แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

Sacraments

ศีลศักดิ์สิทธิ์ : ชีวิตที่ประกอบด้วยพระหรรษทาน
เราต้องการเครื่องหมายเพราะเราเป็นมนุษย์ที่มีตัวตน เราต้องการเครื่องหมายที่ประสาทสัมผัสของเรารับรู้ได้ เพื่อช่วยแสดงความจริงที่มองไม่เห็น เช่น ความรัก ความเคารพนับถือและความยำเกรง เราต้องการพูดและได้ยินข้อความเกี่ยวกับความรัก, ให้และรับของขวัญ, จับมือ, แสดงความเคารพ, และโอบกอด, เขียนและรับข้อความที่บอกถึงความสำนึกบุญคุณ และใช้สัญลักษณ์หรือการกระทำที่เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ  มากมายเพื่อแสดงถึงความเข้าใจอันลึกซึ้งที่สุดซึ่งมนุษย์เรียนรู้ด้วยตัวเอง นี่คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนอื่น  และมันก็เป็นความจริงที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าด้วย

    ศีลศักดิ์สิทธิ์และชีวิตศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งสำคัญอย่างแน่นอนสำหรับลักษณะพิเศษและความเชื่อของคริสตชนคาทอลิก  โดยที่ทั้งสองสิ่งนี้จัดเตรียมเครื่องหมายภายนอกและจารีตพิธีกรรมที่ทรงคุณค่าให้กับเรา เพื่อให้เราได้แสดงสิ่งที่เราเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระองค์  การครุ่นคิดถึงความหมายและชื่นชมสิ่งที่สัญลักษณ์และพิธีกรรมเหล่านั้นเป็นตัวแทนนั่นคือการประทับอยู่ของพระเจ้าตลอดเวลาในชีวิตเรา เป็นการพัฒนาความเข้าใจสิ่งที่คริสตชนคาทอลิกยึดถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่ามาก  ในความหมายหนึ่งที่แท้จริง ศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายก็คือสิ่งที่เป็นตัวแทนข่าวดีเรื่องความรักของพระเจ้านั่นเอง
ศีลศักดิ์สิทธิ์คืออะไร? (CCC 1115-1116; 1131)
    ศีลศักดิ์สิทธิ์ “เป็นเครื่องหมายที่ทรงประสิทธิภาพ”(efficacious sign) นั่นคือเป็นเครื่องหมาย (หรือสัญลักษณ์) ที่ก่อให้เกิดสิ่งที่มันมุ่งหวังและสิ่งที่มันเป็นตัวแทน  ดังที่เราพบในบทที่ 7  คำจำกัดความนี้เหมาะสมทั้งกับพระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์  ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการเป็นการทำงานแบบพิเศษของพระคริสต์ภายในพระศาสนจักร  และเป็นการกระทำอันเป็นสัญลักษณ์ที่มีประสิทธิภาพ คือไม่ใช่เพียงมุ่งไปที่ชีวิตของพระเจ้า  แต่ยังถ่ายทอดชีวิตของพระเจ้าให้กับสมาชิกทุกคนของพระศาสนจักรอย่างแท้จริง  ศีลศักดิ์สิทธิ์ก่อให้เกิดสิ่งที่มุ่งหวัง นั่นคือ การประทับอยู่ของพระคริสตเจ้า
อะไรคือเครื่องหมายที่แสดงถึงความรักของพระเจ้าสำหรับเรา? (CCC 1113; 1119-1121; 1132)
    พระศาสนจักรคาทอลิกยอมรับศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ เราเชื่อว่าพระคริสตเจ้าทรงมอบเครื่องหมายแห่งความรัก 7 ประการซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเราในช่วงเวลาที่สำคัญๆ ของชีวิตไว้กับชุมชนคริสตชน  เมื่อเราเริ่มต้นชีวิต ศีลล้างบาปรวมเราเข้ากับพระคริสตเจ้าผู้กลับคืนพระชนมชีพและกับบรรดาคริสตชนที่เป็นกลุ่มเดียวกับเรา เมื่อเราเจริญเติบโตเต็มที่และเริ่มยอมรับและดำเนินชีวิตคริสตชนอย่างสมบูรณ์ขึ้น   ศีลกำลังก็โปรยปรายพลังของพระจิตเจ้าให้เรา เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตอย่างซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า ศีลมหาสนิทอันเป็นดั่งมื้ออาหารศักดิ์สิทธิ์เพื่อระลึกถึงและทำซ้ำการถวายบูชาของพระคริสตเจ้าบนไม้กางเขน เป็นสัญลักษณ์และทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า
    เมื่อเรารู้สึกละอายต่อบาป และต้องการคืนดีกับพระเจ้าและรับการอภัย  เรารับรู้ความรักซึ่งยอมให้อภัยของพระคริสตเจ้าในศีลอภัยบาป  และในยามที่เจ็บป่วยอย่างหนัก ศีลเจิมคนไข้มอบความเมตตา, การอภัยความผิด, ความกล้าหาญ และความหวังของพระเจ้าให้เรา
    พระเยซูเจ้าประทับอยู่กับเราขณะที่เราตัดสินใจทำตามกระแสเรียกของเรา  บุคคลเหล่านี้ที่ได้ถูกเรียกให้มารับใช้พระศาสนจักรในฐานะสังฆานุกร พระสงฆ์ หรือพระสังฆราชได้รับการสนับสนุนผ่านทางศีลบวช  พวกคนที่ถูกเรียกให้มารับศีลสมรสก็ได้รับมอบหมายให้เป็นสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้อันแสดงความรักของพระเจ้า โดยอาศัยความซื่อสัตย์ของพวกเขาที่มีให้กัน

ศีลศักดิ์สิทธิ์ทำอะไร? (CCC 1123-1124; 1130; 1133-1134)
    ศีลศักดิ์สิทธิ์ทำให้ธรรมล้ำลึกของพระเจ้า เป็นสิ่งที่เราสามารถมองเห็นได้
(จุดประสงค์ของศีลศักดิ์สิทธิ์) คือทำให้ศักดิ์สิทธิ์ สร้างพระกายของพระคริสตเจ้า และในท้ายที่สุด ถวายคารวะกิจแด่พระเจ้า  ด้วยเหตุที่ศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นเครื่องหมาย มันจึงสอนเราด้วย  ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ไม่ใช่แค่เกิดขึ้นเพราะความเชื่อ แต่อาศัยคำพูดและสิ่งของทั้งหลายในศีลศักดิ์สิทธิ์ทำให้มันช่วยบำรุงเลี้ยง และเพิ่มพลังความเชื่อ  อีกทั้งแสดงออกถึงความเชื่อด้วย
                                                      ธรรมนูญเรื่อง พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์, ข้อ 59

อะไรคือคำจำกัดความของศีลศักดิ์สิทธิ์ตามที่ได้สืบทอดกันมา? (CCC 1131; 1084)
    หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (ข้อ 1131) ยืนยันคำจำกัดความดั้งเดิมของคำว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์ ดังนี้ “เป็นเครื่องหมายทรงประสิทธิภาพของพระหรรษทานที่พระคริสตเจ้าทรงตั้งขึ้น และมอบหมายให้พระศาสนจักรปฏิบัติ เพื่อเป็นวิถีทางสำหรับการแจกจ่ายชีวิตพระแก่เรา”
•    เครื่องหมายที่ทรงประสิทธิภาพ
นักบุญออกัสตินให้คำอธิบายถึงศีลศักดิ์สิทธิ์ว่าเป็น “เครื่องหมายที่มองเห็นได้แห่งพระหรรษทานที่ไม่สามารถเห็นได้”  ผ่านคำพูดและการกระทำ เราจึงสามารถรับรู้ และรู้สึกเชื่อความจริงเกี่ยวกับจิตวิญญาณที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสของเรา  เรารู้ว่ามีบางอย่างที่สำคัญกำลังเกิดขึ้นเบื้องหลังเครื่องหมายภายนอกเหล่านี้ ซึ่งทำให้เกิดสิ่งที่เครื่องหมายทั้งหลายบ่งบอก  เรากำลังเฉลิมฉลองการประทับอยู่ของพระคริสตเจ้า และมิตรภาพของพระเจ้ากับประชากรของพระองค์ที่กำลังผ่านเข้าสู่ชีวิตของเรา
•    โดยพระคริสตเจ้าเป็นผู้จัดตั้งและมอบให้พระศาสนจักร 
พระคริสตเจ้าทรงมาสั่งสอนข่าวดี และก่อตั้งพระอาณาจักรของพระบิดาโดยอาศัยการนำและพละกำลังของพระจิตเจ้า  พระศาสนจักรได้ทำให้ศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประการเป็นดั่งเครื่องหมายพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะต่างๆกัน  แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้าเหมือนกัน  ด้วยการกระทำของพระเจ้า ไม่ใช่การกระทำของมนุษย์นี่เอง ศีลศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นดังที่กล่าวมา
•    เพื่อมอบพระหรรษทานซึ่งก็คือชีวิตพระแก่เรา
จุดประสงค์ของศีลศักดิ์สิทธิ์คือการนำมาซึ่งพระหรรษทาน คำว่า“พระหรรษทาน”เป็นคำศัพท์ที่คาทอลิกใช้สืบต่อกันมา เพื่อหมายถึงการมีส่วนร่วมของเราในชีวิตของพระเจ้า  พระหรรษทานเป็นของขวัญที่แสดงมิตรภาพของพระเจ้า ซึ่งมอบให้เราเปล่าๆ เพื่อเราจะสามารถมีชีวิตในฐานะบุตรบุญธรรมของพระองค์
    ศีลศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้เป็นการใช้เวทมนตร์  ศีลศักดิ์สิทธิ์จะเกิดผลได้ เพราะเรามีความซื่อสัตย์, ความศรัทธา และความร่วมมือ  เราต้องตอบสนองต่อศีลศักดิ์สิทธิ์และดำเนินชีวิตอยู่ในพระหรรษทาน คือการใช้ชีวิตแบบพระเจ้า
ศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นเครื่องหมายที่มนุษย์เข้าใจได้(ถ้อยคำและการกระทำ) และธรรมชาติของมนุษย์เรารับมาใช้ได้ง่าย  โดยอาศัยการทำงานของพระคริสตเจ้าและอำนาจของพระจิตเจ้า ศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทำให้พระหรรษทานซึ่งศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นระบุถึงปรากฏอย่างมีประสิทธิภาพ
                           -หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก, ข้อ 1084

พิธีกรรมคืออะไร?(CCC 1069; 1074-1075)
    การนมัสการพระเจ้าแบบส่วนรวมเป็นที่รู้จักในชื่อว่า “พิธีกรรม” (Liturgy) มาจากคำในภาษากรีกหมายถึง “งานเพื่อชุมชน”  พิธีกรรมประกอบด้วยพิธีมิสซาและพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ, การทำวัตร, และแบบแผนหรือพิธีทางศาสนาที่จัดขึ้นในโอกาสพิเศษเช่น การอภิเษกพระสังฆราชหรือการเสกวัดใหม่  พิธีกรรมของคริสตชนจะใช้ถ้อยคำ การกระทำและสัญลักษณ์ต่างๆ สำหรับฉลองการประทับอยู่ของพระเจ้าท่ามกลางเรา อีกทั้งยังเป็นเครื่องเตือนให้เรารู้ว่าเราเป็นใครและจะต้องดำเนินชีวิตอย่างไรเพื่อให้สัมพันธ์กับพระเจ้าผู้เป็นที่รักของเรา  โดยทางพิธีกรรม เราสรรเสริญและบูชาพระเจ้าในฐานะผู้เป็นที่มาของพรทั้งมวล
พระศาสนจักรประกาศและฉลองธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าในพิธีกรรม เพื่อให้ผู้ที่มีความเชื่อสามารถดำเนินชีวิตแบบพระคริสต์ จนเป็นพยานยืนยันถึงธรรมล้ำลึกนี้ได้
                         -หนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก, ข้อ 1068
    พิธีกรรมคือ กิจกรรมอันเป็นพิธีซึ่งถูกจัดไว้อย่างมีระเบียบ  ทุกพิธีก่อให้เกิดการรวบรวมถ้อยคำ, การกระทำ, และสัญลักษณ์ทั้งหลายขึ้นเป็นลำดับที่สามารถจดจำได้ เพื่อสร้างสรรค์งานฉลองอันมีความหมายสำหรับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ  ศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประการเป็นพิธีที่สำคัญของพระศาสนจักร

 

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:22-30) เวลานั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม และเป็นฤดูหนาว พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินอยู่ในพระวิหารที่เฉลียงซาโลมอน ชาวยิวมาล้อมพระองค์ไว้ ทูลว่า “ท่านจะปล่อยให้ใจของพวกเราสงสัยอยู่นานเท่าใด ถ้าท่านเป็นพระคริสตเจ้า ก็จงบอกพวกเราให้ชัดเจนเถิด”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
12069
9039
53227
262760
306218
36006482
Your IP: 3.138.113.188
2024-04-24 23:43

สถานะการเยี่ยมชม

มี 247 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์