ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม
“จงเป็นผู้เมตตากรุณาดั่งพระบิดาของท่าน” (ลก 6 : 36)
(8 ธันวาคม 2015 – 20 พฤศจิกายน 2016)


logo year mercy Englishสัญลักษณ์และคำขวัญนี้เป็นการสรุปทุกอย่างของปีศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด คำขวัญ “จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” นั่นเป็นคำเชื้อเชิญให้เราทำตามตัวอย่างความเมตตาของพระบิดาเจ้าผู้ทรงเรียกร้องเรามิให้ตัดสินหรือกล่าวโทษผู้ใด มีแต่เพียงการให้อภัยและความรักโดยไม่สิ้นสุด (ลก 6 : 37-38)

สัญลักษณ์นี้เป็นผลงานของบาทหลวงเยซูอิต ชื่อ Marko I. Rupnik ที่แสดงถึงข้อสรุปสั้นๆ ของพระเมตตาธรรม  ภาพนี้จริงแล้วๆ เป็นตัวแทนถึงสัญลักษณ์ในพระศาสนจักรยุคต้นๆ ที่สำคัญมาก  โดยภาพบุตรที่ถูกแบกอยู่บนบ่านั้นแสดงถึง ความรักของพระคริสตเจ้าที่ทรงนำวิญญาณที่สูญเสียไปนั้น กลับสู่ความครบถ้วนบริบูรณ์    โดยอาศัยธรรมล้ำลึกแห่งการไถ่กู้มนุษย์ให้รอดพ้นโดยการบังเกิดมาของพระองค์

สัญลักษณ์นี้ได้รับการออกแบบเพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวทางที่ลึกซึ้งซึ่งนายชุมพาที่ดีได้สัมผัสถึงเนื้อแท้ของความเป็นมนุษย์และกระทำเช่นนี้ก็ด้วยความรักซึ่งมีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนๆ หนึ่ง อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ คือ นายชุมพาที่มารับสภาพมนุษย์ด้วยความเมตตาอันยิ่งใหญ่นั้น นัยน์ตาดวงหนึ่งของท่านก็ได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกับนัยน์ตาของมนุษย์ด้วย นั่นคือ พระเยซูเจ้าทรงทอดพระเนตรด้วยนัยน์ตาของอาดัม และอาดัมก็มองเห็นด้วยพระเนตรของพระคริสตเจ้า ทุกๆ คนที่ค้นพบพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นอาดัมใหม่นี้ ในการมองถึงความเป็นมนุษย์และอนาคตของเขาที่อยู่เบื้องหน้านั้น เขาจะคิดคำนึงถึงความรักของพระบิดาเจ้าด้วย อนึ่ง ภาพนี้อยู่ในรูปทรงที่เรียกว่า มานดอร์ลา (ภาษาอิตาเลียนหมายถึงเมล็ดอัลมอนด์) ซึ่งเป็นรูปทรงที่ค่อนข้างมีความสำคัญในศิลปะทางศาสนาในยุคต้นและยุคกลาง    โดยที่รูปทรงนี้ทำให้เราระลึกถึงธรรมชาติทั้งสองของพระคริสตเจ้า คือ ธรรมชาติพระเจ้า และธรรมชาติมนุษย์    สีพื้นหลังที่ค่อยๆ จางลงสามระดับนั้นแสดงถึงการที่เรามุ่งออกไปด้านนอก     ดังเช่นกิจการของพระคริสตเจ้าที่ทรงนำมนุษยชาติให้หลุดพ้นจากราตรีกาลแห่งบาปและความตาย ในอีกด้านหนึ่ง ความเข้มของสีในส่วนที่เข้มกว่า ยังหมายถึง  ความรักของพระบิดาเจ้าที่โปรดอภัยทุกอย่าง ซึ่งไม่อาจจะหยั่งรู้ได้
The logo and the motto together provide a fitting summary of what the Jubilee Year is all about. The motto Merciful Like the Father (taken from the Gospel of Luke, 6:36) serves as an invitation to follow the merciful example of the Father who asks us not to judge or condemn but to forgive and to give love and forgiveness without measure (cfr. Lk 6:37-38). The logo – the work of Jesuit Father Marko I. Rupnik – presents a small summa theologiae of the theme of mercy. In fact, it represents an image quite important to the early Church: that of the Son having taken upon his shoulders the lost soul demonstrating that it is the love of Christ that brings to completion the mystery of his incarnation culminating in redemption. The logo has been designed in such a way so as to express the profound way in which the Good Shepherd touches the flesh of humanity and does so with a love with the power to change one’s life. One particular feature worthy of note is that while the Good Shepherd, in his great mercy, takes humanity upon himself, his eyes are merged with those of man. Christ sees with the eyes of Adam, and Adam with the eyes of Christ. Every person discovers in Christ, the new Adam, one’s own humanity and the future that lies ahead, contemplating, in his gaze, the love of the Father. The scene is captured within the so called mandorla (the shape of an almond), a figure quite important in early and medieval iconography, for it calls to mind the two natures of Christ, divine and human. The three concentric ovals, with colors progressively lighter as we move outward, suggest the movement of Christ who carries humanity out of the night of sin and death. Conversely, the depth of the darker color suggests the impenetrability of the love of the Father who forgives all.