แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 7
เราจะเปลี่ยนพระทัยของพระเจ้าได้อย่างไร
ผู้พิพากษาที่ไร้มโนธรรมและหญิงม่ายผู้รบเร้า (ลก.18.1-8)

ในสภาวะแวดล้อมของชีวิตแบบไหนที่เราประสบกับพระเมตตากรุณาของพระเจ้ามากที่สุด เมื่อเราต้องการพระเมตตากรุณาของพระเจ้ามากกว่าของขวัญอื่นๆของพระเจ้าหรือ  และเราจะรู้จักพระเมตตากรุณาได้อย่างไร  
พระเยซูเจ้าในพระวรสารโดยนักบุญลูกาไม่ทรงลังเลเกี่ยวกับคำตอบนื้  นั่นคือโฉมพระพักตร์อันทรงพระเมตตากรุณาของพระเจ้า ซึ่งฉายแสงบนชีวิตมนุษย์ ที่เห็นได้ในการภาวนา  ดังนั้น ให้เราหยุดนิ่งสักครู่ เพื่อรำพึงเกี่ยวกับเรื่องอุปมาด้วยท่าทีการภาวนาที่เพียรทน ซึ่งพระเยซูเจ้าตรัสถึงเมื่อใกล้จะสิ้นสุดการเดินทางสู่กรุงเยรูซาเล็ม

“พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมาหนึ่งแก่บรรดาศิษย์เพื่อสอนว่าจำเป็นต้องอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอโดยไม่ท้อถอย  พระองค์ตรัสที่เมืองๆหนึ่งว่า ‘ผู้พิพากษาคนหนึ่งอยู่ในเมืองหนึ่ง เป็นผู้ที่ไม่ยำเกรงพระเจ้าและไม่เกรงใจมนุษย์ผู้ใด   มีหญิงม่ายคนหนึ่งอยู่ในเมืองนั้นด้วย นางมาพบเขาครั้งแล้วครั้งเล่าพูดว่า “กรุณาพิสูจน์ความบริสุทธิ์จากความผิดของฉันสู้ต่อคู่ความของฉันด้วย”  ผู้พิพากษาผู้นั้นไม่ยอมทำตามที่นางขอร้องจนเวลาผ่านไประยะหนึ่ง จึงคิดว่า “แม้ว่าฉันไม่ยำเกรงพระเจ้าและไม่เกรงใจมนุษย์ผู้ใด  แต่เพราะหญิงม่ายผู้นี้มาทำให้ฉันรำคาญ ฉันจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์จากความผิดให้นาง ไม่เช่นนั้นนางก็จะทำฟให้ ฉันอ่อนล้าจากากรที่นางรบเร้าฉันอย่างไม่จบสิ้น”’
องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า  ‘จงฟังคำที่ผู้พิพากษาอธรรมคนนั้นพูดซิ   แล้วพระเจ้าจะไม่ประทานความยุติธรรมแก่ผู้เลือกสรรที่ร้องหาพระองค์ทั้งวันทั้งคืนดอกหรือ  พระองค์จะไม่ทรงช่วยเขาทันทีหรือ  เราบอกท่านทั้งหลายว่าพระองค์จะประทานความยุติธรรมแก่เขาโดยเร็ว แต่เมื่อบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมา จะทรงพบความเชื่อในโลกนี้หรือ” (ลก.18.1-8)

1.    ผู้พิพากษา พระเจ้า และหญิงม่าย
    ตัวเอกในเรื่องอุปมานี้คือผู้พิพากษาที่ไม่กลัวเกรงพระเจ้ากับอีกฝ่ายหนึ่งคือแม่ม่าย  ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเอกเป็นรูปสามเหลี่ยมอีก นั่นคือ ผู้พิพากษาที่เชื่อมโยงกับพระเจ้าโดยทางอ้อมและกับแม่ม่ายโดยทางตรง  เท่าที่เราตรวจสอบประเด็นต้นแบบความสัมพันธ์ใหม่นี้ ก็พบในเรื่องอุปมาอื่นๆด้วย พระเจ้าไม่เคยมีบทบาทโดยตรง โดยทั่วไป พระองค์ทรงประทับอยู่โดยทั่วๆไปผ่านบุคคลที่มีประสบการณ์ฟังพระองค์ พระองค์ให้พวกเขาเป็นผู้แทนของพระองค์ (เช่น อับราฮัมในเรื่องอุปมาเศรษฐีกับลาซารัสผู้ยากจน)  หรือพระองค์ทรงถูกซ่อนอยู่เบื้องหลังคนอื่น (เหมือนบิดาผู้ใจดี) ณ ที่นี้ ตามหัวข้อการสวดภาวนาซึ่งถูกเลือกเป็นลักษณะเด่น เป็นแรงบันดาลใจของเรื่องอุปมานี้  ในบทต่อไป เกี่ยวกับอุปมาเรื่องชาวฟาริสีกับคนเก็บภาษี  ที่พระเจ้าทรงเริ่มมีบทบาทโดยอ้อมเนื่องจากเป็นหัวข้อการภาวนาเช่นเดียวกัน
    การปกครองตามลำดับชั้นทางสังคมในสมัยพระเยซูเจ้า โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่รู้หนังสือและไม่รู้กฎหมาย ต่างถือว่า ผู้พิพากษาเป็นบุคคลที่มีลักษณะเด่นในสังคม เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้พิพากษาก็เหมือนนายกเทศมนตรีประจำเมือง  ทนายความ    อัยการและโจทก์ (ผู้ฟ้องร้องคดี) พนักงานจดทะเบียน ผู้พิพากษามีอำนาจไม่จำกัด   ส่วนอีกฝั่งหนึ่งของตราชั่ง มีหญิงม่ายซึ่งสถานะของนาง บวกกับสถานะของเราเป็นลูกกำพร้า เป็นตัวแทนของสภาพมนุษย์ที่ตกอับที่สุด เมื่อนางไม่สามารถพี่งพาอำนาจทางครอบครัวหรือทางสิทธิพลเมืองของสามีได้ แม่ม่ายจึงถูกบังคับให้ทนทุกข์กับการข่มเหงสารพัดรูปแบบอยู่บ่อยครั้ง  เรื่องอุปมานี้เกี่ยวกับผู้พิพากษาที่มีอำนาจสูงมาก กับแม่ม่ายที่ไร้อำนาจมาประจวบรวมกันที่นี่   พระเจ้าทรงเอาพระทัยใส่ตัวเอกทั้งสอง 2 คนพร้อมกันเนื่องจากผู้พิพากษาเกี่ยวข้องกับพระเจ้าโดยอ้อมตั้งแต่แรก  เพราะมีคนพูดกันว่า ผู้พิพากษาไม่เกรงกลัวพระเจ้า และแล้วเขาเองก็ยอมรับคำกล่าวนี้  ท้ายสุด มีการเปรียบเทียบระหว่างผู้พิพากษากับพระเจ้า
    พระเยซูเจ้าทรงเน้นวิธีพิเศษ เมื่อมีเหวหรือช่องว่างระหว่างอำนาจทางการเมืองของผู้พิพากษาและสถานการณ์ของแม่ม่าย  ผู้พิพากษาไม่เกรงกลัวพระเจ้าและไม่เคร่งศาสนา นอกจากที่เขาไม่เกรงกลัวพระเจ้า หรือไม่เชื่อในพระเจ้าแห่งอิสราเอลแล้ว  เขายังตัดสินคดีตามความพอใจของเขาเอง  เขาไม่ได้เป็นเพียงผู้พิพากษาที่ไม่ซื่อสัตย์เท่านั้น  เขายังเป็นผู้พิพากษาที่ไม่เที่ยงธรรมที่ขาดความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่นเพราะเขาไม่เชื่อในพระเจ้า
    ด้านตรงกันข้ามของแถบหลากสีคือ แม่ม่ายที่แวะเวียนมารบเร้าผู้พิพากษาเพื่อขอความยุติธรรม ในการสู้ความกับคู่กรณี  เรื่องอุปมาไม่ได้กล่าวถึงคู่กรณีของนางเลย สิ่งที่น่าสนใจในที่นี้คือ อำนาจตัดสินตามอำเภอใจของผู้พิพากษาเปรียบเทียบอำนาจของพระเจ้าในความหมายของความยุติธรรม   และการยืนกรานของแม่ม่าย  หลังจากที่แม่ม่ายรบเร้าหลายๆครั้ง  ผู้พิพากษาจึงตัดสินใจที่จะทำตามคำร้องขอของแม่ม่าย  อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องของความเห็นอกเห็นใจที่เปลี่ยนจิตใจของผู้พิพากษา แต่เป็นการรบเร้าอย่างต่อเนื่องของแม่ม่ายต่างหาก

2.    พระเจ้าไม่ใช่ผู้พิพากษา
หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมาผู้พิพากษาและแม่ม่าย พระองค์ทรงหันมาทางผู้ฟัง เพื่อตรัสถามพวกเขาว่า โดยทั่วไปแล้ว พวกเขาคิดอย่างไรเกี่ยวกับการกระทำของพระเจ้า  พระเยซูเจ้าทรงโต้แย้งด้วยเหตุผลที่ดีกว่า เริ่มจากข้อเสนอที่เล็กน้อยจนถึงข้อเสนอที่ใหญ่โต  พระเยซูเจ้าตรัสถามผู้ฟังว่า พระเจ้าจะประทานความยุติธรรมที่ดีกว่าแก่ผู้ที่ได้รับเลือกสรรไหม และพระเจ้าทรงกระทำได้เร็วกว่าผู้พิพากษาที่กระทำแก่แม่ม่ายไหม  พระเจ้าไม่ทรงเหมือนผู้พิพากษาที่ไม่เที่ยงธรรม  แต่พระองค์จะทรงตัดสินด้วยความยุติธรรมอย่างรวดเร็ว สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรรที่ร้องขอต่อพระองค์ทั้งวันทั้งคืน
แม้ว่า ผู้พิพากษากับพระเจ้าจะแตกต่างกันอย่างมโหฬาร  แต่ก็มีลักษณะเฉพาะเด่นอย่างหนึ่งที่เหมือนกันตรงที่แสดงตัวอย่างคุณค่าล้ำเลิศของการสวดภาวนา ทั้งสองบุคคลทบทวนวิธีการของเขาต่อแม่ม่ายและต่อผู้เลือกบนรากฐานของการอ้อนวอนที่เขาได้รับตามที่ร้องขออย่างเพียรทน ผู้คนมักคิดว่า พระเจ้าทรงเป็นบุคคลที่ทรงมั่นคงแน่วแน่วและไม่ทรงเปลี่ยนแผนการของพระองค์ที่มีต่อมนุษย์  ชาวตะวันตกเคยชินที่จะคิดถึงพระเจ้าพระองค์หนึ่งที่ไม่ทรงมีอารมณ์ความรู้สึก ที่ไม่ทรงปล่อยให้พระองค์เองถูกกระทบจากตัวกระทำภายนอก  อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ความรอดพ้นถ่ายทอดภาพที่เกี่ยวกับพระเจ้าต่างออกไป  พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่ปล่อยองค์ ให้รับคำร้องขอจากผู้คนเกี่ยวกับสถานการณ์ของพวกเขา และสดับฟังคำภาวนาของผู้เลือกสรร (ผู้ยากจนและผู้อ่อนแอ) ที่วิงวอนต่อพระองค์
สำหรับพระทัยกว้างของพระเจ้าทรงทบทวนแผนการของพระองค์ใน 2 ฉากจากพันธสัญญาเดิม ได้แก่การภาวนาของกษัตริย์เฮเซคียาห์และการสำนึกบาปของชาวเมืองนีนะเวห์ หนังสือพงษ์กษัตริย์ฉบับที่ 2 เล่าว่า กษัตริย์เฮเซคียาห์ประชวรหนัก และชีวิตของพระองค์เหมือนถูกแขวนอยู่บนเส้นด้าย พระองค์ทรงผินพระพักตร์เข้าข้างฝา  และพระองค์อธิษฐานทูลพระยาห์เวห์ว่า “ข้าแต่พระยาห์เวห์ โปรดทรงระลึกเถิดว่า ข้าพเจ้าได้ดำเนินชีวิตเฉพาะพระพักตร์พระองค์อย่างซื่อสัตย์และด้วยสิ้นสุดจิตใจ และได้ทำตามที่พระองค์ทรงเห็นว่าถูกต้อง”  (2 พกษ. 20.3) องค์พระผู้เป็นเจ้าสดับฟังคำวอนขอและการร่ำไห้ของกษัตริย์เฮเซคียาห์และพระเจ้าทรงรักษากษัตริย์ให้หายจากโรค
หนังสือประกาศกโยนาห์บรรยายวิธีที่พระเจ้าทรงเปลี่ยนพระทัยเกี่ยวกับความประพฤติชั่วของชาวนีนะเวห์ที่พระองค์ทรงขู่จะลงโทษ (ดู โยนาห์ 3.10) พระเจ้าผู้ทรงพระเมตตากรุณา คือความคิดรวบยอดที่ยากเกี่ยวกับพระเจ้าผู้ทรงพระกรุณาสำหรับโยนาห์  นั่นคือ สาเหตุที่ “ข้าพเจ้าจึงรีบหนีไปยังเมืองทารชิช เพราะข้าพเจ้ารู้ว่า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้เมตตาและกรุณา ไม่โกรธง่าย เปี่ยมด้วยความรักมั่นคง และกลับพระทัยไม่ลงโทษ” (โยนาห์ 4.2)  ประกาศกพยายามทุกวิถีทางเท่าที่สามารถ เพื่อขัดขวางพระเมตตากรุณาของพระเจ้าที่มีต่อชาวเมืองนั้นดังนั้น หลังจากการเทศน์สอนชาวนีนะเวห์ เขายังอยู่ในเมืองเพื่อดูว่า พระเจ้าจะทรงลงโทษชาวนีนะเวห์หรือไม่ เมื่อชาวนีนะเวห์ใช้โทษบาป    โยนาห์จึงไปตั้งหลักทางทิศตะวันออกของเมืองภายใต้ร่มเงาของเพิง  เพื่อให้เขาผ่อนคลาย  พระเจ้าทรงปลูกต้นไม้ต้นหนึ่งให้งอกขึ้นมา  เพื่อบังแดดให้เขาและเพื่อปลอบประโลมใจเขาบ้าง แต่ในวันต่อมา  พระองค์ก็ทรงทำให้ต้นไม้เหี่ยวเฉาไป  ด้วยการโต้เถียงที่ส่อให้เห็นเรื่องอุปมา พระเจ้าตรัสถามประกาศกว่า “ท่านสงสารต้นละหุ่งต้นนั้นที่ท่านไม่ได้ลงแรงปลูกหรือทำให้มันงอกขึ้น มันโตขึ้นในคืนเดียว แล้วก็ตายไปในคืนเดียว แล้วเราจะไม่ต้องสงสารเมืองนีนะเวห์นครยิ่งใหญ่นั้นหรือ...” (โยนาห์ 4.10-11)
พระเจ้าในพันธสัญญาใหม่และในพันธสัญญาเดิมเป็นพระเจ้าที่ทรงปล่อยให้ดวงพระทัยของพระองค์ถูกสัมผัสได้ เพราะพระองค์ไม่ทรงพระประสงค์ให้คนบาปตาย แต่โปรดให้พวกเขากลับใจ” (ดู อสค.33.11)

3.    เราควรขอสิ่งใดและสวดภาวนาอย่างไร
อุปมาเรื่องผู้พิพากษาและหญิงม่าย สรุปด้วยคำสัญญาของผู้พิพากษาที่จะให้ความยุติธรรมแก่หญิงม่ายเนื่องมาจากการรบเร้าของนาง  การภาวนาอย่างไม่ท้อถอยมักจะสามารถเปลี่ยนพระทัยของพระเจ้าได้ด้วย  อย่างไรก็ตาม ผู้คนมักไม่ได้รับคำตอบจากการภาวนา และรู้สึกราวกับว่า ไม่มีใครฟังคำภาวนาของเขา  พระเมตตากรุณาของพระเจ้าอยู่ที่ไหนเมื่อมีคำร้องขอของผู้เลือกสรรที่เป็นคนยากจนที่สุด – เรียงตั้งแต่หญิงม่ายไปถึงเด็กกำพร้า และในที่สุด ไปถึง เด็กยากจนและเจ็บป่วย – ดูเหมือนพระเจ้าไม่สดับฟังพวกเขา  และถ้าพระเจ้าสดับฟังพวกเขา  เหตุใดผลลัพธ์ดูเหมือนแสดงว่า คำร้องขอไม่ได้รับการตอบสนอง พระเยซูเจ้าในพระวรสารโดยนักบุญลูกาคือ พระอาจารย์แห่งการสวดภาวนา  และตรัสถึงสภาพความเป็นจริงที่น่าเศร้า  พระองค์ทรงเล่าอุปมาเรื่องเพื่อนที่เพียรทน               
    เรื่องอุปมานั้นได้ถูกยกบอกมาก่อนหน้านี้ในพระวรสารโดยนักบุญลูกา 11.5-8 มีเค้าโครงเหมือนอุปมาเรื่องหญิงม่ายกับผู้พิพากษา (ถึงแม้ไม่เกี่ยวข้องกับพระเมตตากรุณาของพระเจ้าก็ตาม) เป็นเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ไม่มีอะไรจะให้แขกที่มาหาเขาอย่างไม่คาดหวัง,ดังนั้น เขาจึงไปเคาะประตูเพื่อนบ้านเพื่อขอขนมปัง 3 ก้อน น่าเสียดาย มันเป็นเวลาเที่ยงคืนแล้วและเพื่อนบ้านก็ได้ล็อคประตูบ้านของเขาไปแล้ว และลูกๆของเขาก็เข้านอนแล้ว เมื่อชายคนนี้พบกับการรบเร้าของเพื่อนที่ประตู  ในที่สุด เขาก็ถูกบังคับให้ลุกขึ้นมาหยิบขนมปังให้เพื่อนตามที่เพื่อนขอร้อง
ในคำอธิบายที่กล่าวต่อไปในข้อ 9-13 พระเยซูเจ้าทรงกระตุ้นให้ผู้คนวอนขอ แสวงหา และเคาะประตูเพราะพระเจ้าทรงสามารถในการให้ ในการพบ  และในการเปิดประตูให้ และแล้วพระองค์ตรัสว่า ถ้าบิดาสามารถให้ปลาแก่ลูกแทนที่จะให้งู “พระบิดาผู้สถิตในสวรรค์จะไม่ประทานพระจิตเจ้าแก่ผู้ที่ทูลขอพระองค์มากกว่านั้นหรือ” ถ้ามองอย่างเร็วๆ  อย่างน้อยที่สุดเหมือน “พระจิตเจ้า” เป็นหัวข้อที่สำคัญในที่นี้ อย่างไรก็ตาม พระจิตเจ้าทรงเป็นของประทานที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้วอนขอในเวลาภาวนา เพราะพระจิตเจ้าเท่านั้นที่ทรงช่วยเราให้แยกแยะปลาจากงูและไข่จากแมงป่องได้ หลายครั้ง คนที่ภาวนาวอนขอสิ่งที่ดูเหมือนมีประโยชน์และจำเป็นสำหรับเรา,แต่ไม่อาจเป็นเช่นนั้นสำหรับพระเจ้า เพราะสิ่งที่พวกเขาวอนขอเป็นเรื่องรองและไม่ตรงกับพระประสงค์ของพระองค์                                                                                                                                                                                                                        
    ในการสวดภาวนา เราไม่รู้จะทูลขอสิ่งใด  นี่เป็นโอกาสที่ผู้คนจะไดสัมผัสประสบการณ์ความ
อ่อนแอประสามนุษญ์มากกว่าที่อื่นๆ แต่เป็นเพียงอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้ที่ “พระจิตเจ้าเสด็จมาช่วยเหลือเราผู้อ่อนแอ เพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องอธิษฐานภาวนาขอสิ่งใดที่เหมาะสม แต่พระจิตเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาวอนขอแทนเราด้วยคำที่ไม่อาจบรรยาย และพระผู้ทรงสำรวจจิตใจ ทรงทราบความปรารถนาของพระจิตเจ้า เพราะว่าพระจิตเจ้าทรงอธิษฐานเพื่อบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ตามพระประสงค์ของพระเจ้า” (โรม 8.26-27)
เป็นการง่ายที่จะหยุดภาวนาเมื่อคำภาวนาดูเหมือนไม่ได้รับคำตอบ. เป็นการยากที่จะเพียรทนเหมือนแม่ม่ายที่รบเร้า,แต่พระเจ้าทรงเต็มพระทัยมากกว่าผู้พิพากษาใดใดที่จะทรงสดับฟังต่อเสียงร้องขอของผู้ได้รับเลือกอย่างรวดเร็ว ขอให้ผู้ที่มีความเชื่อเพียรภาวนา แม้เมื่อผลลัพธ์ต่างไปจากสิ่งที่หวังไว้ก็ตาม

4.    ความพากเพียรในความเชื่อ
อุปมาเรื่องผู้พิพากษาและหญิงม่ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ เราต้องคิดใคร่ครวญคำถามที่ว่า “...เมื่อบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมา จะทรงพบความเชื่อในโลกนี้” (ลก.18.8) บ่อยครั้ง เรามีความเข้าใจที่ไม่กระจ่างชัดและมีข้อจำกัดในการเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อ  เราคิดว่า “ความเชื่อ” เป็นสิ่งเดียวกับกลุ่มความคิดรวบยอด,ดังนั้น จึงเป็นความเชื่ออันเดียวกันสำหรับทุกคน แต่ตรงกันข้ามว่า ความเชื่อตอบสนองสิ่งที่เข้าใจไม่ได้  ความจริงแล้ว ยากที่จะยึดความเชื่อไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราไม่ได้รับตามสิ่งที่ภาวนาขอ แล้วเราก็เลิกล้มความตั้งใจที่จะภาวนาและจบลงด้วยการขาดความเชื่อ
ต้นแบบความสัมพันธ์ระหว่างการภาวนากับความเชื่อ เป็นสิ่งที่กล่าวเกี่ยวกับพระเยซูเจ้าในจดหมายถึงชาวฮีบรูว่า “ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงพระชนมชีพบนแผ่นดินนี้ พระองค์ทรงอธิษฐาน ทูลขอ คร่ำครวญและร่ำไห้ต่อพระเจ้าผู้ทรงช่วยพระองค์ให้พ้นความตายได้ พระเจ้าทรงฟังเพราะความเคารพยำเกรงของพระเยซูเจ้า ถึงแม้ว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตร ก็ยังทรงเรียนรู้ที่จะนอบน้อมเชื่อฟังโดยการรับทรมาน และเมื่อทรงกระทำภารกิจของพระองค์สำเร็จบริบูรณ์แล้ว ก็ทรงเป็นผู้บันดาลความรอดพ้นนิรันดรแก่ทุกคนที่ยอมนอบน้อมเชื่อฟังพระองค์” (ฮีบรู 5.7-9) พระเยซูเจ้าทรงผ่านเวลาแห่งการทดลองในมนุษยภาพของพระองค์ แต่พระองค์ทรงยึดพระเมตตาของพระบิดาเจ้า ดังนั้น พระองค์จึงยืนยันความเชื่อโดยทรงยอมจำนนเข้าสู่พระกรของพระบิดาโดยไม่มีเงื่อนไข
    การที่พระเยซูเจ้าทรงรับพระมหาทรมาน ไม่ได้ทำให้พระองค์ห่างไกลจากองค์พระผู้เป็นเจ้าเลย แต่กลับช่วย
ให้พระองค์ได้ทรงเรียนรู้ถึงความเชื่อ ซึ่งหมายถึงการนบนอบต่อพระประสงค์ของพระบิดาเจ้า สิ่งที่จดหมายถึงชาวฮีบรูกล่าว ดูเหมือนเป็นความจริงที่ขัดแย้งกันก็ตาม เป็นไปได้อย่างไรที่กล่าวว่า พระเจ้าสดับฟังการภาวนาของพระเยซูเจ้าในสวนเกทเสมนีว่า พระบิดาเจ้าโปรดให้พระเยซูเจ้าต้องดื่มหมดถ้วย (ความทุกข์ทรมาน) ทั้งๆที่พระเยซูเจ้าทรงขอให้ถ้วย (พระมหาทรมาน) ผ่านพ้นจากพระองค์ไป   เราจะพิจารณาว่า พระเจ้าทรงฟังคำภาวนาของพระเยซูเจ้าได้อย่างไร หากพระองค์ทรงต้องเพียรทนรับความอับอายบนไม้กางเขน ความจริงแล้ว พระบิดาเจ้าสดับฟังพระเยซูเจ้า  และทรงตอบรับคำภาวนาของพระเยซูเจ้าด้วยการให้พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ โดยมักเกิดขึ้นผ่านมรณกรรมบนไม้กางเขนนั่นเอง
การขอความเชื่อของคนที่ได้ยินอุปมาเรื่องผู้พิพากษาและแม่ม่าย   ขณะเดียวกัน ยังรวมถึงความวางใจ ความซื่อสัตย์ และความมั่นใจ การภาวนาทำให้เกิดความเชื่อและจบลงด้วยการนอบน้อมเชื่อฟังแก่ผู้ที่เรียนรู้ที่ทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า แม้เมื่อพวกเขาไม่เข้าใจก็ตาม น่าเสียดาย ในสมัยของเรา เป็นการยากขึ้นไปเรื่อยๆ และหายากขึ้นที่จะมั่นคงแน่วแน่ในการภาวนาอย่างสม่ำเสมอ  และเปิดใจที่จะรับคำตอบที่บ่อยครั้งมักจะแตกต่างจากสิ่งที่วอนขอ

5.    เมื่อพระเยซูเจ้าทอดพระเนตรเขาด้วยพระเนตรแห่งพระเมตตากรุณา  พระองค์ก็ทรงเลือกเขา
    ความคล้ายคลึงกันระหว่างแม่ม่ายและผู้รับเลือกสรรจากพระเจ้า จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนยิ่งขึ้น เพราะแสดงความยุ่งเหยิงต่อความจริงแห่งพระวรสารมากที่สุด   เป็นจริงที่ว่า พระเจ้าไม่ทรงอยู่ข้างผู้พิพากษาผู้ซึ่งในบรรดาเรื่องอื่นๆทั้งหลายที่ไม่เกรงกลัวพระเจ้า แต่ทรงอยู่ข้างแม่ม่าย  ผู้เลือกสรรของพระเจ้าคือ เด็กกำพร้าและแม่ม่ายผู้ซึ่งไม่อาจต่อรองด้วยตนเองกับการข่มเหงต่างๆที่พวกเขาตกเป็นเบี้ยล่าง  ดังนั้น เหตุใดพระเยซูเจ้าทรงเลือกคนที่บกพร่องทางศีลธรรมและคนบาปอย่างเลวีที่เป็นคนเก็บภาษี “หลังจากนั้น พระองค์เสด็จออกไป ทอดพระเนตรเห็นคนเก็บภาษีคนหนึ่งชื่อเลวีนั่งอยู่ที่ด่านภาษี จึงตรัสสั่งเขาว่า “จงตามเรามาเถิด”   เลวีก็ลุกขึ้น  ละทิ้งทุกสิ่ง  แล้วตามพระองค์ไป (ลก.5.27-28)
ในคำอธิบายที่ตามมา พระเยซูเจ้าทรงกำหนดว่า “คนสบายดีย่อมไม่ต้องการหมอ    แต่คนป่วยต้องการ  เราไม่ได้มาเพื่อเรียกคนชอบธรรม แต่มาเพื่อเรียกคนบาปให้กลับใจ” (ดู ลก.5.31,32)  ยากที่จะเข้าใจตรรกะแห่งการเลือก  พระเจ้าทรงเลือกคนที่อ่อนแอ คนที่ถูกดูหมิ่น และคนต่ำศักดิ์ในโลก เพื่อทำให้คนที่แข็งแรง ฉลาด และสูงศักดิ์รู้สึกอับอาย  เพื่อว่าจะไม่มีใครที่สามารถโอ้อวดเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าได้  (1 คร.1.26-29) ในความหมายเชิงบวก พระเจ้าทรงเลือกพวกที่มาก่อนเพื่อเข้าถึงพวกที่มาภายหลัง  มิฉะนั้น เราเลี่ยงไม่ได้ที่จะคิดว่า การเลือกของพระองค์จะกีดกันคนอื่นออกไปอย่างอัตโนมัติ  สิ่งที่กล่าวในหนังสืออพยพ 33.19 และนักบุญเปาโลกล่าวซ้ำ ยังสมเหตุสมผล “เพราะพระองค์ตรัสกับโมเสสว่า เราเมตตาต่อผู้ที่เราเมตตา และสงสารผู้ที่เราสงสาร” (โรม 9.15) พระเจ้าทรงพระเมตตากรุณาต่อผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรรหมายความว่าอย่างไร  พระองค์ทรงกีดกันบางคนจากพระเมตตากรุณาของพระองค์ได้หรือ และใครคือผู้ที่ทรงเลือกสรร
เหนือสิ่งอื่นใด การเลือกของพระเจ้าในเรื่องนี้ เต็มไปด้วยพระหรรษทานตั้งแต่ต้นจนจบ และไม่ได้ถูกกำหนดจากตัวการภายนอกใดๆทั้งสิ้น  พระเจ้าไม่ได้เลือกคนเพราะพวกเขาเป็นคนดี แต่เพื่อทำให้คนที่ทรงเลือกกลายเป็นคนดี นักบุญเปาโลอธิบายการเลือกสรรของพระองค์ว่า “พระคริสตเยซูเสด็จมาในโลกเพื่อช่วยคนบาปให้รอดพ้น ข้าพเจ้าเป็นคนแรกในบรรดาคนบาปเหล่านี้  ด้วยเหตุนี้  พระองค์จึงทรงแสดงพระเมตตากรุณาต่อข้าพเจ้า พระคริสตเยซูทรงอดทนอย่างสมบูรณ์” (1 ทิโมธี 1.15-16)
ผู้ที่ได้รับเลือกโดยพระหรรษทานไม่ได้กีดกันคนอื่น แต่รวบรวมพวกเขาไว้ในพระเมตตากรุณาของพระเจ้า น่าเสียดาย เมื่อเราคิดถึงผู้ได้รับเลือกสรร  บ่อยครั้ง เราติดกับดักในการกีดกันคนอื่น  ในสภาพความเป็นจริง พระเจ้าทรงเลือกบางคน ไม่ใช่เพื่อปฏิเสธคนอื่น แต่ทรงรวบรวมทุกคน  ในการกระทำเช่นนั้น  เรื่องอุปมาที่น่ากลัวที่ “กำหนดไว้ล่วงหน้า” ไม่เกี่ยวกับการเลือกสรรและการปฏิเสธ แต่เป็นเพียงการเลือกสรรเท่านั้น  ในแผนการของพระเจ้า ไม่มีการกำหนดล่วงหน้าว่าเป็นคนดีหรือเป็นคนชั่ว  แต่เพียงเพื่อช่วยให้พวกเขาไปสู่การเป็นคนดีเสมอ  และการเลือกไม่ขึ้นกับความดีของพระเจ้า แต่ขึ้นกับข้อเท็จจริงที่ว่า ขณะที่พระเยซูเจ้าที่ทรงอธิบายในการสนทนากับนิโคเดมัสในตอนกลางคืนว่า“พระเจ้าทรงรักโลกอย่างมากจึงประทานพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศแต่จะมีชีวิตนิรันดร”(ยน.3.16 ย้ำเน้นมาก)  เมื่อเราคิดถึงการเลือกสรรโดยไม่ยืนต่อหน้าไม้กางเขนของพระคริสตเจ้า เราสามารถจินตนาการได้ไหมว่า  มีการเลือกสรรของบางคนที่เชิงกางเขน เพื่อเอาเปรียบคนอื่นหรือที่แย่กว่านั้น คือ ที่ทำไม่ดีกับคนอื่น
ผลของการเลือกสรรอาศัยพระเมตตากรุณาของพระเจ้าไม่ได้แสดงด้วยความหยิ่งยโสหรือความคิดสมมติ แต่ด้วยการรับใช้ผู้อื่น  ถ้าพระเจ้าทรงเป็น “องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา พระบิดาผู้ทรงพระกรุณา และพระเจ้าผู้ประทานการปลอบประโลมใจทุกประการ”  เป็นเพราะพระองค์ “ทรงปลอบประโลมใจในความทุกข์ยากต่าง ๆ ของเรา เพราะเราได้รับการปลอบประโลมใจจากพระเจ้าแล้ว เราจึงปลอบใจผู้มีความทุกข์ทั้งมวลได้”  (2 คร.1.3-4)  อย่างไรก็ตาม การเลือกสรรไม่เกิดขึ้นก่อน แล้วค่อยมีเมตตา   แต่มีการแปรสภาพจากพระเมตตากรุณาของพระเจ้าให้เป็นการเลือกสรร  ท่านเบดาผู้น่าเคารพ (Venerable Bede) วิจารณ์ได้ดีเกี่ยวกับการเรียกของเลวี (หรือนักบุญมัทธิว) ว่า “พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรคนเก็บภาษีและด้วยสายพระเนตรแห่งพระเมตตากรุณา   พระองค์ได้ทรงเลือกเขาและตรัสกับเขาว่า, “ตามเรามา”  (บทเทศน์ 21.149)
    คติพจน์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสคือ “ทรงทอดพระเนตรด้วยความเมตตาสงสาร และทรงเลือกสรรเขา” (Miserando   atque   eligendo)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
11033
23407
78083
190601
306218
35934323
Your IP: 3.133.156.156
2024-04-20 09:21

สถานะการเยี่ยมชม

มี 499 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์