แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การประกาศพระวรสาร (CCC 150-175)
46    พระศาสนจักร “ดำรงอยู่เพื่อประกาศพระวรสาร” (EN 14) ซึ่งเป็น “การนำข่าวดีไปถึงมนุษยชาติทุกหมู่เหล่า  เพื่อที่พลังของข่าวดีนี้อาจจะเข้าสู่จิตใจมนุษย์ และฟื้นฟูมนุษยชาติขึ้นใหม่”  (EN 18)
    คำสั่งเกี่ยวกับงานธรรมทูตของพระเยซูเจ้าที่ให้ประกาศพระวรสารนั้นมีหลายรูปแบบ  ซึ่งทุกรูปแบบก็มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น  ได้แก่ “จงประกาศ” (มก 16:15)  “ให้เป็นสานุศิษย์และสอน” (มธ 28: 19-20)   “จงเป็นพยานถึงเรา” (กจ 1:8)  “ทำพิธีล้างบาป” (มธ 28:19)  “จงทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเรา” (ลก 22:19)  “ให้ท่านทั้งหลายรักกัน” (ยน 15:12)   การประกาศ  การเป็นสักขีพยาน  การเทศน์สอน  ศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ  ความรักเพื่อนบ้าน  ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นรูปแบบของการถ่ายทอดพระวรสาร  และร่วมกันเป็นองค์ประกอบสำคัญของการประกาศพระวรสารด้วย

    แท้จริงแล้ว สิ่งที่กล่าวถึงเหล่านี้สำคัญมาก  จนหลายครั้งมีคนถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการดำเนินการของการประกาศพระวรสาร  อย่างไรก็ตาม  “เราไม่สามารถยอมรับคำนิยามเช่นนั้นได้  เพราะลักษณะแท้จริงของการประกาศพระวรสารนั้นทรงพลัง  เต็มไปด้วยความจริงที่สำคัญมากมาย  และซับซ้อน”  (EN 17) การยอมรับคำนิยามที่ไม่ถูกต้องนี้จะเสี่ยงต่อการขัดขวางและการบิดเบือนรูปแบบการประกาศพระวรสาร  ส่วนการประกาศพระวรสารที่แท้จริงนั้นต้องพัฒนาไปสู่ “ความครบถ้วน” (EN 28)  และรวมขั้วทั้งสองของการประกาศ พระวรสารเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์  คือเป็นทั้งสักขีพยานและการประกาศ (อ้างถึง EN 22a )   สานสายใยระหว่างพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ (อ้างถึง EN 47b)  ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (อ้างถึง EN 18) บรรดาผู้ประกาศ พระวรสารมี “มุมมองที่ครอบคลุมองค์ประกอบทั้งหมด” ของการประกาศพระวรสาร  (EN 24d)  และมีความเห็นด้วยกับงานธรรมทูตทั้งหมดของพระศาสนจักร (อ้างถึง EN 14)