แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ความทรมานและความตาย
223

    พระเยซูจึงทรงเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายให้แก่อัครสาวก ระหว่างงานเลี้ยงพระองค์ทรงแสดงถึงการมีตัวตนอยู่อย่างแท้จริงของพระองค์ ด้วยพิธีกรรมแบบง่าย ๆ ทรงหยิบขนมปัง หักส่งให้เหล่าสาวก แล้วตรัสว่า “จงรับเถิด นี่เป็นกายของเรา” และในทำองเดียวกัน เมื่อการเลี้ยงอาหารค่ำเสร็จลง พระองค์ทรงหยิบถ้วยเหล้าองุ่นประทานแก่บรรดาศิษย์ตรัสว่า “จงรับไปดื่มให้ทั่วกันเถิด ด้วยว่านี่เป็นโลหิตของเราอันเป็นโลหิตแห่งพันธสัญญา” “จงทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา” (มัทธิว 26:26-30; มาระโก 14 : 22-24 ; ลูกา 22:17 – 20; 1โครินทร์ 11:24-25) พันธสัญญาใหม่ที่บรรดาประกาศกประกาศไว้ล่วงหน้า เกิดขึ้นและเป็นจริงแล้ว ณ เวลานั้น พระเยซูนั้นเองคือพันธสัญญาใหม่ สันติสุขและสามัคคีธรรมนิรันดรของพระเจ้ากับมนุษย์เกิดขึ้นโดยการเสียสละชีวิตของพระองค์ในคืนนั้นเองหลังจากงานเลี้ยงอาหารค่ำพระเยซูเสด็จไปสวนเกทเสมนีกับพวกอัครสาวก ณ ที่นั้นเมื่อความรู้สึกกลัวตายจู่โจมพระองค์ พระองค์ทรงกราบลงถึงดินและสวดภาวนาต่อพระเจ้าว่า “โอพระบิดา ของข้าพระองค์ ถ้าเป็นไปได้ขอให้ถ้วยนี้เลื่อนพ้นไปจากข้าพระองค์เถิด แต่อย่างไรก็ดี อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์” (มัทธิว 26:39) แม้ว่าพระเยซูจะทรงผ่านประสบการณ์ทุกข์ยากทุกประการ อย่างที่มนุษย์จะพึงได้รับมาแล้วในชีวิตก็ตาม การตายอย่างทรมานยังคงเป็นสิ่งที่น่าสยดสยองที่สุด แต่ไม่ว่าจะแค่ไหนอย่างไร พระองค์ยังคงสวดภาวนาว่า “พระบิดาให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์”

    หลังจากสวดภาวนาเสร็จ ยูดาส อิสคาริโอท พาพวกทหารกับประชาชนมาจับ และผูกมือพระองค์พาไปสภา การพิจารณาคดีพระเยซูเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงความอยุติธรม เพราะพวกผู้พิพากษาได้ตัดสินประหารชีวิตของพระองค์แล้วตั้งแต่ก่อนพิจารณาคดี (ยอห์น 11:50) แต่ในช่วงเวลาของการพิจารณาคดีอันอยุติธรรมนั้นยังมีช่วงเวลาประเสริฐอยู่ชั่วอึดใจหนึ่ง คือเมื่อมหาปุโรหิตคายาฟาส ผู้เป็นหัวหน้าผู้พิพากษาถามพระเยซูเจ้าว่า “ท่านเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้าหรือไม่” (มัทธิว 26: 63) พระเยซูผู้ทรงถูกประชาชนทอดทิ้ง ถูกทหารมัดและตบหน้า ทรงตอบผู้พิพากษาด้วยความสงบว่า “ท่านว่าถูกแล้ว และยิ่งกว่านั้นอีกเราบอกท่านทั้งหลายว่า ในเวลาเบื้องหน้านั้นท่านจะได้เห็นพระบุตรนั่งข้างขวาของผู้ทรงฤทธานุภาพ และเสด็จมาบนเมฆแห่งฟ้าสวรรค์” (มัทธิว 26:64) พระเยซูไม่เคยทรงประกาศชัดเจนและเปิดเผยอย่างนั้นมาก่อนจนถึงเวลานั้น พระองค์ไม่ทรงปรารถนาจะเสียชีวิตโดยปล่อยให้ผู้คนไม่รู้ความจริง หรือเข้าใจผิดเรื่องของพระองค์ ในขณะที่ “ถึงเวลา” ของพระองค์แล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่ทรงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระองค์เป็นผู้ใด อะไรคือภาระหน้าที่ของพระองค์ ดูเหมือนว่านี่แหละเป็นเหตุผลที่ทำให้พระเยซูถูกพิพากษาตัดสินว่า มีความผิด เพราะทันทีที่มหาปุโรหิตได้ยินถ้อยคำที่พระเยซูทรงประกาศ เขาก็ตะโกนสียงดังว่า “ท่านทั้งหลายก็ได้ยินเขาพูดหมิ่นประมาทพระเจ้าแล้ว ท่านทั้งหลายคิดเห็นอย่างไร” (มัทธิว 26:65-66)
    นักโทษคนนี้ที่ไม่อาจปกป้องตนเองจากน้ำมือของพวกทหารยืนยันว่าเขาเป็นผู้ที่จะช่วยอิสราเอลให้เป็นอิสระ และทั้ง ๆ ที่เป็นมนุษย์ธรรมดา ๆ ก็ยังบังอาจประกาศตนเองเท่าเทียมพระเจ้า คำประกาศชัดเจนว่าตนเองนั่งอยู่ข้างขวาของพระเจ้าถือเป็นเรื่องเหลวไหลและหมิ่นประมาทพระเจ้า พวกผู้พิพากษาทั้งปวงพากันโกรธแค้นและร้องตะโกนว่า “ควรปรับโทษถึงตาย” (มัทธิว 26:66) ในสมัยนั้นเจ้าเมืองโรมันมีสิทธิอำนาจพิพากษาตัดสินประหารชีวิตในกรุงเยรูซาเล็ม บรรดาสมาชิกสภาจึงพาพระเยซูไปหาปิลาตเจ้าเมือง เพื่อให้เขาพิพากษาประหารพระองค์เสีย  โดยมีข้อกล่าวหาที่ปราศจากหลักฐานว่า พระองค์ทรงเป็นอาชญากรการเมืองผู้ทำให้บ้านเมืองวุ่นวายปั่นป่วน (ลูกา 23:2) ตอนแรกปิลาตเห็นว่าพระเยซูไม่ทรงมีความผิดอะไร พระองค์ลังเลใจไม่อยากประกาศพิพากษาพระองค์ แต่การปฏิเสธคำเรียกร้องของบรรดาปุโรหิตไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดต่อเขาในทางการเมือง ปิลาตจึงตัดสินใจประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการพิพากษาและมอบพระเยซูให้แก่พวกเขา ซึ่งได้นำพระองค์ไปตรึงที่กางเขน พวกทหารพากันถ่มน้ำลายรดพระองค์ เอาไม้อ้อตีพระเศียร และหลังจากเฆี่ยนตีพระองค์แล้วก็พาไปตรึงกางเขนที่กลโกธา พระเยซูทรงรับทุกข์ทรมานบนกางเขนประมาณ 3 ชั่วโมง เวลานั้นดูเหมือนว่าคนชั่วร้ายทั้งมวลในโลกนี้ตกอยู่กับพระองค์ ทรงทำพระราชภารกิจสำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าพระบิดาผู้ทรงใช้พระองค์มา แต่เมื่อทรงถูกตรึงกางเขนพระเจ้าไม่ได้ทรงช่วยพระองค์ให้ปราศจากจากความทุกข์ทรมานแต่อย่างใด นอกจากทรงแบกรับความทุกข์ทรมานทางฝ่ายร่างกายแล้ว จิตใจก็ทรงเจ็บปวดด้วยเช่นกัน ทรงรู้สึกว่าพระเจ้าทรงทอดทิ้งพระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นการเผชิญการทดลองที่น่ากลัวน่าสยดสยองที่สุด ตลอดเวลาที่ผ่านมาพระเยซูทรงสั่งสอนผู้คนว่า จงรักศัตรูของท่านถ้าอย่างนั้นเมื่อพวกเขาประหารพระองค์ด้วยวิธีการที่โหดเหี้ยมที่สุด หนำซ้ำยังหัวเราะเยาะพระองค์เมื่อทรงต้องทรงทุกข์ทรมาน ถึงขนาดนี้แล้วพระองค์ยังทรงรักพวกเขาอยู่ได้หรือเปล่า และสำหรับคำสั่งสอนของพระองค์ที่ว่า จงไว้ใจพระเจ้าโดยไม่มีขีดจำกัดล่ะ ทั้ง ๆ ที่พระองค์เองถวายชีวิตแด่พระเจ้าพระบิดา เพื่อให้สำเร็จตามพระประสงค์ ทั้ง ๆ ที่พระบิดาทรงมองเห็นว่าพระองค์จะถูกประหาร ทำไมพระบิดาจึงไม่ทรงช่วยพระองค์ พระเจ้าองค์นี้จะยังสมควรเป็นผู้ที่พระเยซูมอบความไว้วางใจให้อีกหรือ
    การทดสอบทั้งสองประการที่ว่า พระเยซูจะยังทรงรักศัตรู และทรงไว้วางใจพระเจ้าอยู่ได้หรือไม่นั้น เป็นการทดสอบในวาระสุดท้ายของชีวิตพระองค์
    พระเยซูทรงมีท่าทีสนองตอบการทดสอบสองอย่างนี้อย่างไรหรือพระองค์ตรัสว่า “พระบิดาเจ้าข้า ขอโปรดอภัยโทษเขา เพราะว่าเขาไม่รู้ว่าเขาทำอะไร” (ลูกา 23:34) นี่คือข้อความแรกที่พระเยซูตรัสขณะถูกตรึงกางเขน เป็นท่าทีของพระองค์ทรงมีต่อการทดสอบประการแรก ทั้งๆที่พวกเขาตรึงพระองค์ พระองค์ก็ยังทรงรักพวกเขาทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพวกผู้พิพากษา เพชรฆาต หรือศิษย์ผู้ที่ละทิ้งพระองค์ตลอดจนคนอื่นๆ เหล่านั้น จนถึงวาระสุดท้าย พระเยซูเคยตรัสสอนว่า “ไม่มีผู้ใดมีความรักที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ คือการที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะสละชีวิตของตนเพื่อมิตรสหาย” (ยอห์น 15:13) และตอนนี้พระองค์กำลังสละชีวิตของพระองค์เองเพื่อทุกคน สำหรับพระเยซูทุกคนเป็นมิตรสหาย ถึงแม้ว่าคนเหล่านั้นจะทรยศ เกลียดชัง ละทิ้งและฆ่าพระองค์
    ข้อความสุดท้ายที่พระเยซูตรัสบนกางเขน คือคำอ้อนวอนแด่พระเจ้า ผู้ที่ดูเหมือนว่ากำลังทรงละทิ้งพระองค์ไป “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” (ลูกา 23:46) นี่เป็นท่าทีสนองตอบต่อการทดสอบประการที่สองของพระเยซู พระองค์สิ้นพระชนม์ไปพร้อมกับความไว้วางใจและความเชื่อฟังที่เต็มล้นบริบูรณ์ ชีวิตของพระเยซูคือบทเพลงสวดสรรเสริญความรักที่ทรงมอบถวายแด่พระเจ้าและแก่ทุกคน การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ คือที่สุดของความรักที่พระองค์ทรงมีต่อพระเจ้าและมนุษย์ทุกคน ความตายของพระองค์นี่แหละที่แสดงให้เราเห็นถึงความรักอันสมบูรณ์แบบของพระเจ้า
    ช่วงเวลาที่พระองค์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนทำให้เราเข้าใจว่าพระบุตรของพระเจ้าทรงมีพระลักษณะอย่างไร ทรงยอมเสียสละพระองค์เองด้วยความรัก และภายหลังทรงได้รับทั้งสิ้นเหล่านี้คืนจากพระบิดา
    นายร้อยผู้ยืนอยู่ตรงพระพักตร์พระองค์ในวาระสุดท้ายมองเห็นสิ่งเหล่านี้ เขาบอกว่า “แท้จริงท่านผู้นี้เป็นพระบุตรของพระเจ้า” (มาระโก 15:34) ตรงข้ามกับบรรดาศิษย์ของพระองค์ที่เห็นว่าการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเรื่องน่าอับอายและเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง พวกเขาเห็นว่านอกจากไม่สามารถช่วยพระองค์เองได้แล้ว  แม้แต่พระเจ้าก็ยังทรงไม่ช่วยพระเยซูด้วย เพราะฉะนั้นการที่พวกเขาเคยคิดว่า พระเยซูทรงเป็นพระผู้ช่วยของทุกคนนั้นเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหาศาล และเมื่อความคิดเช่นนี้ครอบงำจิตใจ พวกศิษย์ก็เกิดความเกรงกลัวภัยอันตรายจากชาวยิว พวกเขาพากันหนีกระจัดกระจายไป บ้างก็ไปหลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านด้วยความหวาดกลัว ดูเหมือนพวกเขากำลังเข้าใจว่าการที่พระเยซูทรงยอมถูกกระทำทุกอย่างด้วยความรักนั้น เป็นความพ่ายแพ้

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
9737
23407
76787
189305
306218
35933027
Your IP: 3.140.185.147
2024-04-20 08:29

สถานะการเยี่ยมชม

มี 572 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์