แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

วันอังคารสัปดาห์ที่ 21 (ปีคู่)

บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว(มธ 23:23-26)

 เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “วิบัติจงเกิดแก่ท่าน ธรรมาจารย์และฟาริสีหน้าซื่อใจคด ท่านถวายหนึ่งในสิบของสะระแหน่ ผักชี ยี่หร่า แต่ได้ละเลยธรรมบัญญัติในเรื่องที่สำคัญ เช่น ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา และความซื่อสัตย์ บทบัญญัติเหล่านี้จำเป็นต้องปฏิบัติโดยไม่ละเว้นบทบัญญัติเหล่านั้นด้วย” “ผู้นำทางตาบอดเอ๋ย ท่านกรองลูกน้ำ แต่กลับกลืนอูฐทั้งตัว”

     “วิบัติจงเกิดแก่ท่าน ธรรมาจารย์และฟาริสีหน้าซื่อใจคด ท่านล้างถ้วยชามด้านนอก ด้านในมีแต่ความสกปรกคือการข่มขู่แย่งชิง และราคตัณหา ฟาริสีตาบอดเอ๋ย จงล้างด้านในของถ้วยชามให้สะอาดเสียก่อน แล้วด้านนอกก็จะสะอาดด้วย”


 มธ 23:24 ทั้งลูกน้ำและอูฐ ต่างก็เป็นสัตว์ที่มีมลทิน เป็นของต้องห้ามสำหรับชาวยิว

 คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก CCC ข้อ 582 ยิ่งกว่านั้น พระเยซูเจ้ายังทรงปฏิรูปกฎเกี่ยวกับเรื่องอาหารมีมลทินหรือไม่มีมลทิน ที่เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตประจำวันของชาวยิว ให้สมบูรณ์ขึ้น โดยทรงอธิบายความหมายในมุมมองของความเป็นเหมือน “ครูพี่เลี้ยง” ของกฎเหล่านี้ “สิ่งต่างๆ จากภายนอกที่เข้าไปในมนุษย์นั้นทำให้เขาเป็นมลทินไม่ได้ […] – ดังนี้ ทรงประกาศว่าอาหารทุกชนิดไม่เป็นมลทิน พระองค์ยังตรัสอีกว่า สิ่งที่ออกจากภายในมนุษย์นั้นแหละทำให้เขามีมลทิน จากภายใน คือจากใจมนุษย์นั้นเป็นที่มาของความคิดชั่วร้าย” (มก 7:18-21) พระเยซูเจ้าซึ่งทรงใช้อำนาจพระเจ้าอธิบายความหมายสุดท้ายของกฎเกณฑ์ต่างๆ จึงทรงขัดแย้งกับนักกฎหมายบางคนที่ไม่ยอมรับการอธิบายของพระองค์ ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงทำเครื่องหมายอัศจรรย์เพื่อยืนยันพระวาจาที่ทรงสั่งสอน การเช่นนี้เห็นได้ชัดเป็นพิเศษในปัญหาเรื่องวันสับบาโต หลายครั้งพระเยซูเจ้าทรงใช้เหตุผลของบรรดาธรรมาจารย์เอง เพื่อชี้ให้เห็นว่าการรับใช้พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ไม่เป็นการผิดพระบัญญัติให้หยุดพักในวันสับบาโต เพราะพระองค์ทรงรักษาโรคในวันสับบาโต

(จากหนังสือ THE DIDACHE BIBLE with commentaries based on the Catechism of the Catholic Church, Ignatius Bible Edition)