ทำไมจึงมีการใส่ถุงทานในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ


    ธรรมเนียมการเวียนถุงทานหลังบทภาวนาเพื่อมวลชนให้สัตบุรุษใส่เงินทำบุญในพิธีมิสซานั้น มิได้มีจุดประสงค์แค่ให้เงินทุนเป็นค่าใช้จ่ายของคณะสงฆ์เท่านั้น แต่มีต้นกำเนิดมาจากแรงจูงใจฝ่ายจิต
    ปังและเหล้าองุ่น คือสิ่งที่พระคริสตเจ้าทรงใช้ขณะตั้งศีลมหาสนิท ในพระศาสนจักรยุคแรกเริ่มนั้น หลังบทภาวนาเพื่อมวลชน มีการนำปังและเหล้าองุ่นมายังพระแท่น เพื่อมอบถวายแด่พระเจ้า เป็นดังส่วนสำคัญที่จัดไว้เพื่อถวายบูชา เป็นการรักษาธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไป เพื่อมอบถวายแด่พระเจ้า เพื่อใช้ในการบริการรับใช้พระองค์

    เป็นธรรมเนียมปฏิบัติในสมัยแรกเริ่มของประชาชนในการนำปังและเหล้าองุ่น ซึ่งเป็นผลผลิตจากไร่นาของตน ผลจากแรงงานและน้ำพักน้ำแรงของตน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งซึ่งมาจากพวกเขาเอง ดังที่พระสงฆ์ได้ภาวนาเมื่อถวายปังและเหล้างองุ่น “อันเป็นผลมาจากแผ่นดินและน้ำพักน้ำแรงของมนุษย์” ยิ่งกว่านั้น ปังและเหล้าองุ่นเป็นอาหารซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต ดังนั้น การถวายปังและเหล้าองุ่นเป็นดังสัญลักษณ์ของวิธีที่พวกเขามอบตนเองแด่พระคริสตเจ้าในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ
    เอกสารของพระศาสนจักรยุคแรกๆ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพิธีนำปังและเหล้าองุ่นมาที่พระแท่นให้ประธานรับไว้ และนำไปถวายแด่พระผู้เป็นเจ้า ปังและเหล้าองุ่นที่นำมาถวายนั้นต้องมีปริมาณเพียงพอ และมีเหลือเก็บไว้ให้คนยากจน
    หลังจากศตวรรษที่ 10 การปฏิบัติที่ประชาชนนำปังและเหล้าองุ่นมาถวายนั้นก็ค่อยๆ หยุดไป นักบุญปีเตอร์ ดาเมียน แห่งศตวรรษที่ 11 (ค.ศ. 1007-1072) ได้เอ่ยถึงอย่างชัดเจนว่า ประชาชนได้มอบเงินให้แทนปังและเหล้าองุ่น อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์นั้นก็ยังคงเหมือนเดิม จึงเห็นได้ชัดเจนว่าการนำปังและเหล้าองุ่นมาที่วัดนั้นไม่เหมาะที่จะนำมาประยุกต์ใช้และไม่สะดวก จึงได้ยุติลง และแทนที่ด้วยการถวายเงินเพื่อให้เกิดความสะดวกมากขึ้น
    อย่างไรก็ตาม ควรตระหนักว่า การเก็บเงินถุงทานในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณที่ใช้แทนที่การนำปังและเหล้าองุ่นมาถวายนั้นมีความหมายอย่างลึกซึ้งทางด้านฝ่ายจิต