พระบัญญัติประการห้าห้ามการทำร้ายชีวิตมนุษย์ประเภทใด
การฆ่าคนและการกระทำที่เป็นการสมรู้ร่วมคิดในการฆ่าคนเป็นสิ่งต้องห้าม การฆ่าพลเรื่อนที่ปราศจากอาวุธในสงคราม เป็นสิ่งที่ต้องห้าม การทำแท้งของความเป็นมนุษย์ตั้งแต่ในขณะที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ เป็นสิ่งต้องห้าม การฆ่าตัวตาย การทำให้ตนเองพิการ และพฤติกรรมที่ทำลายตัวเอง เป็นสิ่งต้องห้าม การุณยฆาตกรรมคือการฆ่าคนพิการ คนเจ็บป่วย และผู้ใกล้ตาย เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยเช่นกัน (2268-2283,2322-2325)

ในปัจจุบัน บ่อยครั้งที่ผู้คนพยายามวนเวียนอยู่กับพระบัญญัติประการที่ห้ากับการโต้แย้งที่ดูเหมือนว่ามีมนุษยธรรม แต่การแก้ปัญหาอย่างมีมนุษยธรรมไม่ใช่ทั้งการุณยฆาตกรรมและการทำแท้ง ด้วยเหตุนี้ พระศาสนจักรจึงให้ความชัดเจนอย่างถ่องแท้ต่อคำถามเหล่านี้ ใครก็ตามที่มีส่วนร่วมในการทำแท้ง บังคับผู้หญิงให้ไปทำแท้ง หรือเป็นเพียงการแนะนำให้กระทำแท้งถูกตัดขาดจากพระศาสนจักรโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับอาชญากรรมอื่นๆ ที่ต่อต้านชีวิตมนุษย์ ถ้าในทางจิตวิทยา บุคคลที่ป่วยฆ่าตัวตาย ความรับผิดชอบต่อการกระทำในการฆ่าบ่อยครั้งจะลดลง และในหลายกรณี เป็นโมฆะอย่างสมบูรณ์

จุดเริ่มต้นครั้งแรกเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งในการให้ความสำคัญตามทัศนะคติพื้นฐานทางการแพทย์ เริ่มจากการยอมรับทัศนคติ พื้นฐานในกระบวนการการุณยฆาตกรรมนั่น คือว่าชีวิตนั้นไม่สมควรมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ทัศนคตินี้ในระยะเริ่มแรกนั้นเป็นเพียงความกังวลของตนเองที่มีอย่างรุนแรง และการป่วยที่เรื้อรัง ค่อยเป็นค่อยไป ขอบเขตของผู้ที่จะรวมอยู่ในประเภทนี้ถูกขยายให้คลอบคลุมอันประกอบด้วย ผู้ที่ไม่ก่อให้เกิดผลในสังคม อุดมการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เชื้อชาติที่ไม่พึงประสงค์ และในที่สุดทุกคนที่ไม่ใช่ชาวเยอรมัน แต่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักว่าความมหาศาลของลิ่มเล็กๆ ในคานงัดจากแนวโน้มทั้งปวงของความคิดที่ได้รับแรงผลักดันคือทัศนคติต่อความเจ็บป่วยในการไม่ทำให้สุขภาพกลับคืนสู่ปกติ
เลโอ อเล็กซานเดอร์
(1905-1985 แพทย์ชาวอเมริกันยิว) ในเรื่องอาชญากรรม ของนาซี ในการทำการุณยฆาตกรรม