แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

โมเสสผู้ไม่เต็มใจพบพระเจ้า
ข้าพเจ้าชื่นชอบชีวิตคนเลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าชอบอยู่สงบเงียบนานๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝูงแกะของข้าพเจ้ามีความพอใจ แล้วชีวิตอันสงบราบรื่นนี้ก็ถึงเวลาที่ต้องยุติลงในวันที่ข้าพเจ้าพาฝูงแกะขึ้นไปบนภูเขาโฮเรบ ข้าพเจ้าตกใจที่เห็นพุ่มไม้มีไฟลุกโชน เปลวไฟขนาดใหญ่มากนี้ถ้ามีลมพัดผ่านย่อมก่อให้เกิดอันตรายได้ในทันทีแน่นอน แต่แทนที่ข้าพเจ้าจะได้เห็นพุ่มไม้ที่อยู่โดดเดี่ยวนั้นลุกเป็นไฟ กลับพบว่าทั้งใบและกิ่งทั้งหลายของมันยังคงเหมือนเดิม ความรู้สึกลี้ลับได้หุ้มห่อข้าพเจ้าไว้  ด้วยความตกตะลึง ข้าพเจ้าจึงเข้าไปใกล้สิ่งที่กำลังลุกเป็นไฟอยู่ ในขณะนั้นเองข้าพเจ้าก็ได้ยินเสียงจากกองไฟสั่งข้าพเจ้าว่า : “โมเสส !  ถอดรองเท้าของเจ้าออกเสียเพราะที่ตรงนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์” ด้วยความน่าเกรงขามและความกลัวที่กระทบจิตใจ ข้าพเจ้าจึงถอดรองเท้าออกและล้มลงกับพื้น หลับตา ไม่กล้าเงยหน้าขึ้นมา ข้าพเจ้าประหลาดใจว่าใครกำลังพูดกับข้าพเจ้า มันราวกับว่าข้าพเจ้ากำลังพบกับพระเจ้า

ในไม่ช้า ข้าพเจ้าได้ยินเสียงกล่าวว่า “เราเป็นพระเจ้าของบรรพบุรุษของท่าน เป็นพระเจ้าของอับราฮัม พระเจ้าของอิสอัคและพระเจ้าของยาโคบ เสียงร้องคร่ำครวญของทาสชาวอิสราเอลในอียิปต์ได้ขึ้นมาถึงสวรรค์ เราจึงรู้ถึงความเสียใจและได้ฟังความระทมทุกข์ของพวกเขา เราต้องการปลดปล่อยพวกเขา โมเสส,เราต้องการให้ท่านนำพวกเขาไปสู่อิสรภาพ”
ข้าพเจ้าค้านขึ้นว่า “ข้าพระองค์จะทำได้อย่างไร ข้าพระองค์เป็นเพียงคนเลี้ยงแกะ ไม่เคยผ่านการฝึกทางทหาร หรือไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการทูต แล้วจะทำเช่นนั้นได้หรือ?”
“เจ้าต้องเรียนรู้ว่าฤทธานุภาพศักดิ์สิทธิ์ของเราจะเกิดผลดีที่สุด
ในจิตใจที่อ่อนน้อม เรากระทำสิ่งต่างๆ ได้บรรลุเป้าหมายของเราในโลกนี้
ก็เพราะอาศัยบุคคลซึ่งพึ่งพาพละกำลังของเรามากกว่าใช้พละกำลังของตัวเขาเอง และฤทธานุภาพศักดิ์สิทธิ์ของเราจะสมบูรณ์ภายในความอ่อนแอของมนุษย์”
“เจ้าไม่ต้องกังวล ว่าเราจะทำเช่นนั้นไม่ได้?”
“เราจะอยู่กับเจ้า เราจะให้อำนาจและพลังความนึกคิดภายในตัวเจ้า เพื่อที่จะกระทำงานนี้ได้สำเร็จ”
ข้าพเจ้าโต้แย้งต่อไปว่า “พระองค์คือใคร? พระองค์ทรงพระนามว่าอะไร? ประชาชนคงต้องการรู้...ข้าพระองค์ก็ต้องการรู้”
“จงบอกพวกเขาว่า เราคือพระเจ้าองค์เดียวกันกับที่ได้เรียกอับราฮัมให้สร้างชาติใหม่ชาติหนึ่ง และประชากรในชาตินี้จะเป็นประชากรของเรา”
“แล้วพระองค์ทรงพระนามว่าอะไร?”
“ชื่อของเราคือ เราเป็น ให้ประชากรของเจ้ารู้ว่า พระเจ้าของพวกเขานั้นมิใช่เพียงเทพเจ้าแห่งธรรมชาติ มิใช่เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ของบาบิโลน มิใช่เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ของอียิปต์ มิใช่เทพเจ้าแห่งฝนและดินของชาวฟิลิสเตีย เราคือพระเจ้าแท้จริง,พระเจ้าพระบุคคล, บุคคลที่รู้จักเจ้าและรักเจ้าด้วยความรักที่ไม่สิ้นสุด”
“ภารกิจนี้ทำให้ข้าพระองค์หวาดกลัว ข้าพระองค์พูดไม่คล่อง ไม่มีวาทศิลป์ พวกเขาจะไม่เชื่อข้าพระองค์”
“เราจะให้ถ้อยคำที่เจ้าต้องใช้ และสอนเจ้าว่าต้องพูดอะไร”
“ข้าแต่พระเจ้า โปรดอภัยให้ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ไม่สามารถกระทำได้ ข้าพระองค์พูดตะกุกตะกัก โปรดทรงส่งผู้อื่นไปเถิด”
“โมเสส, เจ้ากำลังทดลองความอดทนของเรานะ เอาเถิด, เราจะให้มีคนช่วยเจ้า อาโรนพี่ชายของเจ้า เป็นคนที่พูดโน้มน้าวใจเก่ง เราจะให้ถ้อยคำที่เจ้าต้องพูดแก่เขา เขาจะช่วยพูดแทนเจ้า เราจะอยู่กับเจ้าและกับเขา เจ้าจะยอมรับการเรียกของเราไหม?”
“พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เชื่อในพระองค์ ข้าพระองค์จะกระทำตามที่พระองค์ตรัส”
ข้าพเจ้ามิใช่คนเลี้ยงแกะธรรมดาที่ดูแลฝูงแกะเล็กๆ อีกต่อไปแล้ว พระเจ้าได้ทรงเปิดเผยพระองค์แก่ข้าพเจ้า และทรงเรียกข้าพเจ้าให้เป็นผู้เลี้ยงดูประชากรชาวอิสราเอลของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้เห็นภาพของพระเจ้าผู้ทรงชีวิตที่เป็นไฟลุกโชน และสิ่งที่มาพร้อมกับภาพนั้นคือความรับผิดชอบที่จะทำให้ข้าพเจ้าเร่าร้อนตลอดชีวิตที่เหลืออยู่

ศาสนาของเราเริ่มจากการเปิดเผย
เรื่องโมเสส (อพย 3-4) เป็นเรื่องหนึ่งในจำนวนหลายๆ เรื่องเล่าในพระคัมภีร์ที่เน้นถึงคำสอนสำคัญประการหนึ่งในหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกที่กล่าวว่าพระเจ้านั้นเอง เป็นผู้ทรงเปิดเผยให้เรารู้แผนการอันเปี่ยมด้วยความรักที่จะช่วยเราให้พ้นจากบาปของเรา
เราค้นหาพระเจ้า และสามารถรู้จักพระองค์ได้โดยอาศัยสิ่งสร้างที่มองเห็น แต่เรายังต้องการการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ เพื่อที่จะรู้จักชีวิตภายในของพระเจ้า และรู้ว่าพระองค์ทรงรักเราอย่างไม่สิ้นสุดได้อย่างไร มีความรู้ประเภทหนึ่งที่เกี่ยวกับพระเจ้าซึ่งเราไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยความสามารถของเราเอง มีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่สามารถสอนสิ่งนี้แก่เราในการเปิดเผย (ความจริง)
พระเจ้าทรงเปิดเผยสิ่งนี้ทีละน้อยด้วยกิจการ และวาจามานานหลายศตวรรษ ในการจัดตั้งประชาชนชาวอิสราเอลให้เป็นดั่งชุมชนหนึ่งที่มีความเชื่อ พระเจ้าทรงเพาะเลี้ยงความหวังแห่งการช่วยให้รอดพ้น รวมทั้งความหวังในพันธสัญญาใหม่และนิรันดรซึ่งควรได้รับการจารึกลงในจิตใจมนุษย์ในพวกเขา พระเจ้าได้ตรัสกับบรรดาอัยกาของชาวอิสราเอล แล้วก็บรรดาประกาศกและสุดท้ายตรัสทาง
พระบุตรของพระองค์คือ พระเยซูคริสตเจ้าพระบุตรของพระเจ้าที่ทรงรับสภาพมนุษย์ เป็นพระวจนะของพระบิดาที่ถูกเปิดเผยโดยสมบูรณ์ นักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน บรรยายถึงความจริงข้อนี้ด้วยข้อความที่ยอดเยี่ยมคือ “ในการประทานพระบุตรของพระองค์แก่เรา พระองค์ตรัสทุกสิ่งทุกอย่างกับเราในครั้งเดียวโดยอาศัยพระวจนะองค์เดียว และพระเจ้าก็ไม่ทรงมีถ้อยคำอื่นใดอีกเลยที่จะประทานแก่เรา เนื่องจากว่าสิ่งที่พระองค์ได้ตรัสไว้เป็นตอนๆ แก่บรรดาประกาศกนั้นพระองค์ทรงนำมาตรัสอย่างครบถ้วนในเวลาเดียวกัน โดยทรงประทานพระวาจาทั้งหมด ซึ่งคือองค์พระบุตรให้แก่เรา” (Ascent of Mount Carmel 2,22)
ดังนั้นจึงไม่มีการเปิดเผยที่เป็นสาธารณะครั้งใหม่อีก ประวัติศาสตร์พระศาสนจักรคาทอลิกยังมีตัวอย่างของสิ่งที่เรียกว่า “การเปิดเผยส่วนตัว”
อยู่มากมาย ในการไตร่ตรองถึงเรื่องเหล่านี้เราควรจำไว้ว่า ไม่ว่าการเปิดเผยส่วนตัวทั้งหลายจะสอดคล้องกับการเปิดเผยที่เป็นสาธารณะในพระคัมภีร์และการตีความการเปิดเผยนั้นอย่างเป็นทางการโดยพระศาสนจักรหรือไม่ เราควรพิจารณาว่า การเปิดเผยนี้กำลังเสริมสร้างพระกายของพระคริสตเจ้าอย่างไร และบรรดาผู้ได้รับการเปิดเผยนั้นเป็นแบบอย่างความศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชนหรือไม่

การเปิดเผย (ความจริง) ถูกถ่ายทอดมาถึงเราได้อย่างไร?
การเปิดเผย (ความจริง) (Revelation) ถูกถ่ายทอดมาถึงเราโดยอาศัยการสืบทอดคริสตธรรมของอัครสาวก (the Apostolic Tradition)นั่นเอง ข้อความนี้หมายความว่าอะไร? ความหมายที่แท้จริงก็คือพระคริสตเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงทำให้การเปิดเผย (ความจริง) ของพระเจ้าสำเร็จสมบูรณ์ด้วยพระวาจาและกิจการของพระองค์ที่ช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากบาปของตน แล้วพระองค์ก็ทรงมอบหน้าที่ให้บรรดาอัครสาวกไปประกาศข่าวดีเรื่องความรอดพ้น และพระอาณาจักรที่บรรดาประกาศกได้สัญญาไว้ และสำเร็จสมบูรณ์ในพระธรรมล้ำลึกปัสกาของพระองค์
บรรดาอัครสาวกถ่ายทอดข่าวดีนี้ในสองวิธี คือ (1) การใช้วาจา (Orally) พวกเขาได้ประกาศสารแห่งการช่วยให้รอด โดยการเทศน์สอน การเป็นประจักษ์พยาน และสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น พวกเขาได้เทศน์สอนสิ่งที่พระเยซูเจ้าได้ทรงสอนพวกเขาไว้ และสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้จากการดลใจของพระจิตเจ้า (2) การเขียน (In Writing) สารแห่งการช่วยให้รอดเขียนขึ้นโดยบรรดาอัครสาวก และคนอื่นๆ ที่แวดล้อมอยู่รอบข้าง ภายใต้การดลใจของพระจิตเจ้า การสืบทอดคริสตธรรมของอัครสาวกนี้ต่อเนื่องมาในสิ่งที่เราเรียกว่า “การสืบทอดตำแหน่งของอัครสาวก” เพื่อให้มั่นใจว่าข่าวดีนี้จะถูกเก็บรักษาไว้ในพระศาสนจักร บรรดาอัครสาวกจึงแต่งตั้งพระสังฆราชทั้งหลายให้เป็นผู้สืบตำแหน่งต่อจากพวกเขา และมอบอำนาจการสั่งสอนของพวกท่านให้ด้วย การถ่ายทอดอย่างมีชีวิตชีวานี้ได้ชื่อว่า การสืบทอดคริสตธรรม ซึ่งแตกต่างออกไปจากพระคัมภีร์ แต่ก็เกี่ยวพันกับพระคัมภีร์อย่างใกล้ชิด
    การสืบทอดคริสตธรรมศักดิ์สิทธิ์และพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ถูกเกี่ยวโยงกันไว้อย่างเหนียวแน่น ทั้งสองมาจากบ่อเกิดของพระเจ้าเดียวกันคือการเปิดเผย (ความจริง)  พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เป็นพระวาจาของพระเจ้าที่ถูกบันทึกภายใต้การดลใจของพระจิตเจ้า การสืบทอดคริสตธรรมศักดิ์สิทธิ์นั้นก็ถ่ายทอดพระวาจาของพระเจ้าซึ่งบรรดา
อัครสาวกได้รับมอบจากพระเยซูเจ้าและพระจิตเจ้าต่อไป บรรดาคริสตชนรุ่นแรกยังมิได้มีพันธสัญญาใหม่ที่เป็นลายลักษณ์อักษร พันธสัญญาใหม่ในเวลานั้นเป็นพันธสัญญาใหม่ที่แสดงออกชัดแจ้งถึงแนวทางความเปลี่ยนการสืบทอดคริสตธรรมอันมีชีวิตชีวา
พระวาจาของพระเจ้าควรได้รับการอธิบายอย่างไร จะอาศัยรูปแบบข้อเขียนของพระวาจาหรืออาศัยการสืบทอดคริสตธรรมของพระศาสนจักร? ความรับผิดชอบในเรื่องนี้ถูกมอบหมายให้พระสังฆราชทั้งหลายในฐานะผู้สืบตำแหน่งจากบรรดาอัครสาวกร่วมกับพระสันตะปาปา ในฐานะผู้สืบตำแหน่งของนักบุญเปโตร หัวหน้าของบรรดาอัครสาวก เราเรียกตำแหน่งการสอนนี้ว่า ผู้มีอำนาจสั่งสอน (ในพระศาสนจักร) (the Magisterium) ผู้มีอำนาจสั่งสอน (ในพระศาสนจักร) มิได้เหนือกว่าพระวาจาของพระเจ้า แต่เป็นผู้รับใช้พระวาจา
การตีความพระวาจานี้ได้รับการสนับสนุนโดยความสำนึกเหนือธรรมชาติอันเกิดจากความเชื่อที่ประชากรของพระเจ้ารับไว้ด้วยความยินดี ในความเชื่อและการภาวนา พวกเขาเข้าใจถึงพระพรที่ได้รับโดยอาศัยการเปิดเผย (ความจริง) จากพระเจ้าลึกซึ้งยิ่งขึ้น และดำเนินชีวิตในพระพรด้วยความกล้าหาญมากขึ้น ขณะที่ไม่มีการเปิดเผยใหม่
อีกเลย ก็ได้มีการทำความเข้าใจและความสำนึกรู้คุณค่าการเปิดเผยเพิ่มเติมเรื่อยไป เพราะความเชื่อ, คำพยาน, และการไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งมากมายอยู่ภายใต้การแนะนำของพระจิตเจ้า


ที่มา : หนังสือคำสอนครอบครัว บทที่ 2

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
12762
13335
56405
168923
306218
35912645
Your IP: 3.135.183.89
2024-04-19 14:21

สถานะการเยี่ยมชม

มี 249 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์