แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ศีลบวช (Holy Orders)
ศีลบวชบวชเสกผู้ที่ได้รับเรียกให้มาถ่ายทอดพระพรของพระเจ้าด้วยการให้บริการเพื่อนพี่น้อง

    เพื่อประกันความเที่ยงแท้ถาวรของความสนิทสัมพันธ์แห่งความรัก ซึ่งแสดงออกมาจากพระกายทิพย์ของพระองค์ พระคริสต์เองจึงทรงจัดหาเครื่องหมายแสดงถึงการประทับอยู่และพระภารกิจของพระองค์หลังจากพระเยซูทรงกลับคืนชีพแล้ว พระองค์ทรงประจักษ์แก่บรรดาอัครสาวกพร้อมทั้งประทานพันธกิจให้พวกเขาออกไปทำให้โลกกลับใจ (๑) ดังนั้น พวกเขาจึงเป็นพยานที่สำคัญถึงต่อมวลมนุษย์ในขณะที่พระคุณของพระจิตในวันเปนเตกอสเตทำให้พวกเขาเต็มไปด้วยพลังจากเบื้องบน(๒)

    ในท่ามกลางพวกอัครสาวกเหล่านี้มีซีโมนซึ่งมีสมญานามว่าเปโตรที่พระเยซูทรงเตรียมไว้เป็นรากฐานของพระศาสนจักรของพระองค์ แม้กระทั่งทรงถือว่าเป็นหนึ่งเดียวกับเขาแบบเร้นลับในฐานะเป็นผู้จ่าย
    ค่าบำรุงพระวิหารเป็นจำนวนเงินหนึ่งเชเคล(๓) บุคคลซื่อๆและใจกว้างผู้นี้ถือกำเนิดที่แคว้นกาลิลีเคยมีความอ่อนแอถึงกับปฏิเสธพระคริสต์ถึงสามครั้งในคืนก่อนที่พระเยซูจะรับทรมาน แต่เมื่อพระองค์ทรงรับการยืนยันถึงความรักที่เขามีต่อพระองค์ถึงสามครั้ง องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้กลับคืนชีพทรงเลือกเขาให้เป็นผู้ดูแลฝูงแกะทั้งหมดของพระองค์ (๔)
    ดังนั้น เปโตรและบรรดาอัครสาวกได้วางโครงสร้างพระศาสนจักร ซึ่งเป็นกายทรงชีวิตให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระคริสต์ พวกท่านเองก็ได้ถ่ายทอดให้แก่ผู้ที่ได้รับสรรด้วยการปกมือซึ่งเป็นศักดิ์ศรีของการเป็นตัวแทนของพระคริสต์พร้อมด้วยพลังของพระจิตที่พวกท่านปรารถนา ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา พันธกิจนี้ได้ดำเนินต่อไปในศาสนบริการของบรรดาพระสังฆราช ในฐานะผู้สืบตำแหน่งจากบรรดาอัครสาวก พวกเขาเป็นเครื่องหมายแสดงและเครื่องมือของพระคริสต์ภายในสังฆมณฑลและวัดของตน นักบุญออกัสตินถือว่าท่านเป็นทั้งสมาชิกของพระศาสนจักรเหมือนกับสัตบุรุษของเมืองฮิปโปและทั้งเป็นเครื่องหมายที่มีชีวิตขององค์พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขาได้รับมอบอำนาจทำให้พวกเขาเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระองค์ เช่นเดียวกันในกฤษฏีกาว่าด้วยพระศาสนจักรของพระสังคายนาวาติกันที่ 2 พูดถึงประชากรของพระเจ้าก่อนที่จะพูดถึงฐานันดรของพระศาสนจักรมีพระสังฆราชเป็นพื้นฐาน
    บรรดาพระสังฆราชต้องขึ้นตรงกับพระสังฆราชแห่งกรุงโรม ผู้สืบตำแหน่งของเปโตรซึ่งเป็นประธานเหนือพันธกิจของพระศาสนจักร “ผู้รับใช้ของบรรดาผู้รับใช้ของพระเจ้า” ตัวแทนพระคริสต์ มีแต่พระองค์ท่านผู้เดียวเท่านั้นที่ได้รับเกียรติในตำแหน่ง “พระสันตะปาปา” (จากคำว่า Pappas ในภาษากรีกอันเป็นคำที่ลูกๆเรียก “บิดา” ของตน) ในฐานะเครื่องหมายแสดงและข้ออ้างอิงของการเป็นหนึ่งเดียว พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์หลักของพระศาสนจักรคาทอลิก โดยปกติจะมีสังฆมนตรีเพื่อช่วยงานพระองค์และทรงรวบรวมเอาบรรดาพระสังฆราชเข้ากับพระองค์ได้ด้วยการเรียกประชุมสังคายนาหรือ ประชุมสมัชชาพระสังฆราช สำหรับสัตบุรุษในแต่ละสังฆมณฑล พระสังฆราชมีหน้าที่เป็นนายชุมพา พระสงฆ์และแพทย์ และดังนี้ก็มีส่วนร่วมในศาสนบริการของพระคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า นับตั้งแต่สมัยแรกเริ่มของพระศาสนจักรมาแล้ว พระสันตะปาปามีพระสงฆ์ไว้ช่วยเหลือพระองค์ท่าน พระสงฆ์ซึ่งท่านโปรดศีลบวชให้และเป็นผู้ร่วมศาสนบริการและสามารถที่จะถวายมิสซา In persona Christi (ในพระบุคคลของพระคริสต์) เช่นเดียวกันกับท่าน มีบรรดาสังฆานุกร (จากคำว่า diakonos ในภาษากรีกซึ่งแปลว่า “ผู้บริการรับใช้”) มาช่วยงานท่าน ซึ่งเขาก็ให้มีส่วนร่วมในสังฆภาพแต่ไม่ใช่การปฏิบัติศาสนบริการเองหากแต่เพื่อ “ให้บริการรับใช้” เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์บางประการเท่านั้น นับเป็นเวลานานแล้วที่ตำแหน่งสังฆานุกรเป็นเพียงแต่เตรียมการเพื่อเป็นพระสงฆ์เท่านั้น แต่นับตั้งแต่พระสังคายนาวาติกันที่ 2 เป็นต้นมาได้รับการรื้อฟื้นให้เป็นตำแหน่งถาวรอีกด้วย
    ดังนั้นพระสังฆราช พระสงฆ์และสังฆานุกรจึงเป็นสามขั้นนของศีลบวชซึ่งถ่ายทอดด้วยการปกมือ ตามด้วยบทภาวนาของการบวช พระสังฆราชแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นศาสนบริกร (คำว่า minister ในภาษาละตินนั้นหมายถึง “ผู้บริการรับใช้”) ของศีลบวช แต่ระหว่างในพิธีบวชพระสงฆ์ พระสงฆ์ทุกองค์ที่ร่วมพิธีก็ปกมือด้วยการเจิมน้ำมันที่ศรีษะสำหรับพิธีอภิเษกพระสังฆราชและเจิมมือสำหรับพิธีบวชพระสงฆ์ เป็นพิธีที่สัมพันธ์ซึ่งกัน พระสังฆราชได้รับเครื่องหมายประจำตำแหน่งพระสังฆราช อันได้แก่มาลาสูงและไม้เท้า พระสงฆ์รับผ้าคล้องคอและอาภรณ์(มิสซา)พร้อมทั้งปังและเหล้าองุ่นเพื่อถวายมิสซา สังฆานุกรได้รับหนังสือพระวรสารแล้วห่มด้วยผ้าคล้องคอและอาภรณ์ที่มีชื่อว่า ดาลมาตีกา เมื่อพวกท่านมิได้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งพวกท่านจำเป็นต้องสวมอาภรณ์สำหรับพิธีกรรม (ซึ่งจะอธิบายในตอนต่อไป) พวกท่านก็สวมเสื้อหล่อพร้อมกับผ้าคาดเอว หรือนับตั้งแต่ปี 1963 เป็นต้น พวกท่านสวมชุดของผู้ได้รับศีลบวช ที่เรียกกันว่า “เคลอยี่แมน” (Clergyman)  คือสูทสีดำหรือสีเทาพร้อมกับติดกางเขนเล็กๆที่ปกเสื้อทับเสื้อเชิร์ทสีคล้ำพร้อมกับปลอกคอสีขาว
    พระสันตะปาปา แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่สวมเสื้อหล่อสีขาวพร้อมผ้าคลุมไหล่ ที่นิ้วพระหัตถ์ทรงสวม “แหวนชาวประมง” เพื่อเป็นการรำลึกถึงต้นตอของนักบุญเปโตร ซึ่งมักใช้ประทับจดหมาย (Sub annulo piscatoris) ทรงสวมหมวกเล็กๆสีขาวบนพระเศียร สวมสร้อยห้อยกางเขน
    พระคาร์ดินัล - พระสังฆราชที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระสันตะปาปา – ในตอนแรกนั้นพวกท่านปฏิบัติศาสนบริการในส่วนต่างๆของกรุงโรม (ตามคำว่า cardines ในภาษาละติน) รวมกันเป็นสภาพระสันตะปาปาก็ว่าได้ ท่านรับหมวกสี่เหลี่ยมสีแดง (biretta) เครื่องแต่งกายเป็นสีแดง (ทั้งเสื้อหล่อ ผ้าคลุมไหล่และหมวกเล็กๆ) ท่านสวมแหวนที่นิ้วมือและแขวนกางเขนด้วยด้ายสีแดง สีแดง (ยังเรียกอีกว่า “สีเลือดหมูของคาร์ดินัล”) เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ที่ท่านสัญญาต่อพระสันตะปาปาจนกระทั่งพร้อมที่จะหลั่งเลือดเพื่อพระคริสต์และพระศาสนจักร สีของอัครสังฆราชและสังฆราชนั้นเป็นสีม่วง (เสื้อหล่อ ผ้าคลุมไหล่และ หมวกใบเล็ก) ท่านยังสวมแหวนอันเป็นสัญลักษณ์ถึงการแต่งงานกับพระศาสนจักร (อันเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ของ “พระคริสต์องค์เจ้าบ่าว”) ท่านแขวนกางเขนที่หน้าอกด้วยสายสีเขียวที่ห้อยจากคอ สีม่วงในเทศกาลรับเสด็จพระคริสตเจ้า ผู้ใหญ่บางท่านในพระศาสนจักรเช่นผู้แทนของพระศาสนจักรก็สวมเสื้อสีม่วงด้วย เช่นกัน

การปฏิญาณของนักบวช
    คำว่า “รับศีลบวช” นั้นเป็นที่รู้จักกันดีซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นการรับศีลบวชเสมอไปแต่จะเป็นการเลือก “การปฏิญาณของนักบวช” มากกว่าก็ได้ นอกเหนือไปจากผู้รับศีล ธรรมดา (Secular ทั้งนี้เพราะว่าท่านบริการศีลศักดิ์สิทธิ์ให้แก่ Saecularia (ซึ่งก็หมายถึงสัตบุรุษประชากรของพระเจ้า “ที่อยู่ในโลก”) พระศาสนจักรยังมีคณะนักบวช “ธรรมดา” (regular) เพราะพวกเขาถือตาม regula (พระวินัยที่ปกครองชีวิตเขา) สมาชิกของคณะต่างๆ ที่กล่าวมานี้ไม่เกี่ยวกับฐานันดรที่เราได้กล่าวมาแล้ว แม้ว่าสมาชิกบางคนของพวกเขาอาจเป็นพระสังฆราช พระสงฆ์หรือสังฆานุกร (แม้กระทั่งพระสันตะปาปาก็มีหลายท่าน) แต่เป็นสัญลักษณ์ที่มีชีวิตของความศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร (๕)
    ชีวิตนักบวชไม่ได้เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นสภาพของการถวายตัวแด่พระเจ้าซึ่งเริ่มด้วยการเตรียมฝึกตัวในนวกสถาน ก่อนที่พระศาสนจักรจะรับพวกเขาในนามของพระเจ้า ผู้สมัครจะปฏิญาณว่าจะถือความยากจน พรหมจรรย์ และความนอบน้อมเชื่อฟังตลอดชีวิต (บางคณะนักบวชอาจมีคำปฏิญาณปลีกย่อยอีก) ที่เราเรียกกันว่าข้อปฏิญาณนักบวช
    นี่เป็นการกระทำโดยธรรมชาติ “ทำสัญญาต่อพระเจ้า” ตามที่นักบุญโทมัส อาควีนัสเรียกว่า เป็นการอุทิศตนตลอดชีวิตบนหนทางสู่ความศักดิ์สิทธิ์ครบครัน ศีลล้างบาปทำให้คริสตชนเป็นบุตรของพระเจ้าและศีลกำลังทำให้เขาเต็มไปด้วยพระจิต แต่ ณ ตรงนี้เขาได้รับเรียกให้เข้าสู่ความศักดิ์สิทธิ์หรืออีกนัยหนึ่งคือเขาต้องเปิดตัวอย่างเต็มที่เพื่อรับการเคลื่อนไหวของพระจิตเจ้าแห่งความรักภายในตัวเขา จากการหยิบยื่นตนเองที่เป็นการส่วนตัว ที่ใกล้ชิดอันนี้ของคริสตชนนั้นไปเกี่ยวข้องกับความบริสุทธิ์ของกลุ่มคริสตชนทั้งครบซึ่งเป็นองค์เจ้าบ่าวที่นักบุญเปาโลเรียกว่า “ศักดิ์สิทธิ์และปราศจากมลทิน” (อฟ.5:27)
    พระหรรษทานของพระเจ้าดลบันดาลให้เกิดกระแสเรียกพิเศษในบางคนให้ละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อติดตามพระองค์ด้วยการชักนำศิษย์หลายคนให้ตามพวกเขาไปด้วยนั้น เหนือกว่าสิ่งอื่นใดหมดก็คือประชากรของพระเจ้า นี่คือต้นกำเนิดของคณะฤาษีและคณะนักบวชซึ่งเป็นผู้สืบตำแหน่งของฤาษีที่ถือสันโดษในพระศาสนจักรสมัยแรกเริ่ม นอกนั้นยังมีคณะที่ถวายตนเพื่อพิศเพ่งภาวนาซึ่งส่วนใหญ่จะได้แบบมาจากนักบุญเบเนดิก อันได้แก่คณะเบเนดิกติน คณะซิสเตอร์เซียและคาร์ทูเซียน ต่อมาก็มีคณะนักบวชอื่นๆที่รวมการสวดภาวนาเข้ากับงานแพร่ธรรม เช่นคณะดอมินีกัน (ของนักบุญดอมินิก) คณะฟรังซิสกันและคณะ คาปูชินผู้ยากจน(ของนักบุญฟรังซิสและนักบุญกลาราแห่งอัสซีซี) คณะภราดาขาว และคณะคาร์เมไลท์ (ได้รับการปฏิรูปโดยนักบุญยวงแห่งกางเขนและนักบุญเทเรซาแห่งอาวีลา) คณะเมตตาธรรมหรือคณะที่สอนเรียนต่างๆยังเกิดขึ้นในทุกวันนี้
    อธิการของอารามฤาษีก็เรียกว่า Abbot ซึ่งก็หมายความว่า “พ่ออธิการ” เป็นสองต่อ เนื่องจากคำว่า Abba ในภาษาอาเมเนียนหมายความว่า “papa” (“พ่อ”) อธิการสวมแหวนและแขวนกางเขน (ด้วยด้ายสีเขียวหรือสีม่วง) แต่สวมชุดนักบวช ถ้าเป็นพวกเบเนดิกตินจะเป็นสีดำ พวกซิสเตอร์เชียน จะเป็นสีขาว (จึงกลายเป็น “ภราดาดำ” และ “ภราดาขาว”) กฎแห่งการภาวนาและการปฏิเสธตนเองด้วยความยินดีซึ่งนักบวชคณะเหล่านี้ได้เลือก ที่จะดำเนินชีวิตตามความเชื่อของพวกเขาอย่างเต็มที่เตือนใจ คริสตชนที่ได้รับศีลล้างบาปทุกคนว่าพวกเขาก็ต้อง “ไม่รักอะไรไปมากกว่าความรักต่อพระคริสต์” ตามที่พระวินัยของนักบุญเบเนดิกเรียกร้อง (๖)


(๑)    “เพราะฉะนั้นท่านจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำพิธีล้างบาปให้เขา เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิตเจ้า” (มธ.28:19)
(๒)    กจ.1:8
(๓)    “เราขอประกาศแก่ท่านว่าท่านคือศิลาและบนศิลานี้เราจะสร้างพระศาสนจักรของเรา” (มธ.16:18) และมธ.17:27 เรื่องเงินบำรุงพระวิหาร
(๔)    พระเยซูตรัสกับเขาว่า “จงเลี้ยงลูกแกะของเรา” (ยน.21:15-17)
(๕)    กฤษฏีกาว่าด้วยพระศาสนจักรของพระสังคายนาวาติกัน 2 ข้อ 44
(๖)    “ผู้ที่รักบิดาหรือมารดามากกว่ารักเราก็ไม่คู่ควรกับเรา และผู้ที่รักบุตรชายหญิงมากกว่ารักเราผู้นั้นไม่คู่ควรกับเรา” (มธ.10:37)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...
วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 26:14-25) เวลานั้น คนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกสิบสองคน ชื่อ ยูดาส อิสคาริโอท ไปพบบรรดาหัวหน้าสมณะ ถามว่า “ถ้าข้าพเจ้ามอบเขาให้ท่าน ท่านจะให้อะไรแก่ข้าพเจ้า”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
13795
15812
51898
247168
326718
35684672
Your IP: 35.173.233.176
2024-03-28 22:30

สถานะการเยี่ยมชม

มี 539 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์