แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

แต่งงานกับคู่สมรสที่ไม่ใช่คาทอลิก
แนวทางที่พระศาสนจักรแนะนำในสถานการณ์ที่แตกต่าง

1.    การสมรสต่างความเชื่อ
สิ่งแรกที่ควรทำความเข้าใจให้ชัดเจนในความหมายของคำว่า “การสมรสต่างความเชื่อ” ซึ่งการให้คำจำกัดความนั้นหากไม่พิจารณาดี ๆ อาจจะทำให้เกิดความสับสนได้ในภายหลัง สำหรับการสมรสต่างความเชื่อนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.    การสมรสของคาทอลิกกับคริสตชนอื่น (Mixed Marriage) ซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่า “การสมรสผสม” เป็นการสมรสระหว่างคริสต์ศาสนา (Inter Church) คือ การสมรสที่มีฝ่ายหนึ่งเป็นคาทอลิกกับอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นคริสตชนที่ได้รับศีลล้างบาปอย่างถูกต้องแต่ไม่ใช่คาทอลิก
2.    การสมรสของคาทอลิกกับผู้ไม่เป็นคริสตชน (Disparity of Cult) ที่เรียกกันว่า “การสมรสของผู้มีวัฒนธรรมทางความเชื่อที่แตกต่างกัน หรือการสมรสแบบต่างฝ่ายต่างถือศาสนาของตนเอง” คือ “การสมรสระหว่างศาสนา” (Inter Religious) หมายความว่า มีฝ่ายหนึ่งเป็นคาทอลิกกับอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับศีลล้างบาป ซึ่งจะนับถือศาสนาใดก็ตาม

2.    การสมรสของคาทอลิกกับคริสชนอื่น (Mixed Marriage)
“ถ้าไม่มีอนุญาตอย่างแจ้งชัดจากผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจ ห้ามการสมรสระหว่างผู้รับศีลล้างบาปสองคน โดยที่ฝ่ายหนึ่งได้รับศีลล้างบาปในคริสต์ศาสนาจักรคาทอลิก ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งที่สังกัดศาสนาจักร” (มาตรา 1124)
เงื่อนไขสำหรับการขออนุญาต : ฝ่ายคาทอลิกยืนยันว่า จะหลีกเลี่ยงอันตรายต่อการเสียความเชื่อคาทอลิก และสัญญาว่า จะอบรมและให้การศึกษาแบบคาทอลิกแก่บุตร ส่วนฝ่ายที่ไม่ใช่คาทอลิก ก็ต้องรับรู้ถึงข้อบังคับ หน้าที่และคำสัญญาของฝ่ายคาทอลิก พร้อมทั้งยอมรับที่จะเคารพสิทธิและหน้าที่ของฝ่ายคาทอลิก และที่สำคัญทั้งสองฝ่ายจะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและอัตลักษณ์ของการสมรส (มาตรา 1125)

3.    การสมรสของคาทอลิกกับผู้ไม่เป็นคริสตชน (Disparity of Cult)
เงื่อนไขของการให้ข้อยกเว้นจากข้อขัดขวางของการสมรสแบบต่างฝ่ายต่างถือนั้น เป็นเช่นเดียวกันกับการสมรสกับผู้รับศีลล้างบาปแต่ไม่ใช่คาทอลิกแต่เข้มงวดกว่า และการให้ข้อยกเว้นควรจะพิจารณาอนุญาตอย่างเข้มงวดเป็นการณี ๆ ไป แต่ทั้งนี้ก็ต้องรักษารูปแบบการสมรสไว้เพื่อให้การสมรสนั้นถูกต้อง และที่สำคัญเป็นการช่วยเหลือทางด้านจิตใจที่มีต่อคู่สมรสและบุตรของพวกเขา (มาตรา 1128)

4.    สถานที่สำหรับการสมรสของคาทอลิกกับคริสตชนอื่นหรือกับผู้ที่ไม่ได้เป็นคริสตชน
การสมรสระหว่างคาทอลิกด้วยกัน หรือระหว่างคาทอลิกฝ่ายหนึ่งกับผู้รับศีลล้างบาปที่ไม่ใช่คาทอลิกอีกฝ่ายหนึ่ง ต้องประกอบพิธีสมรสในโบสถ์ของตน จะประกอบพิธีสมรสในโบสถ์อื่น หรือในวัดน้อยก็ได้ นอกจากนั้นยังสามารถประกอบพิธีสมรสในสถานที่อื่นที่สะดวกก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาติจากผู้ใหญ่ท้องถิ่นเสียก่อน
เช่นเดียวกันการสมรสของคาทอลิกกับผู้ที่ไม่เป็นคริสตชน พิธีสมรสต้องกระทำในโบสถ์คาทอลิกหรือสถานที่เหมาะสมก็ได้(มาตรา 1118 วรรค 3) แต่ต้องกระทำต่อหน้าศาสนบริกร ในขณะเดียวกันก็ต้องมีพยานสองคนด้วย จึงจะถือว่าถูกต้อง และพิธีดังกล่าวนี้ จะต่อเติมพิธีกรรมทางศาสนาของฝ่ายที่ไม่ใช่คาทอลิกเข้าไปด้วยไม่ได้(มาตรา 1127)

5.    คู่สมรสของข้าพเจ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนาหรือต้องมาเป็นคาทอลิกหรือไม่?
คำตอบง่าย ๆ คือ “ไม่”  อันที่จริงแล้วมันค่อยข้างจะผิดที่บังคับให้คู่สมรสเปลี่ยนมาเป็นคาทอลิกเพียงเพื่อแต่งงานกับท่าน สิ่งที่พระศาสนจักรเรียกร้องจากคู่สมรสของท่านมีเพียงการไม่ต่อต้านการประกาศความเชื่อของท่าน และการอบรมเลี้ยงดูบุตรให้เติบโตขึ้นในพระศาสนจักรคาทอลิก “เพราะสามีที่ไม่ใช่คริสตชนได้รับความศักดิ์สิทธิ์จากพระเจ้า โดยทางภรรยา และภรรยาที่ไม่ใช่คริสตชน ก็ได้รับความศักดิ์สิทธิ์จากพระเจ้า โดยทางสามีคริสตชน (เทียบ 1คร 7:14)
แต่จะเป็นความยินดีที่ยิ่งใหญ่สำหรับฝ่ายคริสตชนและสำหรับพระศาสนจักร ถ้า “ฝ่ายที่ได้รับเจิม” สามารถทำให้คู่ของตนกลับใจอย่างอิสระมาสู่ความเชื่อคริสตชน(เทียบ 1คร 7:16) ความรักจริงใจของคู่สามีภรรยา การปฏิบัติที่สุภาพถ่อมตน ความอดทนของคุณธรรมทางการครองเรือน และการอธิษฐานที่สม่ำเสมอ สามารถตระเตรียมคู่สามีหรือภรรยาที่ไม่เชื่อให้รับพระหรรษทานมาสู่การกลับใจ (CCC 1638)

การแต่งงานที่ผสมผสานกัน
    การแต่งงานผสม คือ การแต่งงานระหว่างคริสตชนคาทอลิก กับผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปที่ไม่ใช่คาทอลิก
    การแต่งงานแบบต่างคนต่างถือ คือ การแต่งงานระหว่างคาทอลิกและผู้ที่นับถือศาสนาอื่น
    แผ่นพับนี้จะช่วยตอบคำถามท่านได้ แต่สิ่งสำคัญคือท่านจะต้องปรึกษาพระสงฆ์เมื่อท่านพร้อมโดยเร็วที่สุด การอนุญาตอย่างถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทางวัดที่จะบันทึกการแต่งงานของท่านไว้เป็นเอกสารสำคัญ

ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้แต่งงานกับผู้ไม่ใช่คริสตชนในวัดคาทอลิกหรือไม่?
    ได้ อันที่จริงแล้ว พระศาสนจักรต้องการให้ท่านแต่งงานในโบสถ์คาทอลิกเท่านั้น ไม่ว่าคู่สมรสท่านจะเป็นใคร ถ้าคู่สมรสท่านไม่ผ่านการรับศีลล้างบาป บางส่วนของพิธีกรรมจะเปลี่ยนไปเล็กน้อย การแต่งงานของท่านจะถูกพิจารณาว่าเป็น”พันธสัญญาของคู่บ่าวสาว”มากกว่าที่จะเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้ รูปแบบคำพูดที่ใช้แลกเปลี่ยนคำสาบานระหว่างกันในคำสัญญายังคงเหมือนเดิม

ข้าพเจ้าแต่งงานกับผู้ที่ไม่ใช่คาทอลิกและเป็นสมาชิกของนิกายอื่น ข้าพเจ้าควรจะทำอย่างไรดี?
    ท่านจำเป็นต้องพูดกับพระสงฆ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ คาดเดาได้ว่า ท่านปรารถนาจะแต่งงานในโบสถ์คาทอลิก ทำพิธีโดยพระสงฆ์คาทอลิก อย่างไรก็ตาม นักบวชจากนิกายอื่นสามารถเข้าร่วมการแต่งงานในรูปแบบพิเศษได้ ทั้งนี้ผู้อนุญาตการแต่งงานของท่านและทำสัญญาแต่งงานให้ท่านจะต้องเป็นพระสงฆ์ในศาสนาคาทอลิกเท่านั้น ในสถานการณ์ยกเว้น เช่น ท่านจะแต่งงานในโบสถ์ที่ไม่ใช่คาทอลิก ท่านต้องขออนุญาตจากพระสังฆราชก่อนจะดำเนินการในขั้นตอนอื่น ในกรณีนี้ผู้ประกอบพิธีแต่งงานจะเป็นศาสนบริกรของนิกายอื่น
    พระสังฆราชของพระศาสนจักรคาทอลิกแนะนำให้ใช้บทอวยพรและขอบคุณพระเป็นเจ้าในศาสนพิธีครั้งที่สองที่จัดในศาสนสถานอื่นที่ไม่ใช่โบสถ์คาทอลิก แม้ว่าจะไม่ใช่การรับศีลสมรส แต่เป็นการให้นิกายอื่นได้มีโอกาสเป็นพยานถึงความรับผิดชอบที่บุคคลนั้นแสดงในเห็นต่อกลุ่มคริสตชนที่เขาสังกัด

คู่สมรสของข้าพเจ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นคาทอลิกหรือไม่?
    คำตอบง่ายๆ คือ ไม่ อันที่จริงแล้ว มันค่อนข้างจะผิดที่บังคับให้คู่สมรมเปลี่ยนมาเป็นคาทอลิกเพียงเพื่อแต่งงานกับท่าน สิ่งที่พระศาสนจักรเรียกร้องจากคู่สมรสของท่านมีเพียงการไม่ต่อต้านการประกาศความเชื่อของท่าน ซึ่งท่านจะต้องทำก่อนการแต่งงาน โดยทำต่อหน้ากันและกันพร้อมทั้งพระสงฆ์ด้วย
    “ข้าพเจ้าขอประกาศ ว่าข้าพเจ้าพร้อมที่จะสานต่อความเชื่อคาทอลิกและจะหลีกเลี่ยงอันตรายทั้งปวงที่จะทำให้สูญเสียความเชื่อนั้น ยิ่งกว่านั้น ข้าพเจ้ารับรองด้วยความเต็มใจว่า ข้าพเจ้าจะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ภายในความเป็นหนึ่งเดียวกันของคู่สมรส เพื่อให้บุตรทุกคนจากการแต่งงานของเราได้รับศีลล้างบาปและเลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นในพระศาสนจักรคาทอลิก”

ข้าพเจ้าควรจะพยายามเปลี่ยนศาสนาของคู่สมรสภายหลังการแต่งงานหรือไม่?
      หนังสือคำสอนกล่าวไว้ว่า การแต่งงานแบบต่างคนต่างถือ คู่สมรสที่เป็นคาทอลิกมีพิเศษในการแต่งงาน ดังนี้
    “เพราะสามีที่ไม่มีความเชื่อได้รับความศักดิ์สิทธิ์จากพระเจ้าโดยทางภรรยา  และภรรยาที่ไม่มีความเชื่อก็ได้รับความศักดิ์สิทธิ์จากพระเจ้าโดยทางโดยทางสามีที่มีความเชื่อ“ (1คร.7:14)ความยินดียิ่งใหญ่สำหรับฝ่ายคริสตชนและสำหรับพระศาสนจักร ถ้า “ฝ่ายที่ได้รับการเจิม”สามารถทำให้คู่ของตนกลับใจอย่างอิสระมาสู่ความเชื่อคริสตชน (เทียบ 1คร.7:16) ความรักจริงใจของคู่สามีภรรยา  การปฏิบัติที่สุภาพถ่อมตน ความอดทนของคุณธรรมทางการครองเรือนและการอธิษฐานที่สม่ำเสมอ  สามารถตระเตรียมคู่สามีหรือภรรยาที่ไม่เชื่อให้รับพระหรรษทานมาสู่การกลับใจ (CCC 1637)

บุคคลที่ข้าพเจ้าต้องการแต่งงานด้วยเป็นพวกอเทวนิยมและไม่ต้องการแต่งงานในโบสถ์ ข้าพเจ้าควรจะทำเช่นไร?
    ถ้าท่านดำเนินชีวิตเป็นคาทอลิกที่ดี ท่านต้องใคร่ครวญให้ดี โดยเฉพาะคำประกาศข้างต้นที่ว่าด้วยการล้างบาปของบุตรที่เกิดจากการแต่งงานนี้ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ท่านต้องซื่อสัตย์ต่อบุคคลที่ท่านต้องการมาเป็นคู่สมรส เกี่ยวกับผลที่จะเกิดตามมาและความเกี่ยวพันต่อพระศาสนจักรคาทอลิกของท่าน “อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก” ถ้านี่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับท่าน พระศาสนจักรจะเป็นกังวลที่สุดเกี่ยวกับอุปสรรคต่างๆที่จะขัดขวางการปฏิบัติแห่งศาสนกิจและความเชื่อของท่าน

บุคคลที่ข้าพเจ้าต้องการแต่งงานด้วยเคยผ่านการแต่งงานมาก่อนในทางกฎหมาย จะนับหรือไม่?
    อาจเป็นเพราะบุคคลที่กำลังกล่าวถึงนี้ไม่ใช่คริสตชน บางคนจึงอาจคิดว่าการแต่งงานที่ผ่านมาจึงไม่นับ อย่างไรก็ตาม พระศาสนจักรคาทอลิกกล่าวว่า การแต่งงานนั้นเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันกับกฎหมาย หมายความว่า การแต่งงานที่ผ่านมานั้นถูกนำมานับด้วย เฉพาะคริสตชนเท่านั้นที่ผูกมัดด้วยกฎของพระศาสนจักรคาทอลิกว่าการแต่งงานจะต้องทำในโบสถ์เท่านั้น ท่านควรปรึกษาพระสงฆ์เกี่ยวกับรายละเอียดแบบเฉพาะเจาะจงของการแต่งงานที่ผ่านมาเพื่อความถูกต้องสมบูรณ์มากที่สุด

บทอ่านจากหนังสือโทบิต
    ในตอนเย็นของวันแต่งงาน โทบียาห์ บอกนางซาราห์ว่า “น้องเอ๋ย จงลุกขึ้น เราจงอธิษฐานภาวนาวอนขอองค์พระผู้เป็นเจ้าให้ประทานพระเมตตาและความรอดพ้น แก่เรา”  เขาทั้งสองเริ่มอธิษฐานภาวนาขอให้พระองค์ประทานความรอดพ้นแก่ตน กล่าวว่า
    “ข้าแต่พระเจ้าของบรรพบุรุษ ขอถวายพระพรแด่พระองค์
    ขอพระนามของพระองค์ได้รับการถวายพระพรตลอดไปทุกยุคทุกสมัย
    ขอให้สวรรค์และสิ่งสร้างทั้งมวล จงถวายพระพรแด่พระองค์ตลอดนิรันดร
  พระองค์ทรงสร้างอาดัม
    และทรงสร้างนางเอวา ภรรยาของเขา
    ให้เป็นผู้ช่วยเหลือและค้ำจุน
    มนุษยชาติก็ได้ถือกำเนิดจากเขาทั้งสองคน
    พระองค์ตรัสว่า “มนุษย์อยู่เพียงคนเดียวไม่ดีเลย
    เราจะสร้างผู้ช่วยที่เหมาะกับเขาให้”
  บัดนี้ ข้าพเจ้ารับน้องสาวของข้าพเจ้าผู้นี้ไว้เป็นภรรยา
    ไม่ใช่เพราะความใคร่ แต่ด้วยเจตนาบริสุทธิ์
    ขอพระองค์โปรดให้ข้าพเจ้าและนางได้รับพระเมตตา
    และให้ข้าพเจ้าทั้งสองคนมีชีวิตอยู่ด้วยกันจนถึงวัยชราเถิด”
เขาทั้งสองคนกล่าวพร้อมกันว่า “อาเมน อาเมน”  (ทบต 8:4-8)


รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
8343
13335
51986
164504
306218
35908226
Your IP: 18.217.60.35
2024-04-19 10:19

สถานะการเยี่ยมชม

มี 360 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์