แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 3
ความเมตตาสงสารสำหรับคนแปลกหน้า
อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจใจดี (ลก.10.25-37)

    อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดีเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าเร้าใจมากที่สุดของพระองค์ พระองค์เพิ่งเริ่มออกเดินทางไปกรุงเยรูซาเล็มกับบรรดาสาวกของพระองค์ พระองค์ทรงพบกับนักกฎหมาย ผู้ซึ่งพระองค์ทรงสนทนาด้วยถึงวิธีที่จะรับมรดกชีวิตนิรันดร นักกฎหมายพยายามที่จะทดลองพระองค์ด้วยคำถามยอดนิยมที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดในสมัยนั้นคือบัญญัติข้อใดที่สำคัญที่สุดในหนังสือธรรมบัญญัติที่จะนำไปสู่ชีวิตนิรันดร สถานการณ์ที่สร้างแรงบันดาลใจถึงเรื่องอุปมาชาวสะมาเรียใจดี ซึ่งพัวพันกับความสัมพันธ์ที่ยากแก่ความเข้าใจระหว่างหนังสือธรรมบัญญัติกับแก่นคำสอนว่า

    “ ชายคนหนึ่งกำลังเดินทางจากกรุงเยรูซาเล็มไปยังเมืองเยรีโค เขาถูกโจรปล้น พวกโจรปล้นทุกสิ่ง ทุบตีเขา แล้วก็จากไป ทิ้งเขาไว้อาการสาหัสเกือบสิ้นชีวิต สมณะผู้หนึ่งเดินผ่านมาทางนั้นโดยบังเอิญ เห็นเขาและเดินผ่านเลยไปอีกฟากหนึ่ง ชาวเลวีคนหนึ่งผ่านมาทางนั้น เห็นเขาและเดินผ่านเลยไปอีกฟากหนึ่งเช่นเดียวกัน แต่ชาวสะมาเรียผู้หนึ่ง เดินทางผ่านมาใกล้ๆ เห็นเขาก็รู้สึกสงสาร จึงเดินเข้าไปหา เทน้ำมันและเหล้าองุ่นลงบนบาดแผลแล้วพันผ้าให้ นำเขาขึ้นหลังสัตว์ของตนพาไปถึงโรงแรมแห่งหนึ่งและช่วยดูแลเขา วันรุ่งขึ้นชาวสะมาเรียผู้นั้นนำเงินสองเงินเหรียญออกมามอบให้เจ้าของโรงแรมไว้ กล่าวว่า ‘ช่วยดูแลเขาด้วย เงินที่ท่านจะจ่ายเกินไปนั้น ฉันจะคืนให้เมื่อกลับมา’ ท่านคิดว่าในสามคนนี้ใครเป็นเพื่อนมนุษย์ของคนที่ถูกโจรปล้น” เขาทูลตอบว่า “คนที่แสดงความเมตตาต่อเขา” พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า “ท่านจงไปและทำเช่นเดียวกันเถิด ” (ลก.10.25-37)

1. ธรรมบัญญัติที่สำคัญที่สุด
    ประเทศปาเลสไตน์ในสมัยของพระเยซูเจ้า ดูเหมือนมีการถกเถียงกันท่ามกลางกลุ่มศาสนาต่างๆเกี่ยวกับปัญหาสำคัญ 2 ประการในธรรมบัญญัติของโมเสสว่า ธรรมบัญญัติใดสำคัญที่สุด และใครคือเพื่อนบ้านที่พระเจ้าให้เรารัก  มีการเพิ่มข้อกฎหมายในการสังเคราะห์ธรรมบัญญัติของโมเสสเท่าที่จำเป็น เพื่อเข้าถึงแก่นคำสอน อีกด้านหนึ่งของการจัดลำดับ พร้อมกับความตึงเครียดท่ามกลางกลุ่มต่างๆ รวมทั้งกลุ่มชาวสะมาเรียด้วย เพื่อเป็นบทสังเคราะห์ที่จำเป็นของกฎหมายเพื่อค้นหาแก่นของธรรมบัญญัติ ผู้คนกำลังถามว่า ใครเป็นเพื่อนบ้านของพวกเขา  พวกเขาคิดว่า เพื่อนบ้านคือคนที่เป็นสมาชิกของกลุ่มศาสนาของพวกเขาเองเท่านั้นหรือ หรือเป็นคนที่มีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวกัน ซึ่งเป็นความเชื่อเดียวกัน รวมถึงชาวสะมาเรียด้วยใช่ไหม  นักกฏหมายทูลถามพระเยซูเจ้าในคำถามที่สอง เป็นเพราะเขาพยายามทำให้พระเยซูเจ้าติดกับดัก  การนี้สะท้อนว่า มีการโต้เถียงมากแค่ไหนในประเด็นนี้ในกลุ่มต่างๆในปาเลสไตน์
    ส่วนแรกของบทสนทนาเกี่ยวกับคำถามแรก ในเรื่องการเพิ่มข้อกฎหมายนั้น  ทั้งนักกฎหมายและพระเยซูเจ้าเห็นพ้องต้องกันว่า ความรักต่อพระเจ้าและความรักต่อผู้อื่นเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการรับชีวิตนิรันดร นักกฎหมายตอบพระองค์ ด้วยช่องทางจากหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 6.5 และหนังสือเลวีนิติ 19.18 เพื่อเชื่อมโยงความรักต่อพระเจ้ากับความรักต่อผู้อื่น
    ในประเด็นนี้ นักกฎหมายวางกับดักลับๆมากขึ้น นั่นคือ ใครคือเพื่อนบ้านที่เราควรรัก คำตอบคือพี่น้อง คนคุ้นเคย เพื่อน  คนแปลกหน้า  หรือแม้กระทั่งศัตรูใช่ไหม  บางคนพิจารณาว่า คนที่เพิกเฉยต่อความรักต่อพระเจ้าเป็นเพื่อนบ้านของพวกเขาไหม เมื่อพระเยซูเจ้าทรงใช้เรื่องอุปมานี้เป็นกลยุทธ์ในการสอน  พระองค์ทรงรวมธรรมบัญญัติหลัก 2 ประการไว้ด้วยกัน โดยตรัสว่า ความรักต่อผู้อื่นเป็นนัยถึงความรักต่อพระเจ้า โดยพูดถึงเรื่องนี้โดยตรง

2. พระสงฆ์   เลวี และชาวสะมาเรีย
    ตามปกติ ไม่มีการระบุชื่อคนในเรื่องอุปมา  แต่พระเยซูเจ้าทรงย้ำอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และทางศาสนา พระองค์ทรงเริ่มเรื่องในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ยังเสด็จไม่ถึงเมืองเยรีโคระหว่างเดินทางสู่กรุงเยรูซาเล็ม และตรัสเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่ “ลงไป” จากเมืองศักดิ์สิทธิ์ไปเมืองเยรีโค เส้นทางที่เชื่อมเมืองทั้งสองยาวมากกว่า 16 ไมล์และเป็นอันตรายเพราะต้องข้ามหุบเขาวาดี  เคลท์ (Wadi   Qelt - ซึ่งเป็นหุบเขาทางตะวันตกที่ข้ามทะเลทรายยูดา ใกล้กรุงเยรูซาเล็มและสิ้นสุดใกล้เมืองเยรีโค) ขณะที่กรุงเยรูซาเล็มสูงเหนือระดับน้ำทะเล 2,461 ฟุต ขณะที่เมืองเยรีโคต่ำกว่าระดับน้ำทะเล  1,312 ฟุต จึงจำเป็นที่จะต้อง “ลงไป” จากกรุงเยรูซาเล็มเพื่อไปถึงเมืองเยรีโคตามที่ระบุไว้ในเรื่องอุปมา พระเยซูเจ้าตรัสว่า ชาวอิสราเอลคนหนึ่งถูกโจรปล้นทุกสิ่งไป ทุบตีเขา แล้วก็จากไป ทิ้งเขาไว้อาการสาหัสเกือบสิ้นชีวิต สภาพของคนเกือบสิ้นชีวิตเป็นเรื่องที่เร้าความรู้สึกได้ง่ายในเรื่องอุปมา ชาวอิสราเอลสัมผัสคนเกือบสิ้นชีวิตโดยไม่เสี่ยงต่อการมีมลทินทางศาสนาได้ไหม
    ไม่ใช่เหตุบังเอิญที่ชาย 3 คนที่เลือกมากล่าวในเรื่องอุปมา เพราะทั้งสามคนเป็นผู้ที่นมัสการพระเจ้าองค์เดียวกันด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ พระสงฆ์ที่กำลังลงมาจากกรุงเยรูซาเล็มหลังจากประกอบพิธีในพระวิหาร เลวีอยู่ในชนชั้นสงฆ์แต่ไม่ทำพิธีในพระวิหาร และชาวสะมาเรีย และณ ที่นี้ สิ่งต่างๆเริ่มไม่เข้ากันเพราะปกติกลุ่มบุคคล 3 ประเภท  ควรรวมพระสงฆ์ เลวีและชาวอิสราเอล (ดู เฉลยธรรมบัญญัติ 18.1 และ 27.9)  ชาวสะมาเรียเป็นคนแปลกแยกในจำนวน 3 ประเภทเพราะตามความคิดของชาวยิวแล้ว ชาวสะมาเรียเป็นคนมีมลทินทางศาสนาและถือว่าเป็นชนต่างชาติ  เหตุผลสำคัญสำหรับความขัดแย้งกันระหว่าง 2 ชนชาติปรากฏในบทสนทนาระหว่างพระเยซูเจ้ากับหญิงชาวสะมาเรีย พวกเขามีความเห็นต่างกันว่า ประชาชนควรนมัสการพระเจ้าบนภูเขาลูกไหน ชาวอิสราเอลนมัสการพระเจ้าบนภูเขาในกรุงเยรูซาเล็ม หรือบนภูเขาเกรีซิม ซึ่งเป็นสถานที่ที่ชาวสะมาเรียนมัสการพระเจ้า (ดู ยอห์น 4.20)
    ตามธรรมบัญญัติของโมเสส  “ผู้สัมผัสศพจะมีมลทินเจ็ดวัน  เขาจะต้องใช้น้ำชำระมลทินชำระร่างกายในวันที่สามและวันที่เจ็ด เขาจึงจะพ้นมลทิน แต่ถ้าเขาไม่ทำ เขาก็จะมีมลทิน  เมื่อไปร่วมพิธีในพระวิหาร  ก็เป็นการลบหลู่ที่ประทับขององค์พระผู้เป็นเจ้า  เขาจะต้องถูกขับไล่ออกจากอิสราเอล” (ดู กันดารวิถี 19.11-13). แม้กฎปรับประยุกต์สำหรับพระสงฆ์มากขึ้นและแม้กระทั่งกรณีของญาติของคนที่เสียชีวิต (เลวีนิติ 21.1-4).ดังนั้น สถานการณ์นี้เกี่ยวข้องกับดินแดนที่มีมาก่อนแล้ว  พระสงฆ์และพวกเลวีเผชิญกับทางเลือกที่ว่า จะปฏิบัติตามธรรมบัญญัติเรื่องพิธีชำระมลทินหรือจะช่วยคนใกล้สิ้นใจ  อย่างไรก็ตาม เป็นการดีที่จะชี้ประเด็นว่า เป็นบรรทัดฐานด้านวัฒนธรรม ไม่ใช่เป็นข้อแก้ตัวให้กับพระสงฆ์หรือพวกเลวี  เพราะในสถานการณ์ในเรื่องอุปมานี้ พวกเขาต้องช่วยคนใกล้สิ้นใจ   แต่ทั้งสองคนเห็นชาวอิสราเอลที่ถูกปล้น แล้วเดินผ่านไป
    ในที่สุด ชาวสะมาเรียเห็นคนใกล้สิ้นใจ  ชาวสะมาเรียรู้สึกเห็นใจชาวอิสราเอลและเอาใจใส่เขา ดังนั้น เรื่องอุปมาสร้างความขัดแย้งที่เลี่ยงไม่ได้ คือ ชาวสะมาเรียซึ่งเป็นศัตรูทำในสิ่งที่พระสงฆ์และเลวีเลี่ยงที่จะทำ   ทั้งๆที่ชาวสะมาเรียเป็นศัตรู (ชาวอิสราเอลถือว่าชาวสะมาเรียเป็นศัตรู) เนื้อหาของเรื่องอุปมาเริ่มที่จะยั่วโทสะ เนื่องจากความรักต่อพระเจ้า ไม่รับประกันอย่างอัตโนมัติว่าจะรักเพื่อนบ้านด้วย  นอกจากนี้ สิ่งที่หวังจากพระสงฆ์และเลวี ที่มีความรู้มากเกี่ยวกับความรักของพระเจ้า แต่ชาวสะมาเรียปฏิบัติความรักต่อเพื่อนมนุษย์จนสำเร็จ  ซึ่งชาวสะมาเรียมีมลทินเพียงเพราะแตกต่างด้านชาติพันธุ์จากชาวอิสราเอลเท่านั้น  คนต่างชาติกลับช่วยชายอิสราเอลที่กำลังสิ้นใจให้รอดตาย

3. จากความรู้สึกเห็นใจถึงการลงมือช่วยเหลือผู้อื่น   
เรื่องอุปมาเข้าถึงจุดเปลี่ยนเมื่อเรื่องอุปมาบอกว่า ชาวสะมาเรีย “รู้สึกกรุณา” (ข้อ 33) ต่อคนที่เกือบสิ้นชีวิต ดังนั้น ตอนจบ นักกฎหมายยอมรับว่า เพื่อนบ้านคือ “คนที่แสดงเมตตากรุณาเขา” (ข้อ 37)  เราสมควรที่จะจดจำไว้ ณ ที่นี้ว่า คำกริยาที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ, spanchnizomai (“รู้สึกกรุณา”) มาจากคำนาม splanchna ซึ่งภาษากรีกหมายถึง “ลำไส้” รวมทั้งหัวใจด้วย เนื่องจากวิธีคิดธรรมดาในสมัยของพระเยซูเจ้า ความรู้สึกของบุคคล (ความรัก ความเห็นอกเห็นใจ  ความเมตตา) แสดงออกอย่างจริงใจ  ชาวสะมาเรียไม่ได้หยุดแค่การเห็นคนใกล้สิ้นชีวิตเท่านั้น แต่เขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับตัวตนที่ลึกที่สุดของชาวสะมาเรีย และนี่เป็นความเห็นอกเห็นใจที่จริงใจ  ที่ผลักดันชาวสะมาเรียให้ช่วยเหลือคนใกล้สิ้นชีวิตให้รอดตาย
    ความเห็นอกเห็นใจที่แท้จริงไม่ใช่ความรู้สึก แต่เป็นการกระทำที่มีผลในการเอาใจใส่คนอื่น พระเยซูเจ้าทรงเล่าถึงการที่ชาวสะมาเรียช่วยคนใกล้สิ้นชีวิต ด้วยความเอาใจใส่ต่อรายละเอียดเฉพาะ เช่น ชาวสะมาเรียเข้าใกล้ชาวอิสราเอล,ทำความสะอาดร่างกายเขาจนหมดจด พันแผล นำชาวอิสราเอลขึ้นหลังสัตว์ นำไปที่โรงแรม  และเขาใส่ใจชาวอิสราเอลที่นั่น  หลังจากชาวสะมาเรียคนนั้นพักคืนแรก เมื่อมีความเสี่ยงมากที่สุดที่คนใกล้สิ้นใจจะตายได้  ชาวสะมาเรียให้เจ้าของโรงแรม 2 เดนารีซึ่งเท่ากับค่าแรง 2 วัน  เพื่อชาวซามาเรียลาจากชาวอิสราเอลเพื่อเดินทาง
ต่อไป  ชาวสะมาเรียรับปากกับเจ้าของโรงแรมว่า เขาจะจ่ายเงินส่วนเกินจากที่ให้ไว้แก่เจ้าของโรงแรมเมื่อเขากลับมา
    ตั้งแต่เริ่มเรื่องจนจบ ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับชาวอิสราเอลที่ใกล้สิ้นใจ ไม่ได้คำบรรยายเรื่องของตระกูลหรือสถานะทางสังคม  ผู้เล่าเรื่องสนใจที่ชาวสะมาเรียที่แสดงความเมตตา ใส่ใจคนใกล้สิ้นใจและจ่ายเงินค่ารักษาให้เขาความเห็นอกเห็นใจที่แท้จริงนำบุคคลหนึ่งไปเกี่ยวข้องกับการทำดีให้สำเร็จ ถึงแม้ว่า ต้องลงทุนเรื่องเวลาและเงิน เพื่อเห็นแก่คนที่เขาให้ความช่วยเหลือ นักบุญอัมโบรสแห่งมิลาน กล่าวไว้ดีมากว่า “ความเมตตาไม่ใช่เรื่องของเครือญาติ แต่เป็นการทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนบ้าน”  (Exposition of the Gospel of Luke, 7.84)

4. คำพูดย้อนกลับ
    พระเยซูเจ้าทรงตอบคำถามของนักกฎหมายในเรื่องอุปมาของชาวสะมาเรีย เรื่องอุปมาฉายแสงบนชีวิตด้วยการล้มล้างด้วยวิธีคิดที่ปกติแสนธรรมดา สมัยของพระเยซูเจ้า นิยมการโต้คารมกัน สิ่งที่ควรจดจำว่า  คนที่มีวาทกรรมเผ็ดร้อนที่สุดกำลังสนใจอัตลักษณ์ของเพื่อนบ้าน. ทุกกลุ่มมีวิธีเข้าใจต่างกันว่าใครคือเพื่อนบ้าน  พระเยซูเจ้าทรงเสนอคำตอบดั้งเดิมที่สุด เนื่องมาจากสิ่งที่ทรงเล่าในเรื่องอุปมา,พระองค์ทรงกลับทำให้การโต้คารมคว่ำลงอย่างไม่เป็นท่า
    ถ้าตั้งแต่เริ่มเรื่องว่า เพื่อนบ้านคือคนใกล้สิ้นชีวิตในตอนจบ เขาเป็นชาวสะมาเรีย คนใกล้สิ้นชีวิตคือคำตอบสำหรับคำถามของนักกฎหมาย (“ใครคือเพื่อนบ้านของข้าพเจ้า”) แต่ชาวสะมาเรียคือคำตอบสำหรับคำถามของพระเยซูเจ้า “ในสามคนนี้ ใครเป็นเพื่อนมนุษย์ของคนที่ถูกโจรปล้น”  นักกฎหมายยังไม่ตระหนักว่า,เขาเกือบจะนับว่าอยู่ในกลุ่มดังกล่าว  เขายอมรับกับข้อเท็จจริงที่เจ็บแสบว่า เพื่อนบ้านไม่ใช่คนใกล้สิ้นชีวิต แต่เป็นชาวสะมาเรียที่มีเมตตากรุณาต่างหาก ดังนั้น นักกฎหมายถูกบังคับให้ตอบในสิ่งที่ไม่ต้องการตอบว่า  เพื่อนบ้านคือชาวสะมาเรีย – ซึ่งนักกฎหมายเพียงกล่าวอ้างถึง “คนที่แสดงความเมตตาต่อผู้อื่น...” มากกว่าอ้างถึงอัตลักษณ์ด้านชาติพันธุ์
    พระเยซูเจ้าทรงเผยแสดงต่อนักกฎหมายว่า เรื่องอุปมาเชื่อมโยงกับชีวิตอย่างไร เพราะพระองค์ทรงกระตุ้นเขาให้เข้าสู่ตรรกะของเรื่องอุปมา – เหมือนผู้อ่านที่เข้าถึงเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง-และเพื่อกระทำเหมือนชาวสะมาเรียด้วยการทำตัวเองเป็นเพื่อนบ้านของผู้อื่น จากพื้นฐานของคำถามแรกในบทสนทนาเกี่ยวกับพระบัญญัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด  คำถามว่า “ใครคือเพื่อนบ้าน” นำไปสู่การโต้คารม ที่ไม่มีข้อสรุป  จนกว่าผู้คนจะสามารถชี้ที่ตัวพวกเขาเองได้ นั่นคือ เรื่องอุปมาแปรสภาพรูปแบบธรรมดาของการคิดเกี่ยวกับ “ใครเป็นเพื่อนบ้าน” ด้วยความต้องการให้ผู้ฟังเริ่มที่ตัวเขาเองก่อน  “ท่านจงไปและทำเช่นเดียวกันเถิด” (ลก.10.37) เพื่อนบ้านคนหนึ่งต้องไม่ถูกกำหนดว่าเป็นมลทินจากกำเนิดทางสังคม ทางวัฒนธรรมและทางศาสนา แต่ด้วยความเมตตาที่แสดงต่อผู้อื่น

5. พระเยซูเจ้าทรงเป็นชาวสะมาเรียผู้ใจดีใช่ไหม
    นับแต่สมัยปิตาจารย์ของพระศาสนจักร, เรื่องอุปมานี้ได้ถูกอ่านเพื่อแสดงมนุษยภาพของพระเยซูเจ้า  ซึ่งปิตาจารย์แห่งพระศาสนจักร เคลเมนต์แห่งอเล็กซานเดรียวิจารณ์ว่า “ใครเล่าจะเมตตาต่อเราได้มากกว่าพระเยซูเจ้า” ใครเล่า ที่จ้าวแห่งความมืดทั้งหลายส่งไปสู่ความตายพร้อมกับบาดแผล ความกลัว กิเลสตัณหา ความลุ่มหลงมัวเมา ความเจ็บปวด การหลอกลวง ความหลงระเริงต่างๆมากมาย จากบาดแผลเหล่านี้แหละ  แพทย์คนเดียวที่จะรักษาได้ คือ พระเยซูเจ้าที่ทรงตัดความลุ่มหลงมัวเมาอย่างสิ้นเชิงที่รากเหง้าเลยทีเดียว” (ใครคือเศรษฐีที่จะรอดพ้น,29-“Who Is the Rich Man That Shall   Be   Saved”?,29)
    รายละเอียดต่างๆ ของเรื่องอุปมานี้ ทำให้เราคิดเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงหยุดทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อสนทนากับหญิงชาวสะมาเรีย (ดู ยอห์น 4.7)  แบบฉบับตายตัวของพระเยซูเจ้า คือการเปลี่ยนแปลงความเห็นใจลึกซึ้งเช่นนี้เข้าสู่การใส่ใจผู้ป่วย แม้รายละเอียดชั้นรอง  เช่นรายละเอียดของชาวสะมาเรียใจดี ที่เดินทางจากโรงแรม และกลับมาภายหลัง,สามารถทำให้เราคิดเกี่ยวกับความจริงคู่ขนานที่เหมือนพระเยซูเจ้าทรงจากไป (สิ้นพระชนม์) หลังการทรงกลับคืนพระชนมชีพ และจะเสด็จกลับมาครั้งที่สอง
    อย่างไรก็ตาม การตีความเรื่องอุปมาโดยอ้างถึงพระเยซูเจ้าเท่านั้น อาจจะทำให้เรื่องราวเสื่อมลง สิ่งที่กล่าวถึงชาวสะมาเรีย หมายถึงพระเยซูเจ้าและประชาคมคริสตชน ที่ซึ่งการอุทิศตนเพื่อเพื่อนบ้าน ถูกแปรสภาพไปเป็นการดูแลด้วยความใส่ใจต่อใครก็ได้ที่เราเห็นว่า เป็น “คนอื่น” ดังนั้น เรื่องอุปมานี้จึงแสดงถึงชีวิตประจำวันของทุกคน  และแปรสภาพชีวิตประจำวันนั้นจากภายในจิตวิญญาณ คือ เรื่องอุปมาช่วยทำให้นักกฎหมายเข้าใจอย่างชัดเจนว่า ความรักที่มีต่อพระเจ้าไม่สามารถแยกจากความรักที่มีต่อเพื่อนบ้าน

6. การปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ
    ชุมชนคริสตชนระยะเริ่มแรกติดตามโคจรวิถีเส้นทางของพระเยซูเจ้า และดิ่งลึกลงถึงความสำคัญของเรื่องอุปมาของชาวสะมาเรียใจดี  นักบุญเปาโลอ้างถึงโอกาส 2 ครั้งเพื่อโต้แย้งเกี่ยวกับพระบัญญัติที่สำคัญที่สุดในธรรมบัญญัติ ท่านพูดกับชาวกาลิลีที่เสี่ยงต่อการทำลายกันเองว่า “เพราะธรรมบัญญัติทั้งหมดสรุปได้เป็นข้อเดียวว่า ‘จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง’ ” (กท.5.14)  อิสรภาพคริสตชนเป็นเรื่องสูงสุด เพราะเป็นของขวัญจากพระคริสตเจ้าว่า “พระคริสตเจ้าทรงปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระแล้ว” (กท.5.1) นี่คือเหตุผลที่อิสรภาพเช่นนั้นไม่ควรนำไปสู่อนาธิปไตย   แต่ควรชุบชีวิตตนเองในการรับใช้และรักเพื่อนบ้านของตน เมื่อนักบุญเปาโลกล่าวสุนทรพจน์กับคริสตชนในโรมท่านกลับไปหาพระบัญญัติแห่งความรักและพิจารณาว่า  “อย่าเป็นหนี้ผู้ใด นอกจากเป็นหนึ้ความรักซึ่งกันและกัน การรักกันและกันเป็นเอกลักษณ์ของคนมีความเชื่อ,เนื่องจากคนที่ทำความเสียหายแก่เพื่อนบ้านมักขาดความรัก” (ดูจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม 13.8) ในทั้งสองโอกาสนั้น นักบุญเปาโลไม่ได้กล่าวถึงความรักต่อพระเจ้า แต่เน้นความใส่ใจในการปฏิบัติความรักต่อเพื่อนบ้านของแต่ละคน  เหตุใดมีการขาดสมดุลและความเงียบงันที่ชัดเจนเกี่ยวกับความรักต่อพระเจ้าในที่นี้
เหตุผลได้มีปรากฏในจดหมายฉบับแรกของนักบุญยอห์นว่า “ผู้ที่ไม่รักพี่น้องที่เขาแลเห็นได้ย่อมไม่รักพระเจ้าที่เขาแลเห็นไม่ได้” (1 ยน. 4.20) ความเสี่ยงใหญ่หลวงที่นักบุญเปาโลและนักบุญยอห์นได้เห็นล่วงหน้าคือ โดยการอ้างถึงความรักต่อพระเจ้า  การละเมิดและการละเลยอย่างร้ายแรงอาจเกิดขึ้นได้ในพระศาสนจักร  ความเข้าใจของคนเกี่ยวกับความรักของพวกเขาต่อพระเจ้า ง่ายต่อการปรับให้เข้ากับมาตรการและความต้องการของพวกเขาเอง แต่เป็นเรื่องที่ต่างออกไปเมื่อมารักใคร่ผู้อื่นที่มีเลือดเนื้อจริงๆ ความรักพระเจ้าไม่ผลิตความรักผู้อื่นอย่างอัตโนมัติในทุกกรณี,แต่เป็นจริงที่ว่า ความรักสำหรับผู้อื่นของคนๆหนึ่ง เป็นกระจกสะท้อนความรักที่มีต่อพระเจ้า
    อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เป็นการหลอกตัวเราเอง  การกลับไปหาแหล่งต้นกำเนิดจะช่วยได้  ซึ่งก็
คือ ความรักที่พระเจ้าทรงมีต่อเรา นักบุญยอห์นเน้นย้ำเป็นพิเศษว่า “จงมีความรักเถิด เพราะพระองค์ทรงรักเราก่อน” (1 ยอห์น 4.19)  เพื่อขยายความว่า เราอยู่ในฐานะที่รักผู้อื่น  ความรักแท้ต่อผู้อื่นไม่ได้มาจากโครงการด้านสังคม หรือแนวคิดที่ดำรงชีวิตเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น (Altruism) แบบเรียบง่าย ยิ่งกว่านั้น ความรักแท้นี้มาจากความรักที่พระเจ้าและพระเยซูคริสตเจ้ามีต่อมนุษย์, และในทางการกลับกัน ความรักปรากฏเป็นความรู้สึกท่วมท้นที่นำ “ผู้ที่มีชีวิตจะได้ไม่มีชีวิตเพื่อตนเองอีกต่อไป แต่มีชีวิตเพื่อพระองค์ผู้ได้สิ้นพระชนม์ และทรงกลับคืนพระชนมชีพเพื่อเขา”
(2 คร. 5.15)
    เรื่องอุปมาชาวสะมาเรียใจดีให้ความหมายแก่ชีวิตมนุษย์ เรากลายเป็นเพื่อนบ้านต่อผู้อื่นอย่างมากที่สุดเพราะพระเจ้าทรงเคลื่อนพระองค์เข้าใกล้เรา และยังดำเนินต่อไปทางพระคริสตเจ้า,ที่ทรงห่วงใยเกี่ยวกับบาดแผลของมนุษย์อย่างเราๆ การกลับด้านความคิดนั้น จึงสามารถชักจูงนักกฎหมายและบังคับเขาให้เปลี่ยนแปลงจิตใจของเขา. ไม่ใช่ปัญหาของการเลือกระหว่างความรักต่อพระเจ้าและความรักต่อผู้อื่น,แต่เกี่ยวกับการยอมรับว่า คนที่รักพี่น้องชายหญิงที่พวกเขามองเห็น   ก็จะรักพระเจ้าซึ่งพวกเขามองไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม เป็นสภาพความเป็นจริงที่ขมขื่นของชีวิตมนุษย์ ที่การกลับด้านมักไม่เป็นกรณีเช่นนี้เสมอไป นั่นคือ การรักพระเจ้าไม่เป็นนัยว่า เขาจะรักผู้อื่นอย่างอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม ความรักต่อพระเจ้ามักเกิดผลให้มนุษย์รักผู้อื่นเสมอ

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...
วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 26:14-25) เวลานั้น คนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกสิบสองคน ชื่อ ยูดาส อิสคาริโอท ไปพบบรรดาหัวหน้าสมณะ ถามว่า “ถ้าข้าพเจ้ามอบเขาให้ท่าน ท่านจะให้อะไรแก่ข้าพเจ้า”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
8973
15812
47076
242346
326718
35679850
Your IP: 44.221.43.88
2024-03-28 19:14

สถานะการเยี่ยมชม

มี 441 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์