แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การแต่งงานของคริสตชน
    ศีลศักดิ์สิทธิ์ทุกชนิดล้วนเป็นสัญลักษณ์ของความรักและมิตรภาพจากพระเจ้า โดยศีลศํกดิ์สิทธิ์เหล่านี้ยังเป็นการฉลองการประทับอยู่ของพระเจ้าอย่างต่อเนื่องกับพวกเราในการดำเนินชีวิตตามปกติของเรา   การแต่งงานของคริสตชนที่ถูกจัดขึ้นในรูปศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการสมรส (ศีลสมรส) เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งมิตรภาพ  คริสตชนที่แต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎของพระเจ้าก็เป็นเครื่องหมายแสดงความรักของพระเจ้าที่มีอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์, ในมิตรภาพ, ในการให้กำเนิดชีวิต, และในชีวิตครอบครัว

ศีลสมรสคืออะไร
(CCC 1601; 1660)
    ในพิธีศีลสมรส ชายและหญิงที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วให้คำปฏิญาณว่าพวกเขาจะรักเดียวใจเดียวและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคง  การอยู่ร่วมกันนี้ต้องมีความรัก, การให้ความเคารพกัน,  การดูแลเอาใจใส่, และข้อผูกมัดที่จะต้องร่วมกันดูแลครอบครัวหนึ่งในกรณีที่พระเจ้าประทานบุตรแก่พวกเขา
    การแต่งงานของคริสตชน เป็นเครื่องหมายพิเศษที่แสดงถึงการทำงานของพระเจ้าที่มีอยู่ตลอดเป็นปกติ  การแต่งงานอย่างถูกต้องถือเป็นพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวข้องกับ 3 บุคคล  คู่สมรสได้มาใช้ชีวิตร่วมกันโดยพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงสัญญาว่าจะอวยพร, สนับสนุน, และยินดีในชีวิตคู่ของพวกเขา
    ในข้อสัญญาการแต่งงานของคริสตชน  สามีและภรรยาเต็มใจที่จะอยู่ร่วมกันตลอดชีวิต  ข้อสัญญาของพวกเขาเป็นข้อผูกมัดให้มีรักเดียว

พันธสัญญาเดิมเปิดเผยเกี่ยวกับการแต่งงานว่าอย่างไร?
(CCC 1602-1608)
    ในหนังสือปฐมกาล พระเจ้าทรงเปิดเผยความจริงที่ลึกซึ้งสองประการเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการแต่งงานกับประชากรชาวยิว   ประการแรก การแต่งงานคือการมีส่วนร่วมในงานสร้างสรรค์ของพระเจ้า ในการนำชีวิตใหม่มาสู่โลกมนุษย์   ประการที่สอง การแต่งงานมุ่งที่จะปรับปรุง, ยกย่อง, และเพิ่มพูนความรักระหว่างภรรยาและสามีให้มากขึ้น  หนังสือปฐมกาลบอกเราว่า พระเจ้าทรงทำให้เกิดการแต่งงานและเพศหญิงชาย ทั้งยังทรงประกาศว่าสิ่งเหล่านี้ดี

พันธสัญญาใหม่เปิดเผยเกี่ยวกับการแต่งงานว่าอย่างไร?
(CCC 1613-1616; 1659)
    พันธสัญญาใหม่เปิดเผยให้เข้าใจธรรมชาติของการแต่งงานอย่างลึกซึ้งมากขึ้น   การเสด็จไปร่วมงานแต่งงานที่เมืองคานาของพระเยซูเจ้า เน้นให้เห็นข้อดีของการแต่งงาน   เมื่อพระเยซูเจ้าทรงสอนอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการแต่งงาน  พระองค์ทรงยืนยันอีกครั้งถึงพระประสงค์เริ่มแรกของพระบิดาว่า การแต่งงานต้องเป็นความสัมพันธ์แบบรักเดียวใจเดียวอย่างมั่นคง  “ทุกคนที่หย่าร้างภรรยาและแต่งงานใหม่ก็ทำผิดประเวณี และผู้ที่แต่งงานกับหญิงที่หย่าร้างแล้ว ก็ทำผิดประเวณีด้วย”  (ลก 16:18)
    การอยู่รวมกันของสามีภรรยาก็เหมือนกับการรวมเป็นหนึ่งเดียวของพระคริสตเจ้ากับพระศาสนจักรของพระองค์  การแต่งงานเป็นสัญญาหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อผูกพันอย่างสมบูรณ์ตลอดชีวิตอันสะท้อนให้เห็นความรักของพระคริสตเจ้าที่มีต่อพระศาสนจักรของพระองค์

การเตรียมตัวอย่างดีสำหรับการแต่งงานของคริสตชนเป็นอย่างไร?
(CCC1632-1637)
    การเตรียมตัวสำหรับการแต่งงานของคริสตชน ในแทบทุกสังฆมณฑลมีนโยบายให้คู่แต่งงานที่หมั้นหมายกันแล้วเข้ารับการอบรมก่อนแต่งงาน  ผู้ให้การอบรมของพระศาสนจักรเหล่านี้ จะให้โอกาสคู่แต่งงานได้ศึกษาเกี่ยวกับข้อผูกมัดที่ศักดิ์สิทธิ์ของการแต่งงาน และเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงในชีวิตสมรสจากผู้ที่แต่งงานแล้วหลายๆ คู่  บางครั้งอาจมีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว หรือความสัมพันธ์อันใกล้ชิดในครอบครัว มาพูดคุยกับคู่แต่งงาน  ในการพูดคุยกันมีหลายหัวข้อได้แก่ เรื่องความรักและความสัมพันธ์อันใกล้ชิด, การสร้างครอบครัว, บทบาทของชีวิตศรัทธาในการแต่งงาน, และการวางแผนสำหรับพิธีสมรสที่จะจัดขึ้น

สิ่งจำเป็นสำหรับการแต่งงานคืออะไร?
(CCC 1625-1631; 1662)
    ในการประกอบพิธีศีลสมรสอย่างถูกต้อง คู่สมรสต้องมีความเป็นผู้ใหญ่, เป็นโสด, ไม่มีความเกี่ยวดองกันทางสายเลือดหรือทางการแต่งงาน และตัดสินใจแต่งงานอย่างอิสระ  พวกเขาต้องตั้งใจมอบตนทำตามพันธสัญญาแห่งรักตลอดชีวิต  นอกจากนี้พวกเขาต้องสามารถมีส่วนร่วมทางเพศได้ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นสัญลักษณ์ของความรักกันและชีวิตสมรส, อีกทั้งเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนถึงความรักกันและกันระหว่างสามีภรรยา  สุดท้ายคือคู่สมรสต้องเปิดรับการสร้างครอบครัวที่มีบุตรซึ่งพระเจ้าประทานแก่เขา

การประกอบพิธีศีลสมรสทำอย่างไร?
(CCC 1621-1624; 1663)
    การแต่งงานของคริสตชนโดยทั่วไป ถ้าคู่สมรสเป็นคาทอลิกทั้งคู่ จะประกอบพิธีสมรสระหว่างพิธีมิสซา  คู่บ่าวสาวในฐานะศาสนบริกรผู้ได้รับพระหรรษทานของพระคริสตเจ้าให้ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการสมรสแก่กัน  พวกเขาต้องแสดงความยินยอมของพวกเขาซึ่งเป็นปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการทำให้การแต่งงานเกิดขึ้นจริง โดยการแลกเปลี่ยนคำสัญญาต่อหน้าพระสงฆ์, พยานสองคน, และสัตบุรุษที่มาชุมนุมกัน   พระสงฆ์ในฐานะพยานที่เป็นทางการของพระศาสนจักรเสกแหวนและบอกคู่สมรสสวมแหวนให้กัน เพื่อให้เป็นเครื่องหมายแสดงความซื่อสัตย์และความรักที่ไม่มีวันสิ้นสุด
    การประกอบพิธีสมรสเป็นปัจจัยสำคัญเพียงอย่างเดียวในศีลศักดิ์สิทธิ์  ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการสมรสยังคงมีผลต่อไปเนิ่นนานตลอดเวลาที่ผู้เป็นสามีและภรรยาได้สานความสัมพันธ์ระหว่างกันและกับพระเจ้า   องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพทรงสัญญาว่าจะอยู่กับคู่สมรส เพื่อดูแลพวกเขาไปตลอดชีวิตของพวกเขา
ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการสมรสให้พระหรรษทานแก่คู่บ่าวสาวเพื่อให้รักกันและกัน ด้วยความรักอย่างที่พระคริสตเจ้าทรงรักพระศาสนจักรของพระองค์   ดังนั้นพระหรรษทานจากศีลศักดิ์สิทธิ์จึงทำให้ความรักตามแบบมนุษย์ของสามีภรรยาสมบูรณ์ ทำให้ความเป็นหนึ่งเดียวที่ไม่อาจแยกกันได้ของพวกเขามั่นคง และชำระพวกเขาให้บริสุทธิ์ในการเดินทางสู่ชีวิตนิรันดร์
                            -หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก, ข้อ 1661

ทำไมการแต่งงานของคริสตชนจึงคงอยู่ตลอดไป?
(CCC 1646-1651; 1665)
    การแต่งงานของคริสตชนเป็นความรับผิดชอบถาวรประการหนึ่ง  เพราะว่ามันเป็นวิธีที่ดีเลิศสำหรับการนำพระคริสตเจ้ามาสู่โลกและการส่งต่อความเชื่อของคริสตชน นี่เป็นเรื่องจริงอย่างแน่นอนสำหรับเด็กๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการแต่งงาน  พวกเขาต้องการความรักที่มั่นคงและลดทอนความกังวลจากชีวิตสมรสที่เข้มแข็งเพื่อการพัฒนาทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิตและความเชื่อในพระเจ้า
    แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาที่มีความซื่อสัตย์เป็นเครื่องหมายชัดเจนที่บอกความจริงอื่นๆด้วย  สามีภรรยาที่เป็นคริสตชนบอกเป็นนัยถึงความล้ำลึกแห่งความรักของพระเจ้าที่ทำงานในชีวิตปกติ  ความซื่อสัตย์และความรักที่มอบให้แต่เพียงผู้เดียวของพวกเขาเป็นเครื่องหมายที่พิเศษซึ่งแสดงให้เห็นสังคมซึ่งมีความซื่อสัตย์และความรักที่ไม่สิ้นสุดของพระเจ้าสำหรับประชากรของพระองค์
    พระเยซูเจ้าทรงเน้นย้ำถึงความเกี่ยวพันของคู่สมรสที่มีอยู่ถาวรว่า
“ท่านไม่ได้อ่านพระคัมภีร์หรือว่าเมื่อแรกนั้นพระผู้สร้างทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นชายและหญิง และตรัสว่า ดังนี้ ‘ชายจะละบิดามารดาไปสนิทอยู่กับภรรยาของตน และชายหญิงจะเป็นเนื้อเดียวกัน’ ดังนี้เขาจะไม่เป็นสองอีกต่อไป แต่เป็นเนื้อเดียวกัน ฉะนั้น สิ่งที่พระเจ้าทรงรวมกันไว้ มนุษย์อย่าได้แยกเลย”
                                        มธ 19: 4-6
    ข้อตกลงที่ทำร่วมกันระหว่างคาทอลิกที่แต่งงานกันอย่างถูกต้องจะสิ้นสุดลงได้เฉพาะเมื่อคนใดคนหนึ่งเสียชีวิตเท่านั้น  ในสถานการณ์พิเศษ คู่สมรสบางคู่อาจต้องแยกกันอยู่เพราะคำนึงถึงผลดีของบุตร และของสามีหรือภรรยา   แม้ว่าผู้มีอำนาจหน้าที่ทางบ้านเมืองจะสามารถยกเลิกการแต่งงานที่ถูกต้องได้ตามกฎหมาย (ที่เรียกตามภาษากฎหมายว่าการหย่าร้าง) รัฐก็ไม่มีอำนาจยกเลิกการแต่งงานที่ถูกต้องของคริสตชน
    พระคริสตเจ้าทรงเรียกร้องให้บรรดาสาวกของพระองค์มีบรรทัดฐานสูง  พระศาสนจักรสนับสนุนให้บุคคลที่ต้องทนทุกข์เพราะการสมรสที่แตกสลายกลับมารับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่อเนื่องและคงอยู่ใกล้ชิดกับกลุ่มคริสตชน  พระเจ้าทรงสัญญาในลักษณะที่พิเศษว่าจะทรงอวยพรแก่ผู้ที่ทนทุกข์ทรมานถึงที่สุด  บรรดาคริสตชนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันก็ควรช่วยเหลือพี่น้องชายหญิงที่ตกอยู่ในสภาพนั้นและสวดภาวนาให้พวกเขา

การประกาศเป็นโมฆะคืออะไร?
(CCC 1629)
    การประกาศเป็นโมฆะ คือ การประกาศอย่างเป็นทางการของพระศาสนจักรว่า การแต่งงานของคริสตชนคู่หนึ่งซึ่งชอบด้วยกฎหมายนั้นแท้จริงแล้วไม่ถูกต้อง  คู่สมรสยังไม่มีความสมบูรณ์ทางด้านจิตใจเมื่อพวกเขาเข้าสู่การสมรส, หรือยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องถึงจุดประสงค์ของข้อตกลงร่วมกันในการแต่งงาน  หนึ่งในสองคนหรือทั้งคู่อาจไม่มีเสรีภาพในการยินยอมแท้จริงให้มีการแต่งงาน  บางทีฝ่ายหนึ่งหรือทั้งคู่อาจไม่เคยมุ่งหวังการมีบุตร หรือไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้
    การแต่งงานที่ล้มเหลวอาจจะไม่ได้เริ่มต้นด้วยการแต่งงานของคริสตชนที่ถูกต้อง  ในกรณีเหล่านี้ คู่สมรสควรยอมรับสถานภาพของพวกเขาต่อศาลการสมรสของสังฆมณฑล (The diocesan marriage tribunal) เพื่อจะได้มีการสอบสวนและการตัดสิน  ถ้าผลปรากฏว่าการแต่งงานนั้นไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก ทั้งสองฝ่ายก็จะเป็นอิสระ และสามารถเข้าสู่การแต่งงานของคริสตชนที่ถูกต้องได้ในอนาคต

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการรับผิดชอบเรื่องเพศร่วมกันอย่างไร?
(CCC 2360-2365; 2397)
    สังคมคาทอลิกยกย่องความรักระหว่างคู่สมรสว่าเป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่จากพระเจ้า  เพศสัมพันธ์เป็นวิธีการแสดงความรักอย่างลึกซึ้งและเป็นพันธะระหว่างชายและหญิง  จุดประสงค์ของมันในแผนการของพระเจ้ามีสองขั้นคือ ขั้นการรวมกัน (unitive) ซึ่งเป็นการผูกมัดชายและหญิงเข้าด้วยกันในฐานะคู่ชีวิต และขั้นการให้กำเนิด (procreative) ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมในงานสร้างสรรค์ของพระเจ้าที่นำชีวิตใหม่มาสู่โลก
    การมีเพศสัมพันธ์ (รวมถึงกิจกรรมทุกอย่างที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์) ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของความรักระหว่างชายหนึ่งและหญิงหนึ่ง แสดงถึงพันธะอย่างสมบูรณ์โดยปราศจากข้อสงสัยใดของความรัก   พระศาสนจักรเชื่อมั่นว่าพันธะที่สมบูรณ์นี้จะเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อชายหญิงคู่หนึ่งได้ปฏิญาณว่าจะอุทิศตัวเองเพื่อกันและกันตลอดชีวิต นั่นคือในการแต่งงาน

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการเป็นชู้อย่างไร?
(CCC 2380-2381; 2400)
    ความสัมพันธ์ทางเพศเป็นเครื่องแสดงการให้อย่างสมบูรณ์และการรับอย่างสมบูรณ์  การยุ่งกับความสัมพันธ์ทางเพศนอกการสมรสเป็นการใช้เครื่องหมายที่แสดงความรักของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ไปในทางที่ผิด  ดังนั้น การเป็นชู้ ซึ่งหมายถึงการมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างบุคคลที่แต่งงานแล้วกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่สมรสของเขาหรือเธอ จึงเป็นการแตกแยกที่รุนแรงในความรักอย่างสมบูรณ์แบบของคู่สมรสคริสตชน  การเป็นชู้ถือเป็นความล้มเหลวในการทำตามข้อตกลงพื้นฐานร่วมกันของคู่สมรส  มันเป็นการคุกคามความมั่นคงแท้จริงของครอบครัว

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการผิดประเวณีอย่างไร?
(CCC 2353)
    การผิดประเวณี คือ การมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างผู้ที่ยังไม่ได้แต่งงาน มันเป็นสิ่งที่ผิดเพราะบ่อยครั้งมันเป็นการหาประโยชน์จากคนอื่น หรือเป็นการปล่อยตัวปล่อยใจไปกับแรงกระตุ้นจากความเห็นแก่ตัวโดยเอาความรักมาเป็นเครื่องบังหน้า  พระเจ้าทรงประสงค์ให้การร่วมเพศเป็นการแสดงออกถึงความรักและความรับผิดชอบที่สมบูรณ์ โดยที่ความรักและความรับผิดชอบแบบที่ว่านี้มีอยู่เฉพาะในสถานภาพการสมรสเท่านั้น

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการสำเร็จความใคร่อย่างไร?
(CCC 2352)
    พระศาสนจักรสอนว่าการสำเร็จความใคร่ หรือการแสวงหาความสนุกทางเพศด้วยตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะมันเป็นการใช้พลังทางเพศในทางที่ผิดไปจากจุดประสงค์ตามแผนการของพระเจ้า คือให้ใช้ความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้อื่นและใช้นำชีวิตใหม่มาสู่โลก

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันอย่างไร?
(CCC 2357-2359)
    พระศาสนจักรแบ่งแยกระหว่างภาวะรักร่วมเพศกับการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน  การมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันเป็นสภาพที่เกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางเพศของบุคคลหนึ่งมุ่งไปยังคนที่มีเพศเดียวกันมากกว่าเพศตรงข้าม  ถ้าบุคคลที่มีความโน้มเอียงไปทางรักร่วมเพศไม่เลือกภาวะรักร่วมเพศของพวกเขา พวกเขาก็สมควรได้รับความเคารพ, ความเห็นใจ, และความไวต่อความรู้สึกของพวกเขา  แต่กลับมีการแบ่งแยกอย่างไม่เป็นธรรมสำหรับพวกเขาโดยถือว่าพวกเขาไม่ใช่คริสตชน   อย่างไรก็ตามพระศาสนจักรสอนว่า การมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันเป็นความผิดปกติแท้จริงและขัดกับกฎธรรมชาติ  การกระทำเช่นนั้นทำลายแผนการของพระเจ้าในเรื่องการผูกพันระหว่างชายกับหญิงอย่างรุนแรง และไม่เปิดให้กับการให้กำเนิดชีวิต  ดังนั้นจึงเป็นการกระทำที่ไม่ได้รับการเห็นชอบ

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวอย่างไร?
(CCC 2366-2369; 2398)
    การคุมกำเนิดพูดถึงการจำกัดจำนวนเด็กๆที่คู่สมรสจะให้เกิดมาบนโลกโดยการคิดอย่างรอบคอบ  บรรดาพ่อแม่ที่เป็นคริสตชนถูกขอให้วางแผนขนาดของครอบครัวด้วยความรับผิดชอบ สุขภาพกายและจิตใจ,  ฐานะการเงินของครอบครัว, และการดำรงชีวิตอย่างดีโดยรวมที่ต้องเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นและโลก เป็นบางส่วนของตัวประกอบในการตัดสินใจเกี่ยวกับขนาดครอบครัวของสามีภรรยา  พระศาสนจักรสอนว่าหลักการที่ถูกต้องก็คือ คู่สมรสที่เป็นคาทอลิกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบธรรมชาติ

การคุมกำเนิดแบบธรรมชาติคืออะไร?
(CCC 2369-2370)
    การบังคับใจตนเองไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ในบางครั้งบางคราวและวิธีการวางแผนครอบครัวแบบธรรมชาติ ล้วนเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ถูกต้องตามศีลธรรม  เพราะเป็นการปฏิบัติอย่างกลมกลืนกับกระบวนการต่างๆของร่างกายที่เป็นปกติตามธรรมชาติ  หน่วยงานที่เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวหรือศาสนบริการในเกือบทุกสังฆมณฑลสนับสนุนการจัดห้องเรียนเพื่อช่วยอบรมคู่สมรสให้เข้าใจวิธีเหล่านี้

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการคุมกำเนิดแบบไม่เป็นไปตามธรรมชาติอย่างไร?
(CCC 2370; 2399)
    คำสอนพระศาสนจักรระบุว่า วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ขัดแย้งกับพระประสงค์ของพระเจ้า  คำสอนนี้ตั้งอยู่บนเจตคติของคาทอลิกที่ว่าการแต่งงานมีจุดประสงค์ 2 ประการที่เกิดขึ้นพร้อมกัน นั่นคือ การให้กำเนิด (และอบรมเลี้ยงดู) บุตร กับความรักและความพอใจซึ่งกันและกันของคู่สมรส   คำสอนพระศาสนจักรอย่างเป็นทางการยังคงสอนว่า วิธีการใดที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติซึ่งถูกใช้ขัดขวางกระบวนการก่อกำเนิดอันเป็นธรรมชาติก็ต่อต้านธรรมชาติแท้ของการแต่งงาน
    บางครั้งคนเราก็ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังแม้ว่าจะมีความพยายามอย่างหนักที่จะให้ทุกอย่างเป็นไปตามอุดมคติ  บรรดาพระสังฆราชจึงแนะนำว่าเราต้องไม่ไปตัดสินความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคู่สมรสที่ไม่สามารถทำตามคำสอนของพระศาสนจักร  การตัดสินทางด้านศีลธรรมเป็นหน้าที่ของพระเจ้า  คู่สมรสต้องทำตามความรู้สึกผิดชอบของพวกเขาในเรื่องที่เกี่ยวกับคำสอนพระศาสนจักรและปัญหาด้านศีลธรรมทุกเรื่อง  แต่พวกเขาก็ยังมีความรู้สึกได้ว่าต้องพัฒนามโนธรรมให้ดีด้วย

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ คืนตื่นเฝ้าปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา (ลก 24:1-12) เวลานั้น ตั้งแต่เช้าตรู่วันต้นสัปดาห์ บรรดาสตรีนำเครื่องหอมที่เตรียมไว้มาที่พระคูหา เขาพบว่าก้อนหินถูกกลิ้งออกไปจากพระคูหาแล้ว เมื่อเข้าไปในพระคูหาก็ไม่พบพระศพของพระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้า ขณะที่บรรดาสตรีประหลาดใจกับเหตุการณ์นี้ บุรุษสองคนสวมเสื้อที่เป็นประกายรุ่งโรจน์ยืนอยู่ใกล้ๆ สตรีเหล่านั้นตกใจกลัวและก้มหน้าลงมองพื้นดิน...
วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
29656
15753
83512
278782
326718
35716286
Your IP: 54.224.70.148
2024-03-29 20:11

สถานะการเยี่ยมชม

มี 677 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์