แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ความหวังของคริสตชนคืออะไร

ความหวังเป็นคุณธรรมเกี่ยวกับพระเจ้าที่ช่วยเราให้ใฝ่หาอาณาจักรสวรรค์และชีวิตนิรันดรเป็นความสุขของเราคือ พระเจ้านั่นเอง (เทียบ คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1817) ดังนั้น ความหวังแท้จริงจึงไม่เป็นสิ่งของแต่เป็นพระบุคคล ไม่มีพื้นฐานในสิ่งที่อันตรธานซึ่งอาจถูกลิบไปก็ได้ แต่มีพื้นฐานในพระเจ้าผู้ประทานพระองค์เองแก่เราอยู่เสมอ 

ในปี 2007 สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงเขียนพระสมณสาส์นว่าด้วยเรื่องความหวังของคริสตชน ที่มีชื่อว่า “รอดพ้นด้วยความหวัง” (Spe Salvi) พระองค์ทรงสรุปว่า “ความหวังอันยิ่งใหญ่ซึ่งต้องเป็นความหวังที่อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่างคือ พระเจ้าผู้เดียวเท่านั้น ผู้ทรงรวมความเป็นจริงทั้งหมดไว้ และทรงเป็นผู้สามารถประทานสิ่งที่ลำพังตัวเราเองไม่อาจบรรลุถึงได้... พระเจ้าทรงเป็นรากฐานของความหวัง มิใช่เทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง แต่เป็นพระเจ้าผู้ทรงมีพระพักตร์แบบมนุษย์และทรงรักเราจนถึงที่สุด ทรงรักเราแต่ละคนและทรงรักมนุษยชาติทั้งมวลด้วย” (Spe Salvi , ข้อ 31)

พระสมณสาส์นฉบับนี้เป็นผลงานยอดเยี่ยมที่ซึมซาบธรรมประเพเณีของพระศาสนจักรอย่างลึกซึ้ง มาจากหัวใจของผู้อภิบาลสัตบุรุษและรู้ถึงแรงบันดาลใจรวมทั้งความวิตกกังวลของเขา ขอสรุปความคิดหลักของพระสมณสาส์นฉบับนี้ โดยตอบคำถามง่ายๆ ดังต่อไปนี้

 

ความหวังตอบคำถามอะไรบ้างที่อยู่ในใจของมนุษย์

คำถามพื้นฐานเกี่ยวกับชีวิตที่เกิดขึ้นในใจมนุษย์ทุกคนคือ เราจะดำเนินชีวิตอย่างไร เราสามารถ “เผชิญหน้ากับชีวิตปัจจุบัน” (Spe Salvi, ข้อ 1) ที่หลายครั้งยากลำบากและทุกข์ทรมานได้อย่างไร มีสิ่งใดบ้างที่ยังคงอยู่ในขณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างอันตรธานไป อย่างไรก็ตาม มนุษย์ย่อมทะนุถนอมความหวังมากมายตลอดชีวิต เมื่อความหวังบางประการหรือความหวังทั้งหมดสำเร็จลุล่วงไปเขาสังเกตว่าตนยังปรารถนาสิ่งอื่น ๆ อีกเพราะยังไม่พอใจอย่างเต็มเปี่ยม เขาจึง “เห็นชัดเจนว่า สิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัดเท่านั้นสามารถทำให้เขารู้สึกพึงพอใจ นั่นคือสิ่งที่เป็นมากกว่าสิ่งที่เขาบรรลุถึงได้” (Spe Salvi , ข้อ 30)

 

ความหวังมีลักษณะอย่างไร

ก) ความหวังเป็นเครื่องหมายเด่นชัดของคริสตชน เพราะเห็นแก่ความหวัง “เขามีอนาคต มิใช่เพราะเขารู้รายละเอียดถึงสิ่งที่รอคอยเขาอยู่ แต่รู้โดยรวมๆ ว่า ชีวิตของเขาจะไม่จบสิ้นลงแบบว่างเปล่าแน่ ๆ” (Spe Salvi , ข้อ 2)

ข) ความหวังของคริสตชนมีการรอคอยของพระเจ้านำหน้า “ถูกแล้ว พระองค์ทรงรักเรา และเพราะเหตุนี้ จึงทรงรอคอยให้เรากลับไปหาพระองค์ เปิดใจรับความรัก ยอมให้พระองค์ทรงจับมือ และระลึกว่าเราเป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์ การรอคอยนี้ของพระเจ้านำหน้าความหวังของเราอยู่เสมอ เช่นเดียวกับความรักของพระองค์มาถึงเราเป็นอันดับแรกเสมอ” (บทเทศน์ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 วันที่ 1 ธันวาคม 2007)

ค) ความหวังของคริสตชนได้ชื่อว่าเป็นคุณธรรมทางเทววิทยา เพราะพระเจ้าทรงเป็นแหล่งที่มา ผู้ค้ำจุนและจุดมุ่งหมายของความหวัง

ง) ความหวังของคริตชนไม่เป็นเพียงการให้ข้อมูลเท่านั้น แต่เรียกร้องการกระทำคือ “ไม่เป็นเพียงการสื่อสารถึงสิ่งที่เราสามารถรู้จักเท่านั้น แต่ยังเป็นการสื่อสารที่ทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้น และทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลง” (Spe Salvi , ข้อ 2)

จ) ความหวังแข็งแกร่งยิ่งกว่าความทุกข์ทรมานและเป็นทาส ดังนั้น ความหวังจึงสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตและโลกจากภายในได้” (Spe Salvi , ข้อ 4)

ฉ) ความหวังของคริสตชนโดยสาระสำคัญเป็นความหวังเพื่อผู้อื่นเสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จึงจะเป็นความหวังสำหรับข้าพเจ้าด้วยจริงๆ...ในฐานะคริสตชนเราไม่ควรถามตนเองเพียงว่า “ข้าพเจ้าจะเอาตัวรอดได้อย่างไร” แต่เราควรถามด้วยว่า “ข้าพเจ้าสามารถทำอะไรด้บ้างเพื่อคนอื่นได้รับความรอดพ้น” (Spe Salvi , ข้อ 48) ความรอดพ้น “ได้รับการพิจารณาว่าเป็นความจริงส่วนรวม” (Spe Salvi , ข้อ 14) “การมีชีวิตเพื่อพระคริสตเจ้าหมายถึงการยอมเป็นบุคคลเพื่อผู้อื่น” (Spe Salvi , ข้อ 28)

 

อะไรเป็นแหล่งที่มาของความหวัง

ก) ความหวังมาจากการพบปะกับพระเยซูเจ้าผู้ทรงทำให้เรารู้จักพระเจ้า “การรู้จักพระเจ้าเที่ยงแท้หมายถึงการได้รับความหวัง” (Spe Salvi , ข้อ 3) คือค้นพบพระเจ้าในฐานะทรงเป็นพระบิดาผู้พระทัยดีและเมตตากรุณา ทรงเป็นพระเจ้าองค์ความรักที่พระเยซูเจ้าทรงเปิดเผยด้วยการรับธรรมชาติมนุษย์ พระชนมชีพบนแผ่นดิน การเทศน์สอน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพ ความหวังแท้จริงและมั่นคงมีพื้นฐานบนความเชื่อนพระเจ้าผู้ทรงรักและทรงเป็นพระบิดาผู้ทรงพระเมตตากรุณาผู้ “ทรงรักโลกอย่างมากจึงประทานพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์” (ยน 3:16) ดังนั้น ความหวังของคริสตชนจึงมีความหมายเท่าเทียบกับความเชื่อ เพราะเหตุผล 2 ประการคือ

* “ความเชื่อคือความมั่นใจในสิ่งที่เราหวังไว้ เป็นข้อพิสูจน์ถึงสิ่งที่มองไม่เห็น” (ฮบ 11:1) “ความเชื่อเป็นสารัตถะของความหวัง” (Spe Salvi , ข้อ 10)

* “วิกฤตการณ์ของความเชื่อในยุคปัจจุบัน เหนือสิ่งอื่นใด เป็นวิกฤตการณ์ความหวังของคริตชน” (Spe Salvi , ข้อ 17)

ข) ความหวังมาจากการพบปะกับพระเยซูเจ้าผู้ทรงทำให้เราเป็นคนอิสระอย่างแท้จริง พระคริสตเจ้า “ตรัสกับเราว่า จริงๆแล้ว มนุษย์เป็นผู้ใดและต้องทำอะไรเพื่อเป็นมนุษย์แท้จริง...พระองค์ยังทรงชี้หนทางหลังความจายให้เรารู้” (Spe Salvi , ข้อ 6)

ค) ความหวังมาจากการพบปะกับพระเยซูเจ้าผู้ทรง “ถ่ายทอดสารัตถะของสิ่งที่เป็นในอนาคตแก่เรา ดังนั้น การรอคอยพระเจ้ามีความแน่ใจใหม่ เป็นการรอคอยสิ่งที่จะเป็นไปในอนาคตจากมุมมองของปัจจุบันที่ถูกมอบไว้ให้แล้ว เป็นการรอคอยเฉพาะพระพักตร์พระคริสตเจ้าและพร้อมกับพระคริสตเจ้าผู้ประทับอยู่ ให้พระวรกายของพระองค์สมบูรณ์ เพราะเห็นแก่เราเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระองค์ครั้งสุดท้าย” (Spe Salvi , ข้อ 9)

ง) ความหวังมาจากการพบปะกับพระเยซูเจ้าผู้มอบชีวิตนิรันดรแก่เรา

 

ชีวิตนิรันดรคืออะไร

“ชีวิตนิรันดรคือการรู้จักพระองค์พระเจ้าแท้จริงแต่พระองค์เดียวและรู้จักผู้ที่พระองค์ทรงส่งมา คือพระเยซูคริสตเจ้า”(ยน 17: 3) “ถ้าเรามีความสัมพันธ์กับพระองค์ผู้ทรงเป็นอมตะ ผู้ทรงเป็นองค์ชีวิตและองค์ความรักแล้ว เราก็อยู่ในชีวิต ดังนั้นเราจึงมีชีวิต” (Spe Salvi , ข้อ 27) และจะมีชีวิตตลอดไป

 

ความหวังของคริสตชนต่อต้านสิ่งใด

ก) ความหวังของคริสตชนต่อต้านอเทวนิยมของศตวรรษที่ 19 – 20 ซึ่งทำให้ “การประท้วงต่อต้านความยุติธรรมต่างๆในโลก” กลับเป็น “การประท้วงต่อต้านพระเจ้า อย่างไรก็ตาม “ถ้าต่อหน้าความทุกข์ทรมานของโลกนี้ การประท้วงต่อต้านพระเจ้าเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ คำกล่าวอ้างสิทธิที่ว่ามนุษยชาติสามารถทำและต้องทำสิ่งที่พระเจ้าไม่ทรงสามารถทำและไม่ทรงมีอำนาจในตัวมันเอง มิใช่เป็นเรื่องบังเอิญที่ความคิดแบบนี้ได้นำไปสู่ความโหดร้ายและการละเมิดความยุติธรรมยิ่งใหญ่ที่สุดเพราะความคิดนี้พื้นฐานบนความไม่เป็นจริงในตัวมันเองของการอ้างสิทธินี้” (Spe Salvi , ข้อ 42)

ข) ความหวังของคริสตชนต่อต้านลัทธิมาร์กซิสต์ ซึ่งสอนเรื่องการปกครองแบบเผด็จการของชนชั้นกรรมมาชีพ ลัทธินี้ได้ “ทิ้งร่องรอยความพินาศน่าตระหนกยิ่งไว้เบื้องหลัง” เพราะ “ลืมมนุษย์และลืมอิสรภาพของมนุษย์...มาร์กซ์คิดว่าเมื่อจัดการให้เศรษฐกิจลงตัวแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเข้าที่เข้าทางของมันได้เองโดยอัตโนมัติ ความผิดพลาดแท้จริงของเขาคือ เรื่องลัทธิวัตถุนิยมนั่นเอง ที่จริงแล้วมนุษย์ไม่ใช่เป็นเพียงผลผลิตจากเงื่อนไขของเศรษฐกิจและเป็นไปไม่ได้ที่จะช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นเพียงจากสิ่งภายนอกเท่านั้น โดยวิธีสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยทางเศรษฐกิจ” (Spe Salvi , ข้อ 20,21)

ค) ความหวังของคริสตชนต่อต้าน “ความเชื่อในความก้าวหน้าเป็นความหวังใหม่ของมนุษย์” (Spe Salvi , ข้อ 20) ซึ่งจินตนาการขึ้นมาเป็นการควบคุมธรรมชาติยิ่งที่ยิ่งมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มนุษย์หลงเชื่อว่าตนจะได้รับความรอดพ้นจากทางวิทยาศาสตร์ และได้จำกัดความเชื่อแล้วความหวังในขอบเขตส่วนตัวของแต่ละบุคคลมากยิ่งขึ้นเสมอ คริสตชนต้องกำจัด “ความกำกวมของความก้าวหน้า” คือความกำกวมที่มาจากสาเหตุที่ความก้าวหน้า “อาจเปิดโอกาสใหม่ๆ เพื่อทำความดี แต่ในเวลาเดียวกัน ยังเปิดโอกาสให้ทำความชั่วร้ายอย่างน่ากลัวอีกด้วย” (Spe Salvi , ข้อ 22) เขาจำเป็นต้องทำเช่นนี้โดย

มีการเจริญเติบโตของชีวิตภายในเพื่อมนุษย์จะได้ก้าวหน้าในด้านศีลธรรมคือ “ถ้าความก้าวหน้าทางวิทยาการไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าในการอบรมมนุษย์ให้มีศีลธรรม ในการเจริญเติบโตภายในของมนุษย์แล้ว (เทียบ อฟ 3:16 ; 2 คร 4:16) ความก้าวหน้านั้นไม่เป็นความก้าวหน้าเลย แต่กลับเป็นการคุกคามมนุษย์และโลก” (Spe Salvi , ข้อ 22)

มีเหตุผล “ซึ่งเป็นของประทานยิ่งใหญ่ที่พระเจ้าทรงมอบแก่มนุษย์” ต้องเปิดใจรับความเชื่อ เพราะมนุษย์ลืมไม่ได้ว่า “ชัยชนะของเหตุผลเหนือสิ่งที่ไร้เหตุผลก็เป็นจุดมุ่งหมายของความเชื่อคริสตชนอีกด้วย” (Spe Salvi , ข้อ 23)

“วิทยาศาสตร์อาจช่วยได้มากในการทำให้โลกและมนุษย์มีความเป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น ถึงกระนั้น วิทยาศาสตร์ก็อาจทำลายมนุษย์และโลกได้ด้วย ถ้าไม่ถูกบังคับทิศทางโดยพลังอำนาจจากภายนอก...ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ที่ไถ่กู้มนุษย์ มนุษย์ได้รับการกอบกู้จากความรัก...มนุษย์ต้องการความรักแบบไม่มีเงื่อนไข เขาต้องการความคายหรือชีวิตไม่ว่าทูตศวรรค์หรือผู้มีอำนาจปกครอง ไม่ว่าปัจจุบันหรืออนาคต ไม่ว่าฤทธิ์อำนาจใดหรือความสูง ความลึก ไม่มีสรรพสิ่งใดๆจะพรากเราได้จากความรักของพระเจ้า ซึ่งปรากฏในพระคริสตเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา” (รม 8:38 – 39) ถ้าความรักสมบูรณ์นี้มีอยู่จริงอย่างแน่นอนแล้ว เวลานั้นเท่านั้นที่มนุษย์จะได้การกอบกู้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเขาในกรณีเฉพาะเจาะจงของตน นี่คือความหมายเมื่อเราพูดว่า พระคริสตเจ้าทรงกอบกู้เรา” (Spe Salvi , ข้อ 24 – 26)

ง) ความหวังของคริสตชนต่อต้านวัตุนิยม “ไม่ใช่องค์ประกอบของจักรวาล ไม่ใช่กฎของสสารที่ปกครองโลกและมนุษย์ไว้เด็ดขาด แต่เป็นพระบุคคลพระเจ้าผู้ทรงปกครองดวงดาวทั้งหลายคือจักรวาลมิใช่กฎของสสารและกฎของวิวัฒนาการมีอำนาจสูงสุด แต่เป็นเหตุผล เจตจำนง และความรักคือพระบุคคล...ชีวิตไม่เป็นเพียงผลของกฎต่างๆ และปัจจัยของสสารเท่านั้น” (Spe Salvi , ข้อ 5)

จ) ความหวังของคริสตชนต่อต้าน “สุญนิยมร่วมสมัยซึ่งบั่นทอนความหวังในใจของมนุษย์ ชวนให้คิดว่า ทั้งในตัวเขาและรอบตัวเขามีแต่ความว่างเปล่า คือไม่มีสิ่งใดเลยก่อนมนุษย์เกิดมาและไม่มีสิ่งใดเลยหลังความตาย จริงอยู่ถ้าไม่มีพระเจ้าความหวังก็จะล้มเหลว ทุกอย่างสูญเสียรูปทรงเหมือนกับว่าเมื่อทุกสิ่งสูญความลึกทุกอย่างก็จะแนบราบ ไม่มีความหมายอีกเลย คงเหลือเพียงความเป็นสสารเท่านั้น” (บทเทศน์ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 โอกาสทำวัตรเย็นวันเสาร์ก่อนวันอาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า 1 ธันวาคม 2007)

ฉ) ความหวังของคริสตชนต่อต้านความสิ้นหวังและความวิตกกังวลในปัจจุบันซึ่งสรุปได้ในถ้อยคำที่จารึกไว้บนหินฝังศพโบราณ ในศตวรรษแรกๆ ของคริสต์ศาสนาว่า “ในความว่างเปล่า เราตกไปอยู่ในความว่างเปล่า อย่างรวดเร็วเหลือเกิน” (In nihil ab nihilo quam cito recidimus) (Spe Salvi , ข้อ 2)

ช) ความหวังของคริสตชนต่อต้านรูปแบบหนึ่งของคริสตศาสนาสมัยใหม่ ซึ่ง “จำกัดความสนใจส่วนใหญ่ไว้กับปัจเจกบุคคลและความรอดพ้นของตน” (Spe Salvi , ข้อ 25) ทำให้ “ความหวังทางพระคัมภีร์เกี่ยวกับพระอาณาจักรของพระเจ้าถูกแทนที่โดยความหวังเกี่ยวกับอาณาจักรของมนุษย์ และโดยความหวังเกี่ยวกับโลกที่ดีกว่า ซึ่งจะเป็น “พระอาณาจักรของพระเจ้า” ที่แท้จริงในเรื่องนี้ แม้เราต้องยอมรับว่ารูปแบบนี้ของคริสตศาสนาคงให้การอบรมมนุษย์และดูแลเอาใจใส่ผู้อ่อนแอและผู้ทนทุกข์ทั้งหลายอย่างมาก ก็ยังต้องตั้งคำถามที่ว่า “แล้วเมื่อไหร่จึงจะมีโลกที่ดีกว่านี้เล่า อะไรทำให้โลกนี้ดี มีมาตรการอะไรที่เราใช้ตัดสินว่าโลกนี้ดีอะไรเป็นทางนำไปสู่โลกที่ดี (Spe Salvi , ข้อ 30)

 

ที่มา หนังสือแสงธรรม ปริทัศน์ วรสารราย 4 เดือน ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 โดยบาทหลวง ผศ.ดร. ฟรังซิส ไก้ส์, SDB.

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
8846
23407
75896
188414
306218
35932136
Your IP: 3.17.128.129
2024-04-20 07:36

สถานะการเยี่ยมชม

มี 340 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์