แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การภาวนา
Jesus Christ Praying    พวกเราผู้ติดตามพระคริสต์ถูกเรียกมาสู่ความศักดิ์สิทธิ์  นั่นคือ การรวมกันกับพระเจ้าอย่างแท้จริงทั้งสติปัญญาและจิตใจ  การเติบโตขึ้นในความศักดิ์สิทธิ์เป็นของขวัญจากพระเจ้า พระจิตเจ้าไม่เคยบังคับเราให้ยอมรับความรักของพระเจ้า แต่ให้สิทธิการตอบรับอย่างอิสระในโอกาสต่างๆ ที่พระเจ้าประทานให้กับเรา  การภาวนาเป็นวิธีการที่จำเป็นสำหรับการเข้าใกล้ชิดกับพระเจ้ายิ่งขึ้น  ประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของคาทอลิกเสนอวิธีการภาวนาแบบต่างๆมากมาย ซึ่งเป็นหนทางหลากหลายที่จะนำไปสู่องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา

การภาวนาคืออะไร?
(CCC 2558-2567; 2590)
    ตามความเชื่อและประเพณีของคาทอลิกได้ให้คำจำกัดความของการภาวนาคือ “การยกระดับสติปัญญาและจิตใจของบุคคลหนึ่งขึ้นหาพระเจ้า”  คำอธิบายอันเป็นที่นิยมได้บอกว่าการภาวนาคือ “การสนทนาด้วยความรักกับพระเจ้า” โทมัสเมอร์ตัน(Thomas Merton) นักเขียนเรื่องเกี่ยวกับจิตวิญญาณที่มีชื่อเสียงได้นิยามว่า การภาวนาคือ “การตระหนักรู้เกี่ยวกับการเป็นหนึ่งเดียวของบุคคลหนึ่งกับพระเจ้า ซึ่งเป็นการรับรู้อย่างหนึ่งเกี่ยวกับตัวตนภายในของบุคคลหนึ่งเอง”  อย่างไรก็ตามเราอธิบายได้แน่นอนว่าการภาวนาเริ่มต้นด้วยการหันเข้าหาพระเจ้าเสมอ และเปลี่ยนเป็นการรู้ถึงการประทับอยู่ของพระเจ้า  เมื่อเราภาวนาเราค้นหากิจการที่น่าพิศวงของพระเจ้าในชีวิตของเรา
    ในการภาวนาส่วนรวม(the public prayer)ของพระศาสนจักร คริสตชนคาทอลิกจะมาภาวนาด้วยกันประหนึ่งสมาชิกในครอบครัวของพระคริสตเจ้าที่มาสรรเสริญพระเจ้า, แสวงหาการให้อภัย, วอนขอความช่วยเหลือ, หรือแสดงการขอบพระคุณ  ในทางตรงข้ามการภาวนาส่วนตัวจะเป็นการสื่อสารกับพระเจ้าเป็นรายบุคคล  แต่ก็สามารถภาวนาเพื่อผู้อื่นได้  เราสามารถและควรภาวนาให้ครอบครัวของเรา, เพื่อนๆ, และสมาชิกของพระศาสนจักร, เพื่อผู้นำ, เพื่อผู้ที่ต้องการคำภาวนา, เพื่อศัตรูของเรา, โดยแท้จริงแล้วคือเพื่อทุกคน
    เมื่อเราท่องบทวันทามารีย์หรืออ่านบทสดุดีต่างๆ ด้วยเสียงอันดัง นั่นคือเรากำลังเข้าร่วมในการภาวนาด้วยวาจาที่เป็นการเปล่งเสียง  เรากำลังใช้บทภาวนาที่ถูกแต่งขึ้นเป็นรูปแบบที่แน่นอน  แต่เราก็ไม่ได้ถูกกำหนดให้กล่าวแต่บทภาวนาที่เป็นทางการ  คำภาวนาของเราอาจเป็นแบบธรรมชาติของเราเอง นั่นคือโดยใช้คำพูดของเราและไม่ตามรูปแบบใดๆ
จุดประสงค์ของการภาวนาคืออะไร?
(CCC 2623-2643)
    วิธีการหนึ่งที่ใช้จำแนกประเภทของการภาวนาแต่ละแบบ คือการอาศัยตัวย่อ ACTS  ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้เราจำจุดประสงค์ทั้ง 4 ประการของการภาวนาได้ นั่นคือ การนมัสการ(Adoration), การเป็นทุกข์ถึงบาป(Contrition), การขอบพระคุณ (Thanksgiving) และการวอนขอ(Supplication) เราภาวนาเพื่อนมัสการพระเจ้าในฐานะแหล่งที่มาของพระพรทั้งมวลและสรรเสริญพระเจ้าผู้ทรงสง่างาม, มีความรักและการช่วยเหลือ  เราแสดงความเศร้าเสียใจต่อพระเจ้าเมื่อเราภาวนาสำนึกผิดถึงบาปที่เราได้กระทำ  เราขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับสิ่งต่างๆ ที่พระองค์ประทานให้กับเรา  และสุดท้ายเราภาวนาเพื่อวิงวอนหรือเพื่ออ้อนวอน อันเป็นการวอนขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า  รูปแบบพิเศษของการวิงวอนคือการภาวนาขอความเมตตา ร้องขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าแทนบุคคลอื่น ซึ่งเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งสำหรับการแสดงความรักและความเมตตา
สิ่งสำคัญสำหรับการภาวนาคืออะไร?
(CCC 2663-2698; 2720; 2757)
    การมีมิตรภาพกับพระเจ้ามากขึ้นต้องการเวลา และเป็นการดีที่จะจดจำคำแนะนำ ต่อไปนี้
•    หาสถานที่และเวลา  คุณสามารถภาวนาได้ทุกที่ แต่จะเป็นการดีถ้าจะหาสถานที่เหมาะสมสักแห่งสำหรับการทำตัวเองให้ช้าลง, ผ่อนคลายและคิดคำนึงถึงความตั้งใจของคุณ  คุณยังสามารถภาวนาได้ทุกเวลา  แต่จะเป็นความคิดที่ดีถ้าจะเลือกเอาเวลาใดเวลาหนึ่งในแต่ละวัน  การภาวนาเป็นกิจวัตรอย่างหนึ่ง  เราเรียนรู้ที่จะภาวนาโดยการภาวนา
•    ผ่อนคลาย  การภาวนาต้องการความตั้งใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวิตจิตแนะนำว่าควรจัดการร่างกายของเราให้อยู่ในลักษณะที่ทำให้เรามีความตื่นตัว แต่ขณะเดียวกันก็ช่วยเราผ่อนคลายด้วย  เรายังควรใช้เวลาทำให้ร่างกายของเราสงบนิ่ง เพื่อให้สติปัญญาและจิตของเราเป็นอิสระสำหรับการสนทนากับพระเจ้าอย่างสนิทสนม
•    รักษาทัศนคติที่ดี  การภาวนาต้องการความตรงไปตรงมาและความศรัทธาต่อพระเจ้า  มันเป็นการดีที่จะเริ่มต้นการภาวนาด้วยการระลึกถึงการประทับอยู่และมิตรภาพของพระเจ้าพร้อมกับสิ่งต่างๆ ที่พระองค์ประทานแก่เรา
เราจะพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อการภาวนาได้อย่างไร?
(CCC 2725-2731; 2734-2737; 2742-2745)
    จงระลึกว่าพระเจ้าคือ พ่อ(Abba)  พระเจ้าของเราเป็นบิดาผู้น่ารัก  เราต้องไม่กลัวที่จะเข้าไปใกล้ชิดพระองค์  พระเจ้าทรงทราบดีถึงสิ่งที่เราต้องการและทรงเกี่ยวข้องอย่างสำคัญมากกับชีวิตของเรา  เราสามารถวางใจพระบิดาของเราได้
•    เราต้องมั่นคง  พระเยซูเจ้าทรงสอนว่าเราควร “ภาวนาอย่างต่อเนื่องและไม่ท้อถอย”
•    เราต้องมั่นใจ  ความเชื่ออย่างล้ำลึกในพระเจ้าควรจะเคียงคู่ไปกับความมั่นคงในการภาวนา
•    เราต้องถ่อมตน  พระเยซูเจ้าทรงสอนบรรดาศิษย์ของพระองค์ให้ภาวนาแบบเรียบง่ายและถ่อมตน พระองค์ทรงสอนเราด้วยว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้คำพูดมากมาย เพราะพระบิดาในสวรรค์ของเราทรงทราบถึงความต้องการของเราแล้ว ความถ่อมตนเป็นสัญลักษณ์แท้จริงที่แสดงถึงความรักของเราที่มีต่อพระเจ้า
•    เราต้องให้อภัย  พระเจ้าแห่งการให้อภัยทรงประสงค์ให้เราเข้ามาหาพระองค์พร้อมกับหัวใจที่มีแต่การให้อภัย นี่คือเครื่องหมายที่แสดงความจริงใจและสันติสุข ซึ่งเป็นตัวช่วยให้การภาวนาของเราเกิดประโยชน์
การภาวนาด้วยวาจาเป็นอย่างไร?
(CCC 2700-2704)
    โดยปกติการภาวนาด้วยวาจาเป็นการพูดเสียงดังและเป็นการพูดพร้อมกับคนอื่น ตัวอย่างเช่น ในพิธีมิสซา การภาวนาด้วยวาจานี้อาจกล่าวตามบทสูตรที่ถูกกำหนดไว้หรือพูดแบบเป็นธรรมชาติของตัวเอง  อีกทั้งยังสามารถเป็นเพียงคำพูดสั้นๆ ตัวอย่างเช่น “ข้าแต่พระจิตเจ้า โปรดส่องสว่างแก่ข้าพเจ้า” หรือ “พระเยซูเจ้าข้า โปรดทรงช่วยเหลือข้าพเจ้า”
    บทภาวนาบางบทเป็นที่คุ้นเคยสำหรับเราจึงทำให้เราลืมพิจารณาว่าเรากำลังพูดอะไร ดังนั้นเพื่อลดแนวโน้มที่เราจะทำเช่นนี้  เราต้องหยุดสักครู่ก่อนการภาวนา, ระลึกถึงการประทับอยู่ของพระเจ้าและเหตุผลว่าทำไมเราจึงกำลังภาวนาอยู่, หลังจากนั้นก็ไตร่ตรองถึงบทภาวนานั้น
สิ่งที่สำคัญเป็นพิเศษในบทภาวนาขององค์พระผู้เป็นเจ้าคืออะไร?
(CCC 2759-2865)
    พระเยซูเจ้าผู้เป็นนักภาวนาที่น่าเอาอย่างได้สอนบทภาวนาขององค์พระผู้เป็นเจ้าให้กับเรา ซึ่งได้กลายเป็นแบบฉบับสำหรับบทภาวนาของคริสตชน แตร์ตูเลียนในฐานะปิตาจารย์ของพระศาสนจักรได้ให้ข้อสังเกตว่า บทข้าแต่พระบิดาเป็นบทภาวนาที่สรุปพระวรสารทั้งมวล
•    ในบทภาวนาขององค์พระผู้เป็นเจ้า เรากล่าวกับพระเจ้าในฐานะที่ทรงเป็นพ่อ(Abba) ผู้ทรงรับเราในฐานะบุตรบุญธรรมเข้าสู่ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ และเป็นผู้เปิดเผยว่าเรามีความสัมพันธ์กับมนุษย์ที่มิใช่คริสตชนทุกคน  พวกเราคือประชากรของพระเจ้า
•    เรายอมรับความมีอำนาจสูงสุดของพระเจ้าและการประทับอยู่อย่างลึกลับในสวรรค์และในหัวใจของผู้ชอบธรรม
•    เราภาวนาว่าทุกคนจะยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า และมอบตัวเราเองเพื่อถวายเกียรติแด่พระนามของพระเจ้า โดยดำเนินชีวิตอยู่ในความรักของพระเจ้า
•    เราภาวนาเพื่อพระอาณาจักรของพระเจ้าที่กำลังมาถึง  ในการทำดังนี้เราได้ร่วมมือกับพระเยซูเจ้าในการทำงานของพระองค์ เพื่อทำให้สันติภาพและความยุติธรรมของพระเจ้า, ความจริงและการรับใช้กระจายไป โดยเฉพาะให้กับผู้ที่ต้องการ
•    เราวอนขอพระเจ้าให้ประทานอาหารประจำวันแก่เรา นั่นคือสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตฝ่ายกายได้แก่ อาหาร, ที่อยู่และเครื่องนุ่งห่ม  ชีวิตฝ่ายจิตใจได้แก่ มิตรภาพ, ความรักและความเป็นเพื่อน  รวมถึงชีวิตฝ่ายวิญญาณได้แก่ ศีลมหาสนิท
•    เราขอร้องด้วยความเคารพพระเจ้า ให้ทรงอภัยบาปของเรา และเราสัญญาว่าจะให้อภัยแก่ผู้อื่นเหมือนกับที่เราได้รับการอภัย
•    เราวอนขอพระเจ้าอย่าปล่อยให้เราเข้าไปในหนทางซึ่งนำไปสู่บาป  เราขอร้องพระองค์ให้ประทานกำลังแก่เรา เพื่อที่เราจะดำเนินชีวิตด้วยความมุ่งมั่นจนวาระสุดท้ายโดยการหลีกเลี่ยงการประจญของซาตานและบรรดาวัตถุนิยม, สิ่งล่อใจ, และสังคมที่รุนแรงซึ่งมองข้ามพระเจ้า และล่อลวงเราให้อยู่อย่างเชื่อใจตัวเองเท่านั้น
การภาวนากับพระคัมภีร์เป็นอย่างไร?
    คริสตชนตั้งแต่ศตวรรษแรกๆ ได้พบว่า การอ่านและการไตร่ตรองพระคัมภีร์ซึ่งเป็นพระวาจาอันทรงชีวิตของพระเจ้าเป็นวิธีที่ช่วยให้เกิดการเติบโตของวิญญาณ  สำหรับการอ่านพระคัมภีร์เพื่อภาวนาอย่างจริงจัง ให้คุณเลือกข้อความตอนหนึ่ง, หาสถานที่เงียบๆ, และระลึกถึงการประทับอยู่ของพระเจ้าภายในจิตใจของคุณและในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์  จงขอให้พระเจ้าช่วยคุณได้เข้าใจว่าสิ่งที่คุณอ่านคือพระวาจาของพระองค์ที่มาจากพระประสงค์จะตรัสกับคุณโดยตรง
    เริ่มต้นอ่านอย่างช้าๆ และด้วยการไตร่ตรอง, หยุดช่วงๆ เพื่อจะได้ทำความเข้าใจว่าข้อความนั้นกำลังบอกอะไรและมีความหมายอะไรสำหรับชีวิตของคุณ  ในขณะที่อ่านให้นึกถึงพระเจ้าบ่อยๆ และคุยกับพระองค์เหมือนคุยกับเพื่อนคนหนึ่ง ขอให้พระองค์ทรงกระทำให้พระวาจาที่คุณอ่านมีผลในชีวิตของคุณ
    หลังจากชั่วโมงของการสวดภาวนา ให้คิดทบทวนถึงสิ่งที่คุณได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้งสำหรับคุณ  ขอบคุณพระเจ้าสำหรับสิ่งที่พระองค์ทรงมอบให้คุณ  แล้วตลอดทั้งวันให้คุณกลับไปคิดถึงความเข้าใจที่คุณได้รับ เพราะมันเป็นวิธีที่ทำให้คุณจดจำของขวัญที่พระเจ้าทรงมอบให้คุณได้
การรำพึง (Meditation) คืออะไร?
(CCC 2705-2708)
    พระศาสนจักรมีแนวทางการปฏิบัติที่มีคุณค่าสืบต่อกันมานาน นั่นคือการรำพึงและการเพ่งญาณ  การรำพึงคือการปรับตัวเองให้เข้าหาพระเจ้า, การคิดเกี่ยวกับพระเจ้า และการพยายามตระหนักถึงการประทับอยู่ของพระองค์ในชีวิตของเรา  โดยปกติจะเกี่ยวกับการใช้สติปัญญาและการสร้างมโนภาพอย่างมาก  มีวิธีการรำพึงอยู่หลายวิธี แต่ทุกวิธีก็แนะนำให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.    หาสถานที่ที่เงียบสงบสักแห่งซึ่งจะไม่มีใครรบกวน
2.    ทำตัวคุณให้เงียบ ผ่อนคลายร่างกายของคุณ แล้วจิตใจของคุณก็จะสามารถสงบอยู่กับการรำพึง
3.    ควบคุมความสนใจของคุณให้อยู่กับวัตถุบางอย่างที่เป็นสื่อสำหรับการรำพึง  คุณอาจจะทำสมาธิกับไม้กางเขนหรือระลึกว่าพระเจ้าทรงพบคุณผ่านทางคนอื่นได้อย่างไร  บางทีคุณอาจจะจดจ่ออย่างบริสุทธิ์ใจกับข้อความสั้นๆ จากพระคัมภีร์
4.    หยุดเป็นพักๆ เพื่อพูดคุยกับพระเจ้าอย่างใกล้ชิด
5.    เมื่อถึงเวลาหยุดการภาวนา  จงขอบคุณพระเป็นเจ้าสำหรับมิตรภาพของพระองค์ และสำหรับความเข้าใจบางอย่างเกี่ยวกับวิญญาณที่พระองค์อาจจะมอบให้คุณ  จงตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำบางสิ่งด้วยความเข้าใจอันลึกซึ้งของคุณ และกลับไปทบทวนความเข้าใจเหล่านั้นเป็นพักๆ ตลอดทั้งวัน
การเพ่งญาณ (Contemplation) คืออะไร?
(CCC 2709-2719)
    บางครั้งการเพ่งญาณก็เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “การภาวนาด้วยจิตใจ”(mental prayer) เป็นการให้ความสนใจกับการรับรู้ด้วยจิตใจมากกว่าการรำพึง  ผู้ที่จะเพ่งญาณไม่ต้องพยายามคิดถึงสิ่งใดเลย  ในทางตรงกันข้ามเขาเพียงแต่เอาตัวเขาเองหรือตัวเธอเองไว้กับการประทับอยู่ของพระเจ้าและเพลิดเพลินอยู่กับความรักของพระองค์  การเพ่งญาณเป็นการภาวนาแบบเงียบ  การเพ่งญาณคือวิธีการภาวนาโดยไม่ต้องใช้มโนภาพและคำพูดใดๆ เพื่อที่จะพบกับพระเจ้าผู้ทรงอยู่เหนือความสามารถที่จะเข้าใจและความรู้ของมนุษย์
บทภาวนาต่อพระเยซูเจ้าเป็นอย่างไร?
(CCC 2665-2669)
    บทภาวนาต่อพระเยซูเจ้าประกอบไปด้วยถ้อยคำว่า “พระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า โปรดกรุณาเราคนบาปด้วยเทอญ” ยังมีรูปแบบอื่นให้เลือกอีกเช่น “พระเยซูเจ้าข้า โปรดเมตตาข้าพเจ้าด้วย” หรือเพียงแค่  “พระเยซูเจ้าข้า” การหายใจเป็นจังหวะมักถูกนำมาใช้ในการภาวนานี้
การภาวนามีผลต่อเราอย่างไร?
(CCC 2738-2741)
    การภาวนาในเรื่องที่เป็นความจริงพื้นฐานอันมีกฎเกณฑ์ จะช่วยเราให้รักษาเป้าหมายแท้จริงในชีวิตของเราไว้เบื้องหน้าเรา  อีกทั้งเป็นตัวช่วยเราให้ตระหนักรู้ถึงการประทับอยู่ของพระเจ้าและเข้าใจความรักอย่างลึกซึ้งของพระองค์ที่มีต่อเราเป็นรายบุคคล  การตระหนักรู้นี้ช่วยทำให้เรารัก, อดทน และปรับตัวเข้ากับสิ่งที่มีความสำคัญจริงๆได้มากยิ่งขึ้น  การภาวนาช่วยสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งภายในเรา ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจเกี่ยวกับศีลธรรมเกิดผลโดยความรักและความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระเจ้าผู้ทรงสร้างและผูกพันมนุษยชาติทั้งหมดไว้ด้วยกัน

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:11-18) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี ผู้เลี้ยงแกะย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน ลูกจ้างที่ไม่ใช่ผู้เลี้ยง และไม่เป็นเจ้าของแกะ เมื่อเห็นสุนัขป่าเข้ามา ก็ละทิ้งบรรดาแกะและหนีไป สุนัขป่าแย่งชิงแกะ...
วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
18850
23407
85900
198418
306218
35942140
Your IP: 3.15.218.254
2024-04-20 15:08

สถานะการเยี่ยมชม

มี 542 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์