แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ประชาคมที่กรุงโรม
ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าสาวกเริ่มเผยแพร่ศาสนาที่กรุงโรมตั้งแต่เมื่อใด  ปรากฏหลักฐานว่าในรัชสมัยของจักรพรรดิเคลาดิอุส (41-45) นั้น มีชาวยิวที่เป็นคริสต์อยู่ที่กรุงโรมแล้ว คนเหล่านี้ถูกให้ออกจากเมืองพร้อมกับชาวยิวอื่นๆ  โดยคำสั่งของจักรพรรดิ  จดหมายของปอลถึงชาวโรมประมาณปี 57 นั้น แสดงให้เห็นว่าประชาคมชาวคริสต์ที่นั่นเป็นประชาคมใหญ่และเข้มแข็ง
ไม่เป็นที่สงสัยว่าปอลได้ไปที่กรุงโรม ตามที่มีบันทึกไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก  แต่หลายคนก็สงสัยว่าเซนต์ปิเตอร์ได้ไปที่กรุงโรมจริงหรือไม่ ทั้งนี้เพราะการที่กรุงโรมได้กลายเป็นศูนย์กลางของพระศาสนจักร   เหตุผลหนึ่งก็เพราะว่า สาวกปิเตอร์ได้ไปที่นั่นและผู้สืบทอดตำแหน่งประมุขของพระศาสนจักรต่อมาก็ได้ถือเอาที่นั่นเป็นศูนย์กลาง  อย่างไรก็ดี  คงไม่เป็นเรื่องที่สำคัญมากไปกว่าความเชื่อที่ว่า พระเยซูได้ทรงก่อตั้งพระศาสนจักรและทรงโปรดให้ปิเตอร์เป็นผู้แทนของพระองค์เป็นประมุของค์แรก  เรื่องสถานที่คงไม่ใช่สิ่งสำคัญ  พระเยซูไม่เคยสอนสั่งเรื่องนี้ไว้
    เรื่องเกี่ยวกับประชาคมที่กรุงโรมที่รู้จักกันดีเพราะมีนักเขียนโรมันได้บันทึกเอาไว้    คือการยืนหยัดในความเชื่อของชาวคริสต์ที่นั่น  แม้จะถูกเบียดเบียนถูกทรมาน  ถูกประหารด้วยวิธีต่างๆ นับวันสมาชิกของประชาคมนี้ก็นับจะเพิ่มขึ้นและแพร่หลายออกไปสู่ที่อื่นๆ  ในอาณาจักรโรมันด้วย  เซนต์อิเรเนอุสซึ่งมีชีวิตอยู่ในปลายศตวรรษที่สองบันทึกไว้ว่า  ศูนย์กลางของศาสนาคริสต์เวลานั้นมีอยู่สองแห่งคือ  ที่กรุงโรมและทางเหนือของแอฟริกา  ทางเหนือขึ้นไปมีชาวคริสต์อยู่บริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำไรน์ (ตะวันตกของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในปัจจุบัน) และที่เมืองลีออง  นอกนั้นอยู่ที่เวียนนาและที่อื่นๆ  จากนั้นก็ค่อยๆ  แพร่หลายออกไปจนทั่วอาณาจักรโรมัน
    เดิมทีนั้นไม่มีความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาคมคริสต์ เพราะชาวโรมันมีการผ่อนปรนเรื่องศาสนาอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่า ที่กรุงโรมมีวิหารอยู่แห่งหนึ่งชื่อว่า Pantheon ซึ่งเป็นที่รวมของ “พระ”  ซึ่งชาวโรมันนำมาจากที่ที่ตนไปรบชนะมา    และเชื่อว่าพระเหล่านั้นจะช่วยเหลือพวกตนด้วย  แม้ว่าจะมีเทพเจ้าประจำชาติของตนอยู่แล้ว  นอกนั้น  ชาวโรมันเข้าใจว่า ศาสนาคริสต์เป็นเพียงนิกายหนึ่งของศาสนายูดายเท่านั้น ชาวโรมันไม่เห็นว่าการที่ชาวยิวนับถือพระเจ้าแต่องค์เดียวแตกต่างไปจากตนและคนอื่นๆ  ที่นับถือพระเจ้าหลายองค์จะเป็นปัญหาหรืออุปสรรค แต่ในที่สุดก็มีปัญหาความขัดแย้งและนำไปสู่การเบียดเบียนเพราะ  “ศาสนาใหม่ของคนต่างชาติ”  นี้มีลักษณะที่ไม่เหมือนศาสนาอื่นๆ
เริ่มจากการที่ชาวคริสต์ซึ่งถือว่าตนเองนับถือศาสนาที่เที่ยงแท้และพระเจ้าที่เที่ยงแท้ก็มีแต่พระเจ้าเดียวของตนเองเท่านั้น  จึงถือว่าเป็นการไม่ถูกต้องที่ตนจะต้องไปกราบไหว้รูปเคารพต่างๆ  เข้าร่วมพิธีกรรมและพิธีบูชาจักรพรรดิ  จึงเกิดความเข้าใจในหมู่คนทั่วไปว่า  ชาวคริสต์เป็นพวก “กาลี” ที่ทำให้เทพเจ้าทั้งหลายพิโรธ  เมื่อเกิดเหตุเพทภัยขึ้นมาเมื่อใด  ก็ยกให้เป็นความผิดของชาวคริสต์ซึ่งถูกถือว่าเป็น “พวกไม่มีพระเจ้า” นอกนั้น  พฤติกรรมของชาวคริสต์เองก็เป็นที่น่าสงสัย พวกเขาชุมนุมกันในบ้านของชาวคริสต์ผู้มีฐานะดีบางคนเพื่อทำพิธีกรรมทางศาสนา  ไม่ได้กระทำในที่สาธารณะเช่นคนอื่นๆ  ทำให้เป็นที่ระแวงสงสัยว่ากำลังร่วมวางแผนก่อการอะไรบางอย่าง  ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของอาณาจักรและต่อศาสนาของชาวโรมัน  เพราะจะทำให้ผู้คนกระด้างกระเดื่องต่ออุดมการณ์ศาสนาของรัฐซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้การปกครองดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย  ด้วยเหตุนี้  เมื่อกระแสข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่วและผู้คนเริ่มเกลียดชังชาวคริสต์  การเบียดเบียนก็เริ่มขึ้น การจำจอง  การทรมานและการประหารในสนามกีฬาด้วยวิธีการที่โหดร้ายก็ตามมา  นับแต่ผู้นำทุกระดับจนถึงฆราวาสไม่ยกเว้น 
การเบียดเบียนนี้เกิดขึ้นในอาณาจักรตะวันตก  โดยเฉพาะที่กรุงโรมเท่านั้น เพราะไม่ปรากฏว่ามีรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้จากพระศาสนจักรทางตะวันออก รายงานเกี่ยวกับการเบียดเบียนมีมากที่สุดในยุคของมาร์คุส เอาเรลีอุส (161-180 ) ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 2  จักรพรรดิเซปติมุส  เซเวรุสพยายามกำจัดศาสนาคริสต์ด้วยการห้าม “การเข้ารีต” การเบียดเบียนในยุคนี้ได้แผ่ขยายไปสู่แอฟริกาตอนเหนือ ซึ่งขึ้นต่ออาณาจักรโรมันด้วยและเป็นศูนย์กลางสำคัญอีกแห่งหนึ่งของชาวคริสต์โดยเฉพาะที่เมืองคาร์ทัส



ระหว่างปี  222-235  อเล็กซานเดอร์ เซเวรุสได้ผ่อนปรนการเบียดเบียนเนื่องจากสมาชิกในครอบครัวของตนเป็นคริสต์ด้วย  ชาวคริสต์จึงได้รับอนุญาตให้มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดินและทรัพย์สินได้  จึงได้มีการก่อสร้างสถานที่เพื่อการสวดมนต์และพิธีกรรมทางศาสนาขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก  แต่ก็ยังมีกิจกรรมอื่นๆ  ตามบ้านส่วนตัวและในกาตากอมบ์หรืออุโมงค์ใต้ดินตามที่เคยปฏิบัติกันมา
อาณาจักรโรมันเริ่มเข้าสู่วิกฤติทางการเมืองและเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 3 ขณะที่ศาสนาคริสต์เริ่มก่อตัวเป็นสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็ง ทำให้ฝ่ายปกครองของโรมันเห็นว่าศาสนาคริสต์เป็นภัยต่อเสถียรภาพของรัฐอย่างแท้จริง จึงเริ่มการเบียดเบียนครั้งใหญ่ทั่วอาณาจักรภายใต้การนำของจักรพรรดิเดซิอุส (249-251) โดยมีเป้าหมายที่จะกำจัดศาสนาคริสต์อย่างถอนรากถอนโคน นอกนั้นยังมีเหตุผลที่ว่า  ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ ฝ่ายปกครองได้จัดให้มีพิธีกรรมบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อให้พ้นภัย ชาวคริสต์ปฏิเสธที่จะร่วมพิธีกรรมดังกล่าวจึงยังให้เกิดความเกลียดชังมากยิ่งขึ้น การเบียด-เบียนดำเนินต่อไปจนถึงปลายศตวรรษ  แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า การเบียดเบียนในช่วงสุดท้ายนี้เป็นเรื่องของรัฐโดยที่ประชาชนทั่วไปไม่ได้มีส่วนร่วมด้วย  ทั้งนี้เพราะเริ่มเข้าใจ  เห็นใจและยอมรับ การเบียดเบียนไม่สามารถสะกัดกั้นการเติบโตของศาสนาคริสต์ได้  นอกนั้นอาณาจักรโรมันเองก็ประสบปัญหาต่างๆ ได้แยกออกเป็นสองอาณาจักรคือตะวันตกและตะวันออก ในสมัยของดิโอเกลเซียน (284-305) ซึ่งมอบหมายให้มีผู้สืบตำแหน่งสองคนเป็นผู้ครองอาณาจักรทั้งสองจักรพรรดิเองได้ย้ายไปพำนักอยู่ทางตะวันออกที่เมืองนิโคเดเมีย  แต่ก็ไม่ได้ลดละการเบียดเบียน
จนกระทั่งในปี  312  การเบียดเบียนได้สิ้นสุดลงเนื่องจากคอนสแตนตินแห่งอาณาจักรตะวันออกมีชัยชนะเหนือมาซีอุสแห่งอาณาจักรตะวันตกจากการสู้รบกันที่กรุงโรม  ในปีต่อมาจักรพรรดิคอนสแตนตินได้ออกกฤษฎีกาที่มิลานให้เสรีภาพแก่ชาวคริสต์  การเบียดเบียนสิ้นสุดลงอย่างแท้จริงในปี 324 หลังจากที่จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ยอมรับนับถือศาสนาคริสต์ ระหว่างนั้นพระองค์ได้ย้ายศูนย์กลางอาณาจักรไปยังเมืองบิซานท์ (Byzant)  และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่าคอนสตันติโนเปิล ศาสนาคริสต์จึงได้รับการประกาศให้เป็นศาสนาประจำอาณาจักรนับแต่บัดนั้นจนถึงการแตกสลายของอาณาจักรโรมันในเวลาต่อมา  แต่ถึงตอนนั้น ศาสนจักรได้พัฒนาองค์กรขึ้นมาเข้มแข็งแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:22-30) เวลานั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม และเป็นฤดูหนาว พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินอยู่ในพระวิหารที่เฉลียงซาโลมอน ชาวยิวมาล้อมพระองค์ไว้ ทูลว่า “ท่านจะปล่อยให้ใจของพวกเราสงสัยอยู่นานเท่าใด ถ้าท่านเป็นพระคริสตเจ้า ก็จงบอกพวกเราให้ชัดเจนเถิด”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
1255
12206
54619
264152
306218
36007874
Your IP: 18.188.40.207
2024-04-25 02:59

สถานะการเยี่ยมชม

มี 110 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์