แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

เคล็ดลับ 9 ประการในการดำเนินชีวิตในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม
โดย เอมีลี  สตีมสัน  จากนิตยสาร โอ.เอส.วีEmily Stimpson OSV Newsweekly

    วันที่ 8 ธันวาคม 2015/2558 ประตูศักดิ์สิทธิ์แห่งมหาวิหารนักบุญเปโตรเปิดออกเป็นครั้งแรกในช่วงเวลา 15 ปี  ตั้งแต่วันนั้นถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2016/2559 ซึ่งจะมีพิธีปิดปีศักดิ์สิทธิ์ พระศาสนจักรเชื้อเชิญคาทอลิกและผู้ที่ไม่เป็นคาทอลิกด้วย   ให้รับพระหรรษทานของพระเจ้าในช่วงปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม (เป็นพิเศษ)

          แน่นอน พระเมตตาของพระเจ้า อุดมสมบูรณ์และคงอยู่ตลอดไป. ปีแห่งเมตตาธรรมไม่อาจทำให้พระเจ้าทรงพระเมตตามากขึ้นหรือสมัครพระทัยในการให้อภัย. นั่นคือพระเจ้าไม่ทรงเปลี่ยนแปลง แต่เราสามารถให้อภัยและต้องให้อภัยด้วย. ตามที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงอธิบายในสมณโองการ  “พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม” (Misericordiae  Vultus) เป็นกฤษฏีกาแห่งการยกหนี้ (ช่วงการจัดเก็บภาษีทุก 15 ปีของอาณาจักรโรมัน) ที่ประกาศปีแห่งเมตตาธรรม  “หลายครั้ง เราได้รับเรียกให้ตั้งใจเพ่งมองพระเมตตามากขึ้น  เพื่อว่า เราจะเป็นเครื่องหมายที่ทรงประสิทธิภาพของการกระทำของพระบิดาในชีวิตของเรา (ข้อ        3)
             ปีแห่งเมตตาธรรมหมายถึงฤดูกาลหนึ่งในหลายครั้ง – เป็นฤดูกาลเพื่อคริสตชนจะเป็นพยานที่ “เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น” ต่อความเชื่อที่ประกาศสองลักษณะจะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยการพิศเพ่งรำพึงความลึกล้ำพระเมตตาของพระเจ้าและด้วยการเลียนแบบพระคริสตเจ้าในโลกปัจจุบัน (สมณโองการ  “พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม” ข้อ 3)
    สมเด็จพระสันตะปาปาทรงใช้สมณโองการนี้เพื่อทำให้เป็นไปได้ เมื่อไตร่ตรองพระเมตตาของพระเจ้า และเพื่อเป็นเค้าโครงของการลงมือกระทำ  ในสมณโองการนี้ พระองค์ทรงเสนอชุดคำแนะนำที่พึงปฏิบัติสำหรับคาทอลิกฉลองปีแห่งเมตตาธรรม
+
ปฏิทินสำหรับปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม
วันที่ 26-31 กรกฏาคม 2559/2016 ปีศักดิ์สิทธิ์เพื่อเยาวชน (วันเยาวชนโบก) จะจัดขึ้นในเมืองคราโคฟ ประเทศโปแลนด์
ตลอดปี  การจัดฉลองพิเศษในโรมเพื่อเป็นเกียรติและสนับสนุนกลุ่มต่างๆ รวมทั้ง ผู้เลื่อมใสพระเมตตาของพระเจ้า (Divine Mercy) เด็กหญิงและเด็กชาย (สมาชิกของคูเรียโรมัน) สังฆานุกร พระสงฆ์ ผู้ป่วยและผู้พิการ ครูคำสอน นักโทษและคนอื่นๆ

ไปรับศีลอภัยบาป
       ศีลอภัยบาปคือศีลแห่งพระเมตตา. ในที่แก้บาป พระเจ้าประทานอภัยแก่ทุกคน ที่ขอพระเมตตาด้วยดวงใจที่สัตย์ซื่อ และด้วยเจตนาแท้ที่จะปรับปรุงตัวเอง. พระองค์ไม่ทรงพระประสงค์การลงโทษเพื่อชดเชยความผิดบาปและเครื่องบูชา. พระองค์ทรงเอาพระทัยเรื่องนี้ ด้วยการสิ้นพระชนม์บนเขากัลวาริโอ. 
              ทั้งหมดที่พระเจ้าทรงขอจากเรา คือ สิ่งที่เราแสดงออกด้วยการกระทำ. ถ้าเราทำส่วนของเราแล้ว พระองค์จะทรงกระทำส่วนของพระองค์ภายหลัง.
+
             ช่วงปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม สมเด็จพระสันตะปาปาประทานอำนาจพิเศษแก่พระสงฆ์ให้ยกบาป. ยังสงวนการยกบาปการทำแท้งให้พระสังฆราช. พระองค์ยังทรงเรียกร้อง ให้เราหาเวลาเพื่อสำนึกผิดระหว่างมหาพรต. ความคิดริเริ่มคือ การเฝ้าศีล อยู่กับพระเยซูเจ้า 24 ชั่วโมง ทรงเน้นย้ำอย่างพิเศษในเรื่องศีลอภัยบาปในสังฆมณฑลต่างๆทั่วโลก
+
         ที่แก้บาป ไม่เป็นเพียงสำหรับคนที่ไม่ได้ทำแท้ง. ที่แก้บาปมีไว้สำหรับทุกคนที่เคยไม่เชื่อในพระเจ้า – ที่โห่ร้องแสดงความยินดีกับคู่สมรส   คนที่นินทาเพื่อนบ้าน  คนที่ไม่ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์เพราะเห็นว่าเสียเวลาทำงาน. สรุปแล้ว ศีลอภัยบาปมีสำหรับทุกคน
+

          เราไม่ต้องรอคอยจนกระทั่งเทศกาลมหาพรต. ทุกสัปดาห์ เกือบทุกวัด พระสงฆ์นั่งในที่แก้บาป  รอเราให้มาและบอกพระเจ้าว่าเราเสียใจ.                สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า พวกเขารู้ว่า  เมื่อเราไปสารภาพบาปในที่แก้บาป เราจะ “สัมผัสความยิ่งใหญ่ของพระเมตตาของพระเจ้าด้วยมือ (ของเรา)” และประสบกับ “สันติสุขภายในที่แท้จริง” (พระสมณโองการฯ ข้อ 17)
**************
อ่านเรื่องราวการกลับใจ
            ปลายศตวรรษที่ 3  นักบุญออกัสตินจรดปลายปากเขียนอัตชีวประวัติชีวิตจิตที่โด่งดังเป็นครั้งแรก  หนังสือ “คำสารภาพ” เล่าถึงการเดินทางของชีวิตพระสังฆราชแห่งฮีปโป  จากคนที่ไม่เชื่อในคริสตศาสนากลายเป็นคนที่มีความเชื่อ   จากความประพฤติที่ไม่สมควรไปสู่การรักษาพรหมจรรย์  และจากการรักตัวเองมาเป็นการรักพระเจ้า.
         แล้วผู้อ่านในสมัยนั้นก็เหมือนผู้อ่านในปัจจุบันรู้สึกประทับใจในเรื่องเล่าของนักบุญออกัสติน  จนหนังสือเล่มนี้กลายเป็นแม่พิมพ์สำหรับเรื่องเล่าแห่งการกลับใจเล่มอื่นๆ
+
      ตลอดหลายศตวรรต เรื่องราวแห่งการกลับใจท้าทาย บรรเทาใจและให้กำลังใจหญิงชายหลายล้านที่กำลังเดินทางไปสู่พระเจ้า. พวกเขาเสนอแบบอย่างที่เป็นรูปธรรมที่คงทนเกี่ยวกับพระเมตตาของพระเจ้าในชีวิตของผู้มีความเชื่อแต่ละคน. พวกเขาเตือนเราว่า เราทุกคนเข้าถึงพระเมตตาของพระเจ้าได้ และพวกเขาช่วยเราเข้าถึงพระเมตตาของพระเจ้า และช่วยเราให้เข้าใจการเดินทางส่วนตัวของเราไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์
      ยิ่งกว่านั้น เรื่องราวแห่งการกลับใจเป็นพยานต่อข้อเท็จจริงที่ว่า เราทุกคนได้รับการเรียกให้กลับใจ. ไม่ว่าเราเป็นคาทอลิกตั้งแต่เด็ก หรือได้รับการเลี้ยงดูแบบคาทอลิกหรือไม่ก็ตาม ทุกคนต้องปฏิเสธโลกและถวายดวงใจแด่พระเจ้า. เราจะไม่มีการเป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า ถ้าไม่เลือกพระองค์โดยทันที และทำเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ถ้าเราไม่ท่ำนนี้ เราก็ไม่อาจมีความเชื่อที่มีชีวิตได้
+
    ด้วยเหตุผลเหล่านี้  เรื่องราวแห่งการกลับใจเป็นศูนย์กลางที่จะริเริ่ม ให้ใช้เวลาเฝ้าศีล 24 ชั่วโมง. ช่วงเวลานั้น และตลอดปีแห่งเมตตาธรรม พระศาสนจักรต้องการสัตบุรุษศึกษาผู้ที่กลับใจในอดีต และทำตัวให้คุ้นชินกับผู้ที่กลับใจในปัจจุบันมากขึ้น.    การเป็นพยานถึงพระหรรษทานของพวกเขา เป็นคำแนะนำวิธีที่เราเป็นพยานด้วย. สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงลิขิตว่า “เป็นโอกาสใหม่ที่จะมอง (ตัวเราเอง) กลับใจและเชื่อ” (สมณโองการฯ ข้อ 21)
+
ทำกิจเมตตา
   พระเจ้าทรงเรียกเราให้เป็น “ผู้กระทำแห่งพระวาจาและไม่ใช่เป็นผู้ฟังเท่านั้น” (จดหมายของนักบุญยากอบ 1.22). ปีนี้และตลอดไป การเป็น “ผู้กระทำ” หมายถึงการทำกิจเมตตา ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิตวิญญาณ
         กิจเมตตาฝ่ายกายเกี่ยวข้องกับการใส่ใจสำหรับความต้องการฝ่ายกายและวัตถุของคนอื่น  ได้แก่ 1.ให้อาหาร 2. ให้เสื้อผ้า  3.ให้ที่พักอาศัย  4.ช่วยรักษาพยาบาล 5. เยี่ยมผู้ถูกจองจำ 6.ช่วยผู้ประสบความเดือดร้อน  7.ช่วยฝังศพ
+
กิจฝ่ายจิตหมายถึง1.สอน 2.เตือนคนผิด 3.ช่วยคิดอ่าน 4.ช่วยบรรเทาใจ 5.อดทนต่อความผิดของเขา  6.ให้อภัย 7.  สวดอุทิศให้

สมเด็จพระสันตะปาปาทรงอธิบายว่า “เป็นบทนำกิจเมตตาเหล่านี้ของการสอนของพระองค์  เพื่อว่า เราจะสามารถรู้ว่า เราดำเนินชีวิตเป็นสาวกของพระองค์หรือไม่” (สมณโองการฯ ข้อ 15)
   สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสกับเราว่า เราจะถูกพิพากษาโทษเกี่ยวกับวิธีที่เราใส่ใจสำหรับผู้ที่เล็กน้อยที่สุดของพี่น้องชายหญิง” (พระวรสารโดยนักบุญมัทธิว 25.34-46 “ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ตำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา”)
+
           การทำกิจเมตตาไม่ใช่เป็นเพียงการเสนอแผนการหนีจาก “การลงโทษนิรันดร” แต่ยังช่วยเราให้เข้าใจพระเมตตาจากข้างในจิตใจ. ปลุกมโนธรรมของเราอีกครั้ง  เพราะ “บ่อยครั้ง เราปราศจากความรู้สึกนึกคิดมากขึ้นเรื่อยๆ” ช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะเห็นความยากจนฝ่ายจิตของเราเองในใบหน้าหลากหลาย ของคนยากจนฝ่ายกาย  และคนยากจนฝ่ายจิต สมณโองการฯ ข้อ 15 )
+
     ด้วยเหตุนี้ ตลอดปีแห่งเมตตาธรรม สมเด็จพระสันตะปาปาทรงขอให้เราใจใส่พระวาจาของพระคริสตเจ้า และเข้าถึงผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ. สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประสงค์ให้เราบริจาคอาหารแก่โรงทานเลี้ยงคนจน และบริจาคเสื้อผ้าแก่สมาคมวินเซนต์ เดอ ปอล. เราสามารถเชิญครอบครัวใหม่ในเมืองให้มารับประทานอาหารเย็น และบริจาคเงินทองแก่หน่วยงานที่ไม่ค้ากำไร ที่จะหาน้ำสะอาดสำหรับเด็กในทวีปแอฟริกาด้วย. เราสามารถขอมิสซาผู้ตายเพื่อเพื่อนและคนที่เรารักที่ล่วงลับ และไปเยี่ยมคนป่วยและคนใกล้สิ้นใจ      เลี้ยงอาหารที่สถานสงเคราะห์และโรงพยาบาล  เสนอความต้องการในขณะสวดสายประคำ เพื่อสมาชิกในครอบครัวที่ทิ้งวัดให้กลับใจ  และระงับคำพูดด่าว่า (และอารมณ์) เมื่อมีคนขับรถปาดหน้าเรา
ไปจาริกแสวงบุญ
        เมตตาไม่ใช่ของให้เปล่า  เราต้องลงมือทำด้วยความทุ่มเท  ไม่ใช่ด้วยเงิน แต่ด้วยความพยายาม สมเด็จพระสันตะปาปาทรงลิขิตว่า “การอุทิศและการเสียสละ” ต้องทิ้งบาป ความเห็นแก่ตัวและความอยากทำลายล้าง (ข้อ 14). ผลคือ ต้องทำสิ่งต่างๆตามวิธีของพระเจ้า ไม่ใช่วิธีของเรา. เนื่องจากเรามีธรรมชาติที่ตกต่ำ (ของอาดัมเอวา) ซึ่งเรารับมาจากสมัยโบราณมากที่สุด  นั่น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย. พระศาสนจักรแนะนำว่า คนที่แสวงหาพระเมตตาขณะเดินทางไปจาริกแสวงบุญ     เพื่อเข้าใจดีขึ้นว่าพระเมตตาต้องการสิ่งใด และเป็นวิธีพัฒนาศิษย์ที่จำเป็นในการเดินตามเส้นทางของพระเจ้า
            สมเด็จพระสันตะปาปาทรงอธิบายว่า เมื่อเราเดินทางไปสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ให้เราจำไว้ว่า “ชีวิตของเราคือการจาริกแสวงบุญ  และเป็นผู้จาริกไปตามถนน จึงต้องทำเส้นทางของเขาให้ไปสู่จุดหมายที่พึงปรารถนา” เรายังเห็นว่าพระเมตตา ไม่ใช่เอกสารแจกราคาถูก แต่เป็นของขวัญที่ทรงค่า ซึ่งมีค่าเท่ากับชีวิตของพระเยซูเจ้า และเป็น “เป้าหมายที่ต้องเข้าถึง” (สมณโองการฯ  ข้อ 14)
+
          สำหรับหญิงชายมากมายตลอดทุกยุคสมัย  ประสบการณ์การจาริกแสวงบุญนี้–ไปโรมและเยรูซาเล็ม ฟาติมาและลูร์ด  มหาวิหารและสักการสถานประจำชาติ – เป็นโอกาสแห่งการกลับใจและพระหรรษทาน. เสนอโอกาสแก่พวกเขาให้ชดเชยบาป การอภัยและใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้น.
+
      ด้วยเหตุนี้ ช่วงปีแห่งเมตตาธรรม พระศาสนจักรเชิญชวนผู้มีความเชื่อทุกคนให้จาริกแสวงบุญ  ไม่ว่าจะเป็นอาสนวิหารใกล้หรือแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ห่างไกล เพื่อว่า ขณะที่เราจาริกแสวงบุญ เราจะ “มีความเข้มแข็งที่จะโอบรับพระเมตตาของพระเจ้าและอุทิศตัวเราที่จะเมตตาต่อผู้อื่นดังที่พระบิดาทรงเมตตากับเรา” (อ้างแล้ว สมณโองการฯ ข้อ 14)
+++++
การเดินผ่านประตูศักดิ์สิทธิ์
       อย่างน้อย 500 ปี มีการกำหนดประตูศักดิ์สิทธิ์และปีศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นเรื่องคู่กัน
+
        อย่างไรก็ตาม ระหว่างปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ประตูศักดิ์สิทธิ์มีความสำคัญเป็นเบื้องต้น. ประตูศักดิ์สิทธิ์ในโรมเปิดรับผู้จาริกแสวงบุญ และสมเด็จพระสันตะปาปาทรงขอให้อาสนวิหารและมหาวิหารทุกแห่งทั่วโลกจัดสร้างประตูแห่งพระเมตตา
          ย้อนกลับไปสู่ธรรมประเพณีแห่งประตูศักดิ์สิทธิ์ ในต้นศตวรรษที่ 15 พระสันตะปาปามาร์ตินที่ 5 ทรงประกาศให้เปิดประตูศักดิ์สิทธิ์โอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ที่มหาวิหารลาเตรันเท่านั้น
+
     สิ้นศตวรรษนี้ มหาวิหารใหญ่ๆในโรมและประตูศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั่วโลก มีความสำคัญสำหรับปีศักดิ์สิทธิ์
            ประตูศักดิ์สิทธิ์หมายถึงพระคริสตเจ้า ที่เรียกพระองค์เองว่า “ประตู” สู่ชีวิตนิรันดร (ยน 10.9) การที่ผู้จาริกเดินผ่านประตูศักดิ์สิทธิ์ เป็นการเดินทางฝ่ายจิต จากบาปไปสู่พระหรรษทาน   และจากความตายไปสู่ชีวิต เป็นการยอมรับว่า พระคริสตเจ้าทรงเป็นเส้นทางเดียวที่ไปสู่พระบิดา
               ระหว่างปีแห่งเมตตาธรรมนี้ ทุกประตูศักดิ์สิทธิ์ในโรมและทั่วทวีปยุโรปจะถูกเปิด. ทุกคนที่เดินผ่านประตูศักดิ์สิทธิ์จะมีโอกาสรับพระคุณการุณบริบูรณ์เพื่อตัวเขาเองหรือคนที่ล่วงลับ. สำหรับคนที่ไม่อาจเดินทางข้ามมหาสมุทร (ไปทวีปยุโรป). จะได้รับพระหรรษทานเดียวกันในอาสนวิหารหรือสักการสภานที่มี “ประตูแห่งเมตตาธรรม” ตามที่สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า “คนที่เข้า (ประตูศักดิ์สิทธิ์) จะมีประสบการณ์ความรักแห่งพระเจ้าที่ทรงบรรเทาใจ  ประทานอภัยและนำมาซึ่งความหวัง (สมณโองการฯ  ข้อ 3)
++++++
การรับพระคุณการุณย์
             เมื่อผู้คนได้ยินคำ “พระคุณการุณย์” พวกเขาคิดถึงมาร์ติน ลูเธอร์ ผู้ปฏิรูปศาสนา ในปลายยุคกลาง ประชากรตามพระสัญญาหนีรอดจากไฟชำระอย่างรวดเร็ว   ในการแลกเปลี่ยนกับการบริจาคเงินอย่างใจกว้าง
           แต่พระคุณการุณย์เป็นมากกว่าคำแนะนำในสมัยกลาง. เป็นคำแนะนำที่แสดงพระเมตตาของพระเจ้าที่ต่อเนื่องในโลก  ปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระ “จากส่วนที่เหลือจากผลของบาป (เศษบาป)” และทำให้เรา “ทำกิจเมตตาและ “เจริญในความรัก” (สมณโองการฯ ข้อ 22)
+
             ขณะที่พระศาสนจักรเข้าใจเรื่องพระคุณการุณย์   มาหลายศตวรรษแล้ว อาศัยพระหรรษทานของพระเจ้า หญิงชายที่ศักดิ์สิทธิ์กระทำความดี.  พวกเขาสวดภาวนา ทนทุกข์ ทำพลีกรรม (เสียสละตน)และรับใช้ผู้อื่น. ยิ่งพวกเขาทำความดีมากเพียงใด – และตอบรับพระหรรษทานของพระเจ้าด้วยความนบนอบที่รักและซื่อสัตย์มาก– พระเจ้าจะยิ่งหลั่งพระหรรษทานแก่พวกเขามากเพียงนั้น
       อาศัยการแลกเปลี่ยนที่เกิดผลของการทำดีและพระหรรษทานที่ได้รับ.   บางสิ่งเป็นการทำความดีมากเกินไป แล้วจึงได้รับพระหรรษทาน. เราเรียกจำนวนเหลือเฟือนี้ว่า “คลังของนักบุญ” เหมือนธนาคารแห่งความดีที่อาศัยพระหรรษทาน  ซึ่งเราจะได้รับเพื่อหนีการลงโทษชั่วคราวสำหรับบาปของเรา
**
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสว่า “ (บรรดานักบุญ) ความศักดิ์สิทธิ์มาช่วยคนอ่อนแออย่างเรารที่ทำให้พระศาสนจักร ด้วยคำภาวนาเยี่ยงมารดา และวิถีชีวิต เพื่อป้องกันความอ่อนแอของบางคนด้วยความเข้มแข็งของคนอื่น” (พระสมณโองการ ข้อ 22)
+
     ความช่วยเหลือ (พระคุณการุณย์)นั้น ต้องครบบริบูรณ์ (การเลิกการลงโทษชั่วคราวเพราะบาป) หรือ เพียงบางส่วน และเราสามารถรับมันได้เพื่อคนรักที่ล่วงลับและเพื่อตัวเราเอง. มีหลายวิธีที่เราได้รับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ เช่น การเดินผ่านประตูศักดิ์สิทธิ์ การจาริกแสวงบุญ การสวดสายประคำและการอ่านพระคัมภีร์
                 อย่างไรก็ตาม ในทุกกรณี เงื่อนไขสำหรับการรับพระคุณการุณย์ยังเหมือนเดิม คือทำให้ห่างไกลจากบาป ด้วยการรับศีลมหาสนิท และรับศีลอภัยบาปวันเดียวกันหรือวันใกล้กัน สวดภาวนาเพื่อพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา และการอยู่ในสถานะพระหรรษทาน การรับพระคุณการุณย์จึงครบบริบูรณ์
+++
การพิศเพ่งพระเมตตาของพระเจ้าในพระคัมภีร์
         พระคัมภีร์เป็นทั้งพระวาจาของพระเจ้าและเรื่องราวของพระเจ้าในอดีต  ตามประวัติที่พระเจ้าทรงเกี่ยวข้องกับมนุษย์   การระลึกถึงความเอื้ออาทรที่เมตตาของพระองค์สำหรับมนุษยชาติ ตั้งแต่สวนเอเดนถึงเขากัลป์วาร์และอื่นๆ. เราจะเข้าใจพระเมตตาของพระเจ้าโดยอาศัยพระคัมภีร์. สมเด็จพระสันตะปาปา
ฟรานซิสทรงเรียกร้องสัตบุรุษ ให้ไตร่ตรองพระคัมภีร์มากขึ้นในปีศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงมหาพรต
      สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสถามว่า “เราควรอ่านพระคัมภีร์มากเท่าไร จึงเหมาะสมกับการพิศเพ่งรำพึงช่วงมหาพรต. เพื่อช่วยเราค้นพบโฉมพระพักตร์ของพระบิดา” (พระสมณโองการ ข้อ 17). ในพระสมณโองการ พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม สมเด็จพระสันตะปาปาทรงชี้ถึงประกาศกมีคาห์และประกาศกอิสยาห์ให้เป็นจุดเริ่มรำพึง.  แต่บทเพลงสดุดี  ซึ่งเป็นเพลงภาวนาของชาวอิสราเอล สรรเสริญและขอบพระคุณ  เสนอการหยั่งรู้ที่ไม่สิ้นสุดด้วย เพื่อเข้าสู่พระเมตตาของพระเจ้า  เช่น ประวัติศาสตร์ทั้งหมดของชาวอิสราเอลโบราณ ตั้งแต่หนังสือปฐมกาลสู่หนังสือมัคคาบี
+
       ช่วงเทศกาลมหาพรตหรือตลอดปี มุ่งเน้นคำแนะนำของสมเด็จพระสันตะปาปา  ที่ให้ไตร่ตรองพระเมตตาของพระเจ้าในพระคัมภีร์ว่า ทุกเช้า  ให้อ่านบทอ่านพระคัมภีร์ 1 บท สวดบททำวัตรกับพระศาสนจักร หรือภาวนาแบบย่อของบททำวัตรด้วยบทมักญีฟีกัต (บทสรรเสริญแม่พระ).การศึกษาพระคัมภีร์ เช่น การเดินทางของศูนย์นักบุญเปาโล อาศัยพระคัมภีร์ และไทม์ไลน์พระคัมภีร์ของโรงพิมพ์   หรือหนังสือของคุณพ่อ มิท์ช แพค (St. Paul Center’s Journey Through Scripture and Ascension Press’s Bible Timeline, or books like Father Mitch Pacwa’s “Mercy: A Bible Study Guide for Catholics” (OSV, $9.95), ว่า “พระเมตตา เป็นหัวข้อของคู่มือศึกษาพระคัมภีร์เพื่อคาทอลิก”) เสนอการหยั่งรู้ เพื่อเข้าถึงพระเจ้า เพื่อทำให้ประชาชนคุ้นชินกับเรื่องราวแห่งความรอด ขณะที่ละครสามเรื่องต่อกันเป็นชุดเกี่ยวกับพระเยซูเจ้าแห่งนาซาเร็ธ ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์  ใช้เป็นคู่มือเพื่อเห็นพระเมตตาของพระเจ้า ที่รับสภาพมนุษย์ในพระพักตร์ของพระคริสตเจ้า

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:22-30) เวลานั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม และเป็นฤดูหนาว พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินอยู่ในพระวิหารที่เฉลียงซาโลมอน ชาวยิวมาล้อมพระองค์ไว้ ทูลว่า “ท่านจะปล่อยให้ใจของพวกเราสงสัยอยู่นานเท่าใด ถ้าท่านเป็นพระคริสตเจ้า ก็จงบอกพวกเราให้ชัดเจนเถิด”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
8484
9039
49642
259175
306218
36002897
Your IP: 3.144.189.177
2024-04-24 17:23

สถานะการเยี่ยมชม

มี 122 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์