แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

บทที่ 6
สิ่งที่ตรงกันข้ามกับพระเมตตากรุณา
อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส (ลก.16.19-31)
    เราจะซาบซึ้งกับสิ่งที่มีคุณค่าก็ต่อเมื่อมันหายไป หรือสิ่งตรงกันข้ามมาแทนที่ และเนื่องจากบ่อยครั้ง ความชั่วดับเสียงความดี  หลายครั้ง เราต้องตรวจสอบความชั่วเพื่อเข้าใจและทำความรู้จักกับความดี   เราเคารพพระเมตตากรุณาเมื่อไรและอย่างไร ประเด็นอะไรที่เป็นไปได้ที่จะวางใจในพระเมตตากรุณาของพระเจ้า   เสียงก้องของเรื่องอุปมา 3 เรื่องที่แสดงพระเมตตากรุณาของพระเจ้าในพระวรสารโดยนักบุญลูกายังแข็งแกร่ง แต่เราต้องเผชิญอุปสรรคใหญ่ในเรื่องอุปมานี้ คือคนรวยคนใดสามารถได้รับความรอดพ้น และเขาจะรอดอย่างไร

    สรุปแล้ว ก่อนจะเล่าเรื่องอุปมานี้ พระเยซูเจ้าทรงต่อต้านพวกชาวฟาริสีด้วยการวิจารณ์ข้อกล่าวหาอย่างรุนแรง   เพราะผู้ที่รักเงินทองหัวเราะเยาะพระองค์” (ลก.16.14) พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “ท่านทั้งหลายคิดว่า ท่านเป็นผู้ชอบธรรมต่อหน้ามนุษย์ แต่พระเจ้าทรงล่วงรู้ใจของท่าน สิ่งที่มนุษย์ยกย่องเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้า” (ลก.16.15) อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัสที่ให้ความมั่นใจ คงต้องท้าทายข้อสมมติฐานที่ว่า “ผู้ที่ได้รับการยกย่องต่อหน้ามนุษย์เพราะเขามีฐานะทางสังคมที่ดี พวกเขาจะได้รับการยกย่องเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าด้วย” แต่พระเจ้าทอดพระเนตรที่เจตนาในจิตใจไม่ใช่แค่ภาพปรากฏภายนอก
‘เศรษฐีผู้หนึ่ง แต่งกายหรูหราด้วยเสื้อผ้าเนื้อดีราคาแพง จัดงานเลี้ยงใหญ่ทุกวัน   คนยากจนผู้หนึ่งชื่อลาซารัส นอนอยู่ที่ประตูบ้านของเศรษฐีผู้นั้น เขามีบาดแผลเต็มตัว   อยากจะกินเศษอาหารที่ตกจากโต๊ะของเศรษฐี มีแต่สุนัขมาเลียแผลของเขา   วันหนึ่ง คนยากจนผู้นี้ตาย ทูตสวรรค์นำเขาไปอยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม เศรษฐีคนนั้นก็ตายเช่นเดียวกัน และถูกฝังไว้     ‘เศรษฐีซึ่งกำลังถูกทรมานอยู่ในแดนผู้ตาย แหงนหน้าขึ้น มองเห็นอับราฮัมแต่ไกล และเห็นลาซารัสอยู่ในอ้อมอก   จึงร้องตะโกนว่า “ท่านพ่ออับราฮัม จงกรุณาลูกด้วย กรุณาส่งลาซารัสให้ใช้ปลายนิ้วจุ่มน้ำมาแตะลิ้นให้ลูกสดชื่นขึ้นบ้าง เพราะลูกกำลังทุกข์ทรมานอย่างสาหัสในเปลวไฟนี้”  แต่
อับราฮัมตอบว่า “ลูกเอ๋ย จงจำไว้ว่า เมื่อยังมีชีวิต ลูกได้รับแต่สิ่งดี ๆ ส่วนลาซารัสได้รับแต่สิ่งเลว ๆ  บัดนี้เขาได้รับการบรรเทาใจที่นี่ ส่วนลูกต้องรับทรมาน  ยิ่งกว่านั้น ยังมีเหวใหญ่ ขวางอยู่ระหว่างเราทั้งสอง จนใครที่ต้องการจะข้ามจากที่นี่ไปหาลูก ก็ข้ามไปไม่ได้ และผู้ที่ต้องการจะข้ามจากด้านโน้นมาหาเรา ก็ข้ามมาไม่ได้ด้วย”
‘เศรษฐีจึงพูดว่า “ท่านพ่อ ลูกอ้อนวอนให้ท่านส่งลาซารัสไปยังบ้านบิดาของลูก  เพราะลูกยังมีพี่น้องอีกห้าคน ขอให้ลาซารัสเตือนเขาอย่าให้มายังสถานที่ทรมานแห่งนี้เลย”  อับราฮัมตอบว่า “พี่น้องของลูกมีโมเสสและบรรดาประกาศกอยู่แล้ว ให้เขาเชื่อฟังท่านเหล่านั้นเถิด” แต่เศรษฐีพูดว่า “มิใช่เช่นนั้น ท่านพ่ออับราฮัม ถ้าใครคนหนึ่งจากบรรดาผู้ตายไปหาเขา เขาจึงจะกลับใจ”  อับราฮัมตอบว่า   “ถ้าเขาไม่เชื่อฟังโมเสสและบรรดาประกาศก แม้ใครที่กลับคืนชีวิตจากบรรดาผู้ตายเตือนเขา เขาก็จะไม่เชื่อ” (ลก.16.19-31)

1.    สิ่งตรงกันข้ามกับพระเมตตากรุณา
    อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัสผู้ยากจนอยู่แนวเดียวกับอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียแสนดี และอุปมาเรื่องบิดาผู้ใจดี อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องนี้ ขอเสนอเรื่องอุปมา 2 เรื่องที่เป็นฉากก่อนหน้านั้น เปรียบกับผ้าใบที่มีสีตัดกัน  เช่นเดียวกัน เริ่มเรื่องจากอุปมาอื่น 2 เรื่อง “มีชายคนหนึ่ง...” (เทียบ ลก.10.30; 15.11;16.19)  และเวลานี้ด้วย ที่มี 2 ฉาก ฉากแรกเศรษฐีกับขอทานลาซารัสในโลกนี้ และฉากที่สอง เศรษฐี อับราฮัมและลาซาลัส ในโลกหน้า
    ฉากแรก เศรษฐีผู้หนึ่งแต่งกายหรูหราด้วยเสื้อผ้าเนื้อดีราคาแพง จัดงานเลี้ยงใหญ่ทุกวัน ตรงกันข้ามกับขอทานลาซารัส เศรษฐีสวมใส่เสื้อผ้าราคาแพง การย้อมผ้าสีม่วงที่เป็นเสื้อคลุมภายนอกราคาแพงเพราะผลิตจากต่อมของสัตว์ทะเลประเภทหอยหรือปลาหมึก และสีนี้สงวนไว้สำหรับเป็นฉลองพระองค์และอาภรณ์ของกษัตริย์หรือคนชั้นสูง ก่อนที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน มีคนนำผ้าสีม่วงมาให้พระองค์สวม เพื่อให้ทหารในจวนของผู้ว่าราชการโรมัน เยาะเย้ยว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์” (มก.15.19-20)  ผ้าลินินอย่างดีของเศรษฐีเป็นผ้าสีขาวละเอียดอ่อนสำหรับสวมทับผิวหนังของเขา รายละเอียดขั้นต้นก็เพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึง ไม่ได้กล่าวเกินความจริงเลย เศรษฐีสวมเสื้อแสดงฐานะผู้ปกครอง แต่ไม่ได้บันทึกชื่อของเขาไว้ คนยากจนที่เต็มไปด้วยบาดแผลกลับมีชื่อและเป็นชื่อเดียวที่ถูกบันทึกไว้ในเรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้า ความหมายของลาซารัสคือ “พระเจ้าทรงช่วย”(พันธสัญญาใหม่พูดถึงลาซารัสที่เป็นเพื่อนของพระเยซูเจ้าและพี่ของมาร์ธาและมารีย์ที่ทรงทำให้กลับคืนชีพ แต่ลาซารัสคนนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องอุปมานี้เลย
    ลาซารัสนอนใกล้ทางเข้าใหญ่โตของบ้านเศรษฐี และเมื่อลาซารัสตาย เขาถูกนำไปสู่อ้อมอกอับราฮัม บางธรรมประเพณีถือว่าชื่อของเศรษฐีคือคนโลภอาหาร (epulone-glutton) แต่เป็นชื่อเฉพาะและพบคำนั้นในเรื่องอุปมากฎของ “ความขัดแย้ง” (contrapasso) ถูกจัดให้กลับด้านได้ เนื่องจากเศรษฐี   สวมใส่เสื้อเหมือนเป็นกษัตริย์องค์หนึ่ง  ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าว่าเป็นชื่อนิรนาม ขณะที่คนยากจน กลับมีชื่อที่บันทึกไว้เพื่อความเป็นอมตะตลอดกาล
 ฉากทั้งสองที่ประกอบในเรื่องอุปมาไม่ได้สัดส่วนกัน  ขณะที่เหตุการณ์เกี่ยวข้องกับตัวเอก 2 คนบนโลก จัดให้มาอยู่ใกล้กัน (ดู ข้อ 19-21) เป็นฉากในชีวิตหลังความตาย ซึ่งเศรษฐีใช้เวลาขอความเมตตากรุณานานกว่า (ข้อ 22-31) และในระดับที่ไม่สิ้นสุด    สองฉากขัดแย้งกัน ตามด้วยกฎการพลิกกลับด้าน  ระหว่างที่เศรษฐีดำเนินชีวิตในโลก ที่เขาจัดงานเลี้ยงฉลองทุกวัน  แต่ไม่ให้เศษอาหารจากโต๊ะอาหารของเขาแก่ลาซารัสเลย  ในชีวิตหลังความตาย ลาซารัสได้รับความบรรเทาใจขณะที่เศรษฐีไม่มีแม้กระทั่งหยดน้ำมาทำให้ริมปากชุ่มชื้น  สิ่งดีๆที่เศรษฐีได้รับและลาซารัสไม่ได้รับขณะมีชีวิตบนโลกถูกพลิกกลับด้าน ณ บัดนี้  ลาซารัสได้รับความบรรเทาและเศรษฐีถูกทรมานในชีวิตหลังความตาย
    เช่นเดียวกับเรื่องอุปมาที่ต่อรองด้วยความเมตตาเชิงบวก เรื่องอุปมานี้พลิกสถานการณ์ แต่มีความแตกต่างกัน การกลับด้านมีลักษณะเจาะจง เนื่องจากมีอุปสรรคถาวร 2 ประการในที่นี่  อุปสรรคแรก คือ ประตูบานใหญ่เพื่อเข้าบ้านที่กีดขวางลาซารัส ไม่ให้ลาซารัสได้รับความช่วยเหลือ (ซึ่งเป็นมุมมองของเศรษฐีที่มีต่อคนยากจน) อุปสรรคที่สองคือ เหวที่อยู่ใต้พิภพที่ซึ่งเศรษฐีค้นพบตัวเอง แต่ลาซารัสได้รับการต้อนรับให้อยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม
    ความไม่ได้สัดส่วนระหว่างสถานการณ์ที่ปรากฏในเวลานั้นกับในนิรันดรภาพ เป็นการสื่อสารส่วนหนึ่งด้วยความเงียบในมิติของเวลาและด้วยบทสนทนาในมิติของนิรันดรภาพ  คำร้องขอของผู้ชายทั้งสองคน ยังคงไม่ได้รับคำตอบที่น่าพึงพอใจในมิติเรื่องเวลา เศรษฐีได้ช่วยปล่อยให้ลาซารัสคลายความหิวโหย  และบัดนี้ในนิรันดรภาพ  อับราฮัมก็ไม่สามารถตอบสนองคำร้องขอ 3 ข้อของเศรษฐีได้เหมือนกัน ลาซารัสไม่อาจใช้ปลายนิ้วจุ่มน้ำมาแตะลิ้นให้เศรษฐีที่กำลังทรมานให้สดชื่นขึ้นบ้าง อับราฮัมไม่สามารถส่งลาซารัสกลับไปยังโลก  เพื่อเป็นพยานเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในชีวิตหลังความตาย,เนื่องจาก   แม้แต่การกลับคืนชีพของคนตายก็จะไม่สามารถทำให้พี่น้องของเศรษฐี 5 คนกลับใจได้

2.    เขาไม่ได้รับความเมตตา
    ความขัดแย้งระหว่างเรื่องอุปมาแห่งพระเมตตากรุณา และเรื่องอุปมาเศรษฐีกับขอทานลาซารัสนั้นใหญ่หลวงนัก กว่าจะมาถึงประเด็นนี้ มีการให้ความเมตตาทุกครั้ง ตั้งแต่เจ้าหนี้ยกหนี้ทั้งหมดให้แก่ลูกหนี้ 2 คน จนถึงการอ้อนวอนของลูกล้างผลาญ ในเรื่องอุปมาหลายเรื่องที่จะเล่าต่อจากเรื่องอุปมานี้ มีการให้ความเมตตาแก่หญิงม่ายที่เพียรทน (ดู ลก.18.9-14). แก่คนเก็บภาษีในพระวิหาร (ลก.18.9-14) คำร้องขอของเศรษฐีในดินแดนผู้ตายว่า ขอเมตตาลูกด้วย” (ลก.16.24) คล้ายกับคำภาวนาของคนเก็บภาษีในเรื่องอุปมาที่จะกล่าวต่อไป ซึ่งพูดว่า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงพระกรุณาต่อข้าพเจ้าคนบาปด้วยเถิด” (ลก.18.13) อย่างไรก็ตาม นี่คือกรณีเดียวเท่านั้น คือ คำร้องขอของเศรษฐี ที่ไม่มีใครได้ยินการ เพราะเป็นสถานการณ์ที่พลิกกลับด้าน
สถานการณ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนให้เป็นเหมือนเดิมได้ จะได้รับพระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ของพระเจ้าได้อย่างไร ถ้าคำภาวนาที่เพียรทนสามารถก่อให้เกิดผลต่อดวงพระทัยของพระเจ้า-เหมือนที่เราจะได้เห็นในเรื่องอุปมาแม่ม่ายที่เพียรทน  แล้วเหตุใดคำภาวนาของเศรษฐีไม่อาจปรับสภาพของเขาแม้แต่น้อยเลย เราถูกทำให้เข้าใจว่า สถานการณ์ของเขาแก้ไขไม่ได้แล้ว เพราะไม่มี “เวลา (แบบโลก)” ในนิรันดรภาพ. นั่นเป็นคำตอบที่มีตรรกะมากที่สุด แต่ไม่ได้กล่าวไว้ในเรื่องอุปมา
    จุดเปลี่ยนได้อธิบายเหตุผลหลักว่า เหตุใดสถานการณ์ของเศรษฐีไม่อาจได้รับการแก้ไข เมื่อเศรษฐีอยู่ในแดนของผู้ตายและเห็นลาซารัสในอ้อมอกของอับราฮัม,เขาจำลาซารัสได้และเรียกชื่อของลาซารัสถึงสองครั้ง  เท่ากับ เขาสาปแช่งตนเองด้วยคำพูดของเขาเอง     เขารู้อย่างถ่องแท้ว่า ลาซารัสเป็นใครขณะที่อยู่ในโลก  แต่เขากลับไม่สนใจไยดีต่อลาซารัสเลย ด้วยวาทศิลป์ที่ดีและที่สำคัญที่สุด ถูกเชื่อมด้วยความขัดแย้งกับเรื่องอุปมาแสดงพระเมตตากรุณา 2 เรื่องก่อนหน้านั้น ในกรณีของชาวสะมาเรียใจดีที่เมื่อ “เห็นชาวยิวที่ถูกทำร้าย เขาก็รู้สึกเวทนาสงสาร”(ลก.10.33) และกล่าวซ้ำในกรณีของเรื่องบิดาผู้ใจดีว่า “ในขณะที่บุตรชายยังอยู่ไกล บิดามองเห็นเขา และ รู้สึกเวทนาสงสาร (ลก.15.20)  แต่บัดนี้ เศรษฐีได้ “แหงนหน้าขึ้น มองเห็นอับราฮัมแต่ไกล และเห็นลาซารัสอยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม” ข้อความไม่ได้กล่าวว่า “เห็นเขา” โดยทั่วไป ซึ่งอาจตีความได้หลากหลาย แต่กล่าวว่า “ได้เห็นเขา” (อดีต)  เศรษฐีถูกบังคับให้เห็นลาซารัสที่ไม่เคยได้รับความใส่ใจในอดีตขณะมีชีวิตบนโลก มาปรากฏให้เป็น  ในนิรันดรกาล
    ดังนั้น ไม่อาจแก้ไขสถานการณ์ได้แล้ว  เพราะเศรษฐีน่าจะแสดงความเห็นอกเห็นใจ ขณะที่ขอทานลาซารัสนอนที่ประตูบ้านเศรษฐี เต็มไปด้วยแผล  ต่อมา ความเห็นอกเห็นใจ จึงไม่มีความหมาย และตามข้อเท็จจริง   เป็นไปไม่ได้เลยสำหรับเศรษฐี  พระเมตตาของพระเจ้าลดน้อยลง เมื่อมนุษย์แสดงความเมตตาขอพรพรกรุณาต่อผู้อื่นน้อยลง  และเมื่อใดขาดความเมตตาต่อผู้อื่น,เมื่อนั้นก็จะไม่มีที่ว่างสำหรับพระเมตตากรุณาของพระเจ้าเช่นกัน ไม่ใช่เหตุบังเอิญที่ไม่มีการกล่าวถึงพระเจ้าเลยในเรื่องอุปมาทั้งหมด เพราะพระองค์ตรัสและทรงกระทำผ่านอับราฮัมแล้ว
    อย่างไรก็ตาม เรื่องอุปมานี้เกี่ยวกับความขัดแย้งของพระเมตตา แสดงว่า ทำอย่างไรจึงจะไม่ต้องตกไปอยู่ในสถานการณ์ของเศรษฐี - นั่นคือ ให้เราตั้งใจฟังโมเสสและบรรดาประกาศก  พระวาจาของพระเจ้า  การกลับคืนชีพของผู้ตายไม่เพียงพอที่จะทำให้ญาติพี่น้องของเศรษฐีกลับใจ  แต่การที่เราปฏิบัติต่อคนจนของโลกอย่างไรนั้น เป็นการทดลอง (เหมือนทดลองด้วยกระดาษลิตมัส)ว่า  เราอยู่ในเส้นทางสู่ความรอดพ้น หรือสู่การสาปแช่งสำหรับเศรษฐีคนใดก็ได้   ขอทานที่โลกไม่แยแส จะต้องได้รับการยอมรับจากเศรษฐีตลอดนิรันดร

    3. “เมื่อเราหิว   ท่านไม่ให้อะไรเรากิน” (มธ.25.42)
    อุปมาที่เน้นเรื่องชีวิตหลังความตายไม่ได้เล่าเพื่อขู่คนฟังให้กลัวหรือเพื่อบรรยาย –  เหมือนคำบรรยายของดังเต อัลไลริ (Dante   Alighieri) ในหนังสือชื่อ Divine Comedy – เกี่ยวกับนรก   ไฟชำระ  และสวรรค์  แต่ในเรื่องอุปมาเหล่านี้ที่เกี่ยวกับบั้นปลายของชีวิตมนุษย์ พระเยซูเจ้ากลับตรัสถึงนิรันดรภาพในบริบทของกาลเวลาเกี่ยวกับอนาคตกาลโดยผ่านปัจจุบันกาล  พระองค์ทรงสนพระทัยในคำ “วันนี้” และทรงนำอนาคตกาลเข้าสู่บทละครเพื่อท้าทายคนร่วมสมัยของพระองค์ เรื่องการยอมรับคนยากจน, อุปมาเรื่องเศรษฐีและขอทานลาซารัสเน้นสิ่งที่ผู้คนควรทำด้วยเวลาที่ธรรมชาติกำหนดให้พวกเขาทำในชีวิตนี้
    ความขัดแย้งระหว่างเรื่องที่เศรษฐีไม่สนใจว่า มีคนยากจนนอนอยู่นอกประตูของคฤหาสน์ของเขา กับการยอมรับเขาในนิรันดรกาลภาพนั้น เรื่องอุปมานี้อยู่ในแนวเดียวกับอุปมาเรื่องการพิพากษาครั้งสุดท้ายในพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว 25.31-46   ถ้าในส่วนแรกของเรื่องอุปมานั้น,บุตรแห่งมนุษย์ทรงอวยพรและทรงต้อนรับคนที่ไม่รู้จักพระองค์ แต่เป็นผู้ที่ให้อาหารแก่คนหิวโหย และให้น้ำแก่คนที่กระหาย และต้อนรับคนแปลกหน้า ให้เสื้อผ้าแก่คนที่ไม่มีเสื้อผ้า และเยี่ยมคนป่วยและคนที่อยู่ในคุก และส่วนที่สองของเรื่องอุปมา ไม่อาจแทนที่สำหรับคนที่เพิกเฉยงานเมตตากิจด้านร่างกายและด้านจิตใจ เรื่องอุปมาสรุปด้วยมาตรการที่แยกแกะจากแพะ (คนที่ได้รับพระพรและคนที่ถูกสาบแช่ง) และที่ปรับใช้กับทุกคน “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านทำสิ่งใดต่อผู้ต่ำต้อยของเราคนหนึ่ง ท่านทำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ.25.45)
    สิ่งที่กล่าวถึงโดยทั่วไปเกี่ยวกับคนที่ถูกเพิกเฉยในเรื่องอุปมาของนักบุญมัทธิวปรับเข้ากับอุปมาเรื่องเศรษฐีและขอทานลาซารัส ลาซารัสหิว แต่เศรษฐีไม่ให้อาหารเขา แม้แต่เศษอาหารจากโต๊ะของเขา ลาซารัสป่วยและเต็มไปด้วยบาดแผล  แต่เศรษฐีไม่ไปเยี่ยมเขา ลาซารัสไม่มีเสื้อผ้าใส่ แต่เศรษฐีไม่ได้ให้เสื้อผ้าแก่เขา ลาซารัสเป็นคนจาริกแสวงบุญคนหนึ่งที่มาที่ประตูหน้าบ้านเศรษฐี แต่เศรษฐีไม่ให้การต้อนรับเขา งานเมตตาสงเคราะห์ต่างๆที่ปรากฏในอุปมาเรื่องการพิพากษาครั้งสุดท้าย ไม่ได้ทำเพื่อลาซารัส ที่เศรษฐีเพิกเฉยระหว่างลาซารัสมีชีวิตอยู่  ดังนั้น บัดนี้ เศรษฐีถูกบังคับให้ยอมรับลาซารัสตลอดนิรันดร์กาล
    ขอให้ไตร่ตรองคุณสมบัติที่ต้องมีเกี่ยวกับความมั่งคั่งและความยากจนในเรื่องอุปมา มิฉะนั้น เราอาจผิดที่จะคิดถึงความแตกต่างอย่างลวกๆ  เมื่อพิจารณาจากรูปแบบ  เรื่องอุปมาไม่ได้อธิบายเหตุผลสำหรับการที่ลาซารัสถูกอุ้มไปยังอ้อมอกของอับราฮัม และเศรษฐีถูกส่งไปยังดินแดนของผู้ตาย ดังนั้น การเดินเรื่องหลีกเลี่ยงการพิจารณาว่า คนยากจนได้รับพระพรเพราะเขาเป็นคนยากจนและเศรษฐีถูกสาบแช่งเพราะเขาเป็นคนร่ำรวย  เราสังเกตว่าจุดเปลี่ยนของเรื่องอุปมาอยู่ที่การบังคับให้เศรษฐียอมรับลาซารัส  ไม่ใช่ความมั่งคั่งหรือความยากจนที่ประกันหรือกีดกันผลเชิงบวกหรือผลเชิงลบในการพิพากษาครั้งสุดท้าย แต่เป็นความสามารถหรือความไม่สามารถที่จะเห็นและแสดงความเมตตาต่อผู้อื่นต่างหาก  ในประเด็นนี้ ละครเรื่องเศรษฐีกับขอทานลาซารัส ให้เครื่องหมายสำคัญในทุกแห่งและทุกเวลาที่อ่านเรื่องอุปมานี้ เศรษฐีเพิกเฉยคนยากจนระหว่างมีชีวิตบนโลกนี้ ดังนั้น บัดนี้ เศรษฐีถูกบังคับให้ยอมรับลาซารัสตลอดนิรันดรภาพ ที่ซึ่งความเมตตาใดๆที่ไร้ประโยชน์เสียแล้ว

4    โมเสส ประกาศก และดวงใจมนุษย์
    เหตุใดจึงมีความมั่นใจในโมเสสและประกาศกมากกว่าการกลับมาของคนตายจากชีวิตหลังความตาย หรือเหตุใดพระวาจาของพระเจ้า เป็นสิ่งเดียวที่สามารถเปลี่ยนหัวใจมนุษย์ ไปสู่ความเมตตาสงสารคนอื่น  เราจะเห็นเหตุผลหลัก 2 ประการตลอดพระวรสารโดยนักบุญลูกาสำหรับเรื่องนี้
    เหตุผลประการแรกและที่สำคัญที่สุด  คือ ความเมตตาหลั่งไหลจากดวงใจมนุษย์,และเพียงพระวาจาของพระเจ้าเท่านั้นที่สามารถสนับสนุนความเมตตาและป้องกันไม่ให้เหือดแห้งหายไป  การพบปะกันระหว่างพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพกับศิษย์ 2 คนระหว่างทางไปเอมมาอุส ทำให้เข้าใจประเด็นนี้  ในส่วนแรกของการเล่าของนักบุญลูกาที่ว่า “แล้วพระองค์ทรงอธิบายพระคัมภีร์ทุกข้อที่กล่าวถึงพระองค์ให้เขาฟังโดยเริ่มตั้งแต่โมเสสจนถึงบรรดาประกาศก”(ลก.24.27) หลังจากบรรดาสานุศิษย์จำพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพได้เมื่อพระองค์ทรงบิปัง  พวกเขาสารภาพว่า “ใจของเราไม่ได้เร่าร้อนเป็นไฟอยู่ภายในใช่ไหม   เมื่อพระองค์ตรัสกับเราขณะเดินทาง และอธิบายพระคัมภีร์ให้เราฟัง” ลก.24.27)  เมื่อพระวาจาของพระเจ้าแทงทะลุดวงใจมนุษย์ ก็จะสามารถทำให้เร่าร้อนอยู่ภายในและเยียวยาอาการมืดบอดและอาการใบ้ได้  มันทำให้เราสามารถเห็นสิ่งที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อน  เศรษฐีในเรื่องอุปมามีความคิดผิดเกี่ยวกับการกลับใจ  เขาคิดว่ามันขึ้นกับเครื่องหมายอัศจรรย์ เช่น การบันดาลให้คนตายกลับคืนชีพ  เขาไม่ตระหนักว่าการกลับใจเกิดขึ้นเมื่อเริ่มได้ยินพระวาจาของพระเจ้าและไม่ใช่อาศัยคนตายที่กลับมีชีวิต
คำกริยาที่อับราฮัมใช้ 2 ครั้ง เกี่ยวกับโมเสสและบรรดาประกาศกขณะที่ท่านสนทนากับเศรษฐี มีความสำคัญ “ให้พวกเขาได้ยิน (โมเสสและประกาศก)...ถ้าพวกเขาไม่เชื่อฟังโมเสสและประกาศก” (ลก.16.29-31) ตราบเท่าที่พระคัมภีร์ยังเป็นเพียงแหล่งรวบรวมหนังสือที่จะอ่าน   ก็ไม่สามารถเปิดตาใจของมนุษย์ เศรษฐีที่เป็นบุตรของอับราฮัม ตะโกนเรียกอับราฮัมหลายครั้งในโลกเบื้องล่างว่า “ท่านพ่อ...ท่านพ่อ” (ดู ลก.16.24,27,30)   เศรษฐีควรรู้พระคัมภีร์อย่างทะลุปรุโปร่ง  อย่างไรก็ตาม เขาอ่านพระคัมภีร์แต่ไม่ได้เข้าใจอย่างถ่องแท้  ถ้าเขาศึกษาพระคัมภีร์อย่างจริงจัง  เขาก็จะไม่ได้รับความจริงของพระคัมภีร์เข้ามาในจิตใจของเขา  ดูจากการที่เขาบอกอับราฮัมว่า ให้อับราฮัมส่งลาซารัสกลับไปยังโลกเพื่อช่วยพี่น้องอีกห้าคนของเขาให้กลับใจ พระคัมภีร์ไม่ใช่สำหรั้บอ่านและศึกษาเท่านั้น แต่ควรเป็นพระคัมภีร์ที่ได้ฟังเหมือนกับพระวาจาของพระเจ้า  แต่ควรฟังพระวาจาของพระเจ้า  เขาคิดว่า ที่สามารถทำให้มนุษย์กลับใจและเปิดดวงใจไปสู่ความเชื่อ
เศรษฐีในเรื่องอุปมา รู้พระคัมภีร์เช่นเดียวกับลูกหลานทั้งหมดของอับราฮัม เหมือนหนุ่มผู้ดีที่พระเยซูเจ้าจะทรงพบเป็นเวลาสั้นๆหลังจากเล่าเรื่องอุปมานี้ (ดู ลก.18.18-23)  ชายหนุ่มทูลถามพระเยซูเจ้าถึงสิ่งที่เขาต้องทำเพื่อจะได้ชีวิตนิรันดรเป็นมรดก เขารู้พระคัมภีร์และได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติเหล่านี้ทุกข้อตั้งแต่เป็นเด็กแล้ว  เขาขาดสิ่งหนึ่ง คือ การขายทุกสิ่งที่มี แจกจ่ายเงินให้คนจน  แล้วติดตามพระองค์  หนุ่มผู้ดีคนนั้นจากไปด้วยความเศร้าใจมาก เพราะเขาเป็นคนมั่งมีเหลือล้น  ความจริงแล้ว การกระทำที่ตามมาต้องเกิดจากพระวาจาที่ได้ยินด้วยหัวใจของเขา เพื่อให้พระวาจามาอยู่ในดวงใจของเขา   ที่นั่นต้องการที่ว่างในดวงใจ ที่ไม่ยึดมั่นในทรัพย์สิน. ใน “การอยู่เหนือความหมายตามตัวอักษร” ของพระคัมภีร์ในพระวาจาของพระเจ้า  เช่นเดียวกับพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ที่ตรัสถึงในสมณลิขิตเรื่องพระวาจาของพระเจ้า (Verbum    Domini   (ดู 38),   การกระทำของพระจิตแห่งพระผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพเป็นสิ่งจำเป็น  มิฉะนั้น ข้อพระคัมภีร์ยังคงเป็นแค่แหล่งรวบรวมหนังสือและไม่ถูกแปรสภาพเป็นพระวาจาทรงชีวิต การกระทำสุดท้ายอย่างหนึ่งของพระผู้กลับคืนพระชนมชีพก็คือ “แล้วพระองค์ทรงทำให้เขาเกิดปัญญาเข้าใจพระคัมภีร์” (ลก.24.45)
           เหตุผลอื่นที่พระวาจาของพระเจ้าสามารถกลับใจมนุษย์พบได้ในความสัมพันธ์กับคนยากจน ถ้าพระวาจาเปล่าประโยชน์สำหรับลาซารัสที่จะกลับจากชีวิตหลังความตายไปสู่โลกเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องของเศรษฐี,เป็นเพราะคนยากจนมีความสำคัญที่สุดของพระวรสาร เมื่อบางคนเพิกเฉยหรือลดคุณค่าคนยากจนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของพระวรสารนี้ก็ไร้ประโยชน์สำหรับคนตายที่จะกลับ เพราะคนตายจะดูเหมือน “ขอทานลาซารัส” อีกคนเท่านั้น แต่ใช้ชื่อต่างกัน  ดังนั้น ปัญหาของการเพิกเฉยลาซารัสของเศรษฐียังคงอยู่
ฉากนี้ ซึ่งเป็นพื้นฐานต่อพระวรสารโดยนักบุญลูกาทั้งหมดแสดงภาพความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างคนยากจนกับพระวาจาของพระเจ้า  ในกรณีนี้ คือโมเสสและประกาศก  เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเริ่มพระพันธกิจของพระองค์ พระองค์เสด็จไปยังศาลาธรรมในนาซาเร็ธ. เมื่อมีคนส่งม้วนพระคัมภร์ของประกาศกอิสยาห์ให้พระองค์อ่าน  พระองค์ทรงเปิดม้วนพระคัมภีร์และอ่านตอนเริ่มของหนังสือประกาศกอิสยาห์ บทที่ 61 ตามที่บันทึกไว้ในพระวรสารโดยนักบุญลูกา 4.18-19
“พระจิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า
เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน
ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด
ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ    ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า”

คนยากจนไม่ได้ถูกทอดทิ้ง พวกเขาไม่เพียงมีบทบาทชั้นรอง  พวกเขากลับมีความสำคัญที่สุดของพระวรสาร  อุปมาginjv’เศรษฐีและลาซารัส การใส่ใจเศรษฐีมากเป็นเรื่องน่าประหลาดทีเดียว  ไม่มีเหตุผลว่าเหตุใดลาซารัสถูกนำไปยังอ้อมอกของอับราฮัมและลาซารัสไม่ได้พูดอะไรในเรื่องอุปมา แต่กลับเน้นชะตากรรมของเศรษฐีคนหนึ่งแทน เนื่องจากเศรษฐีเพิกเฉยลาซารัสระหว่างเวลาที่เศรษฐีอยู่ในโลก   เขาถูกบังคับให้รับนิรันดรภาพในดินแดนผู้ตาย เพื่อยอมรับตัวเองว่าถูกลงทะเบียนคำสาบแช่งของเขาเอง ในเรื่องนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงลิขิตอย่างกระจ่างชัดในพระสมณสาส์นเรื่องความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร (Evangeli   Gaudium) ที่ว่า “การปรากฏตัวของคนยากจนเป็นเครื่องหมายถึงประวัติศาสตร์ความรอดพ้นทั้งหมด” (ข้อ 197)
ปัญหาพระเมตตากรุณาคือปัญหาร้ายแรงที่สร้างความเสี่ยงหลัก 2 ประการในสมัยของเรา (1) เนื่องจากพระเมตตาของพระเจ้าไม่มีที่สิ้นสุด,คนจะรอดพ้นได้ เมื่อพวกเขาตัดสินและดูหมิ่นผู้อื่นในพระนามของพระเจ้า (2) ขณะที่เราคิดว่าพระเมตตากรุณาของพระเจ้า น่าจะถูกสถาปนาให้ถูกต้อง  ความเมตตาต่อผู้อื่นขึ้นกับการตัดสินใจโดยสมัครใจของแต่ละคนโดยสิ้นเชิง
อย่างไรก็ตาม ไม่มีเรื่องอุปมาพระเมตตากรุณาใด ที่นำไปสู่ข้อสรุปเหล่านี้  ความเมตตามักมี 3 มิติ (พระเจ้า  ฉันและคนอื่น) และไม่เคยอยู่ในมิติเดียว (ฉันเอง) หรือ 2 มิติ (พระเจ้ากับฉัน)   สิ่งที่ตรงกันข้ามทำให้เข้าใจสภาพความเป็นจริงที่น่าเศร้าของเรื่องอุปมาความเมตตา นรกเป็นอะไรกันแน่  และความเป็นอยู่ของนรกเข้ากันได้กับพระเมตตาของพระเจ้าได้อย่างไร  โดสโตฟสกี (Dostoevsky) กล่าวในหนังสือ พี่น้องตระกูลคารัมโซฟ (The Brothers Karamzov)   และวิจารณ์เรื่องอุปมานี้ด้วยวิธีที่น่าประหลาดใจว่า
“คุณพ่อและคุณครูที่รัก ผมคิดว่า “นรกคืออะไร” ผมขอยืนยันว่า นรกคือความทุกข์ทรมานของการไม่สามารถรักได้  ในการมีอยู่ที่ไม่มีสิ้นสุด  ไม่อาจวัดได้ในเวลาและสถานที่  ครั้งหนึ่ง เป็นสิ่งสร้างฝ่ายจิตที่เข้ามาสู่โลก เป็นอำนาจที่พูดว่า “เราเป็นและเราคือองค์ความรักเท่านั้น ช่วงเวลาหนึ่งได้ถูกมอบแก่เขาที่จะดำเนินชีวิตด้วยรัก (Living Love) ในขณะมีชีวิตในโลกตามเวลาและตามฤดูกาล  และแล้วสิ่งสร้างที่มีความสุขกลับปฏิเสธของขวัญที่มีค่าเหลือล้น,ไม่เห็นว่าเป็นการให้รางวัลและไม่รัก,กลับดูหมิ่นและยังคงดูหมิ่นผู้อื่น เช่น บุคคลที่จากโลกนี้ไป เห็นอ้อมอกอับราฮัมและพูดคุยกับอับราฮัม อย่างที่เราอ่านงอุปมาเรื่องเศรษฐีกับขอทานลาซารัส  และดูเถิด  ได้เห็นสวรรค์และยังสามารถเข้าไปเฝ้าองค์พระผู้เป็นเจ้า แต่นั่น เป็นเพียงรับความทรมานของเขาที่เงยหน้าหาองค์พระผู้เป็นเจ้า โดยไม่เคยรักใครเลย ถูกนำไปให้ใกล้ชิดกับบุคคลที่รักเขาเมื่อเขาดูหมิ่นความรักของคนเหล่านั้น (Dostoevsky,The Brothers  Karamazov หน้า 273)
ถ้านรกคือความทุกข์ทรมานของการที่ไม่สามารถรักได้อีกต่อไป แล้วละก็  ทุกช่วงเวลาทีละนิดของชีวิตมนุษย์ที่ไม่ได้ดำเนินชีวิตเพื่อรัก  ก็คือ  การรอคอยนรกที่จะมาถึงนั่นเอง

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...
วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 26:14-25) เวลานั้น คนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกสิบสองคน ชื่อ ยูดาส อิสคาริโอท ไปพบบรรดาหัวหน้าสมณะ ถามว่า “ถ้าข้าพเจ้ามอบเขาให้ท่าน ท่านจะให้อะไรแก่ข้าพเจ้า”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
10201
15812
48304
243574
326718
35681078
Your IP: 18.208.172.3
2024-03-28 20:01

สถานะการเยี่ยมชม

มี 373 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์