แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

7 คำถาม 7 ข้อสังเกต

มิสซาระลึกถึงการเลี้ยงขององค์พระผู้เป็นเจ้า  คืนวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์

เนื้อหา : คุณพ่ออนุสรณ์ แก้วขจร

 

1. ทำไมต้องเป็นมิสซาตอนค่ำ

หนังสือจารีตพิธีสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ระบุไว้ว่า หากไม่มีเหตุผลที่จำเป็นมาก ๆ มิสซาระลึกถึงการเลี้ยงขององค์พระผู้เป็นเจ้า  (Lord's Supper) ซึ่งเป็นการเริ่มต้นตรีวารปัสกา    ให้จัดฉลองในตอนค่ำ หลังพระอาทิตย์ตกดินตามธรรมเนียมของชาวยิว การนับวันใหม่เพื่อจัดฉลองพิธีกรรมใด ๆ จะเริ่มนับว่าเป็นวันใหม่ก็เมื่อตอนที่พระอาทิตย์ตกดิน และพิธีกรรมที่จัดในตอนค่ำ จะเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับพิธีกรรมที่จะเกิดขึ้น ในวันต่อมานั่นเอง  งานเลี้ยงที่พระเยซูเจ้าทรงร่วมโต๊ะกับบรรดาสานุศิษย์เป็นงานเลี้ยง "อาหารค่ำ"  ซึ่งมิได้เป็นแค่งานเลี้ยงอำลาแต่มีความเกี่ยวข้องกับบูชาบนไม้กางเขนของพระเยซู ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อมา    ถ้อยคำที่พระองค์ตรัสกับบรรดาสานุศิษย์ ว่า    "....นี่เป็นกายของเราที่จะมอบเพื่อท่าน.. นี่เป็นโลหิตของเรา...ที่จะหลั่งออกเพื่ออภัยบาป   สำหรับท่านและมนุษย์ทั้งหลาย..." เป็นถ้อยคำที่หมายถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นบนไม้กางเขน

พิธีกรรมคืนวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์กับพิธีกรรมวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ จึงถือเป็นพิธีกรรมต่อเนื่องกัน และนับเป็นวันเดียวกัน (จะเห็นชัด เมื่อเราจัดพิธีวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ตอนบ่ายสามโมง)

คืนวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นการเริ่มต้น "ตรีวารปัสกา" อันหมายถึงการฉลองธรรมล้ำลึกปัสกาต่อเนื่องกันสามวัน   การนับให้ครบพอดี 3 วัน ก็คือ  คืนวันพฤหัส-วันศุกร์ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน  นับเป็นวันที่หนึ่ง คืนวันศุกร์-วันเสาร์ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน นับเป็นวันที่สอง  คืนวันเสาร์-วันอาทิตย์ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน นับเป็นวันที่สาม  อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลเพื่อการอภิบาลสัตบุรุษอาจมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาจัดฉลองพิธีกรรมของวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งยังมีมิสซาสมโภชปัสกาในตอนค่ำ ของวันอาทิตย์

 

2. เหตุใดตู้ศีลจึงว่างเปล่า ตั้งแต่ก่อนมิสซาจะเริ่ม

หนังสือจารีตพิธีสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ให้คำแนะนำว่า ก่อนที่พิธีของค่ำวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มนั้น ตู้ศีลจะว่างเปล่า คือพระสงฆ์จะอัญเชิญศีลฯ เก็บ ณ ที่ที่เหมาะสมในห้องซาคริสเตีย 

ที่ระบุให้ "ตู้ศีลว่างเปล่า" มีเหตุผล และมีความหมาย  เพราะค่ำวันนี้ เราฉลองการตั้งศีลมหาสนิท     จึงเน้นสิ่งที่จะเกิดบนพระแท่น เน้นแผ่นปังเหล้าองุ่นที่จะถูกนำมาวางบนพระแท่น  แล้วต่อมาด้วยถ้อยคำเดียวกันกับพระเยซู ที่พระสงฆ์จะกล่าว แผ่นปังจะกลายเป็นพระกาย เหล้าองุ่นเป็นพระโลหิต

พิธีกรรมค่ำวันนี้ จึงรวมสายตาประชาสัตบุรุษมายังพระแท่น มายังโต๊ะที่พระองค์ทรงเลี้ยงบรรดา สานุศิษย์ (อันหมายถึงเราทุกคน)    ยังแนะนำอย่างแข็งขันด้วยว่า   ให้สัตบุรุษรับศีลฯ ที่เสกในวันนี้ เป็นศีลฯ ที่เสกใหม่ สอดคล้องกับการที่เราฉลองการกำเนิดหรือการตั้งศีลมหาสนิท นั่นเองนอกจากตู้ศีลฯ ว่างเปล่าแล้ว ไฟข้าง ๆ ตู้ศีลฯ ก็จะปิดด้วยเช่นกัน

 

3. มิสซาค่ำวันนี้ เราฉลองพระเยซูเจ้าทรงมอบของประทานสามประการ แก่เรา มีอะไรบ้าง

พิธีกรรมค่ำวันนี้ เราเข้าใจกันแบบรวม ๆ ว่า เราระลึกถึงงานเลี้ยงของพระเยซู  แต่เมื่อเราทำความเข้าใจอย่างละเอียดมากขึ้น

เราจะพบว่า พิธีกรรมแรกของตรีวารปัสกา มุ่งให้เราฉลองของประทาน 3 ประการ   ที่พระเยซูเจ้าทรงมอบแก่เรา       ซึ่งก็คือ  1. พระสงฆ์  2. ศีลมหาสนิท  3. ความรัก (ที่ยิ่งใหญ่และเหนือกว่าความตาย)    นอกจากตั้งศีลมหาสนิทแล้ว    พระเยซูเจ้ายังตั้งศีลบวช    "จงทำดังนี้  เพื่อระลึกถึงเราเถิด"   พระองค์มอบหมายภารกิจอันสำคัญแก่บรรดาอัครสาวก  ผู้ร่วมโต๊ะกับพระองค์ พระสงฆ์กับศีลมหาสนิท (หรือกับมิสซา) จึงมีความผูกพันใกล้ชิด เพราะเกิดมาด้วยกัน  ส่วน "ความรัก" อันหมายถึงการเสียสละ การรับใช้ ได้รับการสื่อ ผ่านทางพิธีล้างเท้าและจะมีความหมายเด่นชัด เมื่อเราฉลองต่อเนื่องด้วยพิธีกรรมวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

 

4. พิธีล้างเท้า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

เป็นเวลายาวนาน ที่เราคุ้นเคยกับพิธีล้างเท้า ที่เป็นการล้างเท้าเฉพาะ "บุรุษ"  ดังที่กำหนดไว้ในหนังสือจารีตพิธี ซึ่งอธิบายความหมายว่า เราร่วมกันย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำ คือทรงล้างเท้าบรรดาสานุศิษย์  ซึ่งในแง่ประวัติศาสตร์ ก็คือบรรดาบุรุษ นั่นเอง

ในวันที่ 6 มกราคม 2016 สมณกระทรวงพิธีกรรมฯ ได้ออกเอกสาร ระบุถึงการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเรื่องการล้างเท้า ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ที่ระบุใหม่ว่า ให้เลือกบุคคลที่จะรับการล้างเท้า จากบรรดาประชากรของพระเจ้า  (อันหมายรวมถึงสตรีด้วย)  โดยมีคำแนะนำว่า ให้มีการทำความเข้าใจกับประชาสัตบุรุษถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ ที่มิเพียงมุ่งรำลึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ แต่เน้นแก่นคำสอนของพระเยซู คือการรับใช้กันและกัน

ปัจจุบัน เราจึงเห็นว่า บางวัดมีการล้างเท้าให้กับสตรี ให้กับเด็กและเยาวชน หรือแม้บางวัดจะยังคงล้างเท้าให้กับบุรุษ ก็มิได้ผิดแต่อย่างใด เหมือน ๆ กับพิธีกรรมเรื่องอื่น ๆ ที่มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับบริบท สอดคล้องกับยุคสมัย โดยยังคงรักษาความหมายที่สำคัญไว้ และการฉลองพิธีกรรม ก็มีแบบให้เลือกได้ตามความเหมาะสม การล้างเท้า ก็เช่นเดียวกัน

 

5. ทำไมบางวัด น้ำมันศักดิ์สิทธิ์ที่เสกตอนเช้า จึงมาปรากฏในมิสซาค่ำ และปรากฏตอนไหน

ก่อนเริ่มเข้าสู่ตรีวารปัสกา      ช่วงเช้าของวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์  (หรือบางสังฆมณฑลอาจเลื่อนเร็วขึ้น) จะมี "มิสซาเสกน้ำมัน" ที่อาสนวิหาร  มีคำแนะนำที่ไม่ได้เป็นกฎข้อบังคับ แต่สามารถนำไปประยุกต์ หรือจัดได้ตามที่เห็นเหมาะสม คำแนะนำที่ว่า   ก็คือ หลังจากจบมิสซาเสกน้ำมัน     และพระสงฆ์นำน้ำมันศักดิ์สิทธิ์กลับมายังที่วัดแล้ว

ในมิสซาค่ำสามารถเพิ่มเติมขบวนแห่เครื่องบูชาคือให้มีผู้แทนสัตบุรุษถือน้ำมันศักดิ์ต่อท้าย ขบวนเครื่องบูชา เพื่อมอบให้กับพระสงฆ์  แล้วผู้ช่วยพิธีกรรมนำไปเก็บยังห้องซาคริสเตีย หรือที่ที่จัดเตรียมไว้    ก่อนพิธี ควรมีการอธิบายให้สัตบุรุษเข้าใจความหมาย นั่นก็คือ น้ำมันที่เสกและนำมาจากอาสนวิหารนี้ จะใช้เพื่อการ อภิบาลศีลศักดิ์สิทธิ์แก่พี่น้องสัตบุรุษตลอดทั้งปี   นอกจากนี้    ยังประยุกต์ได้กับเทียนที่จะเสกในคืนวันเสาร์ตื่นเฝ้าปัสกา ที่รับมาจากสังฆมณฑล คือนำมาร่วมในขบวนแห่ต่อจากเครื่องบูชา  ก็สามารถทำได้ โดยมีการอธิบายสั้น ๆ   กับสัตบุรุษก่อนพิธีจะเริ่ม เช่นเดียวกัน

 

6. เมื่อมิสซาจบ พระแท่นเปลี่ยนไปอย่างไร

ก่อนสังคายนาวาติกันที่ 2    ในตอนท้ายของพิธีมิสซาคืนวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์  จะมีพิธีที่ทำเป็นขั้นเป็นตอนอย่างสง่า ท่ามกลางสายตาของประชาสัตบุรุษ  พิธีที่ว่าก็คือ "พิธีเปลื้องผ้าคลุมพระแท่น" 

ปัจจุบัน เราสังเกตได้ว่า ยังคงมีการเก็บผ้าปูพระแท่น รวมทั้งเทียน กางเขน (ถ้ามี) ฯลฯ ออกจากพระแท่น เพื่อให้มองเห็นแต่เพียงพระแท่นที่ว่างเปล่า ไม่มีอะไร   แต่การเก็บผ้า และสิ่งอื่น ๆ จะไม่ได้ทำอย่างสง่า  หรือมีขั้นตอนพิเศษอะไร เพียงระบุให้เก็บเมื่อจบพิธีอย่างเงียบ ๆ เท่านั้น   พระแท่นที่ว่างเปล่านี้ จะปรากฏให้เห็นต่อเนื่องไปจนถึงเมื่อประกอบพิธีในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

พระแท่น เป็นสัญลักษณ์สำคัญ อันหมายถึง  "พระเยซูคริสตเจ้า" ดังนั้น "พระแท่นที่ว่างเปล่า"  นำพาเรายิ่งเข้าใกล้เหตุการณ์พระทรมานของพระองค์  นั่นก็คือ  พระองค์ถูกทหารถอดพระภูษา (มธ 27:28)    แล้วเหตุการณ์พระทรมานก็ยิ่งเข้มข้น   เช่นเดียวกับบรรยากาศการฉลองพิธีกรรม ยังมีการสื่อความหมายมุ่งให้คุณค่าฝ่ายจิต  คืออธิบายว่า พระแท่นที่ว่างเปล่าเปรียบเสมือนโลกในยามที่ขาดองค์พระคริสตเจ้า    หรือเพื่อเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น บางคนให้ความหมายว่า พระแท่นที่ไม่มีอะไรก็คือ คูหาที่ว่างเปล่า นั่นเอง

 

7. การอัญเชิญศีลไปยังที่พักศีลทำให้คิดถึงสถานที่ใด และทำไมไม่ใช้รัศมี แต่ใช้ผอบศีลแทน

หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงรับประทานอาหาร (งานเลี้ยงปัสกา) กับสานุศิษย์แล้ว พระองค์เสด็จไปยังสวนเกทเสมนี ในค่ำคืนนั้น พระองค์ทรงขอให้สานุศิษย์บางคนตื่นเฝ้าอยู่กับพระองค์  ตอนท้ายของพิธีในค่ำวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ จะมีการอัญเชิญศีลฯ ไปยังที่พักศีลฯ ที่จัดเตรียมไว้ทำให้คิดถึงเหตุการณ์ที่สวนเกทเสมนี

การอัญเชิญศีลฯ ครั้งนี้ ไม่ได้อัญเชิญศีลฯ ใส่ไว้ในรัศมี เพราะเมื่อใช้รัศมีจะมีความหมายแตกต่างไปการตั้งศีลในรัศมี มีจุดมุ่งหมายเพื่อการนมัสการและรับพรจากศีลมหาสนิท  การเฝ้าศีลฯ ในค่ำคืนนี้ เน้นการอยู่กับพระองค์อยู่กับศีลมหาสนิทที่พระองค์ทรงปรารถนามอบเป็น "อาหาร" บำรุงเลี้ยงจิตวิญญาณของเรา   และ ciborium หรือที่เราเรียกว่า "ผอบศีล" เป็นคำที่มีความหมายประการหนึ่งว่า  "ภาชนะใส่อาหาร" นั่นเอง

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพุธ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:35-40) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “เราเป็นปังแห่งชีวิต ผู้ที่มาหาเราจะไม่หิว และผู้ที่เชื่อในเราจะไม่กระหายอีกเลย เราบอกท่านทั้งหลายแล้วว่า ท่านเห็นเราแล้ว แต่ไม่เชื่อ...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:30-35) เวลานั้น ประชาชนจึงทูลถามพระเยซูเจ้าว่า “ท่านทำเครื่องหมายอัศจรรย์ใดเพื่อพวกเราจะได้เห็น และจะได้เชื่อในท่าน ท่านทำอะไร บรรพบุรุษของเราได้กินมานนาในถิ่นทุรกันดาร ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า พระองค์ประทานขนมปังจากสวรรค์ให้เขากิน”...
วันจันทร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:22-29) เวลานั้น ประชาชนที่ยังอยู่บนฝั่งตรงข้าม สังเกตเห็นว่า มีเรืออยู่ที่นั่นเพียงลำเดียว และจำได้ว่าพระเยซูเจ้ามิได้เสด็จลงเรือไปกับบรรดาศิษย์ บรรดาศิษย์ไปกันตามลำพังเท่านั้น แต่เรือลำอื่นจากเมืองทิเบเรียสมายังสถานที่ที่พวกเขาได้กินขนมปัง เมื่อประชาชนเห็นว่าทั้งพระเยซูเจ้า...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...
215. ใครเป็นหัวหน้าของพิธีมิสซาขอบพระคุณ ตามความเป็นจริงองค์พระคริสตเจ้าเองทรงปฏิบัติการในทุกพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ พระสังฆราช หรือพระสงฆ์ พูดแทนพระองค์ (1348) เป็นความเชื่อของพระศาสนจักร ว่าผู้ประกอบพิธีที่ยืนอยู่บนพระแท่นปฏิบัติหน้าที่ in persona Christi...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
976
8378
20120
132638
306218
35876360
Your IP: 3.131.110.169
2024-04-17 02:17

สถานะการเยี่ยมชม

มี 283 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์