แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่
การประกาศข่าวดีใหม่ มีความหมายอย่างไรกับท่านบ้าง

1. ความหมายของ “การประกาศข่าวดีใหม่”
สมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณ เบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงสอนว่า “การประกาศข่าวดีใหม่” หมายถึง คำเชิญชวนคริสตชนให้รื้อฟื้นความเชื่อใหม่อีกครั้ง เริ่มต้นจากจิตใจของพวกเราแต่ละคน การเริ่มต้นใหม่จะเกิดขึ้นเมื่อเราพร้อมที่จะแบ่งปันความเชื่อกับผู้อื่นในทางที่ไม่คุกคามหรือก้าวก่ายผู้อื่น แต่ด้วยการเชิญชวน
เนื่องจากวิทยาการและเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมาย สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ช่วยทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น แต่ความก้าวหน้านี้กลับไม่ได้สร้างความสุขให้กับเรา สังคมได้พาเราออกห่างจากหลักความเชื่อคริสตชน เราถูกห้อมล้อมด้วยสารทางโลกที่บอกกับเราว่า เราสร้างความจริงของเราได้ เราเข้าถึงจิตใจได้โดยไม่ต้องเคร่งครัดศาสนา สามารถทำอะไรก็ได้หากไม่ได้ทำร้ายใคร ยอมรับว่าพฤติกรรมหยาบคายเป็นสิ่งที่สนุกสนาน เงินทองและทรัพย์สินจะทำให้เรามีความสุข แต่ทั้งหมดนี้กลับนำไปสู่ “ความยากแค้น” มีธุรกิจมากมายแต่ไม่มีความหมาย มีกิจวัตรที่น่าเบื่อหน่าย และ “ไร้ซึ่งความชื่นชมยินดี”
พระเยซูเจ้าตรัสว่า เรามาเพื่อให้แกะมีชีวิต และมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ (ยอห์น 10:10) พระเจ้าทรงรอคอยที่จะเติมเต็มความหมายและความหวังให้แก่เรา นี่คือจุดประสงค์ของการประกาศข่าวดีแบบใหม่

2. ความจริงที่เรากำลังเผชิญ
สมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณ เบเนดิกต์ ที่ 16 กล่าวว่า “วิกฤตที่เรากำลังเผชิญคือสัญญาณของการกีดกันพระเจ้าออกจากชีวิตประจำวัน ความเพิกเฉยต่อความเชื่อคริสตชน และความตั้งใจทำให้ความเชื่อหมดความสำคัญไปจากชีวิตที่แสดงออกมาภายนอก” พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า นี่คือช่วงเวลาสำหรับการเริ่มต้นใหม่ ด้วยการรื้อฟื้นความเชื่อในหัวใจทั้งชาย-หญิง ด้วยพระหรรษทานและสรรพานุภาพของพระจิตเจ้า
การเริ่มต้นใหม่ต้องเริ่มจากจุดเล็กๆ ระดับท้องถิ่น เหมือนกับเมล็ดมัสตาร์ตเล็กๆ ที่กลายเป็นต้นไม้ใหญ่ พระองค์ทรงเห็นว่าพวกเราแต่ละคนมีความสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้สำเร็จลุล่วงด้วยการกระทำจากสิ่งเล็กๆ และการกระทำเล็กๆ ที่เราต้องทำคือการมองเข้าไปในใจของเรา การประกาศข่าวดีใหม่เริ่มจากการที่เรามองไปยังความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์ เราต้องภาวนามากขึ้นหรือไม่ เราต้องการจะเป็นศิษย์ของพระองค์ในยุคสมัยใหม่นี้หรือไม่ เราจะต้องเปิดและน้อมรับการทำงานของพระจิตเจ้าในชีวิตและวัฒนธรรมของเรา เราต้องตระหนักว่า เมื่อไรก็ตามที่เราฟังพระสุรเสียงของพระเจ้า เราอาจถูกเรียกให้เปลี่ยนวิถีชีวิตก็เป็นได้

3. เริ่มด้วยใจของเราเองแล้วแบ่งปัน
การรื้อฟื้นความเชื่อใหม่เป็นการสร้างพันธกิจ ซึ่งหมายความว่าเราจะต้องจัดเวลาสำหรับการอ่าน การภาวนา การเรียน และการสะท้อนตน เราจะต้องเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับสารที่เราได้รับมาทางโลก และเปรียบเทียบกับความจริงของพระวรสาร ซึ่งจะนำเราไปสู่การอุทิศตนให้มีบทบาทมากขึ้นในชุมชน เราจะได้รับพลังจากพระหรรษทานแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์ เราจะค้นพบว่าทุกสิ่งในชีวิตเราเปลี่ยนไปเมื่อเราให้ความสำคัญกับพระเจ้ามากขึ้น
การรื้อฟื้นความเชื่อจะเติมเต็มเราด้วยความกระตือรือร้นใหม่ๆ เราจะตระหนักว่าเราถูกเรียกให้ประกาศข่าวดีแก่ผู้อื่น … จัดการกับคำถามที่เก่าที่สุดและลึกซึ้งที่สุดมาตั้งแต่เริ่มการมีอยู่ของมนุษย์ “ความหมายของความเจ็บปวด” เราอาจพบว่าสมาชิกในครอบครัว มิตรสหาย เพื่อนบ้านและเพื่อนร่วมงานสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของเรา พวกเขาอาจเล่าปัญหาให้เราฟัง พวกเขายอมรับว่ากำลังหาความหมายและเป้าหมายของชีวิต เราสามารถยืนยันได้ว่าความสงบที่แท้จริงมาจากการใช้ชีวิตควบคู่ไปกับพระวรสาร
เรามีของขวัญและพรสวรรค์ที่สามารถแบ่งปันกับผู้อื่น เราอาจอยากช่วยเหลือผู้ที่โชคร้ายกว่าเรา เราอาจค้นพบความกล้าหาญที่จะปฏิเสธสิ่งที่ผิด และลุกขึ้นต่อสู้สำหรับสิ่งที่ถูกต้องและดีงาม เราอาจเริ่มเห็นตัวเราในฐานะธรรมทูตสมัยใหม่ที่ประกาศข่าวดีเกี่ยวกับพระเยซูคริสตเจ้าในทุกๆ สิ่งที่เราพูดและกระทำ

4. ศิลปะการใช้ชีวิต
1) การกลับใจ หมายความว่า เราตั้งคำถามว่าเรากำลังใช้ชีวิตอย่างไร ให้พระเจ้าทรงแสดงให้เราเห็นความจริง และเปลี่ยนแปลงทิศทางการใช้ชีวิต เราเริ่มที่จะมองโลกในมุมมองของพระเจ้า เราเลิกประพฤติตามการกระทำของโลก เราใช้ชีวิตด้วยมาตรฐานที่สูงกว่าด้วยการพึ่งพาพระเจ้า การให้อภัยและความรัก การกลับใจเป็นสิ่งสำคัญในการประกาศข่าวดี เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เราใช้ชีวิตอย่างคริสตชนที่ถูกต้องและทำให้เราได้แสดงให้ผู้อื่นเห็นถึง “ศิลปะการใช้ชีวิต”
2) พระเจ้าทรงอยู่ในฐานะพระบิดา พระบุตร และพระจิต เราเชื่อว่า พระเจ้ามีบทบาทในโลกและในชีวิตของเรา แต่แทนที่เราจะช่วยให้ผู้อื่นได้รู้จักกับพระเจ้า เราต้องสอนให้พวกเขาภาวนา เราต้องสนับสนุนให้พวกเขาฟังพระจิตเจ้าตรัสกับพวกเขาในความเงียบ เราต้องเชิญชวนให้พวกเขาสัมผัสถึงการดำรงอยู่ของพระเจ้าในพิธีบูชาขอบพระคุณ ในพระวาจาที่บันทึกอยู่ในพระคัมภีร์ และในการดำเนินชีวิตทุกๆ วันตามพระวาจา ผู้คนจะเริ่มมองเห็นการมีอยู่ของพระเจ้า

5. พระเยซู พระบุตรพระเจ้า
3) เราจะเข้าใจความสมบูรณ์ของพระเจ้าได้ผ่านทางพระเยซูเจ้าเท่านั้น พระเยซูเจ้าทรงเป็นมากกว่ามนุษย์ พระองค์ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า และพระองค์ทรงเสนอหนทางที่นำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า และหนทางนี้อาจหมายถึงความทุกข์ยากลำบากของเรา
นี่เป็นหนทางที่มอบจุดหมายให้กับชีวิตของเรา พระเยซูเจ้าทรงประทานศีลศักดิ์สิทธิ์ให้กับเรา ซึ่งเติมเต็มเราด้วยพระหรรษทานที่เราต้องการเพื่อสานต่อการเดินทางในเส้นทางแห่งความเชื่อของเรา พระเยซูเจ้าทรงอยู่ที่ใจกลางของการประกาศพระวรสาร เป้าหมายของเราคือ การนำพระองค์ไปสู่ทุกๆ มุมของชีวิตเรา
4) ช่วยให้ผู้คนเข้าใจว่าเป้าหมายปลายทางของเราคือ ชีวิตนิรันดรร่วมกับพระเจ้า เราทุกคนถูกตัดสินว่าเราใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้อย่างไร ความอยุติธรรมบนโลกนี้จะถูกกำจัดไปสิ้น และพระเจ้าจะทรงกระทำทุกสิ่งให้ถูกต้อง เราจะเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและคนที่เรารัก นี่เป็นสารแห่งความหวังที่จะบรรเทาความเจ็บปวดและขจัดความกลัวของเรา นี่เป็นสารที่ผู้คนทุกวันนี้ต้องการได้ยิน

6. ความมุ่งหมายของสมัชชาใหญ่ฯ 2015
ขณะที่กระแสของโลกและสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นบริโภคนิยม วัตถุนิยม ปัจเจกนิยมและสัมพัทธ์นิยม กำลังนำไปสู่สังคม “โลกีย์นิยม” อย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น สภาพชีวิตด้านศาสนาของชาวไทยโดยทั่วไป จึงแสดงออกเป็นการปฏิบัติศาสนกิจตามรูปแบบของความเคยชิน ที่เชื่อว่าจะปกป้องตนให้พ้นจากภยันตรายต่างๆ ตลอดจนเพื่อให้ได้บุญบารมี และตอบสนองความปรารถนาที่แต่ละคนต้องการในมิติต่างๆ ของชีวิต
ดังนั้น พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยต้องมุ่งเจริญชีวิตเป็นศิษย์พระคริสต์ให้เข้มข้นกว่าที่เคย โดยมุ่งมั่นเดินสวนกระแสและปฏิเสธ “โลกีย์นิยม” ดังกล่าว และมุ่งฟื้นฟูการประกาศข่าวดีขึ้นใหม่ พระศาสนจักรจะต้องเป็นประจักษ์พยานที่เด่นชัดถึงความเป็นหนึ่งเดียวในการเจริญชีวิตที่มีพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง เพื่อคริสตชนทุกคนสามารถเป็นเกลือดองแผ่นดินที่มีคุณภาพ และเปี่ยมด้วยแสงสว่างแท้ขององค์พระคริสตเจ้า อันเป็นแสงสว่างจากพระเจ้าองค์ความรักที่มอบให้แก่โลก (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ 2015 ข้อ 4)

7. ศิษย์พระคริสต์
พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยเชื่อมั่นและตระหนักว่าคริสตชนทุกคนโดยอาศัยศีลล้างบาป มีส่วนร่วมในชีวิตพระตรีเอกภาพ กลับกลายเป็นบุตรของพระบิดาเจ้า เป็นส่วนของพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า (เทียบ 1คร.12) เป็นพระวิหารของพระจิตเจ้าผู้ทรงบันดาลให้เข้ามีส่วนร่วมในชีวิตของพระคริสตเจ้า เป็นกิ่งองุ่นที่ติดกับลำต้น (เทียบ ยน.15) ดังนั้น คริสตชนทุกคนจึงเป็นศิษย์ด้วยการดำเนินชีวิตสอดคล้องกับความเชื่อ โดยปฏิบัติตามพระวาจาพระเจ้า สำนึกถึงบทบาทสำคัญยิ่งในการประกาศข่าวดีตามพระบัญชาของพระเยซูคริสต์ (เทียบ มธ.28:19-20) เป็นประจักษ์พยานด้วยชีวิต ทำตามแบบอย่างของพระอาจารย์ด้วยการรักผู้อื่นก่อน จนผู้คนรอบข้างสัมผัส เข้าใจได้ถึงความรักของพระเจ้า และตอบรับความรักของพระองค์ (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ 2015 ข้อ 5)

8. ชุมชนศิษย์พระคริสต์
สถาบันต่างๆ ของพระศาสนจักรในรูปแบบหมู่คณะ ชุมชน องค์กร พระพรพิเศษ ขบวนการ สมาคม ฯลฯ ล้วนเป็นพระพรที่พระจิตเจ้าได้ทรงบันดาลให้เกิดขึ้นในพระศาสนจักร เพื่อความดีของพระศาสนจักรส่วนรวม ทั้งนี้เพื่อเข้าร่วมในพันธกิจประกาศข่าวดีแก่ประชาชนทุกภาคส่วน ในเมื่อพระศาสนจักรเป็นประชากรของพระเจ้าและมีธรรมชาติเป็นชุมชนแห่งความเชื่อ “ท่านทั้งหลายเป็นชาติที่ทรงเลือกสรรไว้ เป็นสมณราชตระกูล เป็นชนชาติศักดิ์สิทธิ์ เป็นประชากรที่เป็นกรรมสิทธิ์พิเศษของพระเจ้า” (1ปต.2:9)
ในวิถีชีวิตชุมชนคริสตชนย่อยที่มีบรรยากาศของอารยธรรมแห่งความรัก ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนได้รับการฟื้นฟู มีความกระตือรือร้น เร่าร้อนในชีวิตความเชื่อ แสวงหาวิธีการและการแสดงออกในรูปแบบใหม่ เพื่อสรรพพร้อมที่จะเสวนากับโลกและสามารถเข้าร่วมในพันธกิจประกาศข่าวดีได้อย่างมีประสิทธิผล เพื่อพันธกิจร่วมกันในการประกาศข่าวดีอย่างมีเอกภาพ (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ 2015 ข้อ 7)

9. พระเจ้าเปิดเผยพระองค์ทางพระบุตร
พระเยซูคริสต์ องค์ความรักที่มาจากพระเจ้าพระบิดา “ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น ทรงรับสภาพดุจทาส เป็นมนุษย์ดุจเรา” (ฟป.2:7) ทรงเจริญชีวิตอย่างยากจน และอยู่เคียงข้างคนบาปและคนต่ำต้อยทุกรูปแบบในสังคมร่วมสมัยกับพระองค์ ทรงยืนยันว่า ทรงพอพระทัยความ
เมตตากรุณา มากกว่าเครื่องบูชา (เทียบ มธ.12:7) ได้ทรงเติมเต็มธรรมบัญญัติเดิมด้วยบัญญัติใหม่แห่งความรัก “ให้ท่านทั้งหลายรักกันเหมือนดังที่เรารักท่าน” (ยน.15:12)
พระองค์ทรงสอนด้วยวาจาและกิจการที่ชัดเจน พระองค์ได้ทรงสถาปนาพระอาณาจักรพระเจ้าขึ้นในโลก ในหมู่ศิษย์ที่มีความรักและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ที่สุด ทรงพิสูจน์ให้เห็นว่าทรงรักเรามนุษย์มากเพียงใด โดยได้ทรงมอบชีวิตของพระองค์ ยอมรับความตายบนไม้กางเขน

10. พระเจ้าองค์ความรัก
พระเยซูคริสตเจ้านี้ จึงทรงเป็นต้นแบบชีวิตแห่งความรักและการอุทิศตนตามพระประสงค์ของพระบิดาอย่างสมบูรณ์ ที่มอบให้ไว้สำหรับเรา คริสตชนทุกคนได้เจริญชีวิตติดตามพระองค์ นอกจากนั้น พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าองค์ความรัก ที่ยังคงประทับอยู่กับพระศาสนจักรในปัจจุบันและเสมอไป “ที่ใดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั่นในหมู่พวกเขา” (มธ.18:20) เป็นพระเจ้าองค์ความรักที่ผู้คนสามารถสัมผัสรับรู้ถึงความรักของพระองค์ได้ ในชุมชนคริสตชนที่มีความรักและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อาศัยการเป็นประจักษ์พยานด้วยชีวิตจริงและการแบ่งปันบอกเล่าประสบการณ์ชีวิตอารยธรรมแห่งความรักนี้แก่กันและกันและแก่ทุกคน เป็นแรงจูงใจภายในช่วยให้คริสตชนเติบโต เข้มแข็ง ก้าวออกสู่สังคมรอบข้างเพื่อนำเสนอพระเจ้าองค์ความรักพระองค์นี้แก่ผู้อื่น (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ 2015 ข้อ 8)

11. การพบปะกับพระคริสตเจ้า
ด้วยการประกาศยืนยันเจตนารมณ์พร้อมด้วยความพยายามปฏิบัติตามบัญญัติใหม่แห่งความรักที่ว่า “นี่คือบทบัญญัติของเรา ให้ท่านทั้งหลายรักกันเหมือนดังที่เรารักท่าน” (ยน.15:12) อย่างมั่นคงต่อเนื่องเสมอ รวมทั้งรื้อฟื้นขึ้นใหม่ทุกครั้งที่จำเป็น วิถีชีวิตคริสตชนรูปแบบนี้จะสามารถถ่ายทอดบรรยากาศอารยธรรมแห่งความรักที่ทำให้ผู้เข้าร่วมในชุมชนดังกล่าว สัมผัสและรับรู้ความรักของพระเจ้าที่มีอยู่ในความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างพวกเขาได้
ในทางชีวิตจิต ประสบการณ์ทำนองนี้คือการสัมผัสพระเจ้าองค์ความรัก “พระเยซูคริสตเจ้าผู้กลับคืนพระชนม์ชีพแล้ว” และยังคงประทับอยู่กับพระศาสนจักรต่อไป การพบปะส่วนบุคคล (แบบตัวต่อตัว) กับพระเยซูคริสตเจ้า (Personal encounter with Christ) นี้ คือเงื่อนไขสำคัญอันจะขาดมิได้ในชีวิตความเชื่อคริสตชน เมื่อเขาได้ลองจุ่มชีวิตลงในความรักของพระเจ้าโดยเข้าร่วมในชุมชนคริสตชนย่อยที่มีบรรยากาศอารยธรรมแห่งความรัก และได้เริ่มเจริญชีวิตตามบทบัญญัติแห่งความรักของพระคริสตเจ้า จนเกิดเป็นประสบการณ์ความเชื่อ ได้พบพระคริสตเจ้า ได้สัมผัสความรักของพระองค์แล้ว การกลับใจจะเกิดตามมา เขาเองจะเปิดใจไตร่ตรองชีวิตของตน สำนึกในสภาพจริง ความกลวง ความว่างเปล่า ความล้มเหลว ความผิดพลาดบกพร่อง ความท้อใจในอดีต และจะก้าวเข้าสู่การตัดสินใจครั้งสำคัญยิ่งในชีวิต ที่จะเป็นการตอบรับและจัดให้พระเจ้าองค์ความรักที่เขาได้สัมผัส เป็นเป้าหมายแรกและสำคัญสูงสุดของชีวิตเขา (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ 2015 ข้อ 9-11)

12. หล่อเลี้ยงชีวิตความเชื่อ
พระเยซูคริสตเจ้าองค์ความรักของพระเจ้าที่พระบิดาเจ้าโปรดประทานแก่มนุษย์ชาติพระองค์นี้ เราพบได้อย่างแท้จริงในพระธรรมล้ำลึกปัสกาแห่งการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนและการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระองค์
พระศาสนจักรตอบสนองความรักของพระเจ้าด้วยการเจริญชีวิตในความรักและความสนิทสัมพันธ์ด้วยชีวิตจิตแห่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Spirituality of Communion) โดยมีพระเยซูคริสตเจ้าผู้กลับคืนพระชนม์ชีพประทับท่ามกลางและเป็นพลังยิ่งใหญ่ ก่อเกิดการรวมตัวกันเป็นชุมชนคริสตชน เป็นพระศาสนจักรที่มีชีวิตชีวา มีการร่วมชุมนุมพบปะกันอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอในรูปแบบชุมชนคริสตชนย่อยที่มีอารยธรรมแห่งความรักเป็นสายสัมพันธ์ (BEC) และมีการรวมตัวกันเป็นชุมชนความเชื่อ โดยทางศีลล้างบาป คริสตชนแต่ละคนเป็น “ศิษย์ธรรมทูต” ตามคำสั่งของพระเยซูเจ้า “ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา” (มธ.28:19) คือเป็นทั้งศิษย์และธรรมทูตด้วยชีวิตความเป็นอยู่ของตนทั้งครบ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใดในพระศาสนจักร หรือมีความรู้ความเข้าใจเรื่องความเชื่อในระดับใด ดังนั้นทุกคนจำเป็นต้องได้รับการอภิบาลช่วยเหลือให้เจริญชีวิตในอารยธรรมแห่งความรัก ด้วยวิถีชีวิตชุมชนคริสตชนย่อย อันเป็นวิถีทางหลักที่พระศาสนจักรคาทอลิกประเทศไทยเลือกใช้เป็นแนวการดำเนินชีวิตใหม่ของคริสตชนคาทอลิกไทย... เป็นการร่วมสร้างพระอาณาจักรพระเจ้าขึ้นในโลก พระอาณาจักรแห่งความจริงความยุติธรรม ความรัก ความเมตตาและสันติสุข เพราะนี่คือการเปิดขอบฟ้าใหม่ เป็นขอบฟ้าที่กว้างไกลของงานประกาศข่าวดีสู่ปวงชนทั้งมวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไทยอีกจำนวนมากที่กำลังรอรับฟังข่าวดีนี้อยู่ (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ 2015 ข้อ 12-13)

13. กลุ่มเป้าหมายเพื่อการฟื้นฟู
“คริสตชนที่มาร่วมพบปะเป็นประจำและผู้ที่มาชุมนุมกันในวันพระเจ้า” พระศาสนจักรจำเป็นต้องเอาใจใส่อภิบาลพวกเขาเหล่านี้ให้ได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยพระวาจา ศีลศักดิ์สิทธิ์ และการเข้าร่วมชุมนุมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในชุมชนความเชื่อ ร่วมอธิษฐานภาวนาพร้อมกันเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้พวกเขาได้เติบโตในความเชื่ออย่างแท้จริงจนสามารถตอบสนองความรักของพระเจ้าได้ดียิ่งขึ้น พร้อมเจริญชีวิตเป็นแบบอย่าง เป็นแสงสว่าง และกล้าหาญที่จะออกไปเป็น “ศิษย์ธรรมทูต” ที่เข้มแข็ง กระตือรือร้นในการประกาศข่าวดีด้วยความชื่นชมยินดีเสมอ… และปรารถนาที่จะผูกมัดตนเองกับพระคริสตเจ้า เป็นหนึ่งเดียวกับสมาชิกของพระศาสนจักร เพื่อพร้อมที่จะดำเนินชีวิตเป็นเกลือดองแผ่นดิน เป็นแสงสว่างส่องโลก และเป็นเชื้อแป้งที่มีคุณภาพมากขึ้นต่อไป
หน้าที่สำคัญของฆราวาสทั้งหญิงและชายก็คือการประกาศพระคริสตเจ้าด้วยชีวิต และพันธกิจที่เป็นประจักษ์พยานท่ามกลางโลก ดำรงชีวิตและบอกเล่าเรื่องพระเยซูคริสตเจ้าในครอบครัว ในสังคมและในงานอาชีพ โดยมุ่งนำความรักและความเมตตาของพระเจ้าไปสู่สังคม
ต้องให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุดในชีวิตของพระศาสนจักร เสริมชีวิตชีวาแก่กลุ่มงานรับใช้ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้พวกเขาได้สัมผัสและมีส่วนริเริ่มงานธรรมทูตในสังฆมณฑลหรือในสถานที่อื่นๆ ซึ่งนับเป็นความงดงามที่จะช่วยให้บรรดาเยาวชนบรรลุวุฒิภาวะทางความเชื่อ พร้อมเป็น “ผู้จาริกประกาศความเชื่อ” มีความชื่นชมยินดีที่จะนำพระเยซูเจ้าไปตามท้องถนน ตามสี่แยกและในทุกมุมโลก (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ 2015 ข้อ 16,20,21)

14. วัดและชุมชนวัด
วัดต้องเป็นสถานที่อภิบาลคริสตชนให้ดำเนินชีวิตในความรักกันฉันพี่น้อง และเพาะบ่มให้คริสตชนเข้าใจและดำเนินชีวิตด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในพระศาสนจักรให้มากขึ้น ชุมชนวัดจะต้องมีส่วนรับผิดชอบในงานประกาศข่าวดีแก่ทุกคน มีพันธกิจให้การศึกษาอบรมอย่างต่อเนื่องโดยตรงแก่บรรดาคริสตชน อบรมสั่งสอนสัตบุรุษให้ฟังและดำเนินชีวิตตามพระวาจาของพระเจ้า ให้มีความสนิทสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระองค์ในพิธีกรรม ในการสวดภาวนาส่วนตัวและส่วนรวม และรับใช้ทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ถูกทอดทิ้ง (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ 2015 ข้อ 22)

15. วิถีชุมชนวัด
พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ตระหนักและยอมรับว่า “วิถีชุมชนวัด” หรือ “วิถีชีวิตชุมชนคริสตชน” เป็นวิถีหลักในการดำเนินชีวิตที่เน้นมิติความเป็น “ชุมชน” หรือ “หมู่คณะ” เป็นพระศาสนจักรในบริบทของชาวเอเชียและประเทศไทย สะท้อนภาพความเป็นชุมชนของพระศาสนจักรในยุคแรกๆ ที่ดำเนินชีวิตตามพระวาจาด้วยจิตตารมณ์แห่งความรัก มีพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง รวมตัวกันเพื่อภาวนา อ่านพระคัมภีร์ ร่วมพิธีกรรม เรียนรู้คำสอนและเจริญชีวิตพระวาจา แบ่งปันประสบการณ์ชีวิตความเชื่อของตนและของชุมชนในมิติต่างๆ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีการแบ่งปัน และการรับใช้ซึ่งกันและกัน จนเป็นที่นิยมเลื่อมใสของประชาชน (เทียบ กจ. 2: 47; 3: 33; 5: 13)
วิถีชุมชนวัดต้องเป็นเครื่องหมายที่มีชีวิตชีวาของพระศาสนจักรและเป็นเครื่องมือในการอบรม การฟื้นฟูชีวิตและพันธกิจการประกาศข่าวดีด้วยการอุทิศตนทำงานเพื่อสังคม เอาใจใส่ผู้ยากไร้ ผู้สนใจที่ต้องการรู้จัก

17. พระศาสนจักรที่ยากจนเพื่อคนยากจน
พระศาสนจักรต้องเลือกอยู่ข้างคนยากจนเป็นอันดับแรก เรื่องนี้จะต้องเป็น “เทววิทยาชีวิต” (Theology of life) ของพระศาสนจักรมากกว่าเป็นเพียงความคิดหรืองานบริการสังคม การเลือกเช่นนี้เป็นวิถีชีวิตของพระศาสนจักรที่ต้องไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอื่น เรื่องนี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงเลือกที่จะฟื้นฟูพระศาสนจักรอย่างจริงจังให้อยู่ข้างคนยากจน โดยให้พระศาสนาจักรดำเนินชีวิตยากจนเพื่อคนยากจน พระคริสตเจ้าทรงเป็นต้นแบบที่ล้ำค่าที่สุดในเรื่องการถ่อมพระองค์ลงมา ทรงบังเกิดอย่างยากจน ทรงทิ้งความร่ำรวยสูงสุด ลงมารับสภาพดุจทาสเป็นมนุษย์เหมือนเรา และทรงรักมนุษย์จนกระทั่งยอมสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เพื่อกอบกู้พวกเขาให้รอดพ้นพระศาสนจักรต้องไม่สะสมความร่ำรวย และสถาบันของพระศาสนจักรต้องเป็นประจักษ์พยาน ต้องปรับเปลี่ยนตนเองให้มีพื้นที่ที่เปิดกว้างต้อนรับคนยากจน พระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชและคริสตชนทุกคนต้องเลือกที่จะนำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย สมถะ พอเพียง มีเมตตากรุณา รักและรับใช้ อยู่เคียงข้างคนจน เน้นความยุติธรรมในสังคม กล้าละทิ้งความสะดวกสบายและความมั่นคงส่วนตน เพื่อเป็นประจักษ์พยานที่มีประสิทธิภาพและประกาศข่าวดีได้อย่างแท้จริง (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ 2015 ข้อ 26)

18. รักษ์สิ่งสร้าง
พระเจ้าทรงมอบหมายให้มนุษย์มีหน้าที่รักษาดูแลโลกและสรรพสิ่งซึ่งเป็น “บ้านส่วนรวม” (Our common home) ของมนุษยชาติ (เทียบ ปฐก 1 ดู Laudatosi) ดังนั้น มนุษย์จึงต้องทำงานร่วมกับพระผู้สร้าง สานต่อกิจการสร้างโลกโดยทำให้สิ่งสร้างสมบูรณ์ มั่นคงและเติบโตอยู่เสมอ เราจึงมีหน้าที่ต้องเคารพและสำนึกรู้คุณต่อพระผู้สร้าง โดยไม่ละเมิดหรือทำลายระบบนิเวศและความงดงามของโลก มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วม โดยเอาใจใส่ทำนุบำรุงดูแลและเยียวยาสภาพแวดล้อมด้วยโลกทัศน์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน เป็นหน้าที่สำคัญของพระศาสนจักรที่จะต้องรับผิดชอบ เอาใจใส่ดูแล รณรงค์ ส่งเสริม ปลูกฝัง และเรียกร้องให้คริสตชนและทุกภาคส่วนของสังคม ตระหนักถึงพันธกิจแห่งการคุ้มครองรักษาโลกใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่าโดยคำนึงถึงความดีงามส่วนรวม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ 2015 ข้อ 28)

19. คริสตชนฆราวาสได้รับการอบรมต่อเนื่อง
คริสตชนฆราวาสเป็นประชากรส่วนใหญ่ของพระศาสนจักร เป็นส่วนของพระกายพระคริสตเจ้า ต้องได้รับการอบรมด้านความเชื่อ โดยมีกระบวนการอบรมอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านความรู้ การดำเนินชีวิต และการปฏิบัติพันธกิจเพื่อการประกาศข่าวดี ซึ่งรวมถึงการศึกษาอบรมและฝึกปฏิบัติการภาวนาโดยเน้นเรื่องจิตภาวนา การประกาศข่าวดีกับพี่น้องต่างความเชื่อ ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในพิธีกรรมอย่างมีชีวิตชีวา กระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน (RCIA) ฯลฯ เพื่อให้พวกเขาได้มีประสบการณ์พบปะส่วนบุคคลกับพระเยซูคริสตเจ้า พวกเขาได้รับกระแสเรียกให้ต้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการประกาศข่าวดีเพื่อถ่ายทอดความเชื่อ อีกทั้งเข้าร่วมในพันธกิจของพระศาสนจักรทุกภาคส่วน ดังนั้น พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยต้องมุ่งสร้าง สนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาฆราวาสให้เข้มแข็งมากขึ้น อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบกว่าเดิม (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ 2015 ข้อ 36 - 37)

20. รู้จักใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร
เทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นของประทานจากพระเจ้า เป็นเครื่องมือเพื่อรับใช้การประกาศข่าวดี สื่อสังคมทำให้เกิดชุมชนในรูปแบบเครือข่ายสังคมที่กว้างใหญ่ไพศาล ดังนั้นสมาชิกของพระศาสนจักรต้องเรียนรู้เข้าใจและใช้โอกาสที่เปิดกว้างนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการอภิบาล การประกาศข่าวดี และรับการถ่ายทอดความเชื่อและชีวิตจิตพระศาสนจักรต้องเดินเคียงข้างกับประชากร เป็นมโนธรรม เป็นผู้นำและผู้สอน ให้พวกเขาเข้าใจและเข้าถึงสื่อต่างๆ อย่างมีสติ ชาญฉลาดและรอบคอบ ให้คริสตชนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ และเยาวชน เข้าใจรู้จักเลือกรับหรือปฏิเสธเนื้อหาที่สื่อนำเสนอ สามารถใช้สื่อเพื่อประกาศข่าวดี อย่างไรก็ตาม การสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดยังคงได้แก่การสื่อด้วยชีวิตที่เป็นประจักษ์พยานพระวรสาร (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ 2015 ข้อ 39)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
14381
13335
58024
170542
306218
35914264
Your IP: 3.145.183.137
2024-04-19 15:52

สถานะการเยี่ยมชม

มี 415 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์