แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

พิธีศีลมหาสนิท
    พิธีศีลมหาสนิท (The Eucharist) คือคารวะกิจที่เป็นหลักสำคัญในพระศาสนจักรคาทอลิก  พิธีมิสซาเป็นการแสดงออกที่ดีที่สุดถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าพระบิดา ผ่านทางการช่วยให้รอดพ้นของพระบุตรและด้วยพลังของพระจิต  คำว่า Eucharist มาจากคำในภาษากรีก หมายถึง “การแสดงความขอบคุณ” (thanksgiving)  พิธีศีลมหาสนิทเป็นวิธีการล้ำเลิศที่เราถวายคำสรรเสริญและความรู้สึกขอบพระคุณของเราแด่พระเจ้าในฐานะกลุ่มคนหนึ่งที่มีศรัทธา

    ศีลมหาสนิทเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอะไร? (CCC 1328-1332)
    ศีลมหาสนิทเป็นเครื่องหมายที่ทรงประสิทธิภาพซึ่งพระเยซูคริสต์ทรงกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการ  นั่นหมายความว่าศีลมหาสนิทเป็นเครื่องหมายแสดงสิ่งที่มันจะทำให้เกิด และทำให้เกิดสิ่งที่มันเป็นตัวแทน ท่ามกลางสิ่งต่างๆ มากมาย ศีลมหาสนิทแสดงให้เห็นและนำมาซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ คือชีวิตฝ่ายวิญญาณและอาหารบำรุงชีวิตฝ่ายวิญญาณ;  การบูชายัญความรักที่ทำให้เราศักดิ์สิทธิ์; ชุมชนคริสตชนและความเป็นเอกภาพ;การประทับอยู่ของพระคริสตเจ้าในชีวิตของแต่ละบุคคลและในชีวิตของพระศาสนจักร;ธรรมล้ำลึกปัสกาซึ่งนำชีวิตนิรันดรมาให้

พิธีศีลมหาสนิทเป็นมื้ออาหารศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร? (CCC 1412)
    พิธีศีลมหาสนิทเป็นมื้ออาหารเพื่อการระลึกถึงซึ่งนำเอาอาหารค่ำมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเจ้าทรงจัดเลี้ยงกับบรรดาอัครสาวกในคืนก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์กลับมาอีก  มื้ออาหารที่มีการแบ่งปันกันมีลักษณะที่บ่งบอกถึงความสนิทสนม  อันหมายถึงบางสิ่งที่มากกว่าการรับประทานอาหาร ณ ที่นั้น  เขาเหล่านั้นผู้แบ่งปันความสุขใจจากมิตรภาพ รวมกลุ่มและมีส่วนร่วมในอาหารจานเดียวกัน  คำว่า “มิตรภาพ”(companionship) หมายถึง “การแบ่งขนมปังให้แก่กัน”  มื้ออาหารที่มีการแบ่งปันกันเป็นสัญลักษณ์สากลที่แสดงความเป็นเพื่อน
    พระเยซูเจ้าทรงทราบถึงความหมายลึกซึ้งที่เกี่ยวข้องกับมื้ออาหาร  เมื่อพระองค์ทรงตั้งศีลมหาสนิทขึ้นในช่วงเทศกาลกินเลี้ยงปัสกาของชาวยิว  มื้ออาหารปัสกาเตือนบรรดาประชาชนชาวยิวให้ระลึกถึงความดีงามและความซื่อสัตย์ของพระเจ้าผู้ทรงช่วยเหลือพวกเขาให้พ้นจากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์   “ปัสกา”ใหม่ที่พระเยซูเจ้าทรงกำหนดขึ้นนี้ เตือนให้เราระลึกถึงค่าไถ่ตัวเราจากการเป็นทาสของบาปและอำนาจแห่งความตาย
    ในพิธีศีลมหาสนิท พระเยซูเจ้าเสด็จมาอยู่กับเราในรูปของอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งทั้งสองสิ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์  ศีลมหาสนิทกลายเป็นอาหารบำรุงวิญญาณสำหรับเรา  หากปราศจากสิ่งนี้ความเชื่อของเราน่าจะย่อยยับอย่างแน่นอน  พิธีศีลมหาสนิทแสดงถึงการรับสิ่งล้ำค่าสำหรับวิญญาณที่สืบทอดมาถึงเรา นั่นคืองานเลี้ยงฉลองในสวรรค์ ที่ซึ่งเราจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและกับพี่น้องของเราที่ได้ล่วงลับไปก่อนแล้ว

ขนมปังในพิธีศีลมหาสนิทหมายถึงอะไร? (CCC 1412)
    ขนมปังเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของความมีชีวิต  ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหนมันก็เป็นอาหารพื้นฐานและบางทีก็เป็นอาหารเพียงอย่างเดียวสำหรับผู้คนจำนวนมาก  ขนมปังไร้เชื้อที่เราใช้ในพิธีศีลมหาสนิทกลายเป็นพระกายของพระเยซูเจ้าสำหรับเรา  ในพิธีศีลมหาสนิทเราพบการประทับอยู่จริงของพระคริสตเจ้า จากนั้นเราบริโภคพระคริสต์เพื่อทำให้ตัวเรากลายเป็นพระวิหารของพระองค์ในโลกนี้
    การใช้ขนมปังไร้เชื้อในพิธีมิสซามีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ในท่ามกลางการกินปัสกาที่พระเยซูเจ้าทรงจัดเลี้ยงกับบรรดาศิษย์ ขนมปังไร้เชื้อคือสิ่งช่วยเตือนความจำเรื่องความเร่งรีบของประชาชนชาวยิวที่หลบหนีออกจากประเทศอียิปต์ในสมัยของโมเสส  พวกเขาไม่มีเวลาพอที่จะรอให้ขนมปังฟูขึ้น  เราใช้ขนมปังไร้เชื้อเพื่อเตือนว่าเราเองก็เป็นผู้เดินทางเช่นกัน  เรายังไปไม่ถึงอาณาจักรสวรรค์และยังต้องพึ่งพาอาศัยความช่วยเหลือจากพระเจ้าอย่างเต็มที่

เหล้าองุ่นในพิธีศีลมหาสนิทหมายถึงอะไร? (CCC 1412)
    ในหลายๆ วัฒนธรรม เหล้าองุ่นเป็นเครื่องดื่มที่มีอยู่ปกติในมื้ออาหาร  และในตะวันออกกลางที่พระเยซูเจ้าทรงเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายก็เช่นกัน  เหล้าองุ่นเป็นเครื่องดื่มเพื่อความเบิกบานในการสังสรรค์  ในระหว่างพิธีศีลมหาสนิทเหล้าองุ่นจะได้รับการเสกและกลายเป็นพระโลหิตของพระเยซูเจ้าสำหรับเรา  ในเหล้าองุ่นเราพบการประทับอยู่จริงของพระเยซูเจ้า และด้วยการบริโภคเหล้าองุ่นที่เสกแล้ว ทำให้เรามีส่วนร่วมการถวายยัญบูชาของพระองค์ด้วยความรักเพื่อประโยชน์ของชาวโลก   บ่อยครั้งที่เลือดในพระคัมภีร์เป็นสัญลักษณ์ของการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างพระเจ้ากับประชากรของพระองค์  พระเยซูเจ้าทรงมอบพระโลหิตของพระองค์เองให้เป็นเครื่องหมายของพันธสัญญาใหม่ระหว่างพระเจ้ากับประชากรของพระองค์

พิธีศีลมหาสนิทเป็นการถวายยัญบูชาได้อย่างไร? (CCC 1333-1334)
    สัญลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของงานเลี้ยงปัสกาก็คือ ลูกแกะปัสกา ซึ่งชาวยิวถวายเป็นเครื่องบูชาสำหรับพระเจ้า  พระเยซูเจ้าทรงกลายเป็นลูกแกะใหม่ อันเป็นเครื่องบูชาที่วิเศษสุด เพราะทรงมอบชีวิตของพระองค์เพื่อเราทุกคน  งานเลี้ยงปัสกาแสดงให้เห็นพันธสัญญาเดิม  ส่วนความตายและการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้าเป็นการเริ่มพันธสัญญาใหม่อย่างเป็นทางการ
    คำว่า “ยัญบูชา” (Sacrifice) มาจากคำในภาษาลาตินหมายถึง “ทำให้ศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ทำบางอย่างที่ศักดิ์สิทธิ์”  ความศักดิ์สิทธิ์หมายถึง การแบ่งปันชีวิต, ความเป็นอยู่และความรักของพระเจ้า มีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่สามารถทำให้เราเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ได้  จุดประสงค์ของการถวายยัญบูชาแด่พระเจ้าก็คือ การบูชาพระเจ้าและการยอมรับว่าพระเจ้าทรงเป็นบ่อเกิดชีวิตของเราอีกทั้งเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง   เรายังต้องการถวายยัญบูชาเพื่อชดเชยบาป, ขอบพระคุณสำหรับความดีงามของพระเจ้า และอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า
    พระแท่นเป็นตัวแทนอย่างดีเยี่ยมทั้งเรื่องการเลี้ยงอาหารและการใช้ศีลมหาสนิทเป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องบูชา  มันเป็นพระแท่นสำหรับการถวายยัญบูชาและเป็นโต๊ะอาหารของพระคริสตเจ้า  ยิ่งกว่านั้นพระแท่นยังเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระเยซูเจ้าเอง ซึ่งเป็นผู้รับเคราะห์เพื่อเราจะได้กลับคืนดีกับพระเจ้าและเป็นอาหารจากสวรรค์สำหรับเรา
    คาทอลิกเชื่อว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ริเริ่มพิธีศีลมหาสนิทขึ้นในงานเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้าย  พิธีศีลมหาสนิทแทนการถวายยัญบูชาของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน ซึ่งเป็นเครื่องหมายสำคัญสุดที่แสดงถึงความรักของพระองค์สำหรับเรา  พระเยซูพระบุตรของพระเจ้ายังทรงเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ ผู้ทรงเป็นตัวแทนของเราเบื้องพระพักตร์พระเจ้า ผ่านทางพระเยซูเจ้ามนุษย์ทุกคนจะได้รับและตอบสนองต่อการประทานความรักของพระเจ้า  พระเยซูเจ้าทรงมอบพระองค์เองไว้ในพระหัตถ์ของพระบิดา การสละพระองค์เองอย่างเชื่อฟังทำให้พระองค์ทรงมอบชีวิตของพระองค์เพื่อมนุษยชาติ

จุดมุ่งหมายของการถวายยัญบูชาด้วยศีลมหาสนิทคืออะไร? (CCC 1356-1373; 1409-1410)
    เมื่อเราถวายยัญบูชาในพิธีมิสซา เรายังคงถูกทำให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์โดยการยอมรับและการมีชีวิตเลียนแบบพระเยซูคริสต์ผู้เป็นพี่ชายและพระผู้ไถ่ของเรา  การยอมรับความตายแบบสมัครใจของพระองค์แสดงให้เราเห็นว่าความรักคือหนทางที่นำไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์  เมื่อเราระลึกถึง, ทำการฉลอง, และพยายามใช้ชีวิตเพื่อเป็นยัญบูชาแบบพระองค์ ซึ่งเป็นหนทางแห่งความรักของพระองค์  แล้วเราก็จะกลายเป็นที่ประทับของพระเยซูเจ้าในโลกนี้

ศีลมหาสนิทได้ชื่อว่าศีลศักดิ์สิทธิ์ที่มีพระพร (the Blessed Sacrament) เพราะอะไร? (CCC1328-1330)
    ศีลมหาสนิทเป็นหัวใจของชีวิตคริสตชนคาทอลิก อีกทั้งเป็นแหล่งกำเนิด ศูนย์กลางและจุดสูงสุดของชีวิตที่ครบบริบูรณ์ของพระศาสนจักร  ศีลมหาสนิทเป็นศีลที่มีความสำคัญอันดับแรก ศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆก็มาจากศีลมหาสนิท และมุ่งไปสู่ศีลมหาสนิทเช่นกัน  และเราให้ชื่อว่าศีลศักดิ์สิทธิ์ “ที่มีพระพร” (blessed)  เพราะเป็นคำหนึ่งในพระคัมภีร์ที่หมายถึง“ความมีการเป็นอยู่อย่างแท้จริงของชีวิตพระเจ้าสำหรับเรา”   ศีลศักดิ์สิทธิ์ที่มีพระพร(Blessed Sacrament) จึงเป็นชื่อที่เหมาะสมสำหรับศีลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมอบพระคริสตเจ้าให้กับเรา

ทำไมเราจึงให้ชื่อศีลมหาสนิทว่าการเข้าร่วมอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Communion)? (CCC 1331-1332)
    การเข้าร่วม (Communion) หมายถึง “การรวมกันกับ”  การเข้าร่วมกับพระเยซูรวมเราเข้ากับพระเจ้าและกับคริสตชนทุกคน  มันช่วยให้เรามีพลังในการดำเนินชีวิตที่เปี่ยมด้วยความรักเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า  พระศาสนจักรสนับสนุนเราให้รับอาหารสำหรับความรอดพ้นเมื่อเราเข้าร่วมพิธีมิสซา  เราควรทำอย่างคู่ควรยิ่งและรู้ถึงสิ่งที่ศีลมหาสนิทเป็นอยู่  การรับอย่างคู่ควรหมายถึงการปราศจากบาปหนัก  พร้อมทั้งอดอาหารและเครื่องดื่มก่อนรับศีลมหาสนิทประมาณ 1 ชั่วโมง (ยกเว้นน้ำเปล่าและยา)
    เมื่อเรารับพระคริสตเจ้าในศีลมหาสนิทแล้ว เรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้า  ชีวิตของพระองค์เข้ามาอยู่ในเราและเปลี่ยนแปลงเรา  การเข้าร่วมกับพระคริสตเจ้าคุ้มครอง, เพิ่มเติม, และรื้อฟื้นพระหรรษทานแห่งศีลล้างบาป  ศีลมหาสนิทช่วยให้วิญญาณของเราเข้มแข็ง, อภัยบาปเบา, และช่วยปกป้องเราจากบาปหนักที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
    การรับพระคริสตเจ้าในการเข้าร่วมอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ช่วยให้เราจำพระคริสตเจ้าในพี่น้องชายหรือหญิงที่เป็นผู้ยากจนที่สุดได้ และรวมเราให้ใกล้ชิดกับพี่น้องคริสตชนชายหญิงของเรามากขึ้น  เรารับพระกายของพระคริสตเจ้าเพื่อเราจะได้กลับกลายเป็นพระกายของพระองค์  ศีลมหาสนิทในฐานะที่เป็นเครื่องหมายและเป็นต้นเหตุของการรวมเป็นหนึ่งเดียว กระตุ้นให้เราให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับคริสตชนทุกคน  การรับองค์พระผู้เป็นเจ้ายังทำให้เราสามารถมีส่วนร่วมในความอุดมสมบูรณ์ฝ่ายวิญญาณของคริสตชนผู้กล้าหาญทั้งมวลที่ได้ล่วงลับไปก่อนเรา

การประทับอยู่อย่างแท้จริงมุ่งหมายสิ่งใด? (CCC 1374-1381; 1413; 1418)
    คาทอลิกเชื่อว่าพระเยซูเจ้าประทับอยู่จริงท่ามกลางกลุ่มคนที่มารวมกันเพื่อนมัสการพระเจ้า  เรายังเชื่ออีกว่าพระเยซูเจ้าประทับในพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีศีลมหาสนิทในพระนามของพระคริสตเจ้า และในการประกาศพระวาจาของพระเจ้า  และที่สุดเราเชื่อว่าพระเยซูเจ้าประทับอยู่อย่างพิเศษสุดในปังและเหล้าองุ่นที่ได้รับการเสกแล้ว
    แน่นอนว่า วิธีการที่พระเยซูเจ้าประทับในศีลมหาสนิทนั้นก็เป็นสิ่งลี้ลับอันเป็นรากฐานของความเชื่อที่คริสตชนยังคงไตร่ตรองต่อไป  พระศาสนจักรใช้คำว่า “การเปลี่ยนสาร”(transubstantiation)  เพื่อแสดงว่า เมื่อมีการเสกปังและเหล้าองุ่นในพิธีมิสซา ทั้งปังและเหล้าองุ่นได้เปลี่ยนเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซูเจ้า  จากที่กล่าวมานี้เราไม่ได้หมายถึงร่างกายที่เป็นตัวตนของพระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธบุคคลในประวัติศาสตร์ แต่เป็นความจริงอันลึกซึ้งยิ่งกว่า  นั่นคือเป็นพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ที่มีพระกายและพระโลหิตอันน่าสรรเสริญและพระเทวภาพแห่งพระบุคคลที่สองในพระตรีเอกภาพ  การรับการประทับอยู่จริงในปังหรือเหล้าองุ่นที่เสกแล้วเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นการรับพระคริสต์ครบทั้งองค์  เพราะพระองค์ประทับอยู่อย่างสมบูรณ์ในทั้งสองสิ่ง
    การประทับอยู่ขององค์พระผู้เป็นเจ้าของเราในปังและเหล้าองุ่นที่ได้รับการเสกแล้วมีอยู่ถาวร  ในโบสถ์คาทอลิกศีลมหาสนิทจะถูกเก็บรักษาไว้ในตู้ศีล ในกล่องหรือตู้ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งจะถูกติดไว้ในวัดน้อย ที่ปกติตั้งอยู่ด้านข้างเพื่อเป็นสถานที่สำหรับเฝ้าศีล หรือไม่ก็ติดไว้บริเวณพระแท่นเล็กที่อยู่ด้านข้าง  การเฝ้าศีลเป็นการภาวนารูปแบบหนึ่งที่คาทอลิกหลายคนได้พบอาหารบำรุงวิญญาณที่ดีเลิศ โดยใช้การภาวนาและการไตร่ตรองถึงการประทับอยู่ในศีลมหาสนิทที่ถูกเก็บไว้ ณ ที่นั้น

คำว่า ”มิสซา” หมายถึงอะไร? (CCC1232)
    คำว่า “มิสซา” หรือ Massมาจากคำในภาษาลาตินซึ่งถูกนำมาใช้กล่าวในช่วงการส่งออกไปว่า “Ite missa est” ซึ่งหมายถึง “ไป! ท่านถูกส่งไป” คำนี้เตือนเราถึงหน้าที่ที่จะต้องรักและรับใช้องค์พระเป็นเจ้าซึ่งอยู่ในเพื่อนมนุษย์ทุกคนที่เราได้พบ  เมื่อเรา  “หักปัง” ในพระนามของพระเยซูเจ้า เรากำลังร่วมฉลองการเข้าร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับคนอื่นๆ และกำลังรับแหล่งกำเนิดชีวิตของเรานั่นคือพระเยซูเจ้าองค์พระผู้เป็นเจ้า  ในมื้ออาหารศักดิ์สิทธิ์นี้ พระองค์ทรงเตือนเราให้นำพระองค์ออกไปในโลกที่กำลังต้องการความรักของพระองค์อย่างที่สุด

พิธีศีลมหาสนิทเป็นจารีตหนึ่งได้อย่างไร? (CCC 1099; 1324-1327)
    พิธีมิสซาเป็นจารีตทางศาสนาอย่างหนึ่งเหมือนพิธีกรรมอื่นๆ และเป็นการรื้อฟื้นพันธสัญญาใหม่นั่นก็คือพระเยซูคริสตเจ้า  ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ที่เราเฉลิมฉลอง  จารีตเกี่ยวกับพิธีศีลมหาสนิทเป็นอนุสรณ์ที่ถูกออกแบบไว้ระลึกถึงเหตุการณ์ต่างๆที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำเพื่อความรอดพ้นของเรา  อนุสรณ์นี้กระทำ 3 สิ่ง คือ (1) มันเฉลิมฉลอง รื้อฟื้น และเป็นระลึกถึงการไถ่บาปของเราในอดีตนั่นคือชีวิต, ความตาย, และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า; (2) มันเฉลิมฉลองธรรมล้ำลึกปัสกาที่เปิดเผยออกมาในช่วงเวลาของเรา; และ(3) มันให้ความสนใจกับอนาคตของพระศาสนจักรและการมีชีวิตร่วมกับองค์พระผู้เป็นเจ้าในงานเลี้ยงนิรันดรบนสวรรค์

ขั้นตอนในพิธีมิสซามีอะไรบ้าง? (CCC 1345-1355; 1408)
    พิธีมิสซาประกอบด้วย พิธีการเกริ่นนำ ภาควจนพิธีกรรม ภาคบูชาขอบพระคุณ และพิธีการปิด   ในภาควจนพิธีกรรม เราฟังพระวาจาของพระเจ้าที่ถูกประกาศในการอ่านพระคัมภีร์และได้รับอาหารบำรุงฝ่ายวิญญาณจากพระวาจาที่ได้ฟัง  เราถูกเรียกร้องให้นำพระวาจามาเป็นส่วนของชีวิตเราและเชื่อฟังพระวาจา  ในภาคบูชาขอบพระคุณ เราทำตามพระวาจาอย่างเที่ยงตรงโดยการถวายคำสรรเสริญและแสดงความขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับชีวิต, ความตาย, และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า เรามีส่วนร่วมอย่างสมบูรณ์ในพิธีบูชาขอบพระคุณเมื่อเราเข้าไปรับพระองค์ในศีลมหาสนิท

พิธีเกริ่นนำ
•    การแห่เข้า: พิธิมิสซาเริ่มต้นด้วยขบวนแห่ พร้อมกับเพลงเริ่มพิธีที่เหมาะสม
•    การทักทาย: พระสงฆ์และสัตบุรุษทำเครื่องหมายมหากางเขน พระสงฆ์กล่าวทักทายสัตบุรุษและทุกคนตอบรับ
•    การสารภาพบาป: พระสงฆ์และสัตบุรุษยอมรับความบาปของตนและวอนขอการอภัยจากพระเจ้า
•    บทพระสิริรุ่งโรจน์: เพลงพระสิริรุ่งโรจน์จะถูกขับร้องเพื่อสรรเสริญและยอมรับในความดีงามของพระเป็นเจ้า
•    บทภาวนาของประธาน: พระสงฆ์กล่าวบทภาวนาเพื่อชักนำให้บรรดาสัตบุรุษเป็นหนึ่งเดียวกันและช่วยเตรียมพวกเขาให้พร้อมสำหรับคารวะกิจ

ภาควจนพิธีกรรม
•    บทอ่าน: บทอ่านที่หนึ่งตามปกติจะนำมาจากพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม บทอ่านที่สองมาจากพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ และบทอ่านที่สามมาจากหนึ่งในพระวรสาร โคลงกลอนที่เป็นบทเพลงสดุดีจะถูกอ่านระหว่างบทอ่านทั้งสองบท และบทอัลเลลูยาจะใช้ร้องก่อนการอ่านพระวรสาร
•    การเทศน์: ประธานในพิธี หรือสังฆานุกรจะเป็นผู้เทศน์เกี่ยวกับบทอ่าน เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
•    การประกาศความเชื่อ: บรรดาสัตบุรุษตอบรับความเชื่อเดียวกันของพวกเขาพร้อมกัน
•    บทภาวนาเพื่อมวลชน:  คำอ้อนวอนของชุมชนเพื่อความต้องการของพระศาสนจักร, โลก, ผู้มีอำนาจทางสังคม, บุคคล, และชุมชนท้องถิ่นถูกนำเสนอ

ภาคบูชาขอบพระคุณ
•    การเตรียมพระแท่นและเครื่องบูชา: เครื่องบูชาในพิธีคือปังและเหล้าองุ่นถูกนำมายังพระแท่นที่ถูกจัดไว้โดยขบวนแห่ ต่อจากนั้นมีการภาวนาเหนือเครื่องบูชา
•    บทขอบพระคุณ:  บทขอบพระคุณประกอบด้วย คำพูดของพระเยซูเจ้าที่ทรงกล่าวในงานเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้าย, การประกาศพระธรรมล้ำลึกแห่งความเชื่อ, และบทยอพระเกียรติท้ายบทหรือคำภาวนาสรรเสริญพระตรีเอกภาพ   บทขอบพระคุณมีหลากหลายให้เลือกใช้สำหรับโอกาสต่างๆ
•    การรับศีลมหาสนิท: ในขั้นตอนนี้ของพิธีมิสซา ประกอบด้วย บทข้าแต่พระบิดา  บทภาวนาวอนขอการช่วยให้รอดพ้น  บทภาวนาเพื่อสันติสุข (หลังบทภาวนานี้ มีการมอบสันติสุขให้แก่กันด้วยเครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง) และการบิปังในขณะที่มีการขับบทเพลงหรือท่องบท “ลูกแกะพระเจ้า”  หลังการรับศีลมหาสนิท พระสงฆ์ภาวนาวอนขอในนามของชุมชน
•    ปิดพิธี:  พิธีมิสซาจบด้วยการอวยพรปิดพิธีอย่างสง่า และการส่งออกเพื่อส่งผู้ร่วมพิธีออกไปทำหน้าที่ประกาศพระวรสารต่อไป

ในวันอาทิตย์เรามีภาระหน้าที่อะไร? (CCC 1382-1390; 1415; 1417)
    ในยุคแรกของพระศาสนจักร การฉลองพิธีศีลมหาสนิทเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นสิทธิพิเศษสุด และเป็นส่วนสำคัญของการเป็นคริสตชน แต่ในเวลาต่อมาพระศาสนจักรต้องออกกฎข้อหนึ่งเพื่อเตือนคาทอลิกทุกคนถึงภาระหน้าที่ในการนมัสการสรรเสริญพระคริสตเจ้าในศีลมหาสนิททุกอาทิตย์   การเข้าร่วมพิธีมิสซาอาทิตย์ละครั้งในวันอาทิตย์หรือวันเสาร์เย็นจึงเป็นที่เข้าใจกันอีกครั้งว่าคือรากฐานของชีวิตคาทอลิก   ในการไปร่วมพิธีมิสซา ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับความยากลำบากหรือไปอย่างง่ายๆ เราต้องไม่รู้สึกว่าเป็นการไปแสดงความรักต่อพระเจ้าและผู้เดินทางแสวงบุญร่วมกับเรา   เราต้องไปเพื่อเข้าร่วมและประกาศอย่างเป็นทางการว่าเราต้องการนมัสการและขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับของขวัญดีๆทั้งหมดที่พระองค์มอบให้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรอดพ้นของเราโดยอาศัยพระเยซูเจ้าบุตรของพระองค์
    เมื่อเรานึกถึงความหมายของพิธีกรรม (liturgy) ซึ่งก็คือ “งานเพื่อชุมชน”  เราพบว่าพระเยซูเจ้าเองตรัสกับเราว่าในการติดตามพระองค์เราต้องพยายามขึ้นอีกเพื่อให้ถึงจุดหมาย, ก้าวมาข้างหน้าและไม่ทำแบบธรรมดา  ชีวิตคริสตชนยังเป็นชีวิตที่อยู่แบบชุมชนหมายความว่า เราต้องช่วยเหลือกัน ให้กำลังใจและรักกัน   ที่ยิ่งกว่าสิ่งใดคือเราต้องการพระเจ้า  เราต้องการพระวาจาของพระเจ้าเพื่อบำรุงเลี้ยงและกระตุ้นเรา  เราต้องการพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิทเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเราและทำให้เราคล้ายกับพระองค์

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
21179
13335
64822
177340
306218
35921062
Your IP: 3.139.238.76
2024-04-19 21:54

สถานะการเยี่ยมชม

มี 302 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์