แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

วิธีสอนของพระเป็นเจ้า
139    “พระเจ้าทรงกระทำต่อท่านเยี่ยงกระทำต่อบุตร  มีบุตรคนใดบ้างที่บิดาไม่ได้เฆี่ยนตีสั่งสอนเลย” (ฮบ 12:7)   ความรอดพ้นของบุคคล ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งการเปิดเผยของพระเป็นเจ้า  ถูกแสดงไว้เป็นเหมือนผลที่เกิดจาก “วิธีสอนของพระเป็นเจ้า” ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมและทรงประสิทธิภาพตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์  และคล้ายกับจะเป็นความเคยชินของมนุษย์ที่มีต่อพระเป็นเจ้าและการเปลี่ยนไปตามลำดับยุคแห่งวัฒนธรรมนี้เองที่ทำให้พระเป็นเจ้าในพระคัมภีร์ถูกมองเป็นเหมือนบิดาผู้ใจเมตตา  ครูและนักปราชญ์ (อ้างถึง ฉธบ 8:5, ฮชย 11:3-4, สภษ 3:11-12) 

พระองค์ทรงแสดงหลักความประพฤติของบุคคลทั้งแบบส่วนตัวและแบบหมู่คณะตามสถานการณ์ต่างๆ ที่ทรงพบ  พระองค์ทรงปลดปล่อยตัวบุคคลให้พ้นจากพันธนาการแห่งมารร้าย  และดึงเขากลับมาหาตัวเขาเองด้วยข้อผูกมัดแห่งความรัก  พระองค์ทรงช่วยมนุษย์เติบโตขึ้นอย่างมีขั้นตอน และอย่างอดทนในทิศทางที่จะบรรลุถึงวุฒิภาวะของบุตรที่มีอิสรภาพคนหนึ่งซึ่งซื่อสัตย์และเชื่อฟังพระวาจาของพระองค์  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้พระเป็นเจ้าในฐานะครูที่สร้างสรรค์และมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งได้ทรงแปลงเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประชากรของพระองค์  ให้เป็นบทเรียนต่างๆ ที่มีปรีชาญาณ (อ้างถึง  ฉธบ 4:36-40, 11:2-7)  ทรงปรับเปลี่ยนตัวพระองค์เองไปตามช่วงเวลาต่างๆ และสถานการณ์ที่หลากหลายของชีวิต  ด้วยเหตุนี้เอง พระองค์จึงทรงมอบถ้อยคำที่จะต้องสั่งสอนและการสอนคำสอนซึ่งจะถูกถ่ายทอดจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง (อ้างถึง อพย 12:25-27, ฉธบ 6:4-8, 6:20-25, 3:12-13, ฮชย 4:20) พระองค์ทรงตักเตือนด้วยรางวัลและการลงโทษ การทดสอบและการทนทุกข์ทรมานทั้งหลาย ซึ่งได้กลายเป็นอิทธิพลที่สำคัญต่อการพัฒนาบุคคล แท้จริงแล้ว การช่วยให้บุคคลหนึ่งได้พบกับพระเป็นเจ้า ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของครูคำสอน  ตั้งใจเน้นความสัมพันธ์ทั้งหมดซึ่งบุคคลหนึ่งมีต่อพระเป็นเจ้าก่อนสิ่งอื่นใด  เพื่อว่าเขาจะสามารถสร้างความสัมพันธ์กับพระเป็นเจ้าได้ด้วยตนเอง  และยอมให้พระเป็นเจ้านำทางชีวิตของเขา