แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

หลักเกณฑ์ต่างๆ ของการประยุกต์ภายในหนังสือคำสอนระดับท้องถิ่นให้เหมาะสม (อ้างถึงภาคที่ 4  บทที่ 1)
133    หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกชี้ให้เห็นหลักเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงเวลาที่จะประยุกต์หรือนำข้อมูลอื่นๆ มาพิจารณาร่วมกับองค์รวมพื้นฐานแห่งความเชื่อที่พระศาสนจักรท้องถิ่นทุกแห่งต้องมอบให้ประชากรของตน  องค์รวมแห่งความเชื่อนี้ต้องมีลักษณะที่ถูกประยุกต์ไปตาม “ความหลากหลายทางวัฒนธรรม  อายุ  วุฒิภาวะทางด้านจิตใจ  และสถานการณ์ต่างๆ ด้านสังคมและด้านพระศาสนจักรของผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการสอนคำสอน” (CCC 24)  สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ยังยืนยันอย่างหนักแน่นถึงความจำเป็นที่จะต้องประยุกต์สารแห่งพระวรสารว่า “อันที่จริง ลักษณะของการประยุกต์และการเทศน์เรื่องพระวาจาที่ถูกเปิดเผยไว้นี้ต้องเป็นกฎของการประกาศพระวรสารทุกประเภท” (GS 44) ดังนั้น

    - หนังสือคำสอนระดับท้องถิ่นจะต้องเสนอองค์รวมแห่งความเชื่อ  โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นที่บรรดาผู้เตรียมเป็นคริสตชนและผู้ที่จะเรียนคำสอนทั้งหลายดำเนินชีวิตอยู่  อย่างไรก็ตาม องค์รวมแห่งความเชื่อนี้น่าจะรวมเอา “การแสดงออกดั้งเดิมของชีวิต  ของการเฉลิมฉลองต่างๆ และของความคิดซึ่งเป็นแบบคริสตชน” (CT 53a) ที่เหมาะสมกับการสืบทอดทางวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น  และเป็นผลแห่งงานและการนำความเชื่อสู่วัฒนธรรมของพระศาสนจักรท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน
    - หนังสือคำสอนระดับท้องถิ่น “ซื่อสัตย์ต่อสาร (ของพระเป็นเจ้า) และต่อมนุษย์” (อ้างถึง CT 55c) นำเสนอสารของคริสตชนในวิถีทางที่มีความหมาย  และเป็นคล้ายกับสิ่งที่เป็นความคิดหรือความเชื่อและวิธีการคิดของบุคคลที่เป็นเป้าหมายของการสอน  เพราะฉะนั้น หนังสือคำสอนนี้จะกล่าวถึงประสบการณ์พื้นฐานของชีวิตบุคคลต่างๆ อย่างชัดเจน” (อ้างถึง CT 36-45)
    - หนังสือคำสอนระดับท้องถิ่นจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรมของการมีศาสนาอยู่ในสังคมท้องถิ่นนั้นๆ  ตัวอย่างเช่น การเตรียมหนังสือคำสอนสำหรับสังคมที่มีแต่ความเมินเฉยต่อศาสนาก็มิได้เป็นเหมือนการเตรียมหนังสือคำสอนสำหรับสังคมที่เต็มไปด้วยความสนใจในศาสนา (หนังสือคำสอนต่างๆ ในระดับท้องถิ่นต้องให้ความสนใจกับความสงสัย  และการทำให้สอดคล้องกับการอุทิศตนของประชาชน (อ้างถึง EN 48; CT 54 และ CCC 1674-1676) เท่าๆกับการเกี่ยวข้องกับการเสวนากับพี่น้องต่างนิกาย (ecumenical dialouge) (อ้างถึง CT 32-34; CCC 817-822)  และกับการเสวนาระหว่างศาสนา (inter-religious dialouge) (อ้างถึง EN 53; RM 55-57 และ CCC 839-845)) ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อกับความรู้ที่เป็นระบบ (science)  ต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบในหนังสือคำสอนทุกเล่ม
    - ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากเงื่อนไขต่างๆ ทางสังคม  โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากองค์ประกอบทั้งหลาย อันเป็นโครงสร้างที่มีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น (เช่น เศรษฐกิจ  การเมือง  ครอบครัว) เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาในการทำหนังสือคำสอนเล่มหนึ่ง  การได้รับการดลใจจากคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรนี้เอง  ที่ทำให้หนังสือคำสอนจะต้องมอบหลักเกณฑ์  แรงกระตุ้นและรูปแบบต่างๆ ของการปฏิบัติ  เพื่อเน้นถึงความเป็นคริสตชนในวิกฤตการณ์เหล่านี้ (อ้างถึง LC 72)
    - ในท้ายสุดนี้ สถานการณ์ที่แท้จริงของพระศาสนจักรอันเป็นรูปธรรมของพระศาสนจักรเฉพาะถิ่นแห่งหนึ่ง จะให้ข้อมูลที่หนังสือคำสอนเล่มหนึ่งจะต้องใช้อ้างอิง  เป็นที่แน่ชัดว่าหนังสือคำสอนใดๆ จะไม่อ้างถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่แน่นอนซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเอกสารต่างๆ ที่ถูกเขียนขึ้นโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ  แต่จะอ้างถึงสถานการณ์ที่ถาวรยิ่งกว่าซึ่งต้องการการประกาศ พระวรสารที่เหมาะสมและจำเพาะเจาะจงยิ่งกว่า (ส่วนนี้ โดยแท้จริงแล้วอ้างถึง “สถานการณ์ทางสังคมและศาสนาที่แตกต่างกัน” ซึ่งการประกาศพระวรสารต้อง เผชิญ ได้กล่าวไว้แล้วในภาคที่หนึ่ง บทที่ 1)