แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ความยุติธรรมทางสังคม :ในรูปการก่อตั้งมูลนิธิ
คำสอนที่เกี่ยวกับศีลธรรมของคาทอลิกให้ความสนใจกับความยุติธรรมทางสังคม เพราะความยุติธรรมทางสังคมนำเอาคำสั่งในพระวรสารที่ให้เคารพและรักผู้อื่นมาปฏิบัติให้เป็นความจริงของชีวิตอย่างชัดเจน  พระวรสารไม่ได้ถูกบันทึกไว้เป็นถ้อยแถลงแบบคลุมเครือ ซึ่งยึดถืออุดมคติโดยไม่มีความเชื่อมโยงกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของคน   ในทางตรงกันข้ามพระวรสารเรียกร้องให้เกิดการนำเอาไปใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางสังคมซึ่งเราเข้าใจตัวเองอย่างแท้จริงและรู้ว่าตนเองต้องการทำสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นสังคมระดับครอบครัว ประเทศชาติ และสังคมโลก

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับครอบครัวอย่างไร? (CCC 1655-1658; 1666)
    ส่วนที่เป็นพื้นฐานของสังคมใดๆก็คือครอบครัว คุณค่าพิเศษของครอบครัวปรากฏในรูปความสมัครใจที่จะยอมรับและรักซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้มีสาเหตุจากการที่พวกเขาแต่ละคนประสบความสำเร็จหรือมีทรัพย์สมบัติครอบครอง แต่เพียงแค่พวกเขาเป็นตัวของเขาเอง  คู่สมรสที่แต่งงานแล้วเป็นตัวอย่างความรักของพระคริสตเจ้าที่มีต่อพระศาสนจักร  ความรักของพระองค์เป็นอมตะและเป็นการเสียสละตนเอง  การแต่งงานเป็นทั้งการรับผิดชอบความรักร่วมกันระหว่างสามีภรรยาและการให้ชีวิตแก่กัน  คุณค่าของชีวิตและคุณค่าของความรักที่เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดทำให้เกิดพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับสังคมที่มีขนาดใหญ่กว่า

ความเชื่อใดที่ทำให้พระศาสนจักรต้องสอนเรื่องที่สำคัญกับประเทศ? (CCC 1905-1917; 1924-1927)
    ทุกประเทศจะต้องใส่ใจกับเรื่องราว, ปัญหาและสิทธิต่างๆที่เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของประชาชน เพื่อจะได้ช่วยกันรักษาความดีส่วนรวม  หัวข้อที่จะอภิปรายกันถัดจากนี้คือ การให้ความสำคัญต่อชีวิตที่อยู่ในครรภ์มารดา, สตรีในสังคม, การให้ความเคารพต่อทุกเชื้อชาติและทุกกลุ่มชาติพันธุ์, การจ้างงานและความยากจน ได้รับการกล่าวถึงบ่อยๆ ทั้งในพระสมณสาส์นของพระสันตะปาปา และเอกสารของสภาพระสังฆราชหลายฉบับ

ทัศนคติของพระศาสนจักรต่อทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาเป็นอย่างไร? (CCC 2268-2283; 2322-2325)
    พระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอนเรื่องความจำเป็นที่ต้องดูแลผู้อ่อนแอและผู้ขาดที่พึ่งไว้อย่างชัดเจนที่สุดในข้อสัญญาของพระองค์  สิทธิพื้นฐานของการมีชีวิตโดยตัวของมันเองต้องได้รับการยอมรับเป็นสิ่งแรก ต่อจากนั้นต้องได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายเพื่อส่งเสริมความดีส่วนร่วม ตัวอย่างเช่น ความพยายามที่จะปรับปรุงคำตัดสินที่อนุญาตให้มีการทำแท้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นวิธีการหนึ่งที่จะแก้ไขการทำลายชีวิตมนุษย์
    สังคมยังจำเป็นต้องเสนอการสนับสนุนและช่วยเหลือบรรดาสตรีที่เชื่อว่า การทำแท้งเป็นทางเลือกเดียวเมื่อต้องเผชิญกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์  พระศาสนจักรควรเป็นพวกแรกที่เต็มใจเสนอความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่สตรีเหล่านั้นและบุตรของพวกเธอ ทั้งระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด  พระศาสนจักรต้องจัดหาสิ่งที่เป็นพยานยืนยันถึงความเชื่อของพระศาสนจักรในเรื่องศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ โดยคอยดูแลความต้องการทางด้านกายภาพ, อารมณ์ และจิตวิญญาณของบรรดาครอบครัวเหล่านี้
    ศักดิ์ศรีพื้นฐานของมนุษย์เราที่ถูกสร้างมาให้เป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้าและมีความเหมือนพระองค์ เป็นเหตุให้เราเอาใจใส่และให้ความเคารพนับถือชีวิตมนุษย์   ชีวิตเป็นของขวัญจากพระเจ้าที่มีค่ามากที่สุด   การทำแท้งเป็นความผิดอย่างมหันต์ ซึ่งเหมือนกับการทำร้ายชีวิตมนุษย์โดยตรงด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การฆ่าทารก. การทำการุญฆาต และการทดลองทางวิทยาศาสตร์บางอย่างกับตัวอ่อนในครรภ์

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับการแบ่งแยกอย่างไร? (CCC 1934-1938; 1945-1947)
    ด้วยเหตุว่าพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์แต่ละคนขึ้นมาพร้อมกับธรรมชาติของมนุษย์ที่มีเกียรติขั้นพื้นฐานและชะตากรรมร่วมอย่างหนึ่ง  มนุษย์ทุกคนจึงเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง  การแบ่งแยกกันไม่ว่าด้วยเรื่องเพศ, เชื้อชาติ, สีผิว, ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม, ภาษา, ชาติกำเนิด, วิถีทางเพศ(sexual orientation) หรือการนับถือศาสนา ล้วนเป็นเรื่องผิดศีลธรรมและขัดแย้งกับความรักของพระเจ้าที่มีให้แต่ละคน
    แม้ว่ามนุษย์ทุกคนจะมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน  เราก็ยังคงมีพรสวรรค์และความสามารถแตกต่างกัน  ความแตกต่างเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในแผนการของพระเจ้าซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่มีทางจะเข้าใจได้ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เรามีความสามารถทำบางสิ่งได้อย่างดีเยี่ยม  หน้าที่ของเราคือการแบ่งปันพระพรของเรากับผู้อื่นด้วยใจเมตตาและพยายามหาทางที่ดีขึ้นสำหรับการต่อสู้กับความไม่เสมอภาคที่เกิดจากบาป

พระศาสนจักรมีท่าทีอย่างไรต่อการจ้างงาน? (CCC 2426-2436; 2458-2460)
    พระศาสนจักรได้กล่าวอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิของคนงาน :
ทุกคนมีสิทธิที่จะทำงาน, สิทธิที่จะได้โอกาสพัฒนาศักยภาพและบุคลิกภาพของเขาในการประกอบอาชีพ, สิทธิได้รับค่าตอบแทนที่เที่ยงธรรมซึ่งทำให้เขาและครอบครัว “สามารถสร้างชีวิตที่ควรได้รับการยกย่องทั้งด้านความเป็นอยู่, สังคม, วัฒนธรรมและจิตวิญญาณ” และสิทธิได้รับความช่วยเหลือในกรณีจำเป็นซึ่งเกิดจากการเจ็บป่วยหรือสูงอายุ
                               –A Call to Action, ข้อ 14
พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับความยากจนอย่างไร? (CCC 2443-2449)
    คณะพระสังฆราชชาวอเมริกันได้ให้คำจำกัดความ “ความยากจน” ว่าเป็น “การไม่ได้รับปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม” ( Economic Justice for ALL, ข้อ 173)  เอกสารด้านงานอภิบาลของพระสังฆราชอเมริกันเกี่ยวกับเศรษฐกิจให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีที่จะแก้ไขสถานการณ์เลวร้ายของคนยากจนไว้อย่างเป็นรูปธรรมมากมาย  ซึ่งรวมถึงการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ, การปรับอัตราภาษีให้เหมาะสมกับข้อจำกัดของคนยากจน, การทุ่มเทให้กับการให้การศึกษาและการกำจัดการไม่รู้หนังสือให้หมดไป, ให้การช่วยเหลือครอบครัวทั้งหลายอย่างดียิ่งขึ้น เพื่อผู้ที่เป็นบิดามารดาของลูกที่ยังเล็ก จะได้ไม่ต้องพยายามออกไปหางานทำนอกบ้าน และการปรับปรุงระบบสวัสดิการอย่างรอบคอบ
    ลัทธิบริโภคนิยมนำไปสู่ลัทธิวัตถุนิยมและทำให้ประชาชนไร้ความสุข  สื่อมวลชนเป็นต้นเหตุการกระจายความคิดว่า ใครมีมากกว่าก็จะประสบความสำเร็จได้มากกว่า  ลัทธิบริโภคนิยมซึ่งทำร้ายคนยากจน ทำให้ประชาชนคิดถึงแต่ตนเองและไม่สามารถทำให้ชีวิตได้รับความสมบูรณ์ตามชะตากรรมแท้จริงของมนุษย์
ความต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้นไม่ใช่สิ่งที่ผิด  ที่ผิดก็คือรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่เชื่อว่าดีขึ้น  ซึ่งมุ่งไปที่ “การมี” มากกว่า “การเป็น” และต้องการมีมากขึ้นไม่ใช่เพื่อเป็นอยู่ดีขึ้น  แต่เพื่อให้บั้นปลายชีวิตเต็มไปด้วยความเพลิดเพลิน
                                 -นักบุญพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2, The One Hundredth Year, ข้อ 36
พระศาสนจักรได้กล่าวถึงปัญหาทางสังคมเรื่องใดอีก?
•    ปัญหาอาชญากรรมและอาชญากร
ประชาชนมีสิทธิที่จะอาศัยอยู่อย่างสงบสุข และได้รับการปกป้องจากโจรผู้ร้าย  สังคมไม่ควรพอใจเพียงแค่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดขึ้น  แต่ควรพยายามบากบั่นในการกำจัดต้นเหตุของอาชญากรรมมากมาย ได้แก่ ความยากจน, ความอยุติธรรม และ ลัทธิวัตถุนิยม
    นักโทษในเรือนจำก็มีสิทธิต่างๆด้วย อาทิ สิทธิในการป้องกันตนเองจากการทำร้ายร่างกาย; สิทธิที่จะได้รับอาหารอย่างเหมาะสม, การดูแลด้านสุขภาพและการพักผ่อนหย่อนใจ; รวมทั้งสิทธิในการทำตามความมุ่งหมายอื่นๆ ของมนุษย์ เช่น การศึกษา
•    ปัญหาแรงงานต่างด้าว
สถานภาพของแรงงานต่างด้าว ได้รับการกล่าวถึงในเอกสารชื่อ ความยุติธรรมในโลก (Justice in the World โดย World Synod of Catholic Bishop, 1971) คนงานเหล่านี้มักจะโดนทำร้ายได้ง่ายเป็นพิเศษ และบ่อยครั้งก็ตกเป็นเหยื่อของทัศนคติต่างๆที่เกี่ยวกับการแบ่งแยกเชื้อชาติ และมีชีวิตอยู่ในสภาพถูกกดขี่  การอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อหางานบางครั้งก็เป็นการทำผิดแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้  แต่การย้ายถิ่นฐานเพื่อหางานทำจะต้องไม่กลายเป็นโอกาสสำหรับการแสวงหาผลประโยชน์ทางด้านการค้าและสังคมอย่างเด็ดขาด  (จาก On Human Work, ข้อ 23)
•    ปัญหาการสื่อสาร
ผู้ทำหน้าที่ควบคุมสื่อ จะต้องมี “ความรับผิดชอบอย่างสูง ในการให้ความเคารพต่อความถูกต้องของข้อมูลที่พวกเขาแพร่กระจายออกไป, ความต้องการและปฏิกิริยาตอบสนองที่พวกเขาสร้างขึ้น และคุณค่าต่างๆ ที่พวกเขาได้นำเสนอ”(จากA Call to Action, ข้อ 20) ด้วยเหตุนี้ พระสังฆราชชาวอเมริกันจึงเสนอแนะว่า รัฐบาลสามารถช่วยสร้างสังคมที่มีคุณภาพด้านศีลธรรมมากขึ้นได้ด้วยมาตรการควบคุมการหลั่งไหลของภาพและศิลปะที่ลามก, ความรุนแรงและความผิดศีลธรรมในสื่อบันเทิงทั้งหลาย (จาก To Live in Christ Jesus, ข้อ 30)
•    ปัญหาสิ่งแวดล้อม
เมื่อพระเป็นเจ้าทรงมอบความรับผิดชอบให้มนุษยชาติดูแลพัฒนาโลกที่ได้ทรงสร้างไว้  พระองค์ทรงทำให้เราเป็นเหมือนผู้จัดการการสร้างสรรค์ที่ดีเลิศของพระองค์  (อ้างอิง ปฐก1:28-30)นี่คือความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตามในทุกวันนี้ เราเริ่มตระหนักมากขึ้นว่าเราได้ใช้ธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ และขณะนี้เราเสี่ยงกับการทำลายมัน  สภาวะมลพิษ, ขยะ, ความขาดแคลนแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับชีวิต และโรคภัยใหม่ที่เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมการผลิตที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ และงานค้าขายต่างๆที่ถูกกระตุ้นโดยความเห็นแก่ตัวและความโลภของมนุษย์มากกว่าการคำนึงถึงความจำเป็นที่แท้จริงของเรา  ความรับผิดชอบต้องการการวางแผนที่รัดกุม, การอนุรักษ์ทรัพยากร และการให้ความเคารพด้วยความมีเมตตาต่อสิ่งของต่างๆ บนโลกนี้

พระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับปัญหาของโลกอย่างไร? (CCC 2437-2442)
    ความเอาใจใส่ของเราในเรื่องสิทธิของผู้อื่น ไม่ได้หยุดอยู่แค่คนในครอบครัวหรือในประเทศของเรา การติดตามพระเยซูเจ้าหมายถึงการรักมนุษย์ทุกคน คริสตชนในโลกปัจจุบันต้องแสดงความเอาใจใส่สังคมระหว่างประเทศด้วย ความรักและความยุติธรรมของคริสตชนกระตุ้นให้เราขยายการดูแลเอาใจใส่ออกไปนอกเขตประเทศของเรา
    สังคมโลกมีความต้องการอย่างรุนแรงที่จะทำให้เกิดความพยายามร่วมมือและสร้างสรรค์ เพื่อจัดการกับปัญหาคนหิวโหย, สภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ, การเพิ่มขึ้นของประชากร, ความไม่สอดคล้องกันของความร่ำรวยกับทรัพยากรของประเทศ และความรุนแรงที่คุกคามอย่างไม่ลดละ

พระศาสนจักรตอบสนองเรื่องราวเหล่านี้ของโลกอย่างไร? (CCC 2304-2305)
    นักบุญสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงเรียกร้องให้แต่ละบุคคล, ผู้นำชุมชนทั้งหลาย, สังคมทั้งหลายและทุกประเทศ เปลี่ยนความคิดและผละจากความโลภและลัทธิบริโภคนิยม พร้อมกับหันมาทุ่มเททำงานด้วยความเต็มใจเพื่อการพัฒนามนุษย์ทุกคนอย่างครบถ้วน  การพัฒนาที่แท้จริงเริ่มต้นด้วยความรักพระเจ้าและความรักเพื่อนมนุษย์  จากนั้นความรักทำให้ตัวเองปรากฎชัดด้วยการให้ความเคารพสิ่งสร้างทั้งมวลของพระเป็นเจ้า  ส่วนสำคัญที่พระศาสนจักรสมัยปัจจุบันเป็นห่วงก็คือ สิทธิของทุกประเทศที่จะพัฒนา และได้รับการปลดปล่อยให้พ้นจากการกดขี่รวมถึงสถานการณ์ทั้งหลายที่ทำให้คนยากจนต้องอยู่ในสภาพไม่คู่ควรกับศักดิ์ศรีของมนุษย์
    สาระสำคัญหนึ่งที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องในคำสอนของพระสันตะปาปาเกี่ยวกับประเทศที่กำลังพัฒนาคือ สิทธิของประเทศเหล่านั้นและประชาชนภายในประเทศที่จะควบคุมและกำหนดทิศทางกระบวนการพัฒนาตนเอง สิทธิที่จะพัฒนานี้รวมถึงความเติบโตทางเศรษฐกิจและการมีส่วนร่วมของการเมือง, สังคม และเศรษฐกิจในกระบวนการพัฒนา
    ยิ่งกว่านั้น พระศาสนจักรสอนว่า การเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าหมายถึงการอุทิศตัวเพื่อสันติภาพด้วยความรักอย่างยิ่ง  สันติภาพไม่ได้เป็นเพียงการปราศจากสงคราม แต่มันเป็นโครงการใหญ่ที่ประกอบด้วยความยุติธรรมและต้องถูกสร้างขึ้นอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...
วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 26:14-25) เวลานั้น คนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกสิบสองคน ชื่อ ยูดาส อิสคาริโอท ไปพบบรรดาหัวหน้าสมณะ ถามว่า “ถ้าข้าพเจ้ามอบเขาให้ท่าน ท่านจะให้อะไรแก่ข้าพเจ้า”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
13944
15812
52047
247317
326718
35684821
Your IP: 34.204.52.16
2024-03-28 22:36

สถานะการเยี่ยมชม

มี 686 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์