แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

พระศาสนจักร (Church)

พระศาสนจักรเป็นชุมชนของประชากรของพระเจ้า
ที่ได้รับบริการจากบรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์และสังฆานุกร

church logo    บ่อยครั้งถือว่าพระศาสนจักรเป็นสถาบันที่ทั้งแข็งแกร่งและเปราะบางในเวลาเดียวกัน มั่นคงและทนทาน และการเรียกร้องด้านศีลธรรมและศาสนาค่อนข้างจะเกินไปหรือล้าหลังไปเลย ตลอดประวัติศาสตร์ พระศาสนจักรคาทอลิกและนิกายต่างๆต่างก็ประสบกับความตึงเครียด การแตกแยก และเป็นที่สะดุดด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็ยังมีธรรมล้ำลึกของพระศาสนจักร ecclesia ในภาษาละตินและภาษากรีกบ่งบอกถึงการเป็น “ชุมชน”ที่ถูกเรียกให้มารวมกัน (จากคำกริยาภาษากรีกว่า ek-kaleein) กลุ่มแรกๆของ “ชุมชน” เหล่านี้อัน เป็นต้นกำเนิดของประชากรของพระเจ้า เกิดขึ้นที่ภูเขาซีนายหลังจากการหนีออกมาจากประเทศอียิปต์ (๑) ประกอบด้วยพิธีกรรมตามพันธสัญญา จากคำว่า leitourgia ในภาษากรีก ซึ่งรากศัพท์หมายความถึงการ บริการที่ให้แก่ชุมชนโดยสมาชิกคนหนึ่งหรือหลายคน ในกรณีนี้ พระเจ้าทรงเป็นบุคคลแรกที่ “ให้การบริการ” แก่ประชากรของพระองค์ก่อนที่พวกเขาจะ “ให้ถวายบริการ” แด่พระองค์ พิธีกรรมเป็นงานของพระเจ้าและของประชากรของพระองค์ ซึ่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่ในพระธรรมใหม่ด้วยธรรมล้ำลึกแห่งการเสด็จมาของพระจิตเจ้า

    สัญลักษณ์อันแรกของคริสต์ศาสนาก็คือพระตรีเอกภาพ เราจึงกล่าวถึงปัจจัยหลักข้อนี้ตลอดหนังสือเล่มนี้เลยทีเดียว จึงได้เห็นว่าเอกลักษณ์ที่แท้จริงของพระศาสนจักรก็คือการเป็นหนึ่งเดียวของสัตบุรุษที่ผูกติดกับธรรมล้ำลึกแห่งพระตรีเอกภาพดังที่นักบุญอีเรเนอุส พระสังฆราชแห่งลีอองส์และมรณสักขีของศตวรรษที่สองได้ให้คำนิยามไว้ว่า “จึงเห็นได้ว่าพระศาสนจักรสากลก็คือประชากรที่เป็นหนึ่งเดียวมาจากการเป็นหนึ่งเดียวของพระบิดา พระบุตรและพระจิตเจ้า” (๒) วัดต่างๆจึงเป็นสถานที่ที่พระศาสนจักรมารวมกัน ในความรุ่งโรจน์ที่เห็นจากสถาปัตยกรรมนั้น หินที่ถูกตัดเป็นก้อนๆจำต้องรองรับสิ่งที่มีชีวิต
    ประชากรของพระเจ้ามีความสำคัญเป็นเบื้องต้นในพระศาสนจักร พวกเขาเป็นเจ้าสาวของพระเจ้าที่ได้รับเรียกให้เข้ามาสัมพันธ์กับพระเจ้าของตนซึ่งเราพบเห็นทั่วไปในพระคัมภีร์และใน บทเพลงของซาโลมอน ตามความหมายของพระธรรมใหม่เจ้าบ่าวของเจ้าสาวผู้นี้ก็คือ พระบุตรของพระเจ้าที่มาเกิดเป็นมนุษย์ซึ่งพระบิดาของพระองค์ท่านเองได้ทรงจัดเตรียมงานสมรสไว้ให้แล้ว (๓) ในหนังสือวิวรณ์ภาพลักษณ์นี้สัมพันธ์กับนครแห่งนั้น (๔) ซึ่งผิดจากหอบาแบลเป็นอย่างมากที่ช่างก่อสร้างต้องการที่จะมารวมกันเพื่อต่อสู้กับพระเจ้าและขัดสู้กับพระอาณาจักรของพระองค์ ส่วนพระศาสนจักรนั้นเป็นพระพรของพระเจ้าซึ่งมาจากสวรรค์และดังนั้นจึงกลายเป็น “เครื่องหมายและเครื่องมือของชุมชนของพระเจ้าไปพร้อมทั้งการทำให้มนุษย์เป็นหนึ่งเดียวมนุษย์ทุกคน
ด้วย” (LG.1)

จากภาพของงานสมรสนี้ นักบุญเปาโลได้เพิ่มภาพของพระกายทิพย์ของพระคริสต์ ที่พระคริสต์ทรง เป็นศีรษะและชาวเราเป็นอวัยวะส่วนต่างๆ (๕) เพราะเหตุนี้เองจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดองค์กรให้กับประชากรของพระเจ้าเพื่อให้แต่ละคนได้ทำหน้าที่ตามบทบาทของตน ดังเช่นอวัยวะต่างๆในร่างกายและฐานันดรของพระสังฆราชรวมกันอยู่รอบๆพระสันตะปาปาเป็นผู้ให้บริการ “เพราะพวกท่านข้าพเจ้าจึงเป็นพระสังฆราช แต่พร้อมกับพวกท่านข้าพเจ้าก็เป็นเพียงคริสตชนคนหนึ่งเท่านั้น” นักบุญออกุสติน พระสังฆราชแห่งฮิปโปกล่าวกับสัตบุรุษของท่าน สัญลักษณ์ที่ขานรับกันทั้งสองนี้ยืนยันให้เห็นว่าการเป็นหนึ่งเดียวระหว่างพระคริสต์กับพระศาสนจักรนั้นลึกซึ้งแค่ไหน ธรรมล้ำลึกแห่งงานสมรสนี้ทำให้ชุมชนคริสตชนกลายเป็น “พระบุตรที่เต็มเปี่ยม” พระวิหารของพระจิต บังเกิดจากพระบิดาซึ่งพวกเขาเรียกขานว่า อับบา (“ปาปา”ในภาษาอาร์เมเนียน)
    พระคริสต์ทรงมอบพระศาสนจักรของพระองค์แก่นักบุญเปโตร แม้ว่าบรรดาคริสตชนรุ่นแรกๆถูกเบียดเบียนในอาณาจักรโรมันก็ตาม แต่นักบุญเปโตรก็ได้ปฏิบัติตามพันธกิจของท่านด้วยการเดินทางไปกรุงโรมและอยู่ที่นั่นจนกระทั่งท่านเองก็ถูกประหารเพราะความเชื่อ เพราะเหตุนี้เองจึงเชื่อว่านักบุญเปโตรเป็นพระสังฆราชองค์แรกแห่งกรุงโรมและผู้สืบตำแหน่งของท่านก็ได้รับนามนี้ด้วยเช่นกัน เมื่อพระจักรพรรดิ์คอนสตันตินเองกลับใจมานับถือคริสตศาสนา (ค.ศ.312-313) และพระสังฆราชแห่งกรุงโรมปฏิบัติหน้าที่ของท่าน ณ วัดนักบุญยอห์นในลาเตรันนั้น หลุมฝังศพของนักบุญเปโตรที่วาติกันก็เริ่มได้รับการเคารพบูชา และไม่นานพระวิหารยิ่งใหญ่ก็ได้ถูกสร้างขึ้นในที่เดียวกันซึ่งได้รับการปรับปรุงให้สวยงามยิ่งขึ้นตลอดเวลาหลายศตวรรษ พระสังคายนากาลเชดอน (ค.ศ.450-451) ได้ประกาศยืนยันการเป็นเอกของพระสังฆราชแห่งกรุงโรมพร้อมทั้งมอบพันธกิจแห่งการทำให้พระศาสนจักรเป็นหนึ่งเดียวให้แก่ท่านด้วย และดังนั้นก็ได้ทำให้เมืองหลวงของจักรวรรดิตะวันตกซึ่งสั่นสะเทือนเพราะการบุกรุกของพวกป่าเถื่อนกลายเป็นเมืองหลวงของโลกคริสตชน
    กระนั้นก็ดีคริสตชนก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการแตกแยกที่น่าเจ็บปวดได้ นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1054 เป็นต้นมา ศาสนจักรออร์ธอดอกซ์ได้ประกาศตัวไม่ยอมขึ้นกับกรุงโรมแม้ว่าความเชื่อและการปฏิบัติศาสนกิจ ของพวกเขาแทบจะเป็นแบบเดียวกันก็ตาม ศาสนจักรที่เกิดขึ้นเพราะการปฏิรูปของ ลูเธอร์และคาลแวงยิ่งดึงตัวออกห่างไกลจากพระศาสนจักรคาทอลิก ในขณะที่สหัสวรรษที่สามกำลังคืบคลานเข้ามานี้ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ได้ทรงรณรงค์เพื่อขอให้มีการเป็นหนึ่งเดียวของพระศาสนจักร ด้วยการอุทิศตนให้แก่การเป็นหนึ่งเดียวของคริสต์ศาสนาในสมณสาสน์สากลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 1995 ทรงนำทางด้วยแบบฉบับ ทรงขอร้องให้ชาวเราสารภาพสิ่งที่ทำให้เราแยกออกจากการเป็นหนึ่งเดียว ให้เราเพิ่มการเสวนาและการภาวนาให้มากขึ้นและให้ดำเนินชีวิตของการเป็นหนึ่งเดียวเสียตั้งแต่บัดนี้กับทุกคนที่เชื่อถึงพระเยซูคริสตเจ้า
    คำคุณศัพท์ “คาทอลิก” หมายถึงกระแสเรียกสากลของพระศาสนจักร เพราะว่า “สากล” ก็คือความหมายที่แท้จริงของคำนี้ในภาษากรีก (Katholikos มาจากคำว่า Kath-holou “ตามที่ทุกคน”) ข้อความเชื่อในบทข้าพเจ้าเชื่อถึงพระเป็นเจ้า (Credo) ที่ว่าด้วยพระศาสนจักรกล่าวไว้อย่างชัดเจนถึงการเรียกร้องความเป็นหนึ่งเดียวกัน “ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระศาสนจักรหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์สากลและสืบมาจากอัครสาวก” การเป็นหนึ่งเดียวของคริสต์ศาสนามุ่งที่จะได้คืนมาซึ่งธรรมล้ำลึกสากลอันนี้ของพระศาสนจักร เนื่องจากคำว่า oikoumene ในภาษากรีกหมายความว่า “โลกที่มีคนอาศัย” (จากคำว่า oikos “บ้าน”) และถ้าขยายความก็จะเป็นจักรวาลทั้งครบที่เรารู้จัก
    วัดต่างๆที่อยู่ในเมืองและหมู่บ้านของเรานั้นเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นหนึ่งเดียวของชุมชน ยอดสูงของวัดชี้ถึงสวรรค์แสดงออกมาซึ่งความปรารถนาแสวงหาพระเจ้า พระศาสนจักรตะวันออกชอบโดมซึ่งเป็นสัญลักษณ์โค้งของสวรรค์ที่ให้การคุ้มครองและยิ่งไปกว่านั้นยังหมายถึง ความรักอ่อนโยนของพระเจ้าที่ห่อหุ้มเราไว้


(๑)    “แล้วพระเจ้าประทานแผ่นหินสองแผ่นแก่ข้าพเจ้า พระองค์ทรงจารึกไว้ด้วยพระหัตถ์ถึงข้อความที่ตรัสจากกลางเพลิงในวันที่ท่านทั้งหลายชุมนุมกันที่ภูเขา” (ฉธบ.9:10)
(๒)    อ้างจากตอนต้นของกฤษฏีกาว่าด้วยพระศาสนจักรของสังคายนาวาติกัน 2 (ข้อ 4)
(๓)    “อาณาจักรสวรรค์เปรียบได้กับพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งซึ่งทรงจัดงานอภิเษกสมรสให้แก่พระราชโอรส” (มธ.22:2)
(๔)    “ข้าพเจ้าเห็นนครศักดิ์สิทธิ์ คือนครเยรูซาเล็มใหม่ลงมาจากสวรรค์ลงมาจากรพะเจ้า เตรียมพร้อมเหมือนกับเจ้าสาวที่แต่งตัวรอเจ้าบ่าว” (วว.21:2)    
(๕)    1 คร.12:12-26

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
18576
13335
62219
174737
306218
35918459
Your IP: 18.216.32.116
2024-04-19 19:43

สถานะการเยี่ยมชม

มี 279 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์