แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ประเภทหนังสือของหนังสือคำสอนในระดับท้องถิ่น
132    ลักษณะเฉพาะที่สำคัญสามประการที่เป็นลักษณะเฉพาะของหนังสือคำสอนทุกๆเล่มที่พระศาสนจักรท้องถิ่นหนึ่งนำมาใช้ คือ ลักษณะที่เป็นทางการ  ลักษณะที่เป็นองค์รวมแห่งความเชื่อที่เป็นหลักและเป็นพื้นฐาน และลักษณะที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับพระคัมภีร์อันเป็นจุดอ้างอิงหนึ่งสำหรับการสอนคำสอน

    - หนังสือคำสอนในระดับท้องถิ่น  เป็นเอกสารทางการของพระศาสนจักร ซึ่งมีลักษณะที่ชัดเจนประการหนึ่งคือ หนังสือนี้มี “การมอบบทข้าพเจ้าเชื่อ” และ “การมอบบทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย” ให้ผู้เตรียมเป็นคริสตชนและผู้ที่จะรับศีลล้างบาปอย่างชัดเจน  ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า หนังสือคำสอนนี้เป็นกิจการของกระบวนการสืบทอดความเชื่อคาทอลิก  ลักษณะความเป็นทางการของหนังสือคำสอนต่างๆ ในระดับท้องถิ่นได้พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณภาพที่แตกต่างไปจากเครื่องมืออื่นๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับวิชาครูคำสอน (เช่น ตำราที่เกี่ยวกับการสอนคำสอน  หนังสือคำสอนที่ไม่เป็นทางการ  คู่มือการสอนคำสอน ฯลฯ)
    - ยิ่งกว่านั้น หนังสือคำสอนทุกๆ เล่ม เป็นตำราที่มีลักษณะพื้นฐานและเป็นองค์รวมซึ่งนำเสนอเหตุการณ์ต่างๆ และข้อความจริงพื้นฐานต่างๆ แห่งพระธรรมล้ำลึกของคริสตชนในรูปแบบพื้นฐานหนึ่ง  และโดยคำนึงถึง “ฐานานุกรมของข้อความจริงทั้งหลาย” (hierrachy of truths)   ในโครงสร้างพื้นฐานของหนังสือคำสอนระดับท้องถิ่นได้แสดงให้เห็นถึง “กลุ่มหนึ่งของเอกสารทั้งหลายที่เป็นเรื่องการเปิดเผย (ความจริง) ของพระเป็นเจ้า และกระบวนการสืบทอดความเชื่อของคริสตชน” (GCD(1971) 119)  ซึ่งถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่ายเพราะความหลากหลายอย่างสมบูรณ์แห่ง “ภาษาทั้งหลาย” ที่สื่อถึงพระวาจาของพระเป็นเจ้า
    - สุดท้าย หนังสือสือคำสอนในท้องถิ่นเป็นจุดอ้างอิงที่ทำให้การสอนคำสอนมีชีวิตชีวา  พระคัมภีร์และหนังสือคำสอนเป็นตำราหลักที่เกี่ยวข้องกับคำสอน 2 เล่ม ที่ใช้ในกระบวนการสอนคำสอน  และเป็นสิ่งที่เราต้องมีไว้ใกล้ตัวเพื่อสะดวกในการหยิบใช้  แม้ตำราทั้งสองเล่มนี้จะเป็นตำราที่มีความสำคัญมากที่สุด  แต่มิได้มีเพียงสองเล่มนี้เท่านั้นที่เป็นประโยชน์  ที่แท้จริงแล้วเครื่องมือช่วยอื่นที่เป็นปัจจุบันยิ่งก็เป็นสิ่งที่จำเป็น (ในงานสอนคำสอน นอกจากสื่อช่วยสอนต่างๆ แล้ว  ยังมีองค์ประกอบอื่นมากมายที่มีผลกระทบมากในการพัฒนาการสอน   เช่น  ครูคำสอนแต่ละคน  วิธีการถ่ายทอดของครู  สายสัมพันธ์ระหว่างครูคำสอนและผู้เรียน  การเคารพในศักยภาพการรับรู้ของผู้เรียนคำสอน บรรยากาศแห่งความรักและความเชื่อในการสื่อสาร การมีส่วนร่วมของกลุ่มคริสตชน ฯลฯ) ดังนั้น จึงยังมีคำถามอยู่หนึ่งข้อคือ หนังสือคำสอนที่เป็นทางการเล่มหนึ่งควรจะมีเนื้อหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับวิธีการสอนหรือไม่  หรือในทางกลับกัน ควรจะถูกจำกัดเนื้อหาที่เป็นองค์รวมแห่งคำสอนและการเสนอแหล่งที่มาต่างๆ หรือไม่
    ไม่ว่ากรณีใดๆ  หนังสือคำสอนในฐานะที่เป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับกิจกรรมการสอนคำสอนซึ่งเป็นกิจการแห่งการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นสะท้อนให้เห็นถึงการดลใจในเรื่องวิธีสอนที่แน่นอน  และต้องทำให้วิธีสอนของพระเป็นเจ้าปรากฏชัดเจนตามวิธีการของหนังสือนั้น
    ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับระเบียบวิธีสอนที่มากขึ้นก็เหมาะกับเครื่องมืออื่นๆ มากกว่าอย่างชัดเจน