แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การสอนคำสอนสำหรับคนพิการและคนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ (อ้างถึง GCD(1971) 91; CT 41)
189    ทุกชุมชนคริสตชนถือว่าบุคคลที่มีข้อเสียเปรียบไม่ว่าทาง ร่างกายหรือจิตใจ  เช่นเดียวกับความพิการในแบบอื่นๆ  -โดยเฉพาะเด็กทั้งหลาย- เป็นดั่งบุคคลที่พระเป็นเจ้าทรงรักเป็นพิเศษ  พัฒนาการของสำนึกทางด้านสังคมและเรื่องเกี่ยวกับพระศาสนจักร  พร้อมกับความก้าวหน้าทางวิธีสอนในรูปแบบเฉพาะทำให้ครอบครัวและศูนย์ฝึกอบรมอื่นๆ อีกสามารถให้การสอนคำสอนแก่บุคคลเหล่านี้ได้อย่างเพียงพอ หากเป็นบุคคลที่ได้รับศีลล้างบาปแล้ว พวกเขาก็มีสิทธิ์นี้   ถึงแม้จะยังไม่ได้รับศีลล้างบาป พวกเขาก็มีสิทธิ์เช่นกัน เพราะพวกเขาได้รับเรียกมาสู่ความรอดพ้น   ความรักของพระบิดาสำหรับลูกๆที่อ่อนแอที่สุดของพระองค์  และการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าและพระจิตเจ้าอย่างต่อเนื่องให้ความมั่นใจว่า ทุกคนไม่ว่าจะมีความบกพร่องใดๆก็ตามสามารถเติบโตไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ได้

    การให้ความรู้ในเรื่องความเชื่อซึ่งเกี่ยวข้องกับครอบครัวยิ่งกว่าใครๆ เรียกร้องให้มีแผนการสอนต่างๆที่เหมาะสมและมีลักษณะเฉพาะบุคคล   ดังนั้นจึงควรพิจารณาถึงผลการวิจัยต่างๆเกี่ยวกับวิธีสอน  การให้ความรู้ในเรื่องความเชื่อนั้นจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็ต่อเมื่ออยู่ในสภาพที่มีการให้ความรู้ที่จำเป็นทุกด้านแก่บุคคล   แต่ยังมีสิ่งที่ต้องพิจารณาอีกคือ ความเสี่ยงอันเกิดจากการแยกการสอนคำสอนในรูปแบบเฉพาะนี้จากงานอภิบาลชุมชนโดยทั่วไป  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำให้ชุมชนรู้จักการสอนคำสอนแบบนี้และเข้ามีส่วนร่วมด้วย   การสอนคำสอนในรูปแบบเฉพาะนี้ยังมีความต้องการพิเศษคือ ความสามารถพิเศษของครูคำสอนและการให้การช่วยเหลือในทุกๆสิ่งที่สมควรช่วยเหลือให้มากยิ่งขึ้น

การสอนคำสอนคนที่ถูกละเลย
190    การสอนคำสอนคนที่ถูกละเลยต้องได้รับการพิจารณาให้ เป็นไปในความสัมพันธ์ของปัญหาต่างๆ ทางด้านจิตใจที่เหมือนกัน  โดยการสอนคำสอนนี้มุ่งไปที่ผู้อพยพเข้าประเทศ   ผู้ลี้ภัย   ชนเผ่าที่เร่ร่อน   นักท่องเที่ยว   ผู้ป่วยเรื้อรัง   ผู้ติดยาเสพติด   คนคุก    พระวาจาอันเคร่งขรึมของพระเยซูเจ้าที่ทำให้เห็นคุณค่าว่า การทำดีใดๆต่อ “ผู้ต่ำต้อยที่สุด” (มธ 25:40-45) รับรองพระคุณที่จำเป็นสำหรับการทำงานอย่างดีในภาวะที่ยากลำบากทั้งหลาย   เครื่องหมายต่างๆอันถาวรที่แสดงถึงพลังแห่งการสอนคำสอนคือ ความสามารถที่จะแยกแยะสถานการณ์ต่างๆ เพื่อที่จะสนองตอบความต้องการและปัญหาของทุกคน   เพื่อเน้นคุณค่าแห่งการติดต่อกันแบบส่วนตัวด้วยความโอบอ้อมอารีและความอดทน  เพื่อจะทำงานต่อไปด้วยความไว้วางใจและความสนใจในความเป็นจริง   และบางครั้งก็เปลี่ยนเป็นการสอนคำสอนตามโอกาสและแบบโดยอ้อม   ชุมชนคริสตชนต้องสนับสนุนบรรดาครูคำสอนที่อุทิศตนให้แก่การช่วยเหลือนี้เหมือนกับญาติพี่น้อง

การสอนคำสอนสำหรับกลุ่มต่างๆ
191    การสอนคำสอนในยุคปัจจุบันนี้  จะต้องพบกับคนต่างๆที่ต้องการแผนการสอนที่เฉพาะ  เพื่อให้เหมาะกับผู้ที่ผ่านการอบรมอาชีพต่างๆกัน  หรือได้รับการอบรมทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมากยิ่งขึ้น  โดยที่การสอนเหล่านี้รวมถึงการสอนคำสอนสำหรับผู้ประกอบอาชีพต่างๆ  ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพต่างๆ  ศิลปิน  นักวิทยาศาสตร์  หรือนักศึกษามหาวิทยาลัย  และการสอนคำสอนที่จะประสบผลดีภายในการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปของชุมชนคริสตชน  และเป็นที่ชัดเจนว่า ทุกส่วนของแผนการสอนเหล่านี้ต้องการวิธีการที่มีทักษะและภาษาที่ประยุกต์สารที่การสอนคำสอนต้องถ่ายทอดขณะที่ยังคงซื่อสัตย์ต่อสารนั้นเสมอ (อ้างถึง CT 59)

การสอนคำสอนตามสิ่งแวดล้อม
192    ในทุกวันนี้งานบริการในเรื่องความเชื่อต้องเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและถิ่นที่อยู่ของมนุษย์อย่างละเอียด   เพราะทั้งในสิ่งแวดล้อมและถิ่นที่อยู่นี้เป็นที่ที่มนุษย์ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของเขาอย่างแท้จริง  ทั้งยังเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเขาและเขาก็มีอิทธิพลต่อสิ่งเหล่านั้นด้วย  นอกจากนี้ยังเป็นที่ที่เขาได้ปฏิบัติในสิ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของเขา  ในที่นี้จะกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ 2 แบบอย่างกว้างๆ คือแบบชนบท (rural)  และแบบในเมือง (urban) ซึ่งต่างก็ต้องการรูปแบบการสอนคำสอนที่เหมาะสมเฉพาะถิ่น   การ สอนคำสอนให้กับชาวชนบทจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการต่างๆที่ประสบอยู่ในชนบท  ความต้องการต่างๆด้งกล่าวนี้ มักเกี่ยวพันกับเรื่องความยากจน  บางครั้งก็เรื่องความหวาดกลัว  และเรื่องนอกรีต (superstition) แต่ก็ยังมีความสมบูรณ์ในความเรียบง่าย  ความวางใจในชีวิต  ความสำนึกในความสามัคคี  ความเชื่อในพระเป็นเจ้าและความซื่อสัตย์ต่อประเพณีต่างๆ ทางศาสนา การสอน คำสอนในเมืองจะต้องพิจารณาถึงความหลากหลายของสภาพต่างๆของสังคม บางครั้งก็มีทั้ง 2 ขั้วคือ พื้นที่ที่มีความเฟื่องฟูกับพื้นที่เล็กๆ ที่ประกอบไปด้วยความยากจนและการถูกละเลย   ความตึงเครียดที่สามารถมีอิทธิพลเหนือลีลาในการดำเนินชีวิต   ความสามารถที่จะเคลื่อนย้ายได้ง่าย   สิ่งล่อใจมากมายที่นำไปสู่การกระทำเพื่อหาความสุขชั่วคราวและการขาดความรับผิดชอบ   ความโดดเดี่ยวและการปิดบังตัวตนที่แท้จริงอันเนื่องมาจากการกดขี่ซึ่งมีมากขึ้น
    งานบริการในเรื่องความเชื่อต้องการการวางแผนอย่าง เหมาะสม  ครูคำสอนที่ได้รับการฝึกฝนแล้ว  เครื่องมือช่วยอันเป็นประโยชน์ และความคุ้นเคยกับทรัพยากรทางด้านสื่อมวลชน  สำหรับการปฏิบัติงานในสิ่งแวดล้อมทั้งสอง