แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

สมาคม คณะและกลุ่มต่างๆของฆราวาส
261    เป้าหมายของ “สมาคม  คณะและกลุ่มต่างๆ ของฆราวาส” ที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ (อ้างถึง CT 70) ซึ่งพัฒนาอยู่ในพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น  จะต้องช่วยบรรดาศิษย์ของพระเยซูคริสต์ให้สามารถปฏิบัติพันธกิจสำหรับฆราวาสของพวกเขาในโลกและในพระศาสนจักรได้อย่างสมบูรณ์  คริสตชนในสมาคมต่างๆ ดังกล่าวได้อุทิศตนให้แก่ “การปฏิบัติตามความศรัทธา  การทำงานธรรมทูตโดยตรง  การทำงานด้านเมตตาธรรมและงานสงเคราะห์ต่างๆ  หรือการเข้าร่วมของคริสตชนในสถานการณ์ชั่วคราวทั้งหลาย” (CT 70) 

สมาคมและคณะต่างๆ เหล่านี้จำเป็นต้องจัดการอบรมบางอย่างให้แก่สมาชิกของตน  เพื่อที่จะบำรุงเลี้ยงลักษณะพื้นฐานต่างๆของชีวิตคริสตชน ซึ่ง “อันที่จริง พวกเขามีโอกาสที่จะให้การอบรมโดยวิธีของพวกตนผ่านทางการแบ่งปันประสบการณ์อันลึกซึ้งในชีวิตธรรมทูต  พร้อมกันนั้นก็ยังมีโอกาสที่จะรวมตัวกันเพื่อจัดการอบรมที่พิเศษและชัดเจนซึ่งสมาชิกของพวกเขาจะได้รับความรู้ความเข้าใจจากบุคคลอื่นๆและชุมชนต่างๆ” (ChL 62)  การสอนคำสอนมักจะเป็นรูปแบบพื้นฐานหนึ่งในการฝึกอบรมฆราวาส  เป็นธรรมดาที่องค์กรต่างๆเหล่านี้ก็มี “ช่วงเวลาพิเศษสำหรับการสอนคำสอน” (CT 67)  ที่มิได้เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งสำหรับการฝึกอบรมคริสตชน    แต่เป็นหนึ่งในแนวทางพื้นฐานต่างๆ ของการฝึกอบรมคริสตชน

262    เพื่อจะจัดการสอนคำสอนให้แก่สมาคมและคณะต่างๆ  จำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะสำคัญบางอย่างของการสอนคำสอนที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่
    ก) ”ลักษณะตามธรรมชาติอันเหมาะสม” ของการสอนคำสอน (CT 47b)  เป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการพิจารณาและทำให้มีขึ้นโดยอาศัยการทำให้สิ่งต่างๆที่น่าสนใจซึ่งมีอยู่มากมายในส่วนประกอบอันสำคัญของการสอนคำสอน 3 ประการคือ คำพูด  ความจำและการเป็นพยาน (คำสอน  พิธีฉลองรำลึกและพันธกิจในชีวิต)เจริญยิ่งขึ้น (CT 47b)  และไม่ว่าจะเป็นการสอนคำสอนด้วย “วิธี” ใด   การสอน คำสอนก็ยังคงเป็นการฝึกอบรมเกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานในเรื่องความเชื่อ  อย่างไรก็ตาม การสอนคำสอนยังคงต้องรวมเอา “การศึกษาข้อคำสอนของคริสตชนอย่างจริงจัง” (CT 47)  และจะต้องจัดการอบรมเกี่ยวกับศาสนาอย่างจริงจัง “เปิดรับทุกเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตคริสตชน” (อ้างถึง CT 21)
    ข) ลักษณะการสอนคำสอนอย่างจริงจังและเปิดรับทุกเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตคริสตชนนี้มิใช่อุปสรรคในการบรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่เหมาะสมกับสมาคมและคณะทั้งหลายซึ่งตรงกันกับพระพรพิเศษของแต่ละสมาคมหรือคณะ  แม้ว่าการสอนคำสอนในแต่ละแห่งจะมีการเน้นที่ต่างกัน  แต่การสอนคำสอนยังคงต้องซื่อสัตย์ต่อลักษณะของตนเสมอ  การศึกษาอบรมเรื่องชีวิตจิตที่เหมาะเฉพาะกับคณะหรือสมาคมหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ    เป็นการทำให้พระศาสนจักรสมบูรณ์ยิ่งขึ้น   และเป็นการต่อเนื่องตามธรรมดาของการอบรมขั้นพื้นฐานที่คริสตชนทุกคนได้รับ  เริ่มแรกการสอนคำสอนจำเป็นต้องให้การศึกษาในเรื่องธรรมดาแก่สมาชิกทุกคนของพระศาสนจักรก่อน  แล้วจึงให้การศึกษาในเรื่องที่พิเศษและแตกต่างกันออกไป
    ค) ไม่ว่าการสอนคำสอนจะต้องเกี่ยวข้องกับคณะและสมาคมต่างๆ มากเท่าใด ก็จำเป็นต้องยืนยันว่าคณะและสมาคมต่างๆ นั้นมิอาจเป็นทางเลือกที่จะมาแทนที่วัดได้  เนื่องจากวัดเป็นชุมชนที่ให้การศึกษาอบรมซึ่งการสอนคำสอนต้องอ้างถึง (อ้างถึง CT 67b-c)