แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ทำไมพระศาสนจักรบางแห่งจึงเรียกว่า “พระศาสนจักรตะวันออก” (Eastern Churches)
     ศาสนาคริสต์เหมือนกับศาสนาอื่นๆ (เช่น ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม) มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เริ่มแพร่หลายในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือประเทศตะวันออกกลาง และอาฟริกาเหนือ ชุมชนคริสตชนต่างๆ ในประเทศแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้นั้นคือ พระศาสนจักรตะวันออก ที่เชื่อมต่อกับทวีปยุโรป เนื่องจากตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของทวีปยุโรป

    ต่อมาพระวรสารได้รับการแผ่ขยายไปยังกรุงโรม เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมัน และศูนย์กลางการปกครองอันเป็นที่ประทับของจักรพรรดิ เมื่อจักรพรรดิคอนสตันติน ประทานเสรีภาพให้พระศาสนจักรโดยทางกฤษฎีกาแห่งมิลาน ในปี ค.ศ. 313 หลังจากมีการเบียดเบียนศาสนาอยู่เป็นเวลานาน พระศาสนจักรค่อยๆ แผ่ขยายไปในจักรวรรดิและขยายต่อไปทางตะวันตก กรุงโรมจึงได้กลายเป็นศูนย์กลางของพระศาสนจักร
    แต่ในปี ค.ศ. 330 จักรพรรดิคอนสตันติน ได้ย้ายนครหลวงไปอยู่ที่ไบซันซีอุม ได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ เรียกว่า คอนสตันติโนเปิล (หรืออิสตันบูล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930) เมืองนี้ตั้งอยู่ทางชายแดนฟากตะวันออกของทวีปยุโรป ติดกับทวีปเอเชีย พระศาสนจักรเจริญขึ้นในเมืองคอนสตันติโนเปิล และแผ่ขยายออกไปทางประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ของยุโรปตะวันออก การที่จักรพรรดิประทับอยู่ในเมืองคอนสตันติโนเปิลนั้น ทำให้เมืองนี้เพิ่มเกียรติภูมิและมีความสำคัญทางด้านการเมือง ด้านสังคมและด้านวัฒนธรรม ต่อมาผู้ครองเมืองคอนสตันติโนเปิลได้กลายเป็นสังฆบิดร เหมือนกับสังฆบิดรแห่งโรม เกิดทางยุโรปตะวันออกก่อน และหลังจากนั้นก็ทางตะวันตก ดังนั้น จึงเกิดความแตกต่างขึ้นโดยพื้นฐานทางภูมิศาสตร์ระหว่างพระศาสนจักรตะวันออกและพระศาสนจักรตะวันตก
    จุดเด่นของความแตกต่างนั้นอยู่ที่วัฒนธรรมของทั้งสองแห่ง พระศาสนจักรตะวันตกใช้ภาษาลาตินเป็นภาษาในจารีตพิธีกรรม ในขณะที่พระศาสนจักรตะวันออกใช้ภาษากรีก คริสตชนโรมได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีลาตินและวัฒนธรรมโรมัน ส่วนเมืองคอนสตันติโนเปิลได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีกรีก และวัฒนธรรมกรีก ปัญหาขัดแย้งกันจึงเกิดขึ้นระหว่างสองพระศาสนจักร ระหว่างกรุงโรมกับเมืองคอนสตันติโนเปิล ปัญหาดังกล่าวคงอยู่นานหลายศตวรรษ และที่สุดในปี ค.ศ. 1054 จึงเกิดการแบ่งแยกจากกัน โดยมีพระศาสนจักรกรีกที่เรียกตัวเองว่าศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์ (Orthodox) ส่วนพระศาสนจักรตะวันตกยังคงใช้ชื่อว่า พระศาสนจักรคาทอลิก
    คริสตจักรอื่นๆ ส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกและที่เกี่ยวเนื่องกับคอนสตันติโนเปิลนั้นได้แตกแยกจากโรมด้วย จารีตพิธีกรรมกรีกสืบมรดกจากคริสตจักรดังกล่าวนี้ แต่ประยุกต์ใช้ภาษาสลาฟ  ภาษาเอ็สโทเนียน ภาษาอาราบิค และภาษาอื่นๆ คริสตจักรที่มีการปกครองตนเองเป็นอิสระ เช่น คริสตจักรออร์โธด๊อกซ์ของรัสเซีย ได้เกี่ยวพันอย่างหลวมๆ กับสำนักสังฆบิดรกรุงคอนสตันติโนเปิล
    คริสตจักรออร์โธด๊อกซ์ปฏิเสธอำนาจปกครองทางศาสนาของพระสังฆราชแห่งโรม คือพระสันตะปาปา พระศาสนจักรคาทอลิกถือว่าคริสตจักรออร์โธด๊อกซ์ทั้งหลายเป็นดังพวกกิสมาติก คือ พวกเขามีการสอนข้อคำสอนและศีลศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกต้องเช่นเดียวกับพระศาสนจักรคาทอลิก   เพียงแต่พวกเขาไม่ยอมรับอำนาจการปกครองของพระสันตะปาปา
    บรรดาคริสตจักรตะวันออกที่ได้กลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรคาทอลิกนั้นเรียกว่าคาทอลิกตะวันออก ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมากและมีความคล้ายคลึงราวกับคู่แฝดกัน  ยกเว้นการนอบน้อมต่อโรม
    คาทอลิกตะวันออกหรือคริสตจักรยูนิเอ็ตนั้น มีภาษาทางพิธีกรรมและจารีตของตนเอง อย่างเช่น จารีตเมลไค้ต์ (กรีกยูนิเอ๊ต) มาโรไน้ต์ คอฟติก คัลเดียน อาร์เมเนียน ซีเรียน และมาลังการีส (มาลาบาร์)
    บรรดาคริสตจักรคาทอลิกตะวันออกที่เรียกตัวเองว่าคริสตจักรตะวันออกนั้น อยู่ภายใต้การปกครองของสมณกระทรวงของสันตะสำนัก คือสมณกระทรวงว่าด้วยคริสตจักรตะวันออก ซึ่งมีประมวลกฎหมายของตนเอง ประมวลกฎหมายของพระศาสนจักรตะวันตกหรือลาตินนั้นได้รับการบ่งบอกว่าถูกต้องมาตั้งแต่แรกแล้ว “มาตราต่างๆ ในประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับเฉพาะพระศาสนจักรลาตินเท่านั้น” (ม.1)
    ในบรรดาเอกสารต่างๆ ของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 นั้น มีเอกสารเฉพาะฉบับหนึ่งเรื่องคริสตจักรตะวันออก คือ พระสมณกฤษฎีกาว่าด้วยบรรดาคริสตจักรตะวันออก ข้อความต่อไปนี้ของพระสมณกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นสิ่งที่ควรแก่การเอาใจใส่ “ประวัติศาสตร์ ธรรมประเพณี และสถาบันเป็นอันมากของพระศาสนจักรเป็นพยานบอกด้วยความยกย่องว่า  บรรดาคริสตจักรตะวันออกทำคุณงามความดีไว้ในพระศาสนจักรสากลมากสักเพียงใด       เพราะเหตุนี้ สภาสังคายนาจึงมิใช่แต่ยกย่องและนิยมสรรเสริญมรดกฝ่ายวิญญาณนี้เท่าที่พึงกระทำเท่านั้น   แต่ยังถืออย่างมั่นคงว่าเป็นมรดกของพระศาสนจักรทั้งหมดของพระคริสตเจ้าด้วย” (ข้อ 5)
    ในเรื่องเอกภาพระหว่างคริสตจักร ทั้งตะวันออกและตะวันตก ในส่วนของคาทอลิก พระสมณกฤษฎีกาดังกล่าวได้กล่าวไว้ว่า “ในระหว่างคริสตจักรเหล่านี้มีความร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างน่าพิศวง จนว่า ความแตกต่างกันเช่นนี้ในพระศาสนจักรมิได้เป็นผลร้ายต่อเอกภาพของพระศาสนจักรเลย แต่ทำให้เอกภาพนั้นเด่นขึ้นเสียอีก... ถึงแม้คริสตจักรต่างๆ เหล่านี้ ทั้งทางภาคตะวันออกและตะวันตกจะแตกต่างกันบ้างในเรื่องจารีต ซึ่งในที่นี้หมายถึงพิธีกรรม ระเบียบวินัย และมรดกฝ่ายวิญญาณก็ตาม แต่ก็เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ทั้งหมดอยู่ใต้อำนาจปกครองฝ่ายวิญญาณของพระสันตะปาปา ซึ่งโดยน้ำพระทัยของพระเจ้าขึ้นแทนที่นักบุญเปโตร ในตำแหน่งประมุขปกครองพระศาสนจักรสากล” (ข้อ 2,3)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:22-30) เวลานั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม และเป็นฤดูหนาว พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินอยู่ในพระวิหารที่เฉลียงซาโลมอน ชาวยิวมาล้อมพระองค์ไว้ ทูลว่า “ท่านจะปล่อยให้ใจของพวกเราสงสัยอยู่นานเท่าใด ถ้าท่านเป็นพระคริสตเจ้า ก็จงบอกพวกเราให้ชัดเจนเถิด”...
วันจันทร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:1-10) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ผู้ที่ไม่เข้าคอกแกะทางประตู แต่ปีนเข้าทางอื่น ก็เป็นขโมยและโจร ผู้ที่เข้าทางประตูก็เป็นผู้เลี้ยงแกะ คนเฝ้าประตูย่อมเปิดประตูให้เขาเข้าไป...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
4421
11990
36540
246073
306218
35989795
Your IP: 18.224.44.108
2024-04-23 13:31

สถานะการเยี่ยมชม

มี 214 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์