมายต้องทำตัวเองให้เป็นเพื่อนบ้านของทุกคน   และเลียนแบบ “คนที่แสดงความเมตตาต่อคนที่เกือบสิ้นชีวิต” (ข้อ 37) ตรงข้ามกับการใช้เหตุผลปกติธรรมดา และอุปมาเรื่องแกะและคนเลี้ยงแกะที่ทิ้งแกะ 99 ตัวในถิ่นทุรกันดาร เพื่อออกไปตามหาแกะตัวเดียวที่พลัดหลงจนพบ และเสี่ยงที่จะกลายเป็นคนเลี้ยงแกะที่ไม่เหลือฝูงแกะเลย (ลก.15.3-7)
อุปมาเรื่องบิดาผู้ใจดีทำให้น่าตกใจเพราะพระเยซูเจ้าทรงกลับสถานการณ์ของบุตรทั้งสอง  สำหรับบุตรชายคนเล็กที่ขอให้บิดานับเขาเป็นผู้รับใช้คนหนึ่งของบิดา บิดากลับคืนศักดิ์ศรีของการเป็นบุตร อย่างไรก็ตาม การเผชิญหน้ากับบุตรชายคนโตที่ดูหมิ่นน้องชายของเขา ด้วยถ้อยคำขับไล่ไสส่งว่า “ลูกคนนี้ของพ่อ” (ลก.15.30) บิดากลับคำขอบุตรคนโตว่า “น้องชายคนนี้ของลูก” (ลก15.32). การพลิกกลับด้านเรื่องเศรษฐีและลาซารัสน่าฉงนเช่นกัน คือ เศรษฐีมีความสุขกับสิ่งดีๆในชีวิตบนโลกนี้ แต่บัดนี้ ลาซารัสได้ชีวิตนิรันดร์เป็นความบรรเทาใจ
(ลก.16.25) ถ้าผู้พิพากษาที่อธรรมยอมตามคำร้องขอของหญิงม่ายที่รบเร้าเป็นเวลานาน  พระเจ้าจึงประทานตามคำขอของผู้ได้รับเลือกสรรอย่างฉับพลัน (ลก.18.7-8)  การพลิกกลับด้านที่เกิดขึ้นระหว่างชาวฟาริสีและคนเก็บภาษีในพระวิหารเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง  ชาวฟาริสีสวดภาวนาเป็นเวลานาน และร่ายยาวถึงกิจการดีที่เขาได้กระทำ กลับกลายเป็นคนไม่ชอบธรรม แต่คนเก็บภาษีสำนึกผิดว่าเขาเป็นคนบาป แต่กลับบ้านด้วยความชอบธรรม โดยไม่ได้ถวายเครื่องบูชาเพื่อชดเชยบาปของเขาแม้แต่น้อย“ (ลก.18.14)
ทั้งหมดนี้กลับหัวกลับหางเหมือนปีรามิดที่กลับยอดลง เรื่องอุปมาเกี่ยวกับพระเมตตากรุณาทำให้ผู้ฟังประทับใจโดยไม่รู้ตัวเพราะการกระทำของพระเจ้าในพวกเขาพลิกกลับความแน่นอนมั่นคงทุกประการที่ผู้คนและบังคับพวกเขาให้ทบทวนวิธีคิดเกี่ยวกับพระเจ้าและวิธีมองพระเยซูเจ้า

2.4 พระเมตตาที่มองเห็นได้จากภายในจิตใจ
เรื่องความเมตตาคือเรื่องที่สำคัญยิ่งเหมือนกล่องดวงใจ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรสับสนกับแนวคิดอารมณ์นิยมในพระคัมภีร์  หัวใจเป็นศูนย์รวมของความคิด เป็นจุดสำคัญที่การตัดสินใจที่ละเอียดอ่อนที่สุดของผู้คนจะเกิดขึ้นจากจุดนี้  ด้วยเหตุนี้ “เพื่อมีความสงสาร” หรือ ความเมตตากรุณาเทียบเท่าแรงกระตุ้นภายในที่เชื่อมโยงจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ถ้าเราตัดเรื่องอุปมาขนาดสั้นๆออกไป เช่น เรื่องลูกหนี้ 2 คน เรื่องฝูงแกะพลัดหลงและเงินเหรียญที่หาเจอไป - เป็นจุดเปลี่ยนในเรื่องอุปมาที่ชัดเจนอย่างเต็มที่มากที่เกิดในหัวใจมนุษย์
พระสงฆ์และเลวีไม่มีความเมตตาสำหรับคนเกือบสิ้นชีวิต แต่ชาวสะมาเรียมีความเมตตา “เห็นเขาก็รู้สึกสงสาร”  (ลก.10.33)  ความเมตตาติดปีกที่เท้าของบิดาผู้ใจดี ซึ่ง“วิ่งไปสวมกอดบุตรคนเล็ก”  “ขณะที่เขายังอยู่ไกล บิดามองเห็นเขา รู้สึกสงสาร” (ดู ลก.15.20) แม้บุตรชายคนเล็กทุกข์ทรมานจากความหิวโหย ถ้าเขาไม่รู้สึกทุกข์ทางด้านร่างกาย เขาอาจจะไม่เดินทางกลับบ้าน เมื่อผู้พิพากษาอธรรมพูดกับตัวเองว่า เขาตัดสินใจที่จะให้ความยุติธรรมแก่หญิงม่าย (ลก.18.4-5) การสวดภาวนาที่โอ้อวดของชาวฟาริสีขัดแย้งกับคำภาวนาของคนเก็บภาษี “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด” (ลก.18.13)
ความงดงามในเรื่องอุปมาแสดงพระเมตตากรุณาได้รับการไตร่ตรองในหัวใจมนุษย์ที่ว่างเปล่าและเปิดเผยในส่วนลึกของความเมตตาที่แสดงต่อผู้อื่น  เนื่องจากเป็นเสาหลักที่ต่างจากความเมตตาที่มีราคาถูก  จึงเป็นความเมตตาที่ก่อให้เกิดความตื้นตันใจในท่ามกลางมนุษย์ และอาจเทียบกับความตื้นตันพระทัยของพระเจ้าไม่มีความเมตตาเมื่อมนุษย์ขาดความเต็มใจที่จะมองภายในตนเอง ทั้งหมดที่เหลือ คือ ความฟุ่มเฟือยของเศรษฐี แต่งกายหรูหราด้วยเสื้อผ้าลินินเนื้อดีราคาแพงสีม่วงและผ้าลินินราคาแพง แต่ไม่เห็นลาซารัสผู้น่าสงสาร ที่นอนอยู่ที่หน้าประตูบ้านใหญ่โตของเศรษฐีผู้นั้น โดยไม่มีใครสนใจไยดี (ดู ลก 16.19-20)


3. พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมาแสดงพระเมตตากรุณาเพื่อใคร
พระเมตตากรุณาของพระเจ้ามีสำหรับทุกคน แต่เพื่อคนพิเศษด้วย เรื่องอุปมาเกี่ยวกับคน 2 ประเภท คือ ตัวละครในเรื่องอุปมาและคนที่ได้ยินเรื่องอุปมา
ยกตัวอย่าง เรื่องอุปมาลูกหนี้ 2 คนที่เจ้าหนี้ยกหนี้ให้ทั้งหมด เกี่ยวข้องกับพระเยซูเจ้าด้วยขณะที่ทรงเล่าถึง
ซีโมนชาวฟารีสีและหญิงคนบาป ตามบริบทแล้ว ตอนเริ่มเรื่องอุปมาชาวสะมาเรียใจดี     คนเกือบสิ้นชีวิตต้องการความเมตตา ตอนท้าย เพื่อนบ้านคือชาวสะมาเรียเอง ดังนั้น นักกฎหมายถูกขอร้องให้เป็นเพื่อนบ้านสำหรับคนอื่น  คนบาปคือแกะที่พลัดหลงและเงินเหรียญที่หายไป ขณะที่ชาวฟาริสีและนักกฎหมายดูเหมือนจะคล้ายกับแกะ 99 ตัวมากที่ถูกทิ้งในถิ่นทุรกันดาร และเงินเหรียญ 9 อันที่ยังคงอยู่อย่างปลอดภัยและมั่นคง (แต่จริงๆหรือ!) อุปมาเรื่องบิดาผู้ใจดีเต็มไปด้วยความเมตตาของบิดาที่มีต่อบุตรชายคนโตและการออดอ้อนของบุตรชายคนเล็ก ครั้งนี้ไม่ง่ายนักที่จะทำให้พวกชาวฟาริสีและพวกคัมภีราจารย์มั่นใจเกี่ยวกับความเมตตา เนื่องจากบุตรทั้งสองไม่ไร้เดียงสาเหมือนแกะและเงินเหรียญ
    ทูตสวรรค์นำขอทานลาซารัสเข้าไปในอ้อมอกของอับราฮัม แต่เศรษฐีไม่สมควรได้รับสิ่งที่เขาร้องขอ คนที่ติดยึดเงินทองไม่ควรหลอกตัวเองว่า วิถีชีวิตฟุ่มเฟือยยังคงดำเนินต่อไปได้ในชีวิตหลังความตาย แม่ม่ายเป็นผู้รับความเมตตาจากผู้พิพากษาอธรรมมากแค่ไหน  พระเจ้าจะสดับฟังผู้ได้รับเลือกสรรมากยิ่งกว่านัก คนเก็บภาษีที่ยอมรับว่า เขาเป็นคนบาป กลับกลายเป็นคนชอบธรรม แต่ไม่ใช่ชาวฟาริสีที่ยกย่องตนเอง ฟารีสีเป็นผู้ที่ยกตนเองขึ้นด้วยการดูหมิ่นคนอื่น  มีบางสิ่งบางอย่างที่จะต้องใคร่ครวญต่อหน้าเรื่องอุปมาที่เสียดแทงใจเช่นนี้
การที่ผู้คนทั่วไปบงการบางคนให้เป็นคนบาปมากมายในเรื่องอุปมา เป็นนัยถึงการปฏิวัติทาง
สังคมอย่างหนึ่ง แต่เยซูเจ้าทรงเสนอพระประสงค์ของพระเจ้าเพราะตรัสพาดพิงถึงผู้ฟังทั้งหมดของพระองค์ หรือมิฉะนั้น อาจเป็นการง่ายที่จะมีความเมตตาสำหรับคนจำนวนน้อยนิดเท่านั้น  ตามข้อเท็จจริง  ความเมตตามีการทำดีเป็นพื้น ไม่ใช่ขึ้นกับพระหรรษทาน
    สะพานที่เชื่อมโยงระหว่างเรื่องอุปมาความเมตตาเรื่องแรกและเรื่องสุดท้ายเข้าด้วยกันนั้น เป็นสิ่งที่
โดดเด่น  พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมาแรกในบ้านของซีโมนชาวฟาริสี เมื่อหญิงคนบาปเช็ดพระบาทของพระเยซูเจ้า (ดู ลก 7.41-43) และเรื่องอุปมาสุดท้ายเป็นเรื่องของชาวฟาริสีคนหนึ่ง และคนเก็บภาษีคนหนึ่ง คนเก็บภาษีตระหนักว่าเขาเป็นคนบาป (ลก.18.9-14) เรื่องอุปมาแสดงความเมตตาสัมผัสกับผู้คน พวกเขาจึงเกี่ยวข้องกับผู้ฟังอย่างลึกซึ้ง และนำผู้ฟังเข้าถึงท้องเรื่องอย่างกินใจ