แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

อย่าพูดเท็จใส่ร้ายผู้อื่น
    พระบัญญัติทังประการที่ 7 และ 10 เป็นเรื่องการผิดยุติธรรมหรือ การละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้อื่น    ในพระบัญญัติประการที่ 8 เป็นเรื่องการผิดยุติธรรมหรือ การละเมินสิทธิต่อชื่อเสียงของผู้อื่น    ต่างกันตรงที่สิ่งที่ถูกละเมิด กล่าวคือ เป็นความผิดต่อวัตถุในประการที่ 7 และ 10 ส่วนประการที่ 8 เป็นเรื่องของชื่อเสียงนั่นเอง
    พระบัญญัติประการที่ 8 นี้ เราต้องแยกประเด็นเป็น 2 ประเด็น คือ “นินทา” และ “ใส่ความ”
    นินทา    หมายถึง การเอาเรื่องของผู้อื่นไปพูด และเรื่องที่พูดนั้นทำให้ผู้ที่ถูกพูดถึงเสียหาย    ถึงแม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องจริงก็ตาม สาเหตุเพราะเราไม่มีสิทธิ์ที่จะนำเรื่องของผู้อื่นไปพูดโดยที่เจ้าตัวเขาไม่อนุญาต ถือเป็นเรื่องสิทธิส่วนตัวของเขา
    อย่างไรก็ตาม ในกรณีของผู้ที่มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงก็สามารถนำเรื่องของผู้ที่ตนรับผิดชอบแจ้งกับผู้เกี่ยวข้องได้ เพราะเป็นหน้าที่ เช่น เราเห็นใครทำผิด ซึ่งความผิดนั้นจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อส่วนรวม เราต้องแจ้งให้ผู้มีหน้าที่ทราบอย่างนี้ก็ไม่ถือว่านินทา
    ส่วนการนำเรื่องที่ดีของผู้อื่นไปพูด และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ไม่ถือว่าเป็นการนินทา แต่ก็ควรระวังว่าเจ้าตัวเขาจะยินดีหรือไม่ด้วยเหมือนกัน
    ใส่ความ    หมายถึง    การนำเอาเรื่องของผู้อื่นไปพูด เช่นเดียวกับการนินทา แต่ทว่าเรื่องที่นำไปพูดนั้นเป็นเรื่องไม่จริง    ดังนั้น ความผิดเรื่องการใส่ความนี้จึงหนักกว่านินทามาก
    โดยภาพรวมพระบัญญัติประการที่ 8 ห้ามการกระทำในประเด็นต่อไปนี้
    1. มุสา    คือ ห้ามการพูดเท็จ หรือ ห้ามโกหา โดยต้องการจะหลอกลวงผู้อื่น    อย่างไรก็ตามในบางกรณีเราสามารถปฏิเสธที่จะพูดความจริงได้เหมือนกัน เช่น การรักษาความลับของบางอาชีพ ตัวอย่างเช่น แพทย์ เลขานุการ การป้องกันประเทศชาติและส่วนรวม หรือ ป้องกันตัวเองหรือผู้อื่นจากคนร้าย เพื่อช่วยรักษาชีวิตและทรัพย์สิน เช่น เรารู้ว่าเขาต้องการจะทำร้ายคนคนหนึ่งและเขามาถามเราถึงที่อยู่ของคนนั้น เราสามารถปฏิเสธได้อย่างนี้ไม่ผิด
    2. การเป็นพยานเท็จ    ถือเป็นความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหมาต่อผู้อื่น ทำให้ความจริงถูกบิดเบือน เกิดการผิดต่อความยุติธรรม ผู้ที่ให้การเท็จต่อหน้าศาล ต้องรับผิดชอบต่อคำให้การของตนด้วย
    3. การผิดต่อชื่อเสียงของผู้อื่น    มีการใส่ร้ายป้ายสีทำให้ผู้อื่นเสียหาย ซึ่งหมายถึงการใส่ความนั่นเอง นอกจากนั้นยังหมายถึงการพิพากษาตัดสินผู้อื่นด้วยเบาความ คือ การไม่มีเหตุผลหรือข้อเท็จจริงในการตัดสินผู้อื่น
    4. การผิดต่อความลับ    หมายถึง การไม่รักษาความลับของผู้อื่น เช่น นำข้อบกพร่องของผู้อื่นไปพูด ส่วนในกรณีของความลับในการแก้บาป พระสงฆ์จะเปิดเผยไม่ได้เด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น แม้ต้องตายก็ตาม
    ข้อควรระวังเกี่ยวกับการกระทำผิดในพระบัญญัติข้อนี้ คือ ต้องระวังว่าเป็นความผิดที่เกิดขึ้นง่ายจริงๆ คล้ายๆ กับการผิดความยุติธรรมในทรัพย์สินเหมือนกัน แต่ดูเหมือนประการที่ 8 ผิดต่อชื่อเสียงนี้จะกระทำง่ายกว่าอีก...
    เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดความผิดในข้อนี้ การแก้ไขจะลำบากมาก เพราะต้องมีการชดใช้หรือ ชดเชยความผิดให้ครบสมบูรณ์ บาปจึงจะได้รับการยก เช่น มีการใส่ความหรือนินทากันเกิดขึ้น ผู้ที่กระทำผิดต้องแก้ข้าว คืนชื่อเสียงให้แก่ผู้ถูกละเมิดจนครบถ้วน... คล้ายๆ กับการแก้ข่าวเรื่องการหมิ่นประมาท ตามหน้าหนังสือพิมพ์นั่นเอง ที่บอกว่าแก้ไขลำบากเพราะมีการขยายความข้อผิดพลาดนี้ไปแบบปากต่อปาก    ดังนั้น เมื่อจะแก้ไขจึงต้องตามแก้ให้หมดด้วย
    การป้องกันการนินทาหรือใส่ความ จึงต้องพยายามระมัดระวัง ปาก ของตัวเอง ควรพูดในสิ่งที่ควรพูด มิใช่พูดพล่อยๆ ก่อนจะพูดอะไร ต้องรู้แจ้งเห็นจริงเสียก่อน หรือ บางครั้งแม้รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว แต่ถ้าพูดไปแล้วมันจะเกิดความเสียหายต่อส่วนรวมมากกว่า หรือ มันมิใช่ธุระของตัวเองก็ไม่ควรพูดเหมือนกัน
    การนินทาใส่ความมักจะเกิดจากการสนทนาในกลุ่มของคนรู้จักมักคุ้น ที่ชอบนำเรื่องไม่ดีของคนโน้นคนนี้มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีการขยายความ แต่งเติมเสริมกันจนเกินจริง เรียกว่าจากมดจนกลายเป็นช้างไปในที่สุด
    ดังนั้น การคิดก่อนพูด จึงเป็นวิธีการที่จะทำให้เกิดการนินทาใส่ความกันน้อยลง...หลายคนมาเสียใจเอาภายหลังเมื่อพูดไปโดยมิได้คิด และต้องจดจำไว้ว่า เราไม่มีสิทธิ์ไปละเมิดชื่อเสียงของผู้อื่น...
    พระคัมภีร์ยังบอกว่า “อย่าไปตัดสินผู้อื่นแล้วท่านจะไม่ถูกตัดสิน”...แต่อย่างไรก็ตามเราต้องมีหน้าที่จะรักษาความดีของส่วนรวมด้วย ดังนั้น เราจึงต้องพิจารณาให้ดีว่า “อะไรควรพูด อะไรไม่ควรพูด”

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
6311
23407
73361
185879
306218
35929601
Your IP: 3.147.89.85
2024-04-20 05:30

สถานะการเยี่ยมชม

มี 662 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์