แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การอภิบาลครูคำสอนในพระศาสนจักรเฉพาะถิ่น
233    เพื่อจะทำให้การทำงานศาสนบริการด้านการสอนคำสอน ในพระศาสนจักรเฉพาะถิ่นมีความมั่นคง  จึงจำเป็นต้องมีการอภิบาลครูคำสอนอย่างเหมาะสมโดยมีการคำนึงถึงองค์ประกอบหลายประการ ซึ่งที่จริงแล้วเป็นความพยายามหลายๆ ประการที่จะต้องกระทำ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
    - การส่งเสริมกระแสเรียกด้านการสอนคำสอนในวัดและ ชุมชนคริสตชนทั้งหลาย  เนื่องจากความต้องการด้านการสอนคำสอนในยุคปัจจุบันมีความผันแปรมาก จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้มีครูคำสอนหลายรูปแบบ  โดยที่จะต้องมีการวางมาตรการเพื่อการส่งเสริมให้มี “ครูคำสอนที่มีความชำนาญในด้านต่างๆ” (GMC 5)

    - ความพยายามที่จะจัดหาครูคำสอนเต็มเวลาจำนวนหนึ่ง  เพื่อให้ครูเหล่านี้สามารถอุทิศตนทำงานอย่างจริงจัง  มีการพัฒนาอย่างมั่นคงในการสอนคำสอนยิ่งขึ้น (CT 66)  นอกจากนี้ควรจะส่งเสริมให้มีครูคำสอนที่ทำงานบางเวลา (part time)  ซึ่งดูเหมือนจะมีจำนวนมากยิ่งขึ้นเป็นธรรมดาของการพัฒนาการสอนคำสอน (อ้างถึง AG 17; GCM 4)
    - การจัดระบบการกระจายครูคำสอนให้สมดุลยิ่งขึ้น เพื่อให้มีครูคำสอนทั่วทุกกลุ่มที่ต้องการเรียนคำสอน  การรู้ถึงความต้องการในเรื่องการสอนคำสอนผู้ใหญ่และการสอนคำสอนเยาวชน  สามารถช่วยให้การกำหนดปริมาณครูคำสอนที่จะต้องสอนเด็กๆและเยาวชนทั้งหลายได้อย่างสมดุลยิ่งขึ้น
    -  การสนับสนุนให้มีจิตตาภิบาล (animator) ที่มีหน้าที่ในระดับสังฆมณฑล  ในเขตต่างๆ  และประจำวัดต่างๆ (อ้างถึง GMC 5) 
    - การจัดระบบการอบรมครูคำสอนอย่างเหมาะสม  ทั้งด้านการฝึกอบรมขั้นพื้นฐานและด้านการฝึกอบรมต่อเนื่อง
    - การเอาใจใส่ดูแลเรื่องความต้องการต่างๆ ของครูคำสอนทั้งหลายทั้งด้านส่วนตัวและด้านจิตใจ รวมถึงการเอาใจใส่กลุ่มครูคำสอนในลักษณะเดียวกัน  งานด้านนี้เป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานและเป็นเรื่องสำคัญของบรรดาพระสงฆ์ตามชุมชนคริสตชนต่างๆ
    - การประสานงานกันระหว่างครูคำสอนกับผู้ทำงานอภิบาลด้านอื่นๆ ในชุมชนคริสตชนต่างๆ  เพื่องานการประกาศพระวรสารทั้งหมดจะได้มั่นคง  และเพื่อความมั่นใจว่าครูคำสอนจะไม่ถูกแยกออกจากหรือไม่สัมพันธ์กันกับชีวิตของชุมชน